Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2550
ไมเนอร์-เจริญโภคภัณฑ์ เมื่อนก 2 ตัวอยู่ในฟ้าเดียวกัน             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือเจริญโภคภัณฑ์
โฮมเพจ บริษัท ไมเนอร์ เอวิเอชั่น จำกัด
โฮมเพจ บริษัท สยามแลนด์ฟลายอิ้ง จำกัด

   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
วิลเลียม อี.ไฮเน็คกี้
Aviation
Minor Aviation Limited
สยามแลนด์ฟลายอิ้ง, บจก.




การช่วงชิงเวลาในแวดวงธุรกิจ เป็นสิ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวอ้างอยู่บ่อยครั้ง นักธุรกิจบางคนบอกว่า ถ้ามีเวลาเพิ่มขึ้นอีกสักหน่อย คงทำอะไรได้มากกว่านี้ คือต้องการเวลาในการทำงานที่มากขึ้น หรือในเวลาเท่าเดิม แต่ได้ผลงานมากขึ้น

เวลา 24 ชั่วโมงไม่สามารถหาซื้อเพิ่มได้ แต่การทำให้เวลาที่มีอยู่ผลิตงานได้มากขึ้น เป็นสิ่งที่ทำได้ และกำลังกลายเป็นธุรกิจที่ผู้เล่นรายใหญ่หลายรายโดดลงมาเล่นกันอย่างเต็มตัวในช่วงนี้

การช่วงชิงเวลาที่ว่านี้ก็คือ ธุรกิจเครื่องบินเช่าเหมาลำที่ในต่างประเทศเปิดบริการเป็นล่ำเป็นสัน มีผู้ประกอบการหลายราย ซึ่งในบ้านเราเองก็มีบริการมานานเช่นกัน แต่นักธุรกิจคนไทยกลุ่มเล็กๆ ที่รู้จักและใช้บริการ และลูกค้าส่วนใหญ่คือต่างชาติ

ไม่น่าแปลกใจเพราะเวลาที่ได้เพิ่มขึ้นมาก็ต้องแลกด้วยเงินที่จ่ายมากกว่าเดิม

การให้บริการแบบเช่าเหมาลำในบ้านเราเกิดขึ้นมานานแล้ว แรกเริ่มก็เป็นความชอบของคนกลุ่มหนึ่ง รวมตัวกันซื้อเครื่องบินส่วนตัวมาใช้งานในธุรกิจของตัวเอง จากนั้นก็เริ่มมีตัวแทนจำหน่ายเครื่องบินส่วนใหญ่เป็นคนในแวดวงการบิน และชอบเครื่องบินเป็นทุนเดิม

การเกิดขึ้นของผู้ให้บริการที่เป็นคนชอบเครื่องบินและเป็นตัวแทนจำหน่าย ต้องยกให้กับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไมเนอร์ เอวิเอชั่น จำกัด วิลเลี่ยม ไฮเนคกี้ บริษัทในเครือไมเนอร์ กรุ๊ป

ไฮเนคกี้เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องบินเซสน่าในบ้านเรามานาน เพราะเศรษฐีบ้านเรานิยมใช้บิน และให้บริษัทเป็นผู้ดูแลเครื่องบินให้ จนเมื่อได้โอกาสเขาก็ไม่รีรอที่จะขออนุญาตให้บริการแบบเช่าเหมาลำ ซึ่งเขาเป็น 1 ใน 49 รายที่ยื่นขอและได้รับใบอนุญาต

เขาบอกว่า ธุรกิจประเภทนี้ในเมืองไทยเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น ในขณะที่ฮ่องกง สิงคโปร์ เป็นผู้นำในการให้บริการด้านนี้ โดยฮ่องกงเป็นผู้เริ่มธุรกิจเช่าเหมาลำ ส่วนสิงคโปร์เพิ่งเริ่มต้นได้ไม่นาน และไทยที่เข้ามาใหม่มีความได้เปรียบในเรื่องของสิ่งอำนวยความสะดวกและเป็นศูนย์กลางการบินในแถบอินโดจีน

สิ่งอำนวยความสะดวกที่ไฮเนคกี้มองเป็นพิเศษก็คือ โรงแรมระดับ 5 ดาว ที่รองรับนักท่องเที่ยว ซึ่งในไมเนอร์กรุ๊ปมีโรงแรมในเครือ 3 แบรนด์ คือ Four Seasons Bangkok, Marriott Resort and Spa และ Anantara อย่างน้อยลูกค้าส่วนหนึ่งก็มาจากเครือข่ายโรงแรมในเครือไมเนอร์เอง

