Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 ธันวาคม 2550
น้ำมัน-ของแพงดันเงินเฟ้อ พ.ย.พุ่ง 3 % ลุ้นปีหน้าโต 3.5 %             
 


   
search resources

Stock Exchange




อัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ย.พุ่ง 3% ผลพวงน้ำมันแพง ค่าครองชีพขยับ ส่วน 11 เดือนโต 2.2% “พาณิชย์” มั่นใจไม่เกินเป้าที่กำหนด ตั้งเป้าเงินเฟ้อปีหน้า 3-3.5% ท่ามกลางปัจจัยลบกดดัน “ศิริพล” เตือนพ่อค้าแม่ค้าอย่าอ้างก๊าซหุงต้มขึ้นปรับราคาอาหารสำเร็จรูป เพราะผลกระทบเล็กน้อย

นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือนพ.ย. เท่ากับ 118.9 สูงขึ้น 3.0% เทียบกับเดือนเดียวกันปี 2549 และสูงขึ้น 0.4% เทียบกับเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลให้เงินเฟ้อเฉลี่ย 11 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-พ.ย.) สูงขึ้น 2.2% เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา โดยมั่นใจว่าทั้งปีเงินเฟ้อจะไม่เกินไปกว่าเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดไว้ 2.5%

สาเหตุที่เงินเฟ้อสูงขึ้น 3.0% เป็นผลจากดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 3.2% จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 23.3% ค่าโดยสาธารณะสูงขึ้น 1.3% หมวดบันเทิงการอ่านและการศึกษา สูงขึ้น 1.4% ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 3.1% ขณะที่ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 2.6% สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ข้าวสารเหนียว 20.5% ไข่และผลิตภัณฑ์นม 8.0% ผลไม้สด 7.6% และเครื่องประกอบอาหาร 4.9%

ทั้งนี้ เงินเฟ้อเมื่อเทียบกับเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ที่สูงขึ้น 0.4% เป็นผลจากดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 0.8% ปัจจัยหลักเป็นการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นตามราคาตลาดโลก ส่งผลให้บริษัทน้ำมันปรับราคาขายปลีกภายในประเทศสูงขึ้น โดยเบนซิน 95 มีการปรับขึ้นราคา 4-5 ครั้ง เบนซิน 91 ปรับขึ้นราคา 3 ครั้ง และดีเซล ปรับขึ้น 3-4 ครั้ง ทำให้ดัชนีหมวดน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น 5.1%

นอกจากนี้ ดัชนีค่าโดยสารสาธารณะยังสูงขึ้น 0.6% เพราะได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันตั้งแต่กลางเดือนที่ผ่านมา และสินค้าหลายชนิดปรับราคาสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิต เช่น แบตเตอรี่รถยนต์ ยางรถยนต์ และค่าธรรมเนียมการศึกษาบางโรงเรียนที่สูงขึ้นจากการเปิดภาคเรียนที่ 2

ขณะที่ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 0.2% เนื่องจากผักและผลไม้หลายชนิดเริ่มราคาลง จากอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก ถึงแม้อาหารประเภทเนื้อสุกร ไก่สด ไข่ จะมีราคาสูงขึ้นก็ตาม

สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (เงินเฟ้อพื้นฐาน) เดือนพ.ย. 2550 เท่ากับ 106.2 สูงขึ้น 1.1% เทียบกับเดือนเดียวกันปีที่ผ่านมา และสูงขึ้น 0.1% เทียบกับเดือนที่ผ่านมาปีเดียวกัน ส่งผลให้ 11 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ย.) เงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้น 1.0% เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา

