|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ธันวาคม 2550
|
|
ญาติสาวเทศห้ามมิให้ลูกชายนำขวดน้ำที่แช่จนเป็นน้ำแข็งมาเสิร์ฟในขณะที่กำลังเพลินกับอาหารกลางวันในสวนท่ามกลางอากาศร้อน 34 องศา พร้อมกับบอกว่าจะทำให้เสาะท้อง สาวไทยรีบยื่นมือไปรับขวดน้ำ เพราะชินเสียแล้วกับน้ำเย็น ยิ่งจับเป็นน้ำแข็งยิ่งชอบแต่แล้วทำให้นึกถึง ปู่ ด้วยว่าปู่ไม่ชอบให้ลูกหลานรับประทานน้ำแข็ง ปู่บอกว่าไม่ดีกับสุขภาพ แต่ไม่ได้แยกแยะว่าไม่ดีอย่างไร หลานๆ จึงยังคงแอบซื้อน้ำแข็งไม่ให้ปู่เห็น จนภายหลังปู่คร้านจะทัดทาน
ในวัยเด็ก น้ำแข็งไสใส่ถ้วยราดด้วยน้ำหวานเป็นของโปรด ต่อมาพัฒนาเป็นน้ำแข็งกด ก็น้ำแข็งไสนั่นแหละ ใส่แก้วแล้วกดแน่นจนจับตัว เสียบไม้ แล้วราดด้วยน้ำแดงหรือน้ำเขียว ชอบดูแม่ค้าไสน้ำแข็ง คล่องแคล่วราวกับไม่ได้ออกแรง เคยขอลองไสน้ำแข็ง พบว่าต้องใช้พลังเยอะไม่น้อย ขนมน้ำแข็งไสก็เป็นของชอบเช่นกัน ลอดช่องน้ำกะทิเอย ไหนจะเผือกและข้าวเหนียวดำ ไหนจะแตงไทย ไหนจะรวมมิตร อีกทั้งซ่าหริ่ม ลอดช่องสิงคโปร์ ฯลฯ
เด็กๆ ชอบไอศกรีมซึ่งเรียกง่ายๆ ว่าไอติม ที่ได้สัมผัสมีหลายรูปแบบ มีทั้งไอติมก้อนซึ่งอาแปะ ถีบรถจักรยาน มีถังไอศกรีมซ้อนท้ายมาขายหน้าบ้าน อาแปะจะล้วงไอศกรีมก้อนยาวออกมาจากถัง ตัดแล้วเสียบไม้ ได้ไอติมหนึ่งแท่ง ไอศกรีมแท่งกลมยาวเสียบไม้ไว้แล้วมีหลากรส อาเจ็กถีบรถสามล้อ ถังไอศกรีมขนาดใหญ่อยู่ด้านหน้ามาขายที่โรงเรียนและตามมาขายหน้าบ้านในตอนเย็น อาเจ็กเรียงไอศกรีมแท่งเสียบไว้ ใครอยากได้รสไหน หยิบถูกไม่เคยพลาด ใครได้ไม้แดง จะได้กินฟรีอีกหนึ่งแท่ง จึงมักเล่นเส้น ขอให้อาเจ็กหยิบไม้แดงอยู่เนืองๆ
หวานเย็นก็ถูกใจเด็ก อาแปะสะพายกระติก น้ำแข็ง สั่นกระดิ่งพร้อมกับร้องว่า หวานเย็น ซึ่งก็คือไอศกรีมชนิดหนึ่งนั่นเอง เพียงแต่เนื้อหวานเย็น ไม่แน่นเท่าไอศกรีม
ไอศกรีมกะทิเป็นสุดยอดของไอศกรีม หอมมันอร่อยกับลอดช่อง เผือก ข้าวโพด เนื้อ มะพร้าวเผาที่ผสมมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งไอศกรีมกะทิที่ใส่ขนมปังแถมด้วยข้าวเหนียว เป็นสิ่งที่โหยหา ทว่าในปัจจุบันไม่ค่อยกล้าซื้อตามรถเข็น เพราะไม่มั่นใจด้านความสะอาด
ความคุ้นเคยกับไอศกรีมทำให้มองหาเมื่อมาอยู่เมืองเทศ ครั้งที่เรียนหนังสือที่เมืองนีซ ชอบซื้อไอศกรีมก่อนเดินไปยังห้องเรียน แม้อากาศจะเย็นแสนเย็น จนต้องกระชับเสื้อโค้ทให้แนบตัว
ชาวฝรั่งเศสชอบรับประทานไอศกรีม ฝรั่งเศสเรียกว่า la creme glacee หรือเรียก สั้นๆ ว่า la glace ซึ่งคือ ice-cream ในภาษาอังกฤษ ไทยออกเสียงตามภาษาอังกฤษ จึงเป็นไอศกรีม ส่วนชาวอาหรับเรียกว่า charbats เป็นที่มาของคำว่า sorbet หรือ sherbet ในภาษาอังกฤษนั่นเอง พลันที่อากาศ อุ่นขึ้น ร้านขายไอศกรีมมีผู้เข้าแถวรอซื้อกันหนาตา ตู้แช่แข็งในซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่
