Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 ธันวาคม 2550
สภาพัฒน์ฯคาดจีดีพีปีหน้าโต 4-5% แนะพัฒนาโครงการพื้นฐานเสริมศก.แกร่ง             
 


   
www resources

โฮมเพจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

   
search resources

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Economics




เลขาฯสภาพัฒน์ดักคอรัฐบาลใหม่อย่าทิ้งโครงการพื้นฐาน-ลอจิสติกส์ ระบุจะเป็นภูมิคุ้มกันสภาวะเศรษฐกิจระยะยาว ขณะที่ประมาณการจีดีพีปีหน้า คาดขยายตัว 4-5% ส่วนน้ำมันดิบดูไบ แตะ 75-80 ดอลลาร์ต่อบาเรล จี้ธุรกิจไทยปรับตัวรับราคาน้ำมัน-การชะลอตัวเศรษฐกิจโลก

วานนี้(3 ธ.ค.) นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพีไตรมาส 3 (ตั้งแต่เดือนสิงหาคม-ตุลาคม)ของปี 2550 ว่า จีดีพีขยายตัวร้อยละ 4.9 สูงกว่าไตรมาส 2 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.3 และสูงกว่าไตรมาส 1 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.2 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการลงทุนของภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ภาคการส่งออกขยายตัวในเกณฑ์ดี แม้จะมีสัญญาณชะลอตัว

โดยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนปรับตัวดีขึ้นถึง 1.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกที่ขยายตัว 1.3% และไตรมาส 2 ขยายตัว 0.8% ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนเริ่มฟื้นตัวโดยเพิ่มขึ้น 1.1% จากที่ลดลง 2.3% ในไตรมาสแรก และขยายตัว 0.47% ในไตรมาส 2 เนื่องจากมีการก่อสร้าง นำเข้าอุปกรณ์เครื่องจักรมากขึ้น รวมถึงการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐเป็นไปตามเป้าหมาย 407,000 ล้านบาท เพิ่มจาก 348,588 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน การท่องเที่ยวกลับมาดีขึ้นมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น 2.2% จาก 0.4% ในไตรมาส 2 การส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ 1.2% อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 1.6% ลดลงจาก 2.4% ในไตรมาสแรก และ 1.9% ในไตรมาส 2 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2,928 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

นอกจากนี้ การผลิตสาขาอุตสาหกรรมมีการขยายตัวดีขึ้นกว่าไตรมาส 2 โดยอยู่ที่ร้อยละ 5.8 การก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 1.4 ดังนั้น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2550 จะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.5 แม้ราคาน้ำมันดิบโดยเฉลี่ยจะสูงกว่าที่คาดไว้เดิมเล็กน้อย แต่แรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อไม่มากนัก เนื่องจากโครงสร้างการใช้น้ำมันปรับตัวดีขึ้น ทำให้การปรับตัวในช่วงราคาน้ำมันสูงขึ้นทำได้ดี

"แม้ภาคการส่งออกจะมีแนวโน้มชะลอตัวใน 2 เดือนสุดท้ายของปีนี้ แต่ตัวเลขการส่งออกที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 27.9 ในเดือนตุลาคมจะทำให้การส่งออกรวมในไตรมาสสุดท้าย ยังขยายตัวได้ในอัตราที่ใกล้เคียงกับไตรมาส 3 ขณะที่การนำเข้าคาดว่าจะต้องเร่งตัวเองขึ้น ตามภาวะของการลงทุนที่เริ่มขยับตัว”นายอำพนกล่าว

นายอำพนกล่าวอีกว่า ภาพรวมเศรษฐกิจปลายปีนี้ยังดีขึ้นต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยบวกมากกว่าปัจจัยเสี่ยงที่เข้ามากระทบ ทำให้คาดว่าไตรมาส 4 จีดีพีจะขยายตัวในระดับ 4.6-4.7% ส่งผลให้ในปี 2550 คาดว่าเศรษฐกิจจะมีอัตราการขยายตัวไม่ต่ำกว่าระดับ 4.5% และเมื่อแนวโน้มเศรษฐกิจดีขึ้นต่อเนื่อง โดยมีทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบเข้ามากระทบ ยังคาดว่าเศรษฐกิจในปี 2551 จะขยายตัว 4-5% จากการลงทุนภาครัฐ ที่จะขยายตัวถึงร้อยละ 8 นอกจากนั้นยังมีโครงการที่ผ่านบีโอไอที่จะเริ่มดำเนินการในปี 2551 ที่กระจายตัวในกลุ่มเอสเอ็มอี ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร เอทานอลและผลิตภัณฑ์พลาสติก

