Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2550
หางเครื่อง สีสันวงดนตรีลูกทุ่ง             
โดย สมเกียรติ บุญศิริ
 


   
search resources

Musics




การเกิดของ "หางเครื่อง" กับวงดนตรีลูกทุ่ง เป็นไปตามลักษณะของการแสดงบนเวที เครื่องดนตรีบนเวทีประกอบด้วยฉิ่ง ฉาบ กรับ กลอง ลูกแซ็ก ไม้แต๊ก และเครื่องให้จังหวะหลังวงดนตรี ส่วนนี้เป็นสีสันของวงดนตรี โดยคนในวงที่ว่างหรือพัก ก็สามารถขึ้นมาช่วยวงสร้างสีสันในการแสดงด้วยการเล่นเครื่องให้จังหวะเหล่านี้ได้ เพราะการแสดงแต่ละครั้งในเวลานานจึงต้องพยายามหาการแสดงใส่เข้าไปเพื่อช่วยนักร้องและนักดนตรีหลัก มีชื่อเรียกกันว่า "เขย่าหางเครื่อง"

ในปี 2509 คนที่ออกมาเขย่าหางเครื่องเริ่มเป็นทีม และแต่งตัวเหมือนกัน โดยเริ่มจากวงของสุรพล สมบัติเจริญ สมานมิตร เกิดกำแพง จนกระทั่งสุรพล เสียชีวิตลง ศรีนวล สมบัติเจริญ ภรรยาสุรพลก็จัดผู้เต้นระบำประกอบเพลงโดยใช้ผู้เต้นประมาณ 10 คน ลีลาการเต้นก็เป็นแบบระบำฮาวายของตะวันตก

ปีที่หางเครื่องเปลี่ยนแปลงชัดเจนที่สุดก็คือ ปี 2510 หางเครื่องกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ของวงดนตรีลูกทุ่ง ผู้ที่ทำให้เกิดขึ้นก็คือศกุนตลา พรหมมหา ภรรยาของเพลิน พรหมแดน

เธอนำแฟชั่นใหม่ๆ ทั้งเสื้อผ้า ขนนก จากต่างประเทศ มาใช้กับการแสดงลูกทุ่งเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เพื่อพลิกฟื้นการขาดทุนของวงตัวเองให้กลับมาทำกำไรอีกครั้งและเธอก็ทำได้สำเร็จ

หางเครื่องกลายเป็นบรรทัดฐานของวงลูกทุ่งต้องยิ่งใหญ่อลังการ

ปีทองอีกช่วงหนึ่งของหางเครื่องก็คือปี 2520 เพลงลูกทุ่งกลับมาอีกครั้ง มีการตั้งวงดนตรีกันคับคั่ง โดยมีนายทุนเข้าไปมีส่วนในการตั้งวงดนตรีอยู่ไม่น้อย การแข่งขันด้านหางเครื่องจึงเพิ่มขึ้น วงดนตรีใหญ่ๆ มีหางเครื่องในสังกัดตัวเองประมาณ 60 คน ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายของหางเครื่องสูงถึง 1 ล้านบาท

หางเครื่องในยุคนี้เหลืออยู่ไม่มาก ต้องเป็นวงใหญ่และมีงานมากจึงกล้าลงทุน เพราะเดี๋ยวนี้นักร้องลูกทุ่งใช้บริการของแดนเซอร์แทน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us