|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ธันวาคม 2550
|
|
โปงลางสะออนอาจจะเป็นวงดนตรีวงเดียวที่ไม่ได้ออกอัลบั้มแต่มีคนเสิร์ตออกมาสร้างกระแสก่อน เพราะฐานเดิมของโปงลางก็คือ ผู้ชมในร้านอาหารที่พวกเขาตะเวนเล่นมานานกว่า 3 ปี ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าสังกัดอาร์สยาม
อี๊ด โปงลาง ผู้ก่อตั้ง ผู้ควบคุมวงโปงลางสะออนให้เหตุผลในการเข้าสังกัดว่า ถึงเวลาแล้ว เพราะเห็นแฟนที่มาซื้อบัตรรอดูโปงลางแสดงในร้านอาหาร ทำไมไม่ให้คนทั้งประเทศได้ดู จุดนี้ทำให้เขาได้ไปออกรายการตีสิบในช่วงดันดารา
ดันดาราก็ดันให้โปงลางสะออนเกิดอย่างสมบูรณ์แบบ มีร้านอาหาร สถานบันเทิงติดต่อให้ไปเล่น รวมทั้งค่ายเทปที่ติดต่อให้ไปร่วมงาน อี๊ดพิจารณาเงื่อนไขของบริษัทเทปต่างๆ อยู่หลายรอบ คุยกันก็หลายครั้ง จนสุดท้ายมาสรุปที่อาร์สยาม เพราะดูแล้วว่าสัญญาเหมาะสม และได้ทำคอนเสิร์ตก่อนออกเทป
โปงลางสะออนเลยเข้าสังกัดและมาแบบทั้งวง เพียงแต่ในสัญญา อาร์สยามทำกับอี๊ด ลาล่า และลูลู่ เพียง 3 คนเท่านั้น พร้อมกับให้บริษัทเป็นผู้ดูแลในเรื่องการเดินสาย โชว์ตัว พรีเซ็นเตอร์ เล่นหนัง บริษัทจะเป็นผู้ดูแลให้ทั้งหมด จากเดิมคนที่ดูแลตรงนี้คือ อี๊ดคนเดียว
"การมีบริษัทดูแล ก็ดีที่มีอำนาจต่อรอง เขาดูแลให้เราหมดทุกอย่าง แต่สิ่งที่เราเสียไป ก็คือต้องมีกรอบในการทำงาน"
อี๊ดอธิบายเพิ่มเติมว่าเมื่อมีสังกัด การต่อรองกับลูกค้าที่ติดต่อมาก็ดีขึ้น โปงลางก็มีหน้าที่รับคิวตามที่บริษัทจัดมาให้ และการที่ไม่รับงานเองก็ตัดปัญหาเรื่องรับงานซ้อนกัน
ส่วนข้อเสียก็คือมีกรอบในการทำงานมากขึ้น จากที่เคยคิดมุกว่าเล่นอะไรก็ได้ เพลงของทุกค่าย โฆษณาทุกชิ้น นำมาเล่นได้หมด แต่เมื่อมีสังกัดก็ต้องดูว่าทำได้หรือไม่
"เหมือนเราอยู่ครอบครัวนี้แล้วเราจะไปช่วยครอบครัวนั้นได้อย่างไร" ซึ่งอี๊ดถือว่าเรื่องนี้เป็นสามัญสำนักและจรรยาบรรณ แม้ว่าจะไม่มีคำเตือนหรือคำร้องขอจากผู้บริหารก็ตาม
การที่มาอยู่กับอาร์สยามทำให้มีงานมากขึ้น และวงก็ขยายตัว ซึ่งอี๊ดตั้งเงื่อนไขในการรับงานไว้ว่าต้องไปทั้งวง ไม่มีการแยกไป หรือทำเป็นวงเล็ก ถ้าหากเป็นไปได้ เวลาออกรายการโทรทัศน์ก็ต้องมีคนในวงโปงลางไปด้วย เพราะเขาคิดเสมอว่าโปงลางสะออนมีวันนี้ได้เพราะทุกคน ให้เขาออกงานคนเดียวแล้วเด็กในวงจะทำอะไร
อี๊ดวางกลยุทธ์ไว้อย่างชัดเจนว่า โปงลางสะออนต้องรักษาคุณภาพการแสดงให้ได้ทุกครั้ง เพราะนั่นคือการทำให้อายุของโปงลางสะออนยืนยาวที่สุด
โปงลางสะออนได้รับการวางตัวให้เป็นตัวหลักในการสร้างกลุ่มคนฟังแบบไร้ภาค ไปได้ทั่วประเทศ ในขณะที่ "หลวงไก่" ศิลปินเพลงลูกทุ่งใต้คนแรกก็ถูกวางตัวให้เจาะภาคใต้ และก็ประสบความสำเร็จ
หลวงไก่เป็นคนที่มีประสบการณ์ทางดนตรี เพราะเป็นมือกลองของเอกชัย ศรีวิชัย มาก่อน และด้วยความที่ชอบร้องเพลงทำเพลงเป็นของตัวเอง ช่วงแรกก็ทำเพลงเพื่อชีวิต เพลงกระแสหลักของภาคใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไร จากนั้นก็หันมาทำเพลงลูกทุ่งบ้าง ก็ไม่สำเร็จ จนเอกชัยพามาฝากไว้ที่อาร์สยาม
หลวงไก่อยู่อาร์สยามโดยไม่มีผลงานเพลงเกือบ 1 ปี เพราะผู้บริหารคิดว่ายังไม่ถึงเวลา จนสุดท้ายก็ได้หนู มิเตอร์ มาเป็นผู้ดูแลเพลงชุดแรก
อาร์สยามได้หลวงไก่เป็นต้นแบบในการบุกตลาดทางใต้
ส่วนความหมายของคำว่า "หลวง" ในภาษาใต้ตรงกับภาษาภาคกลางว่า "ทิด" คือผู้ที่ผ่านการบวชเรียนแล้ว
จินตหรา พูนลาภ มีความเปลี่ยนแปลงมากมาย ต้นสังกัดเดิม ยุบบริษัทจึงต้องหาสังกัดใหม่เพื่อทำงานต่อ แต่เธอเลือกมาอยู่กับอาร์สยาม ทั้งๆ ที่เคยร่วมร้องเพลงกับเบิร์ด ในชุดแฟนจ๋า โด่งดังไปทั่วประเทศ ซึ่งแกรมมี่ โกลด์ น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีเพราะคุ้นเคยกันดี
การมาร่วมงานกับอาร์สยามก็ประเดิมด้วยชุดใหม่ จินตหราครบเครื่อง ซึ่งเป็นแนวเพลงเดิมที่เคยร้องมาและเป็นที่ยอมรับของแฟนเพลง
"จินยังคงเป็นเด็กบ้านนอกคนเดิม" เธอยืนยันตัวตนที่แท้จริง ซึ่งจะสะท้อนออกมาในเพลงชุดใหม่ เพราะผู้บริหารของอาร์สยามต้องการฟื้นฟูภาพลักษณ์เดิมให้กลับมา หลังจากที่ออกนอกทางไประยะหนึ่ง
แต่ชุดใหม่ของจินตหราได้พ่วงอี๊ด โปงลาง เข้าไปด้วย โดยเป็นนักร้องรับเชิญในเพลง "จินตหรา แอ๊บแบ๊ว" ที่เป็นเพลงตลกร้ายเพลงหนึ่งเลยทีเดียว
|
|
|
|
|