|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
- เปิดยุทธศาสตร์ "แคนนอน" โลก จาก "แตกหน่อ" ยุคเริ่มสร้างองค์กร สู่ความเป็นเลิศระดับโลกในปี 2553
- ปักหมุด "ตลาดเอเชีย" ผู้นำตลาดกลุ่มธุรกิจหลัก ออฟิศโปรดักส์-คอนซูเมอร์โปรดักส์-พรินเตอร์ขนาดใหญ่ ภายใน 10 ปี สร้างรายได้ 10,000 ล้านดอลลาร์
- ชู "ไทย" 1 ใน 4 ประเทศยุทธศาสตร์ VICTORY Plan เสริมทัพงบการตลาด-ผลิตภัณฑ์เพียบ
นับจากวันแรกที่ "แคนนอน" เริ่มต้นธุรกิจกล้องถ่ายภาพในปี 2480 แล้วค่อยขยายไปสู่ธุรกิจเครื่องถ่ายเอกสาร พรินเตอร์ เซมิคอนดักเตอร์ จนถึงปีนี้ "แคนนอน" อยู่ในตลาดรมานานถึง 70 ปี ซึ่งบ่งบอกว่า วันนี้แคนนอนมิได้เป็นเพียงบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นอีกต่อไป แคนนอนได้ผลักดันตัวเองก้าวสู้บริษัทระดับโลกไปแล้ว
หากดูจากเป้าหมายการขายในปีนี้ที่ทางแคนนอนตั้งไว้ที่ 4.56 ล้านล้านเยน หรือประมาณ 1.29 ล้านล้านบาท คิดเป็นรายได้สุทธิ 500,000 ล้านเยน หรือประมาณ 141,700 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นปีที่ 8 ของแคนนอนที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้เห็นภาพชัดเจนว่า แคนนอน นับเป็นบริษัทมีอนาคตบริษัทหนึ่ง
ยุทธศาสตร์หลักที่ทำให้แคนนอนดำเนินธุรกิจมาจนถึงปีที่ 70 ก็คือ ยุทธศาสตร์ "แตกหน่อ"
ซีเนจิ อุชิดะ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ แคนนอน อิงค์ได้เล่าให้ว่า การแตกหน่อหรือ Diversification เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของแคนนอน ด้วยการเริ่มจากการเป็นผู้ผลิตกล้องถ่ายรูประดับสูงในปี 2480 ต่อมาในปี 2483 เริ่มเข้าสู่ธุรกิจเครื่องมือแพทย์ด้วยการผลิตกล้องเอ็กซ์เรย์ ในเวลานั้นผู้บริหารของแคนนอนมีแรงจูงใจที่จะสร้างสิ่งดีๆ ให้สังคมด้วยการตรวจพบวัณโรค ได้ผลิตกล้องเอ๊กซ์เรย์โดยใช้เทคโนโลยี Optical and high-precision processing ที่แคนนอนนำมาพัฒนาเป็นธุรกิจกล้องถ่ายภาพในเวลาต่อมา
"ต่อมาบริษัทก็ได้ดำเนินยุทธศาสตร์ด้วยการสร้างความเข้มแข็งทางด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และได้วางรากฐานเข้าไปสู่อุปกรณ์ทางธุรกิจด้วยการแนะนำเครื่องคิดเลขอิเล็กทรอนิกส์ 10 หลักเป็นเครื่องแรกของโลก"
หลังจากแคนนอนดำเนินธุรกิจมาได้ 30 ปี แคนนอนได้ประกาศขยายหน่วยธุรกิจใหม่ "มือขวาถือกล้อง มือซ้ายแตะอุปกรณ์สำนักงาน" โดยในปี 2513 แคนนอนวางตลาดเครื่องถ่ายเอกสารที่ใช้กระดาษธรรมดาโดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นลิขสิทธิ์ของแคนนอนเอง โดยเวลานั้นแคนนอนต้องเผชิญปัญหาเรื่องสิทธิบัตรของซีร็อกซ์ที่มีมากกว่า 600 รายการ โดยทางแคนนอนมีเป้าหมายสำคัญที่ต้องการเพิ่มรายได้อย่างมั่นคงจากยอดขายสินค้ากลุ่มวัสดุประกอบการใช้งานหรือ Consumables
ในปีเดียวกัน แคนนอนเริ่มส่งเครื่อง mask aligner เข้าสู่ตลาดเซมิกคอนดักเตอร์เป็นการวางรากฐานให้กับเทคโนโลยีที่ต้องใช้ความแม่นยำสูงเป็นพิเศษหรือเป็นที่รู้จักกันดีในแคนนอนว่า ultra-high-precision technology
แคนนอนยังคงนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมองเห็นถึงสังคมคอมพิวเตอร์ที่กำลังจะมาถึง แคนนอนได้วางตลาดพรินเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยี laser beam ในปี 2522 และอิงก์เจ็ตพรินแตอร์ในปี 2528
ซีเนจิกล่าวว่า ด้วยพลังของยุทธศาสตร์พื้นฐานทั้ง 2 ของกลุ่มแคนนอนที่ประกอบไปด้วยการแตกหน่อธุรกิจและโสกาภิวัฒน์ กอปรกับความร่วมมือและการสนับสนุนจากผู้บริโภค ทำให้วันนี้แคนนอนสามารถบรรลุการเติบโตในระยะยาว"
