ศาลสั่งไกล่เกลี่ย ระหว่างเจ้าหนี้-ลูกหนี้ทีพีไอโพลีน 2 ก.ค.เพื่อเปิดโอกาสปูนนครหลวง
เจรจาเทกหุ้น 76% ขณะที่ศาลรับ คำร้องอีพีแอลวันนี้ ตัดคำค้านเจ้าหนี้ กรณีพิจารณาแผนฟื้นฟูฯ
ออก และเลื่อนขายทรัพย์สินทีพีไอออกไปอีก
วานนี้ (20 พ.ค.) ศาลล้มละลายกลางนัดไต่สวนกรณีเจ้าหนี้ยื่นถอดถอนบริษัท ทีพีไอ
โพลีน จำกัด (มหาชน)(TPIPL) จากการ เป็นผู้บริหารแผน กรณีไม่สามารถเพิ่มทุน 180
ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 7,740 ล้านบาท)
หลังจากศาลฟังการสอบปาก คำระยะหนึ่ง เห็นว่ากรณีนี้น่าจะหาข้อยุติได้ หากลูกหนี้
ผู้ร่วมทุนใหม่และเจ้าหนี้ ตั้ง โต๊ะเจรจา และ ไกล่เกลี่ยกัน ศาลจึงมีคำสั่งให้ทั้ง
3 ฝ่าย คือ บริษัท ทีพีไอโพลีน ผู้ร่วม ทุนใหม่ คือบริษัท ปูนซิเมนต์นคร หลวง และเจ้าหนี้เจรจาไกล่เกลี่ยกันอีกครั้ง
โดยจะมีอธิบดีศาลล้มละลาย กลางเป็นประธาน ซึ่งกรณีนี้ เจ้าหนี้ และลูกหนี้เสนอให้ผู้พิพากษาศาลล้มละลายร่วมสังเกตการณ์ครั้งนี้ด้วย
เพื่อจะสามารถหาข้อสรุปและ ยุติ ศาลจึงนัดไกลเกลี่ยวันที่ 2 ก.ค. ซึ่งกรอบการหารือ
จะประกอบด้วย สัดส่วนและวิธีการร่วมลงทุนของบริษัท ปูนซิเมนต์นครหลวง ที่จะ ซื้อหุ้นเพิ่มทุนทีพีไอโพลีน
ส่วนคดี อื่นที่รอการพิจารณาของศาล ให้เลื่อนพิจารณาก่อน จนกว่าจะหาข้อยุติการเพิ่มทุนได้
รายงานข่าวจากศาลแจ้งว่า สาเหตุที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ทั้ง 3 ฝ่ายเจรจาไกล่เกลี่ยกัน
เนื่องจากการนัดไต่สวนวานนี้ พยานสำคัญที่ให้ปาก คำ คือนายวีระพันธ์ ทีปสุวรรณ
รองประธานกรรม การบริษัท ปูนซิเมนต์นครหลวง ในฐานะพยานเจ้าหนี้ ช่วงการซักถาม ทนายลูกหนี้สอบถามประเด็นและสัญญาที่คณะกรรมการเจ้าหนี้ทำกับบริษัท
ปูนซิเมนต์ นครหลวง ตุลาคม 2544 ที่ทำคำสนใจจองซื้อหุ้นเพิ่ม ทุนทีพีไอโพลีน
และปูนซิเมนต์นครหลวงแสดงเจตนารมณ์ชัด เจนว่า จนถึงขณะนี้ ยังสนใจจะซื้อหุ้นเพิ่มทุนทีพีไอโพลีนเช่นเดิมสัดส่วน
76% แต่ที่ผ่านมา ที่การเจรจา ไม่ยุติ เนื่องจากยังมีรายละเอียดและเงื่อนไขที่ต้องใช้
เวลาตัดสินใจ และเงื่อนสัญญาที่ให้เวลาเพียง 90 วัน ไม่สามารถตัดสินใจทัน จึงทำให้เรื่องต่างๆ
ไม่คืบหน้า
อีกทั้งผู้บริหารลูกหนี้เองต้องการจะนำหุ้นเสนอ ขายประชาชนทั่วไปด้วย จึงต้องหยุดเรื่องซื้อหุ้นเพิ่ม
ทุนโดยปริยาย แต่เมื่อถึงเวลานี้ ยังยืนยันว่าสนใจ จะซื้อหุ้นอยู่ เมื่อศาลเห็นเจตนาพยานแล้ว
จึงสั่งให้ ยุติการไต่สวน และให้ทั้ง 3 ฝ่ายเจรจากัน เพื่อให้ทุก อย่างยุติ และเห็นว่า
หากทีพีไอโพลีนเพิ่มทุนสำเร็จ โอกาสที่จะหลุดจากการฟื้นฟู ก็ไม่ยาก และเมื่อมีผู้
ร่วมทุนที่ยังสนใจ น่าจะเจรจาและไกล่เกลี่ย มากกว่า ที่จะคิดถึงเรื่องอื่นๆ
นายวีระพันธ์ยังชี้แจงต่อศาลว่าบริษัท ปูนซิ-เมนต์นครหลวงถือหุ้น 33% โดยโฮซิมแบงก์
อีก 33% ถือโดยตระกูลรัตนรักษ์ ซึ่งไม่ใช่บริษัทต่างชาติยังร่วม บริหารกันอยู่ทุกคน
