Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน14 พฤษภาคม 2546
IFC เรียกหนี้ประชัยคืน             
 


   
search resources

สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ - IFC




ไอเอฟซี ในเครือธนาคารโลก เรียกคืนหนี้จากประชัย 319 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.37 หมื่นล้านบาท ขณะที่ลูกหนี้ ยันเป็นการตีรวน ผิดมารยาท สวนกระแสประเทศแม่อย่างมะกันที่ให้สิทธิลูกหนี้บริหารแผนฟื้นฟูฯ ย้ำหากฟื้นฟูฯทีพีไอเสร็จเจ้าหนี้ได้คืนเงินครบแน่ ขณะที่รมต.ยุติธรรมยัน รัฐบาลเตรียมส่งตัวแทนแจมคณะกรรมการร่วม 15 คนแน่นอน เพื่อให้บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งนี้เดิน หน้าต่อได้

ไอเอฟซีทวงหนี้ 1.37 หมื่นล้านบาท

บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (ไอเอฟซี) หน่วยงานการลงทุนภาคเอกชนของกลุ่มธนาคาร โลก ส่งหนังสือเมื่อวันที่ 9 พ.ค. เรียกร้องนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ฟื้นฟูกิจการร่วม บริษัท อุตสาหกรรมปิโตร เคมิกัลไทย จำกัด (มหาชน) (ทีพีไอ) และบริษัท เลี่ยวไพรัตน์ เอ็นเตอร์ไพร้ซ์ให้รับผิดชอบภาระค้ำ ประกันเงินกู้เต็มจำนวนที่ทั้ง 2 รายได้ให้ไว้บนเงินกู้ 319 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.37 หมื่นล้านบาท

ในคำแถลง ไอเอฟซีระบุวัตถุประสงค์เบื้อง ต้น คือการทำให้การปรับโครงสร้างทีพีไอลุล่วงด้วยดี เพื่อความมั่นคงระยะยาวของบริษัท พนักงาน เจ้าหนี้ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ ที่ได้ รับประโยชน์จากการดำเนินงานทีพีไอ

กว่า 6 ปีที่ผ่านมา ไอเอฟซีพยายามแก้ไข ปัญหาหนี้สินทีพีไอ เพื่อสร้างให้เกิดความมั่นใจว่า ทีพีไอจะดำเนินกิจการอยู่ได้ และคงอยู่เป็นสิน ทรัพย์ที่สำคัญของเศรษฐกิจไทยสืบไป ไอเอฟซีจะยังคงสนับสนุนการแต่งตั้งผู้บริหารแผนฯ อิสระครั้งนี้ต่อไป

เงินกู้ไอเอฟซีที่ให้กับทีพีไอ เริ่มตั้งแต่พ.ย. 2539 โดยทีพีไอไม่สามารถชำระเงินกู้ได้ตั้งแต่ปี 2540 แต่ในความพยายามพัฒนาการดำเนินงานบริษัท ไอเอฟซีและเจ้าหนี้อื่นๆ ยังได้ให้เงินสนับสนุนเป็นเงินทุนหมุนเวียนดำเนินการกับทีพีไออีก 80 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2545

ขณะที่ไอเอฟซียังคงฐานะเป็นเจ้าหนี้ทีพีไอ ไอเอฟซีก็มีส่วนร่วมดำเนินการให้แต่งตั้งผู้บริหาร แผนฯที่เหมาะสม และเป็นอิสระ รวมทั้งสรรหา คณะผู้บริหารทีพีไอ เพื่อให้แผนปรับโครงสร้างประสบความสำเร็จด้วยดี โดยมีเป้าหมายจะสร้าง ความมั่นคงระยะยาวให้บริษัท

ยันรัฐบาลเตรียมส่งคนร่วมฟื้นฟูฯ ทีพีไอ

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรียุติ ธรรม กล่าวว่าเขาเชื่อว่าวันที่ 19 พ.ค.นี้ที่จะประชุม เจ้าหนี้ทีพีไอ ซึ่งพิจารณาผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ ทีพีไอรายใหม่จะได้ข้อสรุป เพราะ 21 พ.ค. นี้ ศาลล้มละลายกลางนัดพิจารณาแผนฯ อย่างไร ก็ตาม การเลื่อนพิจารณาครั้งนี้ถือว่าดำเนินการได้ เพราะเจ้าหนี้ทีพีไอ นำโดยธนาคารกรุงเทพกับลูกหนี้ คือนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ตกลงกันได้แล้ว

"การเลื่อนครั้งนี้ ถือว่าดำเนินการได้ เพราะ เป็นข้อตกลงเจ้าหนี้ คือแบงก์กรุงเทพ กับทีพีไอ ที่ให้เลื่อนเป็นวันที่ 19 พ.ค. เป็นไปตามกรอบที่ศาลกำหนดไว้Ž เขากล่าว