ไมเนอร์เริ่มธุรกิจเช่าเหมาลำด้วยเครื่องบิน 2 ลำ คือ Piper Malibu Mirage ขนาด 4 ที่นั่ง บินระยะใกล้ภายในประเทศ และ Cessna Citation CJ 3 ซึ่งเป็นเครื่องบินรุ่นล่าสุดของเซสน่า จุผู้โดยสรได้ 7 ที่นั่ง บินได้ไกล 3,475 กิโลเมตร ความเร็ว 773 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ที่ความสูง 45,000 ฟุต คิดค่าบริการชั่วโมงละ 3,200 เหรียญสหรัฐ ไม่รวมค่าธรรมเนียมในการลงจอดของแต่ละสนามบิน และในกลางปี 2551 จะสั่ง Cessna Citation X เพิ่มอีก 1 ลำ มูลค่า 21 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเครื่องบินลำใหม่จะมีบินได้ไกลขึ้นครอบคลุมตะวันออกกลาง

แค่นี้ก็เห็นความเอาจริงเอาจังของไมเนอร์ แต่ธุรกิจนี้ไม่ได้ผูกขาด ใครมีเงินทุน มีทีมงานก็สามารถเข้ามาแข่งขันได้ จึงไม่ต้องแปลกใจหากว่าธุรกิจนี้จะมีรายใหญ่อย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

จะปล่อยให้รายใหม่อย่างไมเนอร์มาบอกเล่าเครื่องบินตัวเองฝ่ายเดียวไม่ได้ บริษัท สยามแลนด์ ฟลายอิ้ง ก็ต้องออกมาพูดถึงตัวเองบ้าง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สุนทร อรุณานนท์ชัย บอกว่า บริษัทได้สั่งเครื่องบินไอพ่นลำใหม่ เข้ามาให้บริการลูกค้าเช่าเหมาลำ โดยซื้อเครื่องบิน Hawker 850 XP มีระยะการบิน 4,889 กิโลเมตร หรือ 6.30 ชั่วโมง โดยไม่ต้องแวะเติมน้ำมัน ความเร็วสูงสุด 836 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระดับเพดานบิน 41,000 ฟุต รับผู้โดยสารได้ 8 คน บริษัทรับส่งมอบเครื่องบินมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

เขาบอกว่า กว่าจะเลือกเครื่องรุ่นนี้ได้ ต้องใช้เวลาสอบถามข้อมูล และดูงาน Air Show ในต่างประเทศหลายงาน ถึงได้สั่งจองซื้อในที่สุด

“พอจองเสร็จ มีคนมาซื้อใบจองต่อในราคา 500,000 เหรียญ ”

เครื่องบินลำใหม่จะมาเสริมเส้นทางบินระยะไกลให้กับบริษัท ซึ่งขณะนี้มีเครื่องบินเดิม 2 ลำคือ Super King Air 350 จำนวน 2 ลำ โดยเครื่องใหม่จะคิดค่าบริการชั่วโมงละ 160,000 บาท ไม่รวมค่าธรรมเนียมสนามบิน ส่วนเครื่องบินเก่า 2 ลำ ค่าบริการประมาณ 80,000–100,000 บาทต่อชั่วโมง

สุนทรบอกว่า ธุรกิจเครื่องบินส่วนตัวเช่าเหมาลำแบบนี้ในบ้านเรากำลังเติบโต เพราะมีการลงทุนจากต่างประเทศที่ใช้ไทยและเอเชียเป็นฐาน ต้องมีการเดินทางมาเพื่อตรวจเยี่ยมสาขาหรือโรงงาน ซึ่งผู้บริหารสามารถจัดสรรเวลาในการทำธุรกิจได้ และลูกค้าประจำของบริษัทกว่า 70% เป็นลูกค้าต่างชาติ ที่เหลือเป็นลูกค้าในประเทศ

เดิมบริษัทสยามแลนด์ ฟลายอิ้ง เป็นการร่วมระหว่างเครือเจริญโภคภัณฑ์กับนักธุรกิจอีก 2-3 ราย แต่เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เครือเจริญโภคภัณฑ์ก็ซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

เมื่อเห็นเครื่องบินของทั้ง 2 รายแล้ว คนที่ชอบเดินทางด้วยเครื่องบินก็กำลังรอคอยว่าเมื่อไหร่จะมีเช่าเหมาลำแบบ “Low Cost” บ้าง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us