นำความรู้ความสามารถช่วยธุรกิจ ให้พัฒนา และยังเสนอให้นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์
ผู้ถือหุ้นใหญ่ทีพีไอโพลีน เป็นกรรมการปูนนครหลวง ด้วย เพื่อแสดงให้เห็นว่าปูนฯ
มีเจตนารยณ์จะร่วมทุนเพื่อธุรกิจไม่ใช่ฮุบกิจการแต่อย่างใด
ด้านนายวีระพันธ์ กล่าวภายหลังให้การว่า ยังคง สนใจซื้อหุ้นเพิ่มทุนทีพีโพลีนเช่นเดิม
และผู้ถือหุ้นยังต้องการถือหุ้น 76% เพื่อสามารถวางนโยบายการบริหารได้ด้วย และหากการเพิ่มทุนดำเนินการสำเร็จ
จะส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดปูนฯ จะอยู่อันดับ 2 รอง จากปูนซิเมนต์ไทย หรือส่วนแบ่งตลาด
40% จากปัจจุบันที่มีส่วนแบ่ง 29%
ทางด้านนางอรพิน เลี่ยวไพรัตน์ กรรมการรอง ผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท ทีพีไอ
โพลีน กล่าวว่า การที่ศาลนัดไกล่เกลี่ยทีพีไอโพลีน เป็นสิ่งที่ดี ถ้าสำเร็จ จะบรรลุผลประโยนช์แต่ละฝ่ายได้
เพราะก่อน หน้านี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไกล่เกลี่ยปัญหาความขัดแย้งในบริษัท
อุตสาหกรรม ปิโตรเคมิกัลไทย (ทีพีไอ) และศาลล้มละลายกลางก็เป็นตัวกลางที่จะไกล่เกลี่ยปัญหาทีพีไอ
โพลีน
อย่างไรก็ตาม การนัดเจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และปูนซีเมนต์นครหลวงนี้
จะเน้นสัดส่วน รูปแบบ และเงื่อนไขการลงทุน เพื่อให้ได้ข้อยุติการถือหุ้นเพิ่มทุนในบริษัทลูกหนี้
ศาลรับคำร้องอีพีแอลกรณีทีพีไอวันนี้
ด้านความคืบหน้าทีพีไอ วันนี้ (21 พ.ค.) ศาล นัดพิจารณาคำร้องของผู้บริหารแผนเดิม
คือเอ็ฟเฟ็ค ทีฟ แพลนเนอร์ส (อีพีแอล) ในเครือเฟอร์เรียร์ ฮอดจ์สัน (ประเทศไทย)
ที่จดทะเบียนเกาะบริติช เวอร์จิน ไอส์แลนด์ ที่เสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูประ เด็นการโหวตเสียงของเจ้าหนี้
จากเดิมต้องได้รับความ เห็นชอบ 75% และห้ามเจ้าหนี้รายใดคัดค้าน โดยให้เหลือเพียงขอเสียงหนุน
75% รวมถึงพิจารณาเลื่อน การขายสินทรัพย์รองออกไปอีกจากเดิมที่ครบกำหนด เมื่อ 31
ธันวาคม 2545 และยืดเป็นวันที่ 31 มีนาคม 2546
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (จพท.) กล่าวว่า ศาล ยังไม่ยกเลิกการพิจารณาเรื่องดังกล่าว
เนื่องจากกระบวนการดังกล่าว ผ่านความเห็นชอบจากเจ้าหนี้ มาแล้ว แม้อีพีแอลไม่ได้เป็นผู้บริหารแผนฯ
ทีพีไอแล้ว ก็ตาม แต่สิทธิเรียกร้องยังดำเนินการต่อ และหากศาล มีคำสั่งตามคำร้องผู้บริหารแผนคนใหม่
ก็สามารถใช้ ได้ทันที
จพท. กล่าวว่าวันนี้ จะรายงานความคืบหน้า ต่อศาล หลังจากบริหารแผนชั่วคราวฯ ทีพีไอร่วมกับ
นายประชัย ลูกหนี้ทีพีไอตั้งแต่วันที่ 22 เม.ย. ว่าลูกหนี้เลิกจ้างพนักงาน 32 คนของบริษัท
พร้อมจ่ายค่า ชดเชยให้ รวมถึงกรณีลูกหนี้ไม่จ่ายดอกเบี้ยตามกอง ทุนขั้นที่ 1 (Tier
1)ประจำ เม.ย.ประมาณ 330 ล้านบาทให้เจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟู โดยทั้ง 2 ประเด็น จพท.