นายศิริพล กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อปี 2551 แล้ว โดยคาดว่าจะอยู่ระดับ 3.0-3.5% ภายใต้สมมุติฐานที่ระดับราคาน้ำมันดิบตลาดดูไบ 85 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ราคาขายปลีกน้ำมันภายในประเทศเบนซิน 95 อยู่ที่ระดับ 30.50-31.85 บาท/ลิตร เบนซิน 91 ราคา 29.75-30.80 บาท/ลิตร และดีเซล 27.67-28.52 บาท/ลิตร อัตราแลกเปลี่ยน 33-34 บาท/เหรียญสหรัฐ และอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน (อาร์/พี) อยู่ที่ 3-3.5% ซึ่งเงินเฟ้อในระดับ 3.0-3.5% ไม่ใช่สถานการณ์ที่น่ากังวล ภายใต้การขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศ 4-4.5%

“เป้าเงินเฟ้อ 3-3.5% เราประเมินจากสถานการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และได้รวมปัจจัยที่ว่าปีหน้าจะมีสินค้าหลายๆ รายการปรับราคาเข้าไปแล้ว” นายศิริพล กล่าว

ส่วนราคาก๊าซหุงต้มที่ปรับขึ้น 1.20 บาท/ก.ก. มีผลทำให้การใช้จ่ายในครัวเรือนเพิ่มขึ้น 18 บาท/เดือน/การใช้ก๊าซหุงต้ม 1 ถัง และอาหารสำเร็จรูปมีต้นทุนเพิ่มขึ้น 4-5 สตางค์/จาน จึงไม่มีเหตุผลที่ผู้ประกอบจะปรับขึ้นราคาอาหาร เนื่องจากต้นทุนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยหากพื้นที่ใดมีปัญหาราคาอาหารสำเร็จรูปสูงขึ้น กระทรวงพาณิชย์จะนำรถเข็ญธงฟ้าเข้าไป ทั้งนี้ หากผู้บริโภคพบเห็นการปรับปรับขึ้นราคาสินค้าและอาหารสำเร็จรูปอย่างไม่เป็นธรรม ขอให้แจ้งได้ที่สายด่วนฮอตไลน์แม่บ้าน 1569 กระทรวงพาณิชย์จะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ

อุตฯ ปี 51 โตท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงอื้อ

นางอรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหรือ โอไออี เปิด กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจปี 2551 ที่สำคัญซึ่งเป็นความท้าทายของรัฐบาลใหม่ได้แก่ ราคาน้ำมันที่คาดว่าจะทรงตัวในระดับสูง ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพหรือซับไพรม์ รวมไปถึงภาวะค่าเงินบาทที่ยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นและภาวะเงินเฟ้อในประเทศ

อย่างไรก็ตามจากการประเมินภาพรวมอุตสาหกรรมในปี 2551 แม้ว่าจะมีปัจจัยต่างๆ รุมเร้าแต่ก็คาดว่าอัตราการขยายตัวภาคอุตสาหกรรมหรือ GDP ภาคอุตสาหกรรมจะขยายตัว 5.1% เทียบจากปีนี้ เนื่องจากปัจจัยเรื่องการบริโภคและการลงทุนในประเทศน่าจะฟื้นตัวได้ดีขึ้นหลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่แล้ว โดยการลงทุนเมกะโปรเจกต์จากภาครัฐจะมีสำคัญต่อการกระตุ้นการลงทุนรวมด้วย

นอกจากนี้ ปัจจัยที่หนุนให้ภาคอุตสาหกรรมยังโตต่อเนื่องส่วนหนึ่งมาจากภาวการณ์ส่งออกของ 4 อุตสาหกรรมหลักที่ยังมีแนวโน้มที่ดีได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ปี 2551 คาดว่าจะส่งออกปรับเพิ่มขึ้น 12-15% จากความต้องการทั่วโลกที่ยังขยายตัวได้ดี อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ส่งออกจะเพิ่มขึ้น 10% ซึ่งพบว่าตลาดอาเซียนจะเติบโต อุตสาหกรรมอาหารขยายตัว 10% ซึ่งอาจจะชะลอตัวจากปีนี้ไปบ้างเนื่องจากเศรษฐกิจโลกในปีนี้ชะลอตัวลง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us