Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2550
ทางเลือกใหม่             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด
โฮมเพจ ธนชาต, บลจ.

   
search resources

ไอเอ็นจี (ประเทศไทย), บลจ.
ธนชาต, บลจ.
Funds




ดูเหมือนว่ากองทุนรวมลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund: FIF) จะคึกคักไปถึงปีหน้า หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดโอกาสให้มีการลงทุนเกิดขึ้น ภาพของกองทุนที่ไปต่างประเทศในช่วงนี้จะเน้นลงทุนในหุ้น 2-3 ประเภท ประเภทแรกเน้นลงทุนในตลาดเกิดใหม่ (emerging market) สินค้าโภคภัณฑ์ (commodities) น้ำมัน ทอง เหล็ก และหุ้นพลังงานทางเลือกใหม่ (new energy)

หุ้นทั้ง 3 ประเภทนี้เป็นทางเลือกใหม่สำหรับบริษัทจัดการกองทุนรวมของไทยที่จะเข้าไปลงทุนเพิ่มมากขึ้นในปีหน้า ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละบริษัทมีการศึกษาตลาดและออกแบบผลิตภัณฑ์เหล่านั้นได้ดีเพียงใด

มาริษ ท่าราบ กรรมการผู้จัดการ บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด บอกว่าในอีก 3-5 ปีข้างหน้า สินค้าโภคภัณฑ์จะยังคงมีความต้องการไม่หยุด โดยเฉพาะน้ำมัน จากเดิมที่ราคา 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล กระโดดไปเป็น 70 ดอลลาร์ และคาดกันว่าน่าจะเห็นที่ราคา 100 ดอลลาร์

รวมถึงถ่านหินที่กำลังจะมีโรงงานไฟฟ้าเกิดใหม่อีก 100 แห่งทั่วโลก ส่วนทองคำ ประเทศตะวันออกกลางที่ขายน้ำมันได้ก็จะหันไปเลือกลงทุนตราสารการเงิน และในจำนวนนั้นจะลงทุนด้านทองคำอย่างแน่นอน เพราะสามารถใช้เป็นเงินทุนสำรองได้

แนวโน้มการลงทุนทองคำที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ล่าสุด บลจ.ไอเอ็นจีได้ออกกองทุนใหม่อีกครั้ง หลังจากที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากนักในการเปิดตัวกองทุนเปิดไอเอ็นจี ไทย โกลบอล วอเตอร์ เป็นกองทุนน้ำที่เปิดตัวในขณะที่สหรัฐอเมริกายังมีปัญหาเรื่องซับไพร์ม

ส่วนกองทุนใหม่ที่เปิดตัวเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เรียกว่า "กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย โกลเด้น สตาร์ ลิ้งค์" เป็นการลงทุนในทองคำ เพราะเห็นว่าราคาดอลลาร์อ่อนตัวลง และคาดหวังว่าน่าจะเป็นโอกาสที่ดี เพราะเป็นการลงทุนในดัชนีราคาทองคำ และดัชนีซิตี้ กรุ๊ป เอสแอนด์พี โกลบอล สตาร์ TR อินเด็กซ์ อย่างละ 50%

ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่นี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างไอเอ็นจีกับซิตี้แบงก์ ธนาคารจะทำหน้าที่คัดเลือกบริษัท 25 แห่งทั่วโลกที่อยู่ในอเมริกา ยุโรป เอเชีย และทำหน้าที่ขายกองทุนนี้ด้วย

กองทุนนี้กำหนดมูลค่าโครงการไว้ 1,500 ล้านบาท ราคาเสนอขาย 10 บาทต่อหน่วย มูลค่าการสั่งซื้อขั้นต่ำ 50,000 บาท แต่กองทุนนี้ค่อนข้างมีความเสี่ยงเพราะเป็นการลงทุนผสมกันระหว่างหุ้นกับทองคำ จะเป็นการลงทุนที่เกี่ยวพันกันหรือไปคนละทางก็ได้ เพราะหุ้นมีความหวือหวา ในขณะที่ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่มูลค่าเพิ่ม แต่มาริษเองก็มองในแง่ดีว่า ผู้ลงทุนน่าจะได้รับผลตอบแทนที่ดีในระยะเวลา 2 ปี 10 เดือน

และการลงทุนผ่านตราสารหนี้จะมีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่จ่ายชำระคืนเงินต้นเต็มจำนวน แม้ว่าราคาหุ้นและราคาทองคำจะปรับตัวลงก็ตาม ส่วนความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนนั้น ทางกองทุนจะทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงด้านเงินตราต่างประเทศ (FX Hedging) เพื่อรักษาเงินต้นในรูปเงินบาท