ไม่ได้เซ็นร่วมกับลูกหนี้ เป็นเพียงการดำเนินการของลูกหนี้เพียงฝ่ายเดียว
นายประชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย(TPI) กล่าวชี้แจงสาเหตุที่ต้องเลื่อนเวลาชำระดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้
Tier 1 เม.ย. ออกไปว่าบริษัทไม่สามารถชำระดอกเบี้ยดังกล่าว เพราะกลุ่มเจ้าหนี้ตัดวงเงินทุนหมุนเวียน
80 ล้านดอลลาร์หรือ 3,400 ล้านบาท ทำให้บริษัทขาดเงิน ทุนหมุนเวียนในกิจการ โดยเฉพาะเงินทุนหมุนเวียน
เพื่อซื้อน้ำมันดิบ มูลค่าเดือนละ 4,250 ล้านบาท เพื่อไม่ให้ธุรกิจต้องได้รับความเสียหาย
ตามแผนปรับโครงสร้างหนี้ อีพีแอลในฐานะ ผู้บริหารแผนฯทีพีไอ ทำแผนให้เจ้าหนี้อนุมัตินำทรัพย์สินบริษัทที่ไม่ได้ติดจำนำและจำนอง
มาจำนำ/จำนองให้เจ้าหนี้ทั้งหมด ยกเว้นทรัพย์สินที่จำเป็นจะใช้จำนำ/จำนองให้ผู้ให้วงเงินสินเชื่อรายใหม่
วงเงิน 500 ล้านดอลลาร์หรือประมาณ 20,000 ล้านบาท โดย ผู้ให้กู้รายใหม่ จะได้รับการชำระหนี้ก่อน
แต่อีพีแอลนำทรัพย์สินทั้งหมดที่ปลอดภาระ ไปจำนำ/จำนองให้เจ้าหนี้ 5 รายใหญ่
คือธนาคารกรุง-เทพ 27,970.79 ล้านบาท ธนาคารซิตี้แบงก์ 703.64 ล้านบาทธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งสหรัฐฯ
3,280.20 ล้านบาท บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ 20,900.83 ล้านบาท และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเยอรมนี
(KfW) 8,148.70 ล้านบาท
รวม 61,000 ล้านบาท โดยไม่ได้กันสินทรัพย์ 20,000 ล้านบาทออกมา เพื่อจำนอง/จำนำให้ผู้ที่ปล่อยสินเชื่อ
500 ล้านดอลลาร์รายใหม่ เมื่อบริษัท มีปัญหาขาดเงินทุนหมุนเวียน ผู้บริหารแผนขออนุมัติ
วงเงินสินเชื่อ L/C และ T/R จากธนาคารกรุงไทย และธนาคารกรุงเทพ วงเงินเพียง 80
ล้านดอลลาร์ โดยให้ 5 ธนาคารข้างต้นค้ำประกัน
ต่อมาเมื่อศาลมีคำสั่งปลดอีพีแอลผู้บริหารแผน ธนาคารดังกล่าวจึงถอนค้ำประกันเงินเปิด
L/C 80 ล้านดอลลาร์ โดยไม่ปลดจำนำ/จำนองสินทรัพย์คืน ให้ลูกหนี้เพื่อค้ำประกันเงินกู้ใหม่
การกระทำดังกล่าว ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด เกี่ยวกับการหาเงินทุนหมุนเวียนตามแผนฟื้นฟูที่ระบุไว้
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังสามารถบริหารสภาพคล่องได้ระดับหนึ่ง และสามารถยกระดับการผลิตน้ำมันให้สูงขึ้นถึง
1.25 แสนบาร์เรล/วัน ตามแผนฟื้นฟูกิจการ จนทำให้กำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นน่าพอใจ
"ทีพีไอมีเจตนารมณ์แน่วแน่ ที่จะให้ความร่วม มือกับเจ้าหนี้ ในการแก้ปัญหาของบริษัท
ให้ลุล่วงไป ด้วยดี เพื่อสนองนโยบายรัฐในการแก้ไขปัญหาระดับ ชาติ แต่การออกข่าวที่คลาดเคลื่อนต่อความเป็น
จริงจะยิ่งทำให้การแก้ปัญหาล่าช้าออกไป" นายประชัย กล่าว