ม็อบคาราโอเกะเลือกวันประท้วงได้เหมาะ ตรงกับวันเปิดจองหุ้นวันแรกของค่าย RS พอดี
กล่าวหาเสียหายทำผิดกฎหมาย พร้อมขอให้ดำเนินคดีผู้ถือหุ้นตระกูลเชษฐ์โชติศักดิ์
วง ในแฉน่าจะมีอะไรไม่ชอบมาพากล เพราะมาประท้วงเหมือนกับวางแผนไว้ล่วงหน้า เพื่อดึงให้หุ้น
RS ที่กำลังร้อนแรงอยู่ในขณะนี้เกิดอาการสะดุด ด้าน RS ย้ำเก็บลิขสิทธิ์ถูกต้อง
วานนี้ (12 พ.ค.) สมาพันธ์คาราโอเกะ (แห่งประเทศไทย) นำโดยนายวิจิตร ลิ้มสมบัติอนันต์
ประธานสมาพันธ์ พร้อมด้วยสมาชิกได้เดินทางมายื่นหนังสือเรียกร้องต่อนายวัฒนา เมืองสุข
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวหาเรื่องการจัดเก็บค่า ลิขสิทธิ์เผยแพร่ที่ไม่เป็นธรรมของพวกนายทุนค่ายเพลงยักษ์
ทั้งนี้ ในหนังสือที่ได้ยื่นเรียกร้องต่อกระทรวงพาณิชย์ มีใจ ความว่า
1.ไม่ควรกำหนดโทษทางอาญากับผู้ละเมิดสิทธิ์เผยแพร่ต่อสาธารณชน เพราะเจ้าของสิทธิ์ได้ประกาศทางอ้อมจากการเผยแพร่ด้วย
เห็นควรให้เป็นความผิดทางแพ่งเท่านั้น
2.ควรให้สนง.ตำรวจแห่งชาติ ลดค่าประกันตัวลงเหลือ 10,000 บาท หรือใช้บุคคล 2
คนค้ำประกัน เพราะผู้ละเมิดลิขสิทธิ์เผยแพร่ต่อสาธารณชนะไม่ใช้อาชญากร ไม่สมควรต้องติดคุก
หนังสือยังระบุอีกว่า ขณะนี้การจับกุมได้ทวี ความรุนแรง และเลวทรามมากขึ้น โดยเฉพาะ
TCC (บริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด) จ้างตำรวจเศรษฐกิจและตำรวจท้องที่ออกไปร่วมจับกุม
ไม่แสดงบัตร ไม่มีหนังสือแจ้งข้อหา นำนักเลง 10 คนเข้าไปยกตู้เพลง เครื่องเสียง
คอมพิวเตอร์ โดยไม่บอกกล่าว ทำการเหมือนพวกโจรโดยไม่สนใจว่าอุปกรณ์ต่างๆ จะเสียหายหรือไม่อย่างไร
ร้านอาหารคาราโอเกะทั่วประเทศถูกจับกุมนับพันราย ถูก TCC ข่มขู่รีดไถเงินรายละไม่ต่ำกว่า
40,000 บาท สร้างความเดือดร้อนแสนสาหัส ต้องปิดร้าน หมดเนื้อหมด ตัว เป็นหนี้เป็นสิน
บางคนต้องติดคุก เพราะไม่มีเงินประกัน และนับร้อยรายที่จับกุมไม่ถูกต้อง TCC กำลังถูกดำเนินคดีฟ้องกลับเรียกค่าเสียหายหลายล้านบาท
และกรณีนายประสิทธิ์ มหายศ ต้องผูกคอตาย เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2546 อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
เพราะถูก TCC จับกุมและข่มขู่ว่าถ้า คดีขึ้นศาลจะต้องถูกปรับเป็นแสน และถูกจำคุก
หลายปี กรณีนี้ TCC จะต้องรับผิดชอบโดยตรง เพราะจับกุมผิด เพลงไม่ใช่สิทธิ์ของ
TCC ดังนั้น หุ้นส่วนบริษัท TCC ตระกูลเชษฐ์โชติศักดิ์ เจ้าของค่ายเพลง RS คือมาตกรฆ่าคนตาย
นอกจากนี้ TCC ซึ่งจัดตั้งโดยค่ายเพลง RS กระทำการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่เพลงโดยไม่
แจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลต่อกกร. (คณะกรรมการ ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ) มีความผิดตาม
พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ต้องระวางโทษจำคุก 5 ปี ปรับ 100,000
บาท และปรับอีกวันละ 2,000 บาท ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืน
สมาพันธ์ จึงมาร้องเรียนต่อกระทรวงพาณิชย์ ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาข้างต้นดังกล่าว
และร้องขอให้ดำเนินคดีกับผู้ถือหุ้นตระกูลเชษฐ์โชติศักดิ์ ที่ถือหุนของ TCC ในกรณีกระทำความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พ.ศ.2542 และกรณีจับกุมผิดพลาด ปฏิบัติไม่สุจริต ใช้กฎหมายข่มขู่จนชาวบ้านผู้สุจริตต้องผูกคอตาย
อย่างไรก็ตาม เวลาประมาณ 11.45 น. นาย วัฒนาได้เปิดโอกาสให้ผู้แทนสมาพันธ์ฯ เข้าพบ
และเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนเข้ารับฟังด้วย โดยในการเข้าพบผู้แทนสมาพันธ์ต่างระบุเป็นเสียงเดียวกันว่า