ไอศกรีมทำจากนม ดังนั้นไอศกรีม 1 ลิตรจึงมีไขมัน 25 เปอร์เซ็นต์ สารอาหารมีทั้งโปรตีน น้ำตาลและแคลเซียม แต่เดิมนั้นแต่ละเมืองจะมีโรงผลิตไอศกรีมของตนเองหากในปัจจุบันไอศกรีมกลายเป็นอุตสาหกรรม เช่น La Laitiere ของบริษัท Nestle ส่วน Miko, Magnum และ Carte d'Or เป็นของ Unilever และ Haagen Dazs ของ General Mills
จะเห็นว่าโรงงานผลิตไอศกรีมเป็นของชาวตะวันตก ทั้งที่ไอศกรีมถือกำเนิดในประเทศ จีน และมาร์โคโปโล (Marco Polo) นี่เองที่นำวิธีการทำไอศกรีมแบบจีนกลับไปเผยแพร่ใน ยุโรป ชาวซิซิลีผู้หนึ่งจึงปรุงไอศกรีมตามสูตรและวิธีการแบบจีน คาเธอรีน เดอ เมดิซีส (Catherine de Medicis) เป็นผู้นำไอศกรีมมาสู่ราชสำนักฝรั่งเศส มีการค้นพบภาชนะละม้ายเครื่องทำไอศกรีมที่พระราชวังแวร์ซายส์ (Versailles) และปราสาทชองติยี (Chantilly) ผู้นำไอศกรีมมาสู่กรุงปารีสจนเป็นที่นิยมแพร่หลายเป็นชาวอิตาลีชื่อ ฟรันซิสโก โปรคอปิโอ เดอิ โกเตลลี (Francesco Procopio dei Cotelli) ภายหลังเปลี่ยนสัญชาติเป็นฝรั่งเศส และได้ชื่อใหม่ว่า ฟรองซัวส์ โปรกอป กุลตูร์ (Franois Procope Couture) ซึ่งมาเปิดร้าน Le Procope ในปี 1689 และกลายเป็นศูนย์รวมนักคิดนักเขียนอย่างโวลแตร์ (Voltaire) โมลิแอร์ (Moliere) โรเบสปิแอร์ (Robespierre) ออนอเร ดอ บัลซัก (Honore de Balzac) วิคตอร์ อูโก (Victore Hugo) เป็นต้น Le Procope ขึ้นชื่อด้านไอศกรีมและกาแฟ อยู่บนถนน rue de l'Ancienne-Comedie ในปัจจุบัน
ร้านไอศกรีมที่เห็นผู้คนไปมะรุมมะตุ้มคือร้าน Berthillon ที่ถนน rue Saint-Louis-en-l'ile บนเกาะแซงต์-หลุยส์ (Saint-Louis) มีทั้งชาวฝรั่งเศสและนักท่องเที่ยวที่มาตามโพยในหนังสือนำเที่ยว ที่เห็นมากที่สุดคือชาวอเมริกัน และญี่ปุ่น ไอศกรีม Berthillon เป็นธุรกิจของครอบครัว Berthillon เริ่มทำไอศกรีมตั้งแต่ปี 1954 นับไปกว่า 50 ปีแล้ว สูตรสำเร็จคือการใช้ส่วนผสมที่เป็นผลิตภัณฑ์ชั้นดี ไม่ว่าจะเป็นนมที่คั้นจากเต้า ผลไม้สด โกโก้จากประเทศโก้ต ดิวัวร์ (Cote d'Ivoire) และอเมริกาใต้ ส่วนวานิลลา Bourbon จากมาดา กัสการ์ (Madagascar) เป็น ต้น นอกจากขายไอศกรีมหน้า ร้านแล้ว Berthillon ยังมี salon de the หรือ tea-room ห้องน้ำชาอยู่ข้างๆ เสิร์ฟอาหาร ง่ายๆ ชา กาแฟและไอศกรีม อีกทั้งมีร้านอาหาร Le Mathu-salem ที่ 5 bis boulevard Exelman ในเขต 16 (16eme arrondissement) ของกรุงปารีส sorbet ของ Berthillon หรืออีกนัยหนึ่ง sherbet ที่ทำจากผลไม้ไม่ใส่นมหรือครีม ขึ้นชื่อลือชามาก รสเด่นคือสตรอเบอร์รี่