ขณะที่ บลจ.ไอเอ็นจีเลือกลงทุนในทองคำ แต่ บลจ.ธนชาติ จำกัด เลือกลงทุน FIF ในกลุ่มของพลังงานใหม่ (new energy) ถือว่าเป็นการเกาะกระแสที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ในขณะเดียวกันราคาน้ำมันที่มีราคาเพิ่มขึ้นทั่วโลก และความต้องการใช้น้ำมันในส่วนของประเทศเศรษฐกิจใหม่อย่างจีนและอินเดียที่ต้องการเพิ่มอย่างต่อเนื่อง

ฉะนั้นพลังงานใหม่จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปเริ่มให้ความสำคัญและเริ่มลงทุนในพลังงานลม แสงอาทิตย์ พลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตจากพืชธรรมชาติ ซึ่งเจอร์ราด ครานซี ผู้อำนวยการ แบล็กร็อค ฮ่องกง บอกว่า ในอีก 23 ปีข้างหน้า หรือปี 2573 พลังงานทางเลือกใหม่จะเติบโตเพิ่ม 37% ซึ่งขณะนี้เป็นการลงทุนในระยะเริ่มต้น แต่การลงทุนในวันนี้เป็นการซื้ออนาคต

ครานซียังให้ความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำมันว่าราคาน้ำมัน มีโอกาสไปถึง 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และ International Energy Agency (IEA) คาดการณ์ไว้ว่าปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้จะไม่พอต่อความต้องการใช้น้ำมันที่มีถึง 5 แสนบาร์เรล และในปี 2551 ราคาน้ำมันจะตึงตัวยิ่งกว่าปี 2550 โดยเฉพาะประเทศที่เป็นตลาดเกิดใหม่

แต่พลังงานทางเลือกใหม่เริ่มมีการพัฒนาเทคโนโลยีรวมถึงการสนับสนุนพลังงานทางเลือกใหม่จากรัฐบาลของประเทศต่างๆ เช่น การยกเว้นภาษี การให้เงินอุดหนุน เหล่านี้จะทำให้ต้นทุนการผลิตพลังงานทางเลือกใหม่ หรือพลังงานสะอาด (clean energy) สามารถแข่งขันได้มากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับราคาพลังงานแบบดั้งเดิม

ธนชาติจึงได้ออกกองทุนเปิดธนชาตินิวเอ็นเนอร์จีฟันด์ (T-NewEnergy) เพื่อลงทุน MLIIF NEW ENERGY FUND ที่มี BlackRock Merrill Lynch Investment Managers เป็นผู้จัดการกองทุน ซึ่ง BlackRock จะเน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัท หรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มธุรกิจพลังงานทางเลือก (alternative energy) เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับพลังงาน (energy technology) รวมถึงพลังงานที่สามารถผลิตขึ้นใหม่ได้ (renewable energy) เป็นต้น

กองทุน T-NewEnergy กำหนดจำนวนเงินลงทุน 1,700 ล้านบาท มูลค่าการสั่งซื้อขั้นต่ำ 10,000 บาท ส่วนความเสี่ยงของกองทุนนี้ บุญชัย เกียรติธนาวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.ธนชาติ บอกว่าเกิดจากราคาน้ำมันลดลง และประเทศเศรษฐกิจใหม่ลดการใช้พลังงาน ซึ่งเขาบอกว่าความเสี่ยงของทั้งสองมีโอกาสเป็นไปได้น้อย เพราะแนวโน้มการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ที่ผ่านมาธนชาติได้ออกกองทุน FIF 4 กอง อาทิ กองทุนธนชาติ อินฟราสตรัคเจอร์ แอนด์ แนชเชอรัล รีซอร์ส (T-INFRA) มีขนาดกองทุน 1,111 ล้านบาท กองทุนธนชาติแวยูเอ็กซ์ ยูเอสฟันด์ (T-VALUexUS) มีขนาดกองทุน 1,400 ล้านบาท และกองทุนธนชาติโกลบอล บอนด์ ฟันด์ (T-Global Bond) มีขนาดกองทุน 1,437 ล้านบาท ส่วนกองทุนธนชาติ พรีเมียม แบรนด์ฟันด์ (T-PREMIUM BRAND) มีขนาดกองทุน 636 ล้านบาท ซึ่งมีขนาดกองทุนน้อยกว่ากองทุนอื่นๆ เพราะเปิดตัวกองทุนในช่วงที่สหรัฐอเมริกามีปัญหาซับไพร์ม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us