สิ่งเหล่านี้เป็นความสำเร็จของการวางยุทธศาสตร์ที่ชาญฉลาดของแคนนอนในช่วงที่ผ่านมา แต่สำหรับยุทธศาสตร์ข้างหน้าของแคนนอนจะเป็นอย่างไรนั้น ทางซึเนจิ อุชิดะ กำหนดเป้าหมายในปี 2553 ไว้ที่จะผลักดันให้แคนนอนก้าวสู่ความเป็นเลิศระดับโลก หรือ Excellent Global Corporation Plan เพื่อติด 1 ใน 100 บริษัท ชั้นนำของโลก โดยประเมินไว้ว่า ภายในปี 2553 แคนนอนน่าจะมียอดขายรวมเป็นมูลค่า 6 ล้านล้านเยน มีกำไรอย่างน้อย 20% จากการดำเนินงาน ซึ่งเริ่มไปแล้วเมื่อปี 2549
"แคนนอนมียุทธศาสตร์ในการเติบโตเพื่อบรรลุเป้าหมายของการเป็นที่ 1 และรักษาตำแหน่งที่ 1 ในธุรกิจหลักทุกธุรกิจของแตนนอน"
ธุรกิจหลักที่ทางซึเนจิบอกนั้นประกอบไปด้วย กลุ่มที่ 1 ผลิตภัณฑ์ในสำนักงาน
ซึเนจิบอกว่า ปีนี้เป็นปีที่ 30 ของการวางตลาดเครื่องถ่ายเอกสารสีครั้งแรก โดยทางแคนนอนจำหน่ายเครื่องถ่ายเอกสารสีมัลติฟังก์ชั่นครบ 1 ล้านเครื่อง ซึ่งแคนนอนเริ่มให้น้ำหนักและความสำคัญในสายผลิตภัณฑ์เครื่องถ่ายเอกสารสีมัลติฟังก์ชั่นมาตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงปีที่ผ่านมา และพร้อมที่จะเดินหน้า โดยมีฐานการผลิตอุปกรณ์สำนักงานที่สำคัญกว่า 50% อยู่ที่ประเทศจีน ซึ่งจีนเป็นตลาดใหญ่และเป็นฐานการผลิตด้วย แคนนอนสามารถใช้ความได้เปรียบที่ตั้งของจีนเพื่อแนะนำสินค้าใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการทีเหนือความคาดหมาย
กลุ่มที่ 2 กลุ่มเครื่องใช้บุคคลหรือคอนซูเมอร์ โปรดักส์
"เริ่มจากกล้องดิจิตอลเอสแอลอาร์ที่แคนนอนสร้างความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์ด้วยการคิดค้นเทคโนโลยีการจับภาพและวงจรรวม super-LSI ขณะนี้แคนนอนพยายามพัฒนาเทคโนโลยีให้ดีขึ้นอีก ด้วยการเพิ่มความเร็ว ความทนทานเพิ่มเข้าไปอีก เพื่อมอบผลิตภัณฑ์ที่ข้ามคู่แข่งไปไกล"
ส่วนกล้องดิจิตอลคอมแพ็ก แคนนอนขยายสายผลิตภัณฑ์ในสินค้ากลุ่มนี้โดยเน้นดีไซน์ที่ล้ำหน้า พร้อมกับการใช้งานที่ดี มีระบบการผลิตที่ตอบสนองความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นได้ตรงตามความต้องการ
"เราตั้งใจจะทำให้สถานะความเป็นที่ 1 ของแคนนอนในด้านการสื่อสารด้วยภาพมีความมั่นคงดุจหินผา ไม่ว่าจะเป็นในด้านตลาดผลิตภัณฑ์ Flagship professional และตลาดผลิตภัณฑ์กลุ่มคอนซูเมอร์ที่ให้ความสำคัญเรื่องความคุ้มค่าของการลงทุนเป็นสำคัญ"
ส่วนอิงก์เจ็ตพรินเตอร์นั้น แคนนอนได้สร้างความก้าวหน้าด้านนวัตกรรมของเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันคุณภาพของการพิมพ์ที่ได้เรียกได้ว่าเกินหน้าคุณภาพการพิมพ์ที่ได้จากฟิล์มไปแล้ว ภารกิจต่อไปก็คือ สร้างความแข็งแกร่งให้กับคุณภาพหัวพิมพ์ให้สามารถสร้างความละเอียดของหมึกที่พ่นออกมามีขนาดเป็น 1 พิโกลิตร ปรับปรุงหัวพ่นได้เร็วขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่ของแคนนอน
"แคนนอนตั้งใจจะเพิ่มให้มีรุ่นมากขึ้น ทั้งที่เป็นซิงเกิลฟังก์ชั่นและมัลติฟังก์ชั่น และเดินอย่างสง่าสู่ตำแหน่งผู้นำ"
สุดท้าย ก็คือ กลุ่ม เครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่สำหรับงานอุตสาหกรรม ซึ่งป็นธุรกิจใหม่ของแคนนอนที่เริ่มสร้างตลาดในปีนี้ หลังจากที่ได้คิดค้นพรินเตอร์รุ่น 17-60 นิ้วสำเร็จ แต่ละผลิตภัณฑ์ได้รวมเอาคุณภาพของภาพที่สดใสและความเร็วที่ทันใจไว้ด้วยกัน
ซึเนจิบอกว่า เมื่อมองไปข้างหน้าเราวางแผนที่จะเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑืและสยายปีกออกไปให้บริการพิมพ์ภาพโปสเตอร์ตามความต้องการด้วย