ความอร่อยของ Berthillon ขึ้นชื่อจนร้านกาแฟและร้านอาหาร จำนวนไม่น้อยรับไอศกรีมของ Berthillon มาขายด้วย และติดป้ายบอกในช่วงฤดูร้อน ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม แฟนของ Berthillon อาจต้องผิดหวัง เพราะร้านปิดพักร้อนอย่างน้อยหนึ่งเดือน จึงต้องไปแสวงหาความอร่อยจากร้านอื่นที่มีป้าย Berthillon ติดอยู่
ร้านอาหารบางร้านผลิตไอศกรีมเองด้วย เป็นโฮมเมดที่น่าลองลิ้ม เช่นร้าน La Marquisette 31 avenue de Saint-Ouen ในเขต 17 (17eme arrondissement) ของกรุงปารีส หรือ Raimo ที่ bouverad de Reuilly ในเขต 12 (12eme arrondissement) เป็นต้น ในเมืองต่างๆ มักจะมีผู้ผลิตไอศกรีมชื่อดังของท้องถิ่น ดังในกรณีของ Maison Dagniaux ในเมืองลิล (Lille) ซึ่งก่อตั้งตั้งแต่ปี 1927 ร้านไอศกรีมเหล่านี้ใช้ผลิตภัณฑ์สดเท่านั้น ในขณะที่ไอศกรีม หลายๆ ยี่ห้อใช้นมผงผสมกลิ่นที่ต้องการเท่านั้น นั่นย่อมเป็นความแตกต่าง
นอกจากนั้นร้านขนมใหญ่ๆ อย่าง Laduree, Dalloyau, Lenotre และ Fauchon ต่างก็ผลิตไอศกรีม ด้วย มีรสต่างไปตามฤดูกาล
ไอศกรีมยอดนิยมตลอดกาลน่าจะเป็นวานิลลา หากใช่ว่าจะอร่อยเสมอกันทุกเจ้า ไอศกรีมวานิลลาไม่ควรจะมีสีเหลืองจัดเกินไป เพราะแสดงว่าใช้สารทดแทนที่เข้ากลิ่นวานิลลา หากเป็นวานิลลาธรรมชาติแล้ว ไอศกรีมจะมีสีนวลและอาจมีจุดดำเล็กๆ บ้าง เพราะนั่นแสดงว่ามีเศษเปลือกวานิลลาตกค้าง ไอศกรีมที่ผลิตจากโรงงานอุตสาห-กรรมมักใช้นมผง หากไอศกรีมพื้นบ้านทำด้วยนมสดร้อยเปอร์เซ็นต์หรือนมพร่องมันเนย ไข่สด ครีมสดและวานิลลา ไอศกรีมที่ยิ่งหวาน จะยิ่งมีเนื้อเนียน อย่างไรก็ตาม จะต้องให้ลิ้นอวลรสวานิลลาก่อนน้ำตาล จึงจะถือเป็นไอศกรีมวานิลลาชั้นดี
Figaroscope ไปชิมไอศกรีมวานิลลาชื่อดังในกรุงปารีส 20 เจ้าด้วยกัน พร้อมกับให้คะแนน โดยคำนึงถึงรูปลักษณ์ สี จุดดำในเนื้อไอศกรีม เนื้อไอศกรีมต้องนุ่มนวลและอุณหภูมิ ด้วยว่าไอศกรีมที่เย็นเกินไปจะทำให้รสชาติด้อยลงไป และที่สำคัญของรสชาติที่ไม่ควรให้รสหวานดับกลิ่นวานิลลา ผลก็คือไอศกรีม วานิลลาของร้าน Berthillon ได้คะแนนนำ กล่าวคือ 16.5 ตามมาด้วย Christian Constant และ Raimo ซึ่งได้ 15.5 คะแนนเท่ากัน Jean-Paul Hevin, Pascal และ Le Glacier ได้ 15 คะแนน ส่วน Gelati d'Alberto, Martine Lambert และ La Tropicale และ Damman's ได้ 14 คะแนน La Banquise ได้ 12 คะแนน ในขณะที่ Bac a Glaces และ Sccoop ได้ 12 คะแนน นอกจากนั้นได้คะแนนต่ำกว่า 10 ไม่ว่าจะเป็นไอศกรีมอิตาเลียนที่พยายามหาที่ยืนในฝรั่งเศส อย่าง Amorino หรือ La Marquisette และ Haagen Dazs ได้เพียง 8 คะแนนเท่านั้น
หากคำนึงถึงเฉพาะรูปลักษณ์ เนื้อและรส โดยไม่คำนึงราคาแล้ว Christian Constant ได้ 12.5 คะแนน Berthillon และ Jean-Paul Hevin ได้ 12 คะแนนเท่ากัน Raimo ได้ 11.5 คะแนน
Berthillon ได้กินบ่อยมาก จำจะต้องไปสรรหา Christian Constant หรือ Jean-Paul Hevin และ Raimo เสียแล้ว
|
|
|
|
|