Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2550
Green Concept ที่ไม่ใช่เพียงการเปลี่ยนสีป้ายชื่อ             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
www resources

Tesco Lotus Homepage

   
search resources

เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม, บจก.
Tesco
Energy
Retail
Environment
Environmental Resource Management




การประกาศตัวเป็นผู้นำธุรกิจสีเขียว (green business) ของเทสโก้ โลตัส มิใช่เพียงการเปลี่ยนสีป้ายชื่อ หรือจัดบรรยากาศภายในห้างใหม่ แต่มีหลายสิ่งที่เกิดขึ้นและสามารถพิสูจน์ได้ว่า การบริโภคสีเขียว (green consumption) นั้นสามารถปฏิบัติได้จริง

คนที่เข้าไปจับจ่ายซื้อสินค้าในห้างเทสโก้ โลตัส คงเข้าใจว่าเหตุผลหลักที่ซูเปอร์สโตร์แห่งนี้สามารถขายสินค้าได้ในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาด เป็นเพราะความที่เป็นผู้ซื้อรายใหญ่จึงมีอำนาจต่อรองกับซัปพลายเออร์ได้มากกว่า

ซึ่งเป็นเหตุผลที่ถูกต้องเพียงส่วนหนึ่ง อาจเป็นส่วนใหญ่แต่ไม่ใช่เหตุผลทั้งหมด

ยุทธศาสตร์ของเทสโก้ทั่วโลกที่ประกาศว่า "เราขายถูกกว่า" นั้นมีข้อเท็จจริงที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังด้วยว่า เทสโก้สามารถทำธุรกิจด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า การบริหารต้นทุนจึงเป็นอีกยุทธศาสตร์หนึ่งที่เทสโก้เน้นเพื่อผลักดันให้ ยุทธศาสตร์หลักในการขายถูกกว่าสามารถบรรลุวัตถุประสงค์

ต้นทุนสำคัญของเทสโก้ นอกจากเรื่องสินค้า เรื่องคน เรื่องการบริหารจัดการแล้ว ก็คือต้นทุนพลังงาน

ความพยายามในการลดต้นทุนด้านพลังงานจึงเป็นอีกยุทธศาสตร์สำคัญที่เทสโก้พยายามผลักดัน

ซึ่งสอดคล้องกับกระแสความตื่นตัวของคนทั่วโลกที่กำลังวิตกกังวลอย่างหนักกับปัญหาโลกร้อน จากการบริโภคพลังงานเกินความจำเป็น ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของการแพร่กระจายก๊าซคาร์บอนออกสู่บรรยากาศโลก

ยุทธศาสตร์ลดการใช้ หรือบริโภคพลังงานของเทสโก้ จึงเป็นยุทธศาสตร์ที่เรียกได้ว่า win win สำหรับทุกฝ่าย ทั้งประชาคมโลก ชุมชนซึ่งเป็นที่ตั้งของเทสโก้ ผู้บริโภคซึ่งเป็นลูกค้าและตัวของเทสโก้เอง

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา (2550) เซอร์เทอร์รี่ ลีฮี ประธาน Tesco PLC ประกาศวิสัยทัศน์สำคัญออกมาว่าเทสโก้จะเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนเพื่อสร้างเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (low-carbon economy)

จากวิสัยทัศน์ดังกล่าวได้ถูกนำมาแปลงเป็นพันธกิจ carbon footprint หรือการติดตามร่องรอยคาร์บอน เพื่อลดการแพร่กระจายคาร์บอน (catbon emission) ออกสู่บรรยากาศจากทุกกิจกรรมของเทสโก้ทั่วโลก

เซอร์เทอร์รี่ ลีฮี ได้ให้เป้าหมายไว้ว่าภายในปี 2563 เทสโก้ทั่วโลกจะลดการแพร่กระจายคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศลงให้ได้ 50% ของตัวเลขที่เทสโก้ได้ปลดปล่อยออกไปในปี 2549

แปลความหมายในมุมกลับกันก็คือ ในอีก 13 ปีข้างหน้าเทสโก้ทั่วโลกจะต้องลดการใช้พลังงานในทุกกิจกรรมลงให้เหลือเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของยอดการใช้พลังงานรวมในปีที่แล้ว

ดูเป็นเป้าหมายที่ท้าทายพอสมควรสำหรับผู้บริหารของเทสโก้ทั่วโลก

แต่ก็ไม่ใช่เป้าหมายที่น่าหนักใจสำหรับผู้บริหารเทสโก้ โลตัสในประเทศไทย

เทสโก้ โลตัส ตระหนักถึงความสำคัญของต้นทุนพลังงานมานานแล้ว และมีนโยบายที่จะลดการใช้พลังงานในกิจกรรมต่างๆ ลงมาตั้งแต่ปี 2543 โดยพยายามลดการใช้พลังงานลงให้ได้ปีละประมาณ 3-5% ของยอดการใช้ในแต่ละปี

