Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2550
“เงินเฟ้อ” ที่ฆ่าคนได้             
โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
 


   
search resources

Economics




เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาเกิดเหตุโศกนาฏกรรมแปลกๆ ขึ้นในประเทศจีนจากการเหยียบกันตายของคนจีนที่แย่งกันซื้อของในห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์ในเขตเมืองฉงชิ่ง เมืองใหญ่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน

ท่านผู้อ่านทราบไหมครับว่าทำไมเขาถึงเหยียบกันตาย?

คำตอบก็คือ "เพียงเพราะแย่งกันซื้อน้ำมันพืชลดราคา!"

เรื่องราวมันเป็นอย่างนี้ครับ... เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 10 พ.ย. ในห้างคาร์ฟูร์ ห้างดิสเคาท์สโตร์สัญชาติฝรั่งเศส สาขาซาผิงป้า ที่ตั้งอยู่ในเมืองฉงชิ่ง เนื่องจากทางห้างประกาศลดราคาน้ำมันพืชขวดขนาด 5 ลิตรลงร้อยละ 20 จากขวดละ 51.4 หยวนเหลือ 39.9 หยวน เพื่อฉลองในโอกาสครบรอบ 10 ปีของการเปิดสาขา โดยมีเงื่อนไขว่าลูกค้าแต่ละคนสามารถที่จะซื้อน้ำมันดังกล่าวได้เพียง 2 ขวดเท่านั้นเนื่องจากสินค้ามีจำนวนจำกัด

การออกประกาศลดราคาดังกล่าวของห้างคาร์ฟูร์ส่งให้ฝูงชนชาวจีนรุดไปรอคิวกันล่วงหน้าก่อนที่ห้างจะเปิดนานหลายชั่วโมง โดยมีบางคนไปรออยู่ที่หน้าห้างตั้งแต่เวลา 4 นาฬิกา

ทั้งนี้ด้วยเงื่อนไขของทางห้างที่อนุญาตให้ลูกค้าแต่ละคนสามารถซื้อน้ำมันลดราคาดังกล่าวได้เพียง 2 ขวดก็ทำให้บางครอบครัวถึงกับระดมสรรพกำลังยกพลกันไปทั้งบ้านเพื่อทำให้ครอบครัวตนสามารถซื้อน้ำมันลดราคากลับมาให้ได้มากที่สุด โดยรายงานข่าวจากสื่อมวลชนจีนระบุว่า ในเช้าวันเสาร์ที่เกิดเหตุมีประชาชนชาวฉงชิ่งมารอคิวซื้อน้ำมันพืชลดราคารวมแล้วมากถึง 2,000 คนเลยทีเดียว

สุดท้ายในเวลา 8 นาฬิกากว่าๆ เมื่อห้างเปิดทำการ ผู้คนราว 2,000 คนก็แห่กันเข้าไปในห้าง ยื้อยุดฉุดกระชากกันอย่างไม่เกรงใจกันและกัน เมื่อมีคนลื่นก็ใช้กำลังเหยียบย่ำกันอย่างไร้สติ จนในที่สุดเกิดเหตุผู้เสียชีวิตจำนวน 3 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 31 ราย โดยในจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บดังกล่าวมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสอยู่ 7 ราย

หลังเกิดเหตุการณ์ห้างคาร์ฟูร์สาขาดังกล่าวถูกปิดลงชั่วคราว เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่รัฐของจีนเข้าตรวจค้นหาสาเหตุของการเสียชีวิตและการบาดเจ็บ

โศกนาฏกรรมครั้งดังกล่าวถูกเรียกขานในหมู่สื่อมวลชนจีนว่า 'เหตุการณ์ 11-10 การเหยียบกันที่ห้างคาร์ฟูร์' โดยสองวันให้หลังกระทรวงพาณิชย์ของจีนได้ออกประกาศห้ามบริษัทและห้างร้านต่างๆ ทั่วประเทศจัดกิจกรรม ส่งเสริมการขายแบบจำกัดเวลา โดยใจความหลักของประกาศระบุว่า

"ด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัย นับ แต่นี้ไปบริษัทต่างๆ ห้ามจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายแบบจำกัดเวลาที่อาจก่อให้เกิดการติดขัดของการจราจร อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และจัดการอย่างไร้ระเบียบ"

ซึ่งในเวลาต่อมาประกาศดังกล่าวได้รับการตอบรับจากคณะกรรมการด้านการค้าของเทศบาลเมืองใหญ่ต่างๆ ทั่วประเทศจีนที่ออกประกาศไม่อนุญาตให้ร้านค้าต่างๆ จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายแบบจำกัดเวลาและจำกัดจำนวน โดยเฉพาะประเภทสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันอย่าง เช่น ข้าวและธัญพืช, น้ำมัน, เกลือ, เนื้อสัตว์, ไข่ เป็นต้น

ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ก็เคยเกือบที่จะเกิดเหตุโศกนาฏกรรมคล้ายๆ กันนี้ ณ เมืองใหญ่อื่นๆ ของจีนมาก่อนแล้ว เช่น เมื่อสองปีก่อนเกิดเหตุลูกค้าเหยียบกันเพื่อแย่งซื้อสินค้าลดราคาในห้างแห่งหนึ่งของเมืองเฉิงตู จนทำให้มีผู้บาดเจ็บ 5 ราย และเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาก็เกิดเหตุมีผู้บาดเจ็บกว่า 15 คนจากการแย่งซื้อน้ำมันพืช ลดราคาในซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่งในนครเซี่ยงไฮ้