มีปัญหาเรื่องการถูกจับกุมโดย TCC ที่กล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์ และในการจับกุมได้มีการข่มขู่
ยึดอุปกรณ์ กระทั่งจับใส่กุญแจมือ หรือล่าสุดได้กดดันจนถึงขั้นมีคนผูกคอตาย โดยพุ่งเป้าไปยังค่าย
RS โดยตรง
ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าในการกล่าวหาการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ของค่ายเพลงไม่เป็นธรรมนั้น
ไม่ได้มีการอ้างถึงบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) แต่อย่างใด ทั้งๆ ที่แกรมมี่เองก็มีการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์การเผยแพร่เพลงต่อสาธารณชน
เช่นเดียวกัน โดยมีบริษัท จีพาเท้นท์ จำกัด เป็นผู้จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์
นายวัฒนากล่าวว่า กกร.ได้มีการนำอัตราค่า จัดเก็บลิขสิทธิ์เข้ามาเป็นสินค้าควบคุม
และได้มีการกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องแจ้งรายละเอียดเพลง อัตราค่าจัดเก็บและต้นทุนมาให้กรมการค้าภายใน
และเท่าที่ทราบผู้ประกอบการ ได้มีการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากความไม่เข้าใจ
และได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรมการค้าภายใน กรมทรัพย์สินทางปัญญาไปดูว่าจะหาทางออกในเรื่องนี้ได้อย่างไร
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ปัญหาเรื่องการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์คาราโอเกะได้ข้อยุติมาตั้งนานแล้ว
และค่ายเพลงยักษ์ทั้ง 2 ค่าย ไม่ว่าจะเป็น RS และแกรมมี่ ต่างก็มีการจัดเก็บ ค่าลิขสิทธิ์ตามที่กฎหมายให้สิทธิ์เอาไว้
ซึ่งไม่รู้ว่าทำไมถึงมามีปัญหาได้อีก เพราะเรื่องนี้จบไปตั้งนานแล้ว ตั้งแต่ดึงให้เป็นบริการควบคุม
แต่จากการพิจารณาในเบื้องต้น อาจจะเป็นเรื่องของ การประกอบธุรกิจ ที่ไม่ต้องการให้คู่แข่งเกิด
เพราะวานนี้ (12 พ.ค.) เป็นวันแรกของการเปิดให้จองหุ้นของบริษัท อาร์เอส โปรโมชั่น
จำกัด (มหาชน)
"เรื่องนี้ต้องดูให้ลึกๆ ถ้าดูผิวเผินจะเข้าทางฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ และจะเป็นการที่ว่ารัฐไปเข้าข้างฝ่ายหนึ่ง
และทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียหาย"
ขณะเดียวกันผู้แทนสมาพันธ์ฯ รายหนึ่ง ยังพูดอย่างชัดเจนหลังจากที่ได้มีการหารือเสร็จว่า
หุ้น RS เปิดตัว 28 บาท เดี๋ยวจะเหลือ 18 บาทแล้ว ซึ่งเป็นการพูดในลักษณะที่ตรงตามที่หลายๆ
ฝ่ายได้ประเมินไว้ว่าการจัดม็อบครั้งนี้น่าจะมีอะไรไม่ชอบมาพากล
ด้านนายสุทธิศักดิ์ ประศาสน์ครุการ ผู้จัดการ สำนักงานกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
บริษัท อาร์เอส โปรโมชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า RS ทำตามกฎหมายทุกอย่าง ก่อนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ก็ได้มีการแจ้งตามที่กกร.กำหนด
เก็บแล้วก็มีการจัดส่งให้สรรพากรทุกเดือน และสามารถตรวจสอบได้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะมีคนบางกลุ่มขอเป็นตัวแทนในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ให้กับ
TCC แต่ TCC ไม่ให้จนเกิดมีปัญหาขึ้นมา
นอกจากนี้ การกล่าวหาว่า TCC ไม่มีอำนาจ ในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ก็ไม่ถูกต้อง
เนื่องจากแม้ ในตอนแรกจะมีค่ายเพลงมาขอให้ TCC จัดเก็บ ค่าลิขสิทธิ์ให้ และภายหลังได้ถอนตัวออกไป
และ TCC ยังเก็บค่าลิขสิทธิ์อยู่ ซึ่งก็สามารถทำได้ เพราะ เรื่องลิขสิทธิ์เพลงเป็นของครูเพลง
และการจัดเก็บ ก็จัดเก็บส่งให้กับครูเพลง ไม่ใช่เก็บให้ค่ายเพลง ซึ่งจะเห็นได้ว่าจนถึงขณะนี้
TCC มีจำนวน เพลง มากถึง 3 หมื่นเพลง จากเดิม 2 หมื่นเพลง