Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2535
"ใครคือกลุ่มเป้าหมายต่อไปที่จะถูกซื้อกิจการ"             
 

   
related stories

"สนทนานักลงทุน"

   
search resources

Investment




"มีองค์ประกอบอย่างน้อย 3 ประการที่ใช้วัดว่าบริษัทไหนจะถูกเทคโอเวอร์บ้าง นักลงทุนต้องระวังให้ดี"

การลงทุนในตลาดหุ้นเวลานี้หุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุด ภายในช่วงระยะเวลาไม่นานนัก คงหนีไม่พ้นหุ้นของบริษัทที่กำลังจะถูกซื้อกิจการโดยเฉพาะลักษณะการซื้อกิจการโดยเข้าทางประตูหลัง (BACKDOOR LISTING) ดังเช่นบริษัทสามชัย หรือฟิลาเท็กซ์ (ปัจจุบันคือเอกโฮลดิ้ง)

ราคาก่อนถูกซื้อกิจการเมื่อกันยายนปีที่แล้ว ขยับขึ้นหลังถูกซื้อประมาณ 1 ปี กว่า 700 เปอร์เซ็นต์ทั้ง 2 บริษัท กล่าวคือก่อนถูกซื้อกิจการราคาต่อหุ้นของสามชัยตกประมาณ 13 บาทและฟิลาเท็กซ์ 12 บาท หลังซื้