ทั้งนี้ ปัจจัยบวกมาจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ อัตราว่างงานต่ำ การปรับเงินเดือนข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ การดำเนินนโยบายขาดดุลงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ การเมืองมีความชัดเจน เมื่อมีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหาร จึงสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงเรื่องราคาน้ำมันระดับสูง ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอลงที่อาจรุนแรงกว่าคาดการณ์ไว้ จากปัญหาซับไพรม์ของสหรัฐ และราคาน้ำมันตลาดโลก รวมถึงปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้เศรษฐกิจโลกปี 2551 จะขยายตัวประมาณ 4.5% ชะลอลงจาก 4.8% ในปี 2550

"จากความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอกดังกล่าว จะทำให้มีการแข่งขันสูงในกลุ่มผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารทะเลกระป๋อง เฟอร์นิเจอร์ และสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ รวมทั้งกฎเกณฑ์ทางมาตรฐานคุณภาพสินค้าที่เข้มงวดขึ้น ดังนั้น นักธุรกิจไทยควรต้องเร่งปรับตัวให้ทันด้วย"เลขาธิการสภาพัฒน์กล่าว

อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปี 2551 การนำเข้าจะขยายตัว 12.5% จากที่ขยายตัว 10% ในปี 2550 เพราะมีการนำเข้าเครื่องมือเครื่องจักรมารองรับการลงทุน ทำให้ยอดดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลน้อยลง จาก 4.9% ในปี 2550 ลดลงเป็น 3.6% ในปี 2551 การลงทุนจะเพิ่มขึ้นจาก 1.3% ในปี 2550 เป็น 5.8% โดยเฉพาะเป็นผลมาจากการใช้จ่ายภาครัฐลงทุนเพิ่มขึ้นจาก 4.5% เป็น 8% ในปี 2551 การบริโภคเพิ่มขึ้น 3.1% จากในปี 2550 เป็น 4.5% ในปี 2551

ส่วนการส่งออกคาดว่าจะมีมูลค่า 163,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัว 10% ลดลงจากปี 2550 ที่ขยายตัว 16% และมีมูลค่าการส่งออก 148,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราเงินเฟ้อปี 2551 จะอยู่ที่ 3.0-3.5% จาก 2.3% ในปี 2550

นอกจากนี้ ยังเชื่อว่า ปี 2551 ราคาน้ำมันดิบดูไบ จะเฉลี่ยเท่ากับ 75-80 ดอลลาร์ต่อบาเรล เนื่องจากตลาดน้ำมันยังคงตึงตัว แต่คาดว่าราคาน้ำมันดิบจะชะลอลงเล็กน้อยในครึ่งหลัง และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่คาดว่าจะเริ่มทรงตัวได้ดีขึ้นในครึ่งหลังของปี รวมทั้งการปรับเพิ่มกำลังผลิตของกลุ่มประเทศโอเปค

นาย อำพน ยังกล่าวอีกว่า ขณะนี้สภาพัฒน์จะกำลังศึกษานโยบายของพรรคการเมืองต่างๆอยู่ แม้ยังไม่ทราบว่าพรรคใดจะได้เป็นรัฐบาล แต่จุดสำคัญที่จะทำให้ภาวะเศรษฐกิจปี 2551 เติบโตได้ตามที่คาดหมายไว้ รัฐบาลชุดใหม่จะต้องดำเนินการลงทุนโครงการพื้นฐานที่จำเป็น และระบบลอจิสติกส์ของภาครัฐตามมติคณะรัฐมนตรี ทั้งโครงการขนส่งมวลชน เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง 2 สาย สายสีม่วง 1 สาย และโครงการรถไฟรางคู่ เพราะจะทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์เริ่มทำการลงทุน หลังจากภาคเอกชนหยุดชะงักมากว่า 2 ปี

ทั้งนี้ รวมไปถึงการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามโครงการอยู่ดีมีสุข ของรัฐบาลชุดนี้ที่จัดสรรงบประมาณไปยังชุมชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก

"ดังนั้นปี 2551 ไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาล ถ้าหากจะเดินหน้าเพื่อให้เกิดความสมดุล โครงการเหล่านี้ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างฐานราก รวมทั้งภาคการท่องเที่ยวหรือภาคบริการที่เป็นการพึ่งพาเศรษฐกิจ รัฐบาลชุดใหม่ก็จะต้องยึดตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 มิฉะนั้นถ้าไม่ดำเนินการก็จะไม่มีภูมิคุ้มกันเศรษฐกิจต่อไป”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us