นายพงศ์เทพกล่าวว่ารัฐบาลยืนยันอยากให้ทีพีไอดำเนินการต่อได้ เรื่องนี้จำเป็นที่รัฐบาล ต้องเข้าไปดูแลมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาปล่อยให้ เจรจากันเองระหว่างเจ้าหนี้-ลูกหนี้ประสบปัญหา มากมาย เพราะหากทีพีไอดำเนินการต่อได้จะ เป็นประโยชน์กับเจ้าหนี้ ลูกหนี้ พนักงาน และเศรษฐกิจไทยโดยรวม โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับทีพีไอ "โดยหลักการ หากเจ้าหนี้-ลูกหนี้ ตกลงกันได้ รัฐบาลคงต้องส่งตัวแทนเข้าไปŽ

IFC แหกคอกสวนทางกฎหมายมะกัน

นายศิลปิน บูรณศิลปิน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย กล่าวว่าการกระทำของไอเอฟซีครั้งนี้ สวนทางกับนโยบายรัฐบาลไทย ที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เสนอแนวทางแก้ปัญหาทีพีไอ โดยจัดคณะกรรมการร่วมระหว่างลูกหนี้ เจ้าหนี้ และตัวแทนภาครัฐรวมทั้งสวนทางวัตถุประสงค์ธนาคารโลก ซึ่งไอเอฟซีเป็นบริษัทลูก โดยธนาคารโลกมีพันธกรณีปล่อยสินเชื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้คน ประเทศนั้นๆ และกฎหมายอเมริกัน ซึ่งธนาคาร โลกและสำนักงานใหญ่ไอเอฟซีตั้งอยู่ ก็คุ้มครอง สิทธิ์ลูกหนี้เป็นสำคัญไม่ใช่เจ้าหนี้

ที่สำคัญไอเอฟซีถือเป็นหนึ่งในแกนนำที่ผลักดันให้ทีพีไอเข้าสู่กระบวนการศาลล้มละลายด้วย

ดังนั้น การเรียกหนี้ค้ำประกัน 319 ล้านเหรียญสหรัฐคืนจากนายประชัย และบริษัท เลี่ยว ไพรัตน์ วิสาหกิจ โดยอ้างว่าต้องการสนับสนุนผู้บริหารอิสระที่มาจากเจ้าหนี้ จึงถือเป็นการตีรวน และผิดมารยาท เพราะมูลหนี้ดังกล่าวอยู่ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการแล้ว แม้ว่าจะไม่คุ้มครอง ผู้ค้ำประกัน แต่แผนปรับโครงสร้างหนี้ทีพีไอ จะคืนให้เจ้าหนี้ทุกรายโดยไม่มีการตัดมูลหนี้ (แฮร์คัต)

ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็พร้อมจะหาหารือร่วมกับเจ้าหนี้ต่างประเทศตามที่เรียกร้องก่อนหน้านี้อยู่แล้ว เพื่อสร้างความมั่นใจเจ้าหนี้ โดย ไม่ถือว่ารัฐบาลไทยแทรกแซง

เขากล่าวว่า เป็นที่น่าสังเกตว่านายคาร์ลอส ตัน (Carlos Tan) หัวหน้าสำนักงานไอเอฟซีใน กรุงเทพปัจจุบันเป็นหนึ่งในกรรมการของคณะกรรมการเจ้าหนี้ทีพีไอ ซึ่งช่วงที่บริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์สในเครือบริษัท เฟอร์เรียร์ ฮอดจ์สัน (ประเทศไทย) ที่จดทะเบียนที่เกาะบริติช เวอร์จิน ไอส์แลนด์ เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ ให้ค่าตอบแทนคณะกรรมการเจ้าหนี้เดือนละ 1 แสนเหรีญสหรัฐ หรือประมาณ 4.3 ล้านบาท

"หากตั้งคณะกรรมการร่วมเป็นผู้บริหารแผนทีพีไอใหม่จะไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนให้คณะกรรมการเจ้าหนี้ต่อไปแน่" เขากล่าว

ไอเอฟซีกับประเทศไทย

ไอเอฟซียังกล่าวอีกว่า ภาระข้อผูกพันต่อประชาชน ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาระยะยาวของภาคเอกชนในไทยของ ไอเอฟซี รวมถึงแผนการต่างๆ ที่จะสนับสนุนไทย ผ่านการลงทุนธุรกิจของไทย ไอเอฟซีมองการลง ทุนใหม่ๆ โครงสร้างพื้นฐานภาคเอกชน ตลาดทุน ภาคธนาคาร งานด้านสุขภาพ และการศึกษา

ไอเอฟซีประกอบด้วยสมาชิก 174 ประเทศ รวมทั้งไทย ตั้งแต่ปี 2502 เป็นต้นมา ไอเอฟซีเริ่มเข้ามาลงทุนโครงการต่างๆ ของไทย ซึ่งให้เงินกู้กับโครงการในไทย 2.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ประกอบด้วยเงินกู้ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ จาก บัญชีไอเอฟซีเอง และ 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ผ่านการให้เงินกู้รวมกลุ่ม กับกลุ่มธนาคารต่าง ๆ

หลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 การปรับโครง สร้างที่ประสบความสำเร็จของธุรกิจที่ประสบปัญหา กลายเป็นปัจจัยสำคัญฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย เป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับประเทศ ที่การปรับโครง สร้างจะเกิดขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจเพื่อ จะให้เกิดความมั่นใจว่าธุรกิจยังคงดำเนินกิจการ อยู่ได้ สามารถผลิตสินค้าและบริการ และคงการ จ้างงาน แม้ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ

นักลงทุนต้องมั่นใจกฎระเบียบต่างๆ เพื่อจะคงการให้ความสนับสนุนเงินทุน ที่จะเป็นแรง ผลักดันสำคัญ สร้างให้เกิดความเจริญเติบโตกับ เศรษฐกิจต่อไป บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (ไอเอฟซี) ซึ่งเป็นหน่วยงานภาคเอกชนกลุ่ม

ธนาคารโลก ยกตัวอย่างให้เห็นกรณีต่างๆ ในไทย

ความร่วมมืออันดีของทุกๆ ฝ่าย ช่วยให้ทั้งเอเอฟซี และเจ้าหนี้รายอื่นๆ ร่วมกับฝ่ายบริหารบริษัท ปรับโครงสร้างกิจการ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ กรณีดังกล่าวเหล่านี้ ประกอบด้วย ศูนย์การแพทย์บำรุงราษฎร์ เทเลคอมเอเชีย และปูนซีเมนต์นครหลวง ยังประกอบด้วยกรณีอื่นๆ เช่น สหฟาร์ม สตาร์ปิโตรเลียม ทุนเท็กซ์

ภาคบริการ

ศูนย์การแพทย์บำรุงราษฎร์นำไทยเข้าสู่อุตสาหกรรมบริการทางการแพทย์ ผลการดำเนิน งานโรงพยาบาล อยู่เหนือความคาดหมายไอเอฟซี ซึ่งเป็นเจ้าหนี้บำรุงราษฎร์ ซึ่งส่วนใหญ่ เนื่องจาก แผนธุรกิจที่ดำเนินการที่ดี และสร้างส่วนแบ่งตลาดที่ประสบความสำเร็จ ทั้งระดับประเทศและภูมิภาค

หลังปรับโครงสร้างเงินกู้ 54 ล้านเหรียญสหรัฐของไอเอฟซีที่ประสบความสำเร็จเมื่อเร็วๆ นี้ ปริมาณคนไข้ของศูนย์การแพทย์เพิ่มขึ้นถึงระดับ ที่ประมาณการไว้สำหรับปี 2549 อย่างรวดเร็ว ซึ่ง ส่งผลให้ศูนย์สามารถชำระหนี้เงินกู้ได้ก่อนกำหนด

ทำนองเดียวกัน บริษัทโทรคมนาคมชั้นนำของประเทศก็ประสบความสำเร็จพลิกฟื้นกิจการ ด้วยการสนับสนุนของไอเอฟซี ให้เงินลงทุนประเภทกึ่งทุน 25 ล้านเหรียญสหรัฐ และค้ำประกันเครดิตบางส่วน 75 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งส่งผลเทเลคอมเอเชียยึดกำหนดเวลาชำระหนี้ยาวขึ้น และใช้กระแสเงินสดกิจการ ชำระหนี้ได้

ปัจจุบัน เทเลคอมเอเชียให้บริการด้านข้อมูลและสื่อสารที่กว้างขึ้นและดีกว่าเดิมให้ลูกค้าบุคคลและองค์กร เพราะความคล่องตัวการ เงินที่มากขึ้น จากความสามารถหาแหล่งเงินกู้เงินบาทได้

ภาคอุตสาหกรรม

ปูนซีเมินต์นครหลวง ผู้ผลิตซีเมนต์รายใหญ่อันดับ 2 ของไทย และเป็นผู้นำส่งออกซีเมนต์ของไทยตั้งแต่ปี 2521เป็นต้นมา ไอเอฟซี มีบทบาทที่สำคัญให้เงินกู้หลัก 3 รายการให้บริษัท ตั้งแต่หลังปี 2540

เมื่อความตกต่ำครอบคลุมตลาดเอเชีย ไอเอฟซีแสดงบทบาทสำคัญแก้ปัญหา หนี้ระยะยาว ของบริษัท ปูนซีเมินต์นครหลวง 540 ล้านเหรียญ สหรัฐ การปรับโครงสร้างดังกล่าวเป็นหนึ่งในการ โครงการปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทด้วยความสมัครใจที่ใหญ่ที่สุดรายหนึ่งหลังวิกฤตเศรษฐกิจ

การปรับโครงสร้างดังกล่าว ถูกสร้างให้แข็ง แกร่งผ่านการเข้ามาของพันธมิตรธุรกิจรายใหม่ อัดฉีดทุนส่วนผู้ถือหุ้น ลดหนี้ขายสินทรัพย์ที่ไม่ ใช่ทรัพย์สินหลัก และมุ่งเน้นส่งออก เพื่อใช้ประโยชน์จากความสามารถการผลิตส่วนเกิน ปรับตารางชำระหนี้ที่เหมาะสมกับกระแสเงิน สดช่วยส่งผลบริษัทเข้มแข็งทางการเงิน และสร้างภูมิต้านทานการชะลอตัวเศรษฐกิจ และตลาดในอนาคตได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us