Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2550
ขั้นตอนใหม่สำหรับการเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่น             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 


   
search resources

Law




สำนวน "บ้านเมืองมีขื่อมีแป" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายไว้ว่า "บ้านเมืองหรือประเทศย่อมมีกฎหมายคุ้มครอง" ซึ่งกฎหมายที่ว่าย่อมบัญญัติขึ้นมาเพื่อคุ้มครองให้เกิดความสงบสุขว่าด้วยสาระที่สอดคล้องกับสภาวการณ์ของประเทศนั้นๆ ซึ่งตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2007 ที่ผ่านมา ขื่อและแปที่ตราขึ้นมาใหม่ในประเทศญี่ปุ่นกลายเป็นขั้นตอนที่ชาวต่างชาติพึงรับรู้และปฏิบัติตามอย่างถูกต้องก่อนเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่น

สืบเนื่องมาจากการก่อวินาศกรรมถล่มตึก World Trade Center ที่นิวยอร์ก จนกลายเป็นข่าวสลดไปทั่วโลก เมื่อ 11 กันยายน 2001 ซึ่งสร้างความเสียหายทั้งชีวิต และทรัพย์สินจำนวนมหาศาล อีกทั้งความรู้สึกและความเป็นอยู่ของผู้คนที่สูญเสียบุคคลในครอบครัวหรือเพื่อนฝูงภายหลังเหตุการณ์ 911 ซึ่งไม่สามารถประเมินค่าออกมาเป็นตัวเงินได้

สหรัฐอเมริกาได้ดำเนินมาตรการตอบโต้หลายประการในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกันกฎระเบียบหลายอย่างในการคุมเข้มการเดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาของคนต่างชาติถูกนำมาใช้ โดยเฉพาะการเดินทางโดยเครื่องบินและการตรวจคนเข้าเมือง กระนั้นก็ดี ภายหลังจากการก่อการร้ายในครั้งนั้นแล้วก็ยังมีการก่อการร้ายข้ามชาติที่รุนแรงซึ่งแฝงด้วยวัตุประสงค์หลากหลายจากกลุ่มก่อการร้ายที่ทั้งออกมาอ้างตัวและไม่ได้อ้างตามมาอีกหลายครั้งดังนี้ 12 ตุลาคม 2002 ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย 16 พฤษภาคม 2003 ที่โมร็อกโก, 11 มีนาคม 2004 ที่สเปน และล่าสุด 7 กรกฎาคม 2005 ที่ลอนดอน

หนึ่งในกระบวนการตอบโต้จากกองทัพสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรซึ่งใช้เป็นเหตุผลในการโจมตีอิรักได้เริ่มขึ้นเมื่อ 20 มีนาคม 2003 และอีกหนึ่งปีถัดมารัฐบาล ญี่ปุ่นภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี Junichiro Koizumi ได้ตัดสินใจตอบรับเข้าร่วมเป็นหนึ่งในกองกำลังพันธมิตร นับเป็นการส่งกองกำลังป้องกันตัวเองแห่งราชอาณาจักรญี่ปุ่นออกนอกประเทศเป็นครั้งแรก หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเฝ้าประจำการในอิรักตามคำเชิญชวนของประธานาธิบดี George W. Bush

ถึงแม้ญี่ปุ่นไม่ได้แสดงบทบาทสำคัญในระหว่างประจำการในสงครามอิรัก แต่นั่นอาจเพียงพอสำหรับการกลายเป็นชนวนเหตุที่ทำให้ญี่ปุ่นตกเป็นอีกเป้าหมายหนึ่งในการก่อวินาศกรรมครั้งต่อไปของกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติได้

ยิ่งไปกว่านั้น ทางการญี่ปุ่นยังสืบทราบว่าหนึ่งในแกนนำกลุ่ม Al-Qaeda ซึ่งเกี่ยวพันกับเหตุการณ์วินาศกรรมถล่มตึก World Trade Center เคยเดินทางเข้าออกประเทศญี่ปุ่นถึง 4 ครั้ง โดยปลอมชื่อที่ใช้ในหนังสือเดินทางก่อนถูกจับตัวได้ที่ประเทศเยอรมนี เมื่อปี 2003 เพื่อป้องกันการก่อการร้ายข้ามชาติที่อาจเกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นนั้น รัฐสภาไดเอทได้ประกาศการเปลี่ยนแปลงกฎหมายควบคุมคนเข้าเมืองรวมทั้งกฎหมายการอนุญาตการพำนักของผู้อพยพ เมื่อ 24 พฤษภาคม 2006

