|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
โตชิบา ครีเอตแวลู ฝ่าสงครามราคา เติมดีไซน์ เพิ่มฟังก์ชั่น ต่อชีพจรตู้เย็น 1 ประตู พร้อมชูคอนเซ็ปต์ REGZA LINK สร้างยอดขายยกชุดในกลุ่มเอวี ล่าสุดเปิดตัวสินค้าใหม่ Bidet หรือฝาชักโครกดิจิตอล ที่มีระบบชำระล้างอัตโนมัติ
สมรภูมิตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในเมืองไทยแม้จะผ่านยุคที่มีการห้ำหั่นราคากันอย่างรุนแรงในช่วงที่มีสินค้าจากเมืองจีนเข้ามาตีตลาด จนบรรดาเครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์เนมต้องสร้างจุดต่างและพัฒนาเทคโนโลยีให้สูงขึ้นเพื่อหนีสงครามราคา ทว่าสงครามราคาก็มิได้สิ้นสุดลงเพราะในบรรดาเครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์เนมด้วยกันก็มีการทำสงครามราคาผ่านสินค้ารุ่นไฟติ้งโมเดลเพื่อสกัดมิให้สินค้าราคาถูกขยับตัวขึ้นมาตีตลาดระดับบน เหมือนเช่นอดีตที่แบรนด์ญี่ปุ่นทิ้งตลาดเครื่องเล่นวีซีดีจนถูกสินค้าจากเมืองจีนยึดตลาด จากนั้นแบรนด์จีนก็ขยับขึ้นมาแข่งในตลาดเครื่องเล่นดีวีดี
การสร้างแบรนด์ลอยัลตี้เป็นแนวทางหนึ่งที่หลายแบรนด์ต่างพยายามทำเพื่อรักษาฐานลูกค้ามิให้หวั่นไหวไปกับการทำราคาของคู่แข่ง โดยโซนี่ถือเป็นต้นแบบในการสร้างแบรนด์ลอยัลตี้ผ่านการทำอีโมชันนอลมาร์เกตติ้ง ด้วยการสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ให้ทันสมัย มีการสร้างไลฟ์สไตล์ใหม่ๆให้ผู้บริโภคเดินตามเพื่อให้สาวกโซนี่ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มลูกค้าอินเทรนด์ เช่น การปฏิวัติการฟังเพลงเคลื่อนที่จากยุค 20 ปีที่แล้วที่มีแฟชั่นของการแบกวิทยุเครื่องโตเปลี่ยนมาเป็นการฟังเพลงด้วยซาวด์อะเบาต์ โซนี่ วอล์คแมน ชื่อของโซนี่จึงเป็นภาพลักษณ์ที่สะท้อนบุคลิกที่ทันสมัยให้กับผู้ใช้ เพียงแค่มีคำว่าโซนี่ติดอยู่ที่ตัวสินค้าก็สามารถขายแพงกว่าท้องตลาดได้โดยที่ผู้บริโภคเองก็ยอมรับ
สำหรับหลายๆแบรนด์ที่เดินตามหลังจำเป็นที่จะต้องสร้างการยอมรับในตัวสินค้าเสียก่อน ฟังก์ชั่นการใช้สินค้า ดีไซน์แปลกใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา ยังไม่เพียงพอเพราะต้องทำให้ผู้บริโภคได้สัมผัสด้วยการสร้างประสบการณ์หรือ Experience Marketing เพื่อให้ผู้บริโภคได้สัมผัส ทดลอง และยอมรับก่อนนำไปสู่การตัดสินใจซื้อ โดยแบรนด์เกาหลีซึ่งตามหลังแบรนด์ญี่ปุ่นหลายสิบปีก็พยายามเข้าถึงผู้บริโภคด้วยการทำสินค้าราคาถูกเพื่อให้ผู้บริโภคได้เข้าถึงได้ง่าย จากนั้นค่อยๆปรับภาพลักษณ์และพัฒนาแบรนด์ตัวเองขึ้นมาเทียบเท่าแบรนด์ชั้นนำของโลก ทั้งซัมซุง และแอลจี ต่างก็เคยได้ชื่อว่าเป็นสินค้าราคาถูก มีภาพลักษณ์เหมือนสินค้าจีนในปัจจุบัน ในขณะที่แบรนด์เก่าแก่ของญี่ปุ่นเริ่มถูกแซงหน้า