จากตัวเลขการลงทุนเพื่อลดการใช้พลังงานตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน เทสโก้ โลตัสได้ใช้เงินไปแล้วประมาณ 445 ล้านบาท และสามารถประหยัดพลังงานไปได้คิดเป็นมูลค่า 723 ล้านบาท

โครงการที่ถือเป็นหัวใจสำหรับการลดการใช้พลังงาน คือการก่อสร้างอาคารอนุรักษ์พลังงาน (green store) ขึ้นที่สาขาพระราม 1 ที่เปิดให้บริการไปเมื่อปี 2547

ถือเป็นปฏิบัติการที่เกิดขึ้นก่อนการประกาศวิสัยทัศน์การเป็นผู้นำ low-carbon economy และพันธกิจ carbon footprint ถึง 2 ปีเต็มๆ

จากแนวคิด green store ที่สาขาพระราม 1 ซึ่งเปิดให้บริการไปเมื่อ 3 ปีที่แล้ว กำลังจะถูกต่อยอดให้มีความเข้มข้นขึ้น จาก green store แห่งที่ 2 ที่สาขาศาลายา ซึ่งกำลังจะเปิดให้บริการได้อย่างช้าในต้นปีหน้า (2551) หรืออย่างเร็วในปลายปีนี้

(รายละเอียดเรื่อง green store อ่าน "เมื่อต้องอยู่ร่วมกับธรรมชาติ" ประกอบ)

แม้ว่าเทสโก้ โลตัสได้พยายามลดการใช้พลังงานจากทุกกิจกรรมอย่างต่อเนื่องมาก่อนหน้านี้แล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าปฏิบัติการของเทสโก้ในประเทศไทยจะไม่ตื่นตัวหรือตระหนักต่อพันธกิจ carbon footprint

ตรงกันข้าม ภายหลังจากที่ได้มีการประกาศวิสัยทัศน์และกำหนดเป้าหมายที่จะลดการปลดปล่อยคาร์บอนลงให้เหลือเพียง 50% ในอีก 13 ปีข้างหน้าออกมา ผู้บริหารเทสโก้ โลตัส ยิ่งต้องพยายามเฟ้นหาวิธีการที่จะทำให้ปฏิบัติการของเทสโก้ที่นี่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ถูกกำหนดขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรมให้ได้

ภายหลังการประกาศพันธกิจ carbon footprint เทสโก้ได้ว่าจ้างบริษัท Environmental Resource Management (ERM) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของอังกฤษให้เข้าไปวัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนออกสู่บรรยากาศจากปฏิบัติการต่างๆ ของเทสโก้ทั่วโลกเพื่อนำมาใช้เป็น base line

โดยได้มีการจัดตั้งเงินกองทุนขึ้นมาจำนวน 100 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 7 พันล้านบาท ให้กับเทสโก้ทั่วโลกนำไปใช้ในโครงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน

สำหรับในประเทศไทยผลการวัดของ ERM พบว่าในปี 2549 ปฏิบัติการของเทสโก้ โลตัส ซึ่งหมายรวมทั้งสำนักงานใหญ่ สาขาทุกรูปแบบทุกแห่งในไทย รวมถึงศูนย์กระจายสินค้า 2 แห่ง และการขนถ่ายสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้าไปยังสาขา มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศประมาณ 4 แสนตัน

เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ในปี 2563 ปฏิบัติการทุกอย่างที่มีอยู่แล้วจะต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลงให้เหลือเพียง 2 แสนตัน

ส่วนสาขาที่สร้างใหม่ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไปจะต้องหาวิธีการที่จะบริโภคพลังงานให้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งของการบริโภคพลังงานของสาขาในรูปแบบเดียวกันในปี 2549

การให้ ERM เข้ามาตรวจวัดการปล่อยคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศ นอกจากจะทำให้รู้ถึงตัวเลขเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่แน่นอนแล้ว ยังทำให้รู้ถึงเป้าหมายหลักของปฏิบัติการเพื่อที่จะลดการใช้พลังงานลงได้ตรงจุดมากที่สุด

จากโครงสร้างการบริโภคพลังงานของ เทสโก้ โลตัส ซึ่งเป็นต้นเหตุหลักของการปล่อยก๊าซคาร์บอนออกสู่บรรยากาศถึง 4 แสนตัน ในปี 2549 ประกอบไปด้วย