โดยจัดสรรงบประมาณ 3.6 พันล้านเยนในการดำเนินการและติดตั้งระบบใหม่เพื่อตรวจสอบการเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นที่ท่าอากาศยาน 27 แห่ง และท่าเรือ 126 แห่ง ทั่วประเทศ การตรวจเก็บข้อมูลชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่สองในโลกที่นำระบบนี้มาใช้หลังจากสหรัฐอเมริกาที่ได้เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2004

คนต่างชาติที่ประสงค์เดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นนับแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2007 เป็นต้นไปจะต้องทำการพิมพ์ลายนิ้วมือทั้งนิ้วชี้ข้างซ้ายและข้างขวา จากนั้นจะต้องถ่ายรูปด้วยเครื่องตรวจสอบ "US-VISIT" ซึ่งเป็นระบบเดียวกับที่ใช้ตรวจสอบที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองของสหรัฐอเมริกา

ในกรณีที่ข้อมูลลายพิมพ์นิ้วมือและรูปถ่ายมีส่วนสัมพันธ์กับฐานข้อมูลที่อยู่ใน Blacklist บุคคลนั้นจะถูกตรวจสอบอย่างละเอียดในขั้นตอนต่อไปที่อาจมีการสัมภาษณ์ในห้องแยกต่างหาก ซึ่งหากผลการตรวจสอบพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อการร้ายจริงบุคคลนั้นจะถูกจับกุม แต่ถ้าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องดังกล่าวจะได้รับการพิจารณาอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศในขั้นตอนต่อไป

ในทางกลับกันบุคคลที่ไม่มีข้อมูลต้องสงสัยจะผ่านไปยังขั้นตอนการตรวจคนเข้าขั้นตอนเดิมก่อนประทับตราอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นได้สำหรับบุคคลที่ปฏิเสธให้ความร่วมมือในการพิมพ์ลายนิ้วมือ และถ่ายรูปจะไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นโดยเด็ดขาด ขั้นตอนใหม่ในการตรวจคนเข้าประเทศญี่ปุ่นดังกล่าวจะได้รับการยกเว้นสำหรับชาวต่างชาติที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี, บุคคลที่ได้รับอนุญาตให้พำนักในประเทศญี่ปุ่นเป็นกรณีพิเศษ, บุคคลที่ได้รับเชิญจากหน่วยงานราชการของประเทศญี่ปุ่นและบุคคลที่ได้รับการรับรองสถานภาพทางการทูตหรือราชการ

ทั้งนี้บุคคลที่พำนักในประเทศญี่ปุ่นเป็นระยะเวลานาน อย่างเช่นนักเรียนต่างชาติ นักธุรกิจ บุคคลที่สมรสกับชาวญี่ปุ่นรวมถึงบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้พำนักในประเทศญี่ปุ่นถาวรก็ไม่ได้อยู่ในข่ายที่ได้รับการยกเว้นการพิมพ์นิ้วมือและถ่ายรูปทุกครั้งที่เดินทางกลับถึงประเทศญี่ปุ่นแต่อย่างใด แม้ว่าจะมีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าก็ตาม แต่ก็มีกลุ่มชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นเป็นเวลานานโดยเฉพาะชาวเกาหลีใต้และชาวจีนที่พยายามแสดงความไม่พอใจโดยการออกมาเรียกร้องและเคลื่อนไหวด้วยประเด็นที่ว่าขั้นตอนดังกล่าวถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

ในขณะเดียวกันฝ่ายกองตรวจคนเข้าเมืองได้พยายามชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการนำระบบตรวจสอบแบบใหม่มา ใช้ด้วยเหตุผลความปลอดภัยของทั้งชาวต่างชาติและชาวญี่ปุ่น ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันการก่อการร้ายข้ามชาติแล้วยังช่วยให้กรมตำรวจสามารถตรวจสอบและจับกุมผู้ร้ายข้ามแดน อาชญากร และชาวต่างชาติที่เข้ามากระทำผิดกฎหมายในประเทศญี่ปุ่นได้ง่ายขึ้นด้วย ขั้นตอนใหม่สำหรับการตรวจคนเข้าประเทศญี่ปุ่นจะสามารถป้องกันการก่อการร้ายข้ามชาติได้จริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงขั้นตอนเขียนเสือให้วัวกลัว คงต้องติดตามดูผลกันต่อไป แต่ที่แน่ๆ คือการเดินทางเข้าประเทศ ญี่ปุ่นนับจากนี้ไปจะต้องเตรียมพร้อมยอมรับระเบียบของขื่อและแปใหม่ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองทุกด่านของประเทศญี่ปุ่น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us