โตชิบา ถือเป็นแบรนด์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นอีกแบรนด์ที่เคยได้รับผลกระทบจากสงครามราคาในช่วงแรก และพยายามกลับมาทวงความยิ่งใหญ่เหมือนในอดีต โดยมีการเพิ่มไลน์อัพสินค้าในกลุ่มภาพและเสียง มีการตั้งโรงงานประกอบแอลซีดีทีวีในเมืองไทย และยังมีการทำตลาดคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ไอทีอื่นๆ เพื่อยกระดับภาพลักษณ์แบรนด์ให้ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภครุ่นใหม่
ส่วนผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนซึ่งเคยสร้างชื่อเสียงให้กับโตชิบาก็มีการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยฟังก์ชั่นการใช้งานใหม่ๆ มีการปรับเทคโนโลยีจากเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนธรรมดาไปสู่การเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือนดิจิตอล ซึ่งทำให้สินค้ามีมูลค่าสูงขึ้น และเป็นการสร้างจุดต่างจากสินค้าราคาถูก นอกจากนี้ยังมีการดีไซน์สินค้าด้วยสีสันเป็นเซตสินค้าเพื่อให้เป็นเหมือนเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหนึ่งในบ้าน เป็นการผสมผสาน Functional Benefit กับ Emotional Benefit เข้าด้วยกัน
การทำ Emotional Marketing ของโตชิบา นอกจากจะใส่สีสันเพื่อเข้าถึงอารมณ์ความชอบของผู้บริโภคแล้ว โตชิบา ยังมีการวางคอนเซ็ปต์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้เป็นองค์กรสีเขียว Green Corporation ภายใต้กลยุทธ์ นวัตกรรมสีเขียวเพื่อโลกสีขาว Green Innovation for White World ที่โตชิบาทั่วโลกดำเนินการมาเป็นเวลากว่า 1 ปีแล้ว และยังเป็นทิศทางที่โตชิบายังคงดำเนินต่อไป โดยจะมีการเพิ่มคอนเซ็ปต์ 3R ซึ่งประกอบด้วย Reduce หรือการลดวัสดุเพื่อลดปริมาณการใช้วัตถุดิบเป็นการลดปริมาณขยะ Reuse นำกลับมาใช้ใหม่ และ Recycle แปรสภาพเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
ทว่าการทำให้ผู้บริโภคชอบแบรนด์ด้วย Green Marketing ยังไม่เพียงพอ เพราะผู้บริโภคมิได้ตัดสินใจซื้อเพียงแค่ว่าชอบโดยที่สินค้านั่นไม่ได้ตอบสนองความต้องการได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นโตชิบาจึงมีการพัฒนาสินค้าด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ตู้เย็น 1 ประตูรุ่น Slim Lady ที่โตชิบามีการใส่ดีไซน์เพื่อสร้างความสวยงามให้กับสินค้าทั้งรูปลักษณ์และสีสัน พร้อมกันนี้ยังทำรุ่นที่มีระบบกดน้ำจากนอกตู้ ซึ่งฟังก์ชั่นเหล่านี้จะช่วยทำให้ตู้เย็น 1 ประตูของโตชิบาแตกต่างจากคู่แข่ง ไม่จำเป็นต้องลดราคาสู้ และยังเป็นการต่อชีพจรให้กับตู้เย็น 1 ประตูที่กำลังถูกตู้เย็น 2 ประตูเข้ามาแทนที่ อย่างไรก็ดีโตชิบาก็มีการลอนช์ตู้เย็น 2 ประตูที่มีความจุ 17-20 คิว และแบบหลายประตูออกมาเพื่อตอบสนองผู้บริโภคกลุ่มต่างๆ โดยชูฟังก์ชันในการรักษาความสดของอาหารด้วย UV Fresh Guard