จากเหตุการณ์ที่เมืองฉงชิ่งได้ก่อให้เกิดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่สื่อมวลชนจีนทั่วประเทศและประชาชนจีนทั่วไปที่เข้ามาแสดง ความเห็นในอินเทอร์เน็ตที่ต่างก็ให้ความเห็นไปในทำนองเดียวกันว่า โศกนาฏกรรมดังกล่าวเกิดจากความเห็นแก่ได้ของบริษัท ห้างร้านต่างๆ ที่ต้องการเพียงแต่จะดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการขายแบบฉวยโอกาสโดยไม่มีการเตรียมการ และดูแลเรื่องความปลอดภัยให้กับลูกค้า

จากเหตุโศกนาฏกรรมดังกล่าว นอกจากในแง่มุมที่ภาครัฐของจีนละเลยและขาดมาตรการ การดูแลความปลอดภัยให้แก่ประชาชนแล้ว โดย ส่วนตัวผมคิดว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ยังบ่งชี้ให้เห็นถึง ปัญหาทางภาวะสังคมเศรษฐกิจจีนอีกประการหนึ่ง ที่ปัญหาถูกปล่อยปละจนทำให้สถานการณ์ ไหลลึกลงไปสู่ภาวะวิกฤติอีกระดับหนึ่งแล้วซึ่งปัญหาดังกล่าวคือ 'ปัญหาเงินเฟ้อ'

คล้อยหลังโศกนาฏกรรมการเหยียบกันที่ห้างคาร์ฟูร์ได้ 3 วัน สำนักงานสถิติแห่งประเทศจีนออกมาประกาศตัวเลขดัชนีผู้บริโภคของจีนในเดือนตุลาคม ระบุว่าในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาดัชนีราคาผู้บริโภคหรือ CPI (Consumer Price Index) นั้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับหนึ่งปีก่อนหน้านั้น ส่งผลให้คาดการณ์ตัวเลข เงินเฟ้อทั้งปี 2550 ของเศรษฐกิจจีนนั้นขยับขึ้นเป็นร้อยละ 4.5 อย่างช่วยไม่ได้

อย่างไรก็ตาม หากหันมาพิจารณาถึงรายละเอียดของการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของจีนในเดือนตุลาคมก็จะพบกับข้อมูลที่ค่อนข้างจะน่าตื่นตระหนกยิ่ง กล่าวคือ จากตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เทียบแบบปีต่อปี สาเหตุหลักที่ทำให้ดัชนีดังกล่าวพุ่งสูงขึ้นก็เนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าประเภทอาหารที่เทียบกับเดือนกันยายนในปีนี้แล้วราคาเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยถึงร้อยละ 17.6

กล่าวง่ายๆ คือ ในช่วงระยะเวลาเพียงหนึ่งเดือนจากกันยายนถึงตุลาคม คนจีนต้องใช้เงินเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.6 เพื่อซื้ออาหารประเภทเดียวกัน!

ทั้งนี้เมื่อแบ่งแยกประเภทของสินค้าอาหารที่ขึ้นราคาแล้วก็พบว่า ประเภทสินค้าอาหารที่ราคาเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดก็คือ 'ราคาเนื้อหมู' ที่เพิ่มถึงร้อยละ 54.9! รองลงมาคือราคาเนื้อและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.3 ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.0 ราคาผักสดเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.9 ราคาไข่ไก่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 ราคาผลไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 ราคาผลิตภัณฑ์อาหารจากทะเลเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 ราคาข้าวและธัญพืชเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 รวมถึงราคาเครื่องปรุงรสต่างๆ ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้นี่เองจึงเป็นคำตอบว่า เพราะเหตุใดชาวจีนกว่าสองพันคนจึงไปแย่งกันซื้อน้ำมันพืชลดราคาที่ห้างคาร์ฟูร์ในเมืองฉงชิ่งจนก่อให้เกิดเหตุการณ์เหยียบกันตายได้

รายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเกี่ยวกับดัชนีราคาผู้บริโภคชาวจีนในเดือนตุลาคม ที่ผ่านมาชิ้นเดียวกันยังบ่งชี้ให้เห็นด้วยว่า แม้ว่าดัชนีราคาสินค้าประเภทที่ไม่ใช่อาหารจะไม่ได้ซ้ำเติมให้สถานการณ์เลวร้ายลงไป โดยเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยคือร้อยละ 1.1 แต่ก็มิอาจฉุดรั้งให้ภาวะเงินเฟ้อในภาพรวมนั้นดีขึ้นเท่าใดนัก

สถานการณ์เงินเฟ้ออันเลวร้ายดังกล่าวกดดันให้นายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่าของจีนต้องออกมาประกาศให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนกไปกับภาวะเงินเฟ้อจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าอาหารและน้ำมัน โดยกล่าวว่าตัวเขาเองใส่ใจกับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น ณ ปัจจุบัน แม้กระทั่งขึ้นเพียงหยวนเดียวก็ตามที ว่าจะส่งผลกระทบกับชีวิตของประชาชนชาวจีนอย่างไรบ้าง

ภาวะเงินเฟ้อในจีน ณ วันนี้ แม้จะยังห่างไกลกับ 'ภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง (Hyperin-flation)' ในความหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่ให้คำจำกัดความอย่างกว้างไว้ว่าเกิดขึ้นในช่วงที่ภาวะเงินเฟ้อมิอาจควบคุมได้คือ อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 ภายในหนึ่งเดือนจนเกิดภาวะโกลาหลในสังคม แต่เพียง 'ภาวะเงินเฟ้ออย่างอ่อน (Mild Inflation)' หรืออัตราเงินเฟ้อไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปีเช่นนี้นี่แหละที่ทำให้สังคมจีนเกิดความโกลาหลแบบย่อยๆ ได้เช่นกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us