|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
เผยสถาบันการเงินต่างชาติ 10 รายทั้งเวิลด์แบงก์ เอดีบีและธนาคารจากยุโรป ขอออกพันธบัตรสกุลเงินบาทหรือบาทบอนด์วงเงินรวม 5 หมื่นล้านบาท อายุ 3 ปีขึ้นไป หวังกระจายความเสี่ยงและแหล่งระดมทุนจากยุโรป-อเมริกามายังประเทศแถบเอเชีย แจงนำเงินที่ระดมทุนได้ปล่อยกู้ให้กับบริษัทจากชาติเดียวกันที่ทำธุรกิจในประเทศไทยและภูมิภาคนี้ คลังหวังบาทบอนด์มีอัตราอ้างอิงที่ดีและมีความเป็นสากลมากขึ้น อนุมัติหลักการแล้ว ผอ.สศค.ปลื้มความเชื่อมั่นคืนหนุนเศรษฐกิจไทยฟื้น
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า การที่สถาบันการเงินจากต่างชาติจำนวนกว่า 10 แห่ง ได้ยื่นขอออกพันธบัตรสกุลเงินบาท (บาทบอนด์) จำนวนประมาณ 50,000 ล้านบาทแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของต่างชาติที่มีต่อระบบเศรษฐกิจไทยมากขึ้น สำหรับในแง่ของการดูดซับสภาพคล่องนั้นต้องดูว่าเม็ดเงินที่เขาเข้ามาระดมทุนไปนั้นนำไปใช้ในประเทศหรือต่างประเทศและส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของไทยอย่างมีนัยมากน้อยเพียงใด
“ในแง่ของความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจการที่ต่างชาติขออนุญาตออกบาทบอนด์ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะตั้งแต่มาตรการกันสำรองเงินตราต่างประเทศ 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ออกมาทำให้นักลงทุนบางส่วนขาดความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยพอสมควร แต่เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งเขาก็เข้าในและมีความเชื่อมั่นจึงเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอีกครั้งรวมทั้งการขอออกบาทบอนด์ในครั้งนี้ด้วย” นางพรรณีกล่าว
นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้อำนวยการส่วนนโยบายระบบการเงิน สำนักนโยบายระบบการเงิน สศค. กล่าวว่า สถาบันการเงินจากต่างประเทศ 10 แห่ง ติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิดการออกบาทบอนด์ ประกอบไปด้วย ธนาคารโลก (WB) ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) SWEDISH EXPORT CREDIT CORPORATION (SEK) NORDIC INVESTMENT BANK (NIB) Deutsche Bank
สถาบันเครดิตเพื่อการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน Kreditanstalt fur Wiederaufbau (KfW) ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น The Japan Bank for International Cooperation (JBIC) CITY GROUP กองทุนเพื่อการพัฒนาทางด้านสิ่งแวดล้อม (Agence Fran?aise de D?veloppement ( AFD) ของฝรั่งเศส และ KBN แห่งเนเธอร์แลนด์
โดยสถาบันการเงินจากต่างประเทศเหล่านี้ได้ยื่นขอออกบาทบอนด์ในวงเงินรายละ 5,000 ล้านบาท รวมวงเงินโดยประมาณ 50,000 ล้านบาท ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) และสศค.ได้ร่วมประชุมเพื่อพิจารณาว่าจะอนุมัติให้กับสถาบันการเงินจากต่างประเทศรายใดบ้างที่ยื่นขอวงเงินออกบาทบอนด์เข้ามา
“ในเบื้องต้นหลายฝ่ายเห็นด้วยกับการยื่นขอออกบาทบอนด์ของสถาบันการเงินต่างประเทศในครั้งนี้เพราะเป็นการส่งเสริมให้ตลาดมีความต้องการบาทบอนด์ที่ออกโดยต่างชาติ ซึ่งหากผู้ที่เกี่ยวข้องในการอนุญาตออกบาทบอนด์อนุมัติให้ออกบาทบอนด์ไปจะเป็นการส่งเสริมให้พันธบัตรสกุลเงินบาทมีอัตราอ้างอิงที่ดีและมีความเป็นสากลมากขึ้น” นายโชติชัยกล่าว
สำหรับการขอออกพันธบัตรสกุลเงินบาทในครั้งนี้สถาบันการเงินจะนำเงินที่ได้ไปปล่อยกู้ให้กับบริษัทเอกชนที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยและเป็นบริษัทสัญชาติเดียวกันกับสถาบันการเงินแห่งนั้น นอกจากนี้ยังจะนำไปปล่อยกู้เพื่อก่อสร้างสาธารณูปโภคในประเทศที่อยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย ทั้งนี้ อายุพันธบัตรจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป อีกเหตุผลที่สถาบันการเงินต่างประเทศขออนุญาตออกพันธบัตรสกุลเงินบาทในครั้งนี้เนื่องจากต้องการกระจายความเสี่ยงจากการกระดมทุนนอกเหนือจากตลาดหลักในสหรัฐอเมริกาและประเทศในแถบยุโรปและต้องการพัฒนาตลาดการเงินไทยด้วย ส่วนลูกค้าที่เป็นเป้าหมายของการขายพันธบัตรคือ นักลงทุนประเภทสถาบันทั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนประกันสังคม กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและบริษัทประกันชีวิตบริษัทประกันภัยในประเทศไทย
“การที่สถาบันการเงินต่างชาติขอออกบาทบอนด์ในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนสถาบันในไทยมีความต้องการซื้อตราสารหนี้จากบริษัทหรือสถาบันที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ ซึ่งสถาบันการเงินแต่ละแห่งมีอันดับเครดิตที่ดีมากจากการจัดลำดับของบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลก” นายโชติชัยกล่าว
|
|
 |
|
|