ส่วนเครื่องซักผ้ามีการออกรุ่นใหม่ SDD (Super Direct Drive Inverter) ความจุ 14 กิโลกรัม สามารถซักผ้านวมได้ พร้อมด้วยเทคโนโลยี Zero Standby Power ที่ช่วยประหยัดไฟ 35% ขณะที่เตาไม่โครเวฟรุ่นใหม่มีระบบกำจัดไขมันเหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมคลอเรสเตรอล
นอกจากนี้ยังมีการทำคอนเซ็ปต์ REGZA LINK เพื่อเชื่อมโยงการใช้งานสินค้าในกลุ่มเอวีโดยมีแอลซีดีทีวี REGZA ประกบคู่กับเครื่องเสียงโตชิบา พร้อมด้วยเครื่องเล่น HD DVD โดยมีรีโมตที่สามารถใช้งานร่วมกันได้เพื่อสร้างความสะดวกและแรงบันดาลใจในการซื้อสินค้าแบบยกชุดให้กับผู้บริโภค
ล่าสุดมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่คือสุขภัณฑ์ชำระเพื่อสุขภาพ หรือ ฝาชักโครกดิจิตอลที่มีระบบชำระล้างอัตโนมัติซึ่งใช้อย่างแพร่หลายในญี่ปุ่น โดยเบื้องต้นบริษัทวางแผนที่จะจับตลาดองค์กรเช่นโครงการอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม โรงพยาบาล
โตชิบาตั้งเป้าว่าจะสามารถปิดยอดขายในปีนี้ได้ 5,000 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อน 12% ในขณะที่ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมคาดว่าจะเติบโตเพียง 5-8% โดยสัดส่วนรายได้หลักของโตชิบามาจากกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน 60% หมวดคอมพิวเตอร์ 30% และหมวดภาพและเสียง 10% โดยบริษัทตั้งเป้าว่าจะสามารถเพิ่มสัดส่วนในกลุ่มนี้เป็น 20% เนื่องจากสินค้าในกลุ่มแอลซีดีทีวีมีมูลค่าสูงและยังสามารถเติบโตได้อีก โดยบริษัทพยายามพัฒนาสินค้ารุ่นใหม่ที่ประหยัดพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น น้ำหนักเบาลง เพื่อนำไปสู่การใช้วัสดุที่ลดลงเป็นการลดปริมาณขยะ สอดคล้องกับนโยบาย นวัตกรรมสีเขียวเพื่อโลกสีขาว
“ผลิตภัณฑ์สีเขียว ทำให้เรามีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ราคาสินค้าก็อาจแพงกว่าสินค้าทั่วไปในท้องตลาดอยู่บ้าง ทว่าเราก็พยายามที่จะแบกรับภาระนั้นไว้” กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการบริหาร โตชิบา ไทยแลนด์ กล่าว
นอกจากนวัตกรรมสีเขียวจะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคที่ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมแล้ว นวัตกรรมสีเขียวยังช่วยทำให้บริษัทสามารถขยายฐานลูกค้าองค์กรที่วางคอนเซ็ปต์ Green Corporation เหมือนกัน ซึ่งปัจจุบันการค้าในระดับสากลก็มีรูปแบบของ Green Purchasing คือธุรกิจที่มีนโยบายเพื่อสิ่งแวดล้อมก็จะค้าขายกับธุรกิจที่มีนโยบายรักษาสิ่งแวดล้อมเหมือนกัน ดังเช่นที่โตชิบาปฏิบัติมาส่งผลให้มีลูกค้ากลุ่มใหม่ที่เป็น Green Corporation มาติดต่อธุรกิจมากขึ้น
|
|
|
|
|