1. การใช้ไฟฟ้าเพื่อแสงสว่างและความเย็นภายในห้าง 70%

2. การใช้ไฟฟ้าเพื่อทำระบบความเย็นให้กับตู้แช่อาหารภายในห้าง 13%

3. การขนส่งสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้าไปยังสาขา 13%

4. การเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจของพนักงานและผู้บริหาร 3%

5. แก๊ส LPG ที่ใช้กับศูนย์อาหารที่อยู่ตามสาขาต่างๆ 1%

อนุพัฒน์ อรุณากูร Head of Facillity Management & Engineering บริษัทเอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม ผู้บริหารเทสโก้ โลตัสในไทย บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่าเมื่อเทสโก้ โลตัสรู้ base line และโครงสร้างของ base line ดังกล่าวแล้ว ทำให้รู้ได้เลยว่าจะต้องลดการบริโภคพลังงานกับกิจกรรมใดเป็นจุดแรก

รวมถึงวิธีการที่จะทำให้กิจกรรมดังกล่าวมีการบริโภคพลังงานที่ลดลง

"หลักๆ เป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์และเครื่องจักร รวมถึงการออกแบบให้เอื้อต่อการประหยัดการใช้พลังงาน และการนำพลังงานทดแทนเข้ามาใช้" อนุพัฒน์อธิบาย

การตัดสินใจเปิด green store ที่สาขาพระราม 1 เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ทำให้เทสโก้ โลตัสได้มีโอกาสเรียนรู้เทคโนโลยี รวมถึงกระบวนการทำงานหลายอย่างที่สามารถช่วยลดการบริโภคพลังงานลงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาทิ การออกแบบตัวอาคารให้เลือกรับแสงสว่างโดยตรงเฉพาะในช่วงครึ่งวันเช้า การนำกระจกเคลือบลามิเนต ที่ช่วยกรองความร้อนจากแสงแดดเข้ามาใช้ การออกแบบภายนอกอาคารให้มีส่วนที่สามารถบังแดด แต่คนภายนอกสามารถมองเห็นภายในตัวอาคาร ตลอดจนการนำระบบคอมพิวเตอร์และตัวเซ็นเซอร์เข้ามาใช้ควบคุมการเปิด-ปิด และลดระดับไฟฟ้ากับเครื่องปรับอากาศ การลดความเร็วในการทำงานของมอเตอร์บันไดเลื่อน รวมถึงการเชื่อมต่อกระบวนการทำงาน ของหอผึ่งน้ำ (cooling towers) ในระบบปรับอากาศแต่ละหน่วยเข้าด้วยกัน และลดความเร็วของใบพัดหอผึ่งน้ำลงเพื่อให้สามารถระบายความร้อนจากระบบปรับอากาศได้ในปริมาณเท่าเดิม แต่ใช้พลังงานน้อยลง ฯลฯ

กระบวนการและองค์ความรู้ต่างๆ ที่ได้จากสาขาพระราม 1 เหล่านี้ได้ถูกนำไปใช้ในสาขาของเทสโก้ โลตัสแห่งอื่นๆ ด้วย

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา เทสโก โลตัสได้ร่วมมือกับลินฟ็อกซ์ ทรานสปอร์ต (ไทยแลนด์) และอีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติกส์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้รับเหมาขนส่ง และกระจายสินค้าให้กับเทสโก้ โลตัสทั่วประเทศประกาศการนำไบโอดีเซล ประเภทบี 5 เข้ามาใช้กับรถขนส่งสินค้าของเทสโก้ โลตัส ที่มีจำนวนกว่า 400 คัน ซึ่งวิ่งอยู่ทั่วประเทศ

สุนทร อรุนานนท์ชัย ประธานกรรมการเอกชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม บอกว่าปัจจุบัน รถขนส่งสินค้าดังกล่าวทำหน้าที่กระจายสินค้า สู่สาขาของเทสโก้ โลตัส ตลอด 24 ชั่วโมง คิดเป็นระยะทางวิ่งทั้งสิ้นกว่า 73 ล้านกิโลเมตร ในแต่ละปีรถเหล่านี้บริโภคน้ำมันดีเซลกว่า 20 ล้านลิตรต่อปี หรือ 53,000 ลิตรต่อวัน

"การเปลี่ยนมาใช้น้ำมันไบโอดีเซล บี 5 ทำให้บริษัทสามารถประหยัดการใช้น้ำมันลงได้ 5% และช่วยลดปริมาณการแพร่กระจายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศได้ประมาณปีละ 3 ตัน จากปัจจุบันที่ค่าเฉลี่ยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของคนไทย อยู่ที่ 4.8 ตันต่อคนต่อปี จำนวนก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ที่ลดลงจากการนำไบโอดีเซลเข้ามาใช้ในการขนส่งสินค้าของเทสโก้ โลตัสในปริมาณดังกล่าวนี้เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้จำนวน 500 ต้นต่อปี" สุนทรกล่าว

นอกจากนี้เทสโก้ โลตัสยังได้เตรียมการที่จะเปลี่ยนหลอดไฟฟ้า โดยการนำหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ ชนิด T5 (หลอดฟลูออเรสเซ็นต์ขนาดความกว้างของหลอดเพียง 5 หุน) ซึ่งมีความประหยัดกว่าหลอดชนิดเดิมถึง 45% เข้ามาใช้ภายในสาขาทั้งหมด โดยเริ่มจากสาขาศาลายาที่เป็น green store แห่งที่ 2 เป็นสาขาแรกในปลายปีนี้

รวมถึงการออกแบบตู้แช่อาหารใหม่ให้มีกระจกปิด-เปิด เพื่อไม่ให้ความเย็นจากตู้แช่กระจายออกสู่ภายนอก

อนุพัฒน์บอกว่าโครงการต่างๆ เหล่านี้ถือเป็นความพยายามในการลดการบริโภคพลังงานโดยตรง เฉพาะปี 2550 ปีเดียว เทสโก้ โลตัส ได้ใช้งบประมาณเพื่อการนี้ไปแล้วถึง 131 ล้านบาท โดยตั้งเป้าว่าจะลดการบริโภคพลังงานลงจากปีที่แล้วให้ได้อย่างน้อย 3-5%

"จาก base line ที่เราปล่อยคาร์บอนออกสู่บรรยากาศ 4 แสนตันเมื่อปีที่แล้ว หากลดลงได้ 3% ก็เท่ากับ 1 หมื่นตัน ถ้าคิดเป็นเงินก็จะลดไปได้ 140-150 ล้านบาท"

ความพยายามโดยตรงถือเป็นสิ่งที่เทสโก้ โลตัสสามารถควบคุมได้แต่สิ่งที่ท้าทายกว่าคือ ความพยายามทางอ้อมที่จะสร้างความตระหนักให้กับชุมชนรอบข้าง ผู้บริโภคที่เป็นลูกค้า รวมถึงคู่ค้า นั่นคือซัปพลายเออร์ต่างๆ ที่ส่งสินค้าเข้ามาขายในเทสโก้ โลตัส

ซึ่ง 1 ในพันธกิจ carbon footprint ก็คือการวัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สู่ชั้นบรรยากาศในสินค้ากว่า 35,000 รายการ ที่วางจำหน่ายในเทสโก้ โลตัส ข้อมูลเหล่านี้จะถูกใช้เป็นเกณฑ์สำหรับโครงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนของสินค้าต่อไปในอนาคต

นั่นหมายความว่าในอนาคต สินค้าที่วางจำหน่ายในเทสโก้ โลตัส อาจถูกจัดเรตติ้งว่าชิ้นใดที่มีกระบวนการผลิตที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศมากน้อยกว่ากัน เพื่อให้ผู้บริโภคได้พิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อสินค้านั้นๆ

"เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก แต่ผมว่ ถ้าเราเป็นผู้นำและพยายามทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง ซัปพลายเออร์หรือคู่ค้าของเราต้องเข้าใจในเป้าหมายที่เราต้องการ และต้องร่วมไปกับเรา เพราะมันก็จะเป็นผลดีกับสินค้าของเขาเองด้วย" อนุพัฒน์ให้ความเห็น

นับจากกลางปีที่ผ่านมาสาขาของเทสโก้ โลตัสหลายแห่งได้เริ่มเปลี่ยนสีของอาคารและป้ายชื่อห้าง จากเดิมสีน้ำเงิน-แดง มาเป็นสีเขียว-ขาว ซึ่งรวมทั้งเครื่องแบบพนักงาน บรรยากาศภายในห้าง แม้กระทั่งที่จับของรถเข็น

การนำสีเขียวเข้ามาใช้มิได้เป็นเพียงสัญลักษณ์ของ green concept ที่เทสโก้ โลตัสต้องการประกาศความเป็นผู้นำในธุรกิจสีเขียว (green business) และการบริโภคสีเขียว (green consumption) เท่านั้น

แต่ยังหมายถึงการนำ การลด การบริโภคพลังงาน มาเป็นตัววัดผลงานทางธุรกิจ (Businesss KPI) ของทุกหน่วยงานในแต่ละปีด้วยว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด

เพราะการลดการบริโภคพลังงานก็คือ การลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ ซึ่งผลระยะยาวที่ได้รับย่อมคุ้มค่ากว่า โดยเฉพาะในสายตาของผู้บริโภค   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us