สำหรับยุทธศาสตร์ในตลาดเอเชียนั้น ซึ่งถือเป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูงเมื่อเทียบกับตลาดอื่น โดยที่ทางซึเนจิมองว่า เป้าหมายระยะยาวในอีก 10 ปีข้างหน้าในตลาดเอเชียของแคนนอนจะทำยอดขายได้ถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
จากการเปิดเผยของคาซุโตะ โอกาวา ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร แคนนอน สิงคโปร์ ซึ่งดูแลนโยบายการดำเนินงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 17 ประเทศกล่าวว่า ในภูมิภาคเอเชีย แคนนอนได้วางกลยุทธ์การตลาดด้วยการเน้นคอนเซปต์ "Delighting You Always" ที่ให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลัก นับตั้งแต่ตัวสินค้า บริการหลังการขายที่ครอบคลุม รวมทั้งการการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่ายขึ้น
การจัดงานแคนนอน เอ็กซ์โป 2007 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนเป็นการตอกย้ำความสำเร็จของตลาดเอเชียในสโลแกนที่ว่า "One Asia One Canon" โดยมีเป้าหมายให้ประเทศต่างๆ ในเอเชียมีส่วนแบ่งตลาดเป็นที่ 1 ด้วยการดำเนินงานภายใต้ธีม "VICTORY Plan" ใน 4 ประเทศยุทธศาสตร์ของแคนนอน ประกอบไปด้วยประเทศเวียตนาม อินเดีย จีน ไทย และจะเพิ่มประเทศอินโดนีเซียในปีหน้า
กลุ่มดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนงบจัดกิจกรรมการตลาดเป็นพิเศษเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอันดับ 1 ในกลุ่มธุรกิจหลักของแคนนอน
"ประเทศไทยเป็นการเติบโตที่สูงมากอยู่เป็นอันดับ 3 รองมาจากมาเลเซียและสิงคโปร์ โดยในส่วนของอิงก์เจ็ตพรินเตอร์นั้นสามารถครองอันดับ 1 ติดต่อกันเป็นปีที่ 7 โดยปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 36% ขณะที่กล้องและเครื่องถ่ายเอกสารนั้นปีนี้ถือเป็นการเติบโตที่สูงมาก โดยครึ่งปีแรกสามารถเติบโตถึง 20% โดยการที่จะดำเนิน 10 ปี ให้ถึงเป้าหมายตามที่กล่าวไว้ว่า จะต้องทำยอดขายให้ได้ถึง 10 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามที่ประธานอุชิดะกล่าวไว้นั้น แคนนอนจะไม่มีการใช้กลยุทธ์ในการลดราคาเด็ดขาด แต่จะใช้กลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์เป็นสำคัญโดย 10% ของรายได้จะยกให้กับการลงทุนในด้านงานวิจัยและพัฒนา ซึ่งจะเป็นตัวชูให้แบรนด์ของแคนนอนแข็งแรง"
คาซุโตะกล่าววอีกว่า ในปี 2551 ทาง แคนนอนตั้งเป้าจะคว้าส่วนแบ่งตลาดของตลาดกล้องดิจิตอลเป็นอันดับ 1 ให้ได้ จากปัจจุบันอยู่ที่อันดับ 2 ซึ่งมีส่วนแบ่งอยู่ที่ 22-23% ขณะที่อันดับ 1 คือ โซนี่ มีส่วนแบ่งอยู่ที่ 25% ซึ่งเชื่อว่าการการแข่งขันสำหรับตลาดกล้องดิจิตอลในปีหน้ามีการแข่งขันรุนแรงแน่นอน
"ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แคนนอนสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้อย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่โซนี่มีส่วนแบ่งตลาดที่ 35% และแคนนอนที่ 10% แต่ปัจจุบันโซนี่อยู่ที่ 25% และแคนนอนอยู่ที่ 22-23%"
เพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ทางแคนนอนได้เพิ่มงบทำการตลาดปี 2551 อีก 100 ล้านบาท จากปีนี้อยู่ที่ 400 ล้านบาท เป็น 500 ล้านบาท :นอกเหนือจากการแข่งขันทางด้านกิจกรรมการตลาด จุดเด่นของแคนนอนที่เหนือคู่แข่งก็คือ การมีโปรดักส์ที่มีคุณภาพสูงรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง
|
|
|
|
|