|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ธันวาคม 2550
|
|
คอร์สห้องเรียนบาริสต้าหรือพนักงานชงกาแฟของทรู คอฟฟี่ มีบรรดาสื่อมวลชนหลายสำนักสมัครเข้าร่วมเรียน ก่อนทรู คอร์ปอเรชั่นจะเปลี่ยนจากสอนสื่อมวลชนที่สนใจไปเป็นนักศึกษาที่สนใจจะใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ระหว่างปิดภาคเรียนที่ไม่เพียงสอนฟรี แต่ยังให้ค่าจ้างและรับเข้าทำงานหากต้องการอีกด้วย
เมษายน 2 ปีที่แล้ว ทรูเปิดทรู คอฟฟี่ สาขาแรกที่ถนนข้าวสาร โดยใช้เงินลงทุนหลายล้านบาท เพื่อหวังใช้เป็นสถานที่ที่บอกกับลูกค้า ว่าทรูมีอะไรให้บริการบ้าง โดยสินค้าและบริการทุกอย่างในร้านทรู คอฟฟี่ ณ เวลานั้นใช้ชื่อว่า coffee@True ก่อนเปลี่ยนมาเป็น True Coffee คือ ตัวแทนของการเป็นทรู คอร์ปอเรชั่นทั้งหมด
การเปิดตัวร้านกาแฟแบรนด์ทรู ที่เป็นผู้นำในการให้บริการด้านเทคโนโลยีสื่อสารหลากประเภท ออกจะขัดหูขัดตาคนในวงการไม่ใช่น้อย เพราะมีคำถามในใจใครอีกหลายคนว่า "จะไปรอดไหม?"
วันนี้ทรู คอฟฟี่มีอายุครบ 2 ปีกับ 6 เดือนเมื่อพฤศจิกายน ที่ผ่านมา จนถึงสิ้นปีจะมีสาขาทั้งสิ้น 32 สาขา ทั้งการเป็นทรูคอฟฟี่ธรรมดาและเป็นทรูแบรนด์คอนเซ็ปต์ช็อปที่ยิ่งใหญ่อลังการกว่าบนห้างสรรพสินค้าชั้นนำ จนถึงสาขาในหัวเมืองใหญ่ เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น และภูเก็ต
ผู้บริหารของทรูบอกว่าทุกสาขาไม่เพียงแต่เลี้ยงตัวเองได้อย่างสบายแต่ยังสร้างรายได้ด้วยในเวลาเดียวกัน แม้จะไม่มากมายนักเมื่อ เทียบกับธุรกิจหลักขององค์กรอย่างอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ โทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์พื้นฐาน ให้บริการเกมออนไลน์ ขายคอนเทนต์ และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ก็ลุล่วงเป้าหมายอย่างที่วางเอาไว้ตั้งแต่แรก คือเป็นที่ที่อยากจะบอกว่า ทรูมีอะไรให้บริการบ้าง และสามารถเลี้ยงตัวเองได้
ทุกสาขาของทรูมีกาแฟแบรนด์ทรู ซึ่งวันนี้เตรียมใช้กาแฟจากไร่ของตนเองที่ลงทุนปลูกเอาไว้ที่แม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ นับร้อยไร่ มีขนมปังนำเข้าจากสวิตเซอร์แลนด์แล้วอบขายเอง ซึ่งเป็นรายได้หลัก ก่อนตามมาด้วยการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและอินเทอร์เน็ตไร้สาย
เป็นจุด touch point ชำระค่าบริการทุกอย่างที่ทรูให้บริการ ทั้งโทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์บ้าน พ่วงท้ายด้วยการรับจ่ายค่าน้ำค่าไฟ ค่าบริการสาธารณูปโภคทั้งหลาย นอกเหนือจากการเดินเข้าไปยังทรูช็อปทั่วไป
อีกทั้งยังเตรียมขายแฟรนไชส์แบรนด์กาแฟให้กับคนทั่วไปอย่างเป็นเรื่องราว หลังจากชิมลางสาขาแรกไปแล้วที่ตึกมาลีนนท์ บนถนนพระราม 4 และที่เวียงจันทน์ ประเทศลาว กำลังเจรจาตกลงเรื่องสถานที่กันอยู่
2 ปี 6 เดือนกับ 32 สาขาทรู คอฟฟี่ จึงไม่ได้เป็นแค่เพียงร้านกาแฟที่ลบคำสบประมาทว่าจะไปไม่รอดเท่านั้น แต่ยังเป็นหน้าตาของแบรนด์ทรูที่จะบอกกับผู้บริโภคว่า "เราขายอะไรบ้าง" ได้ดีไม่น้อย
|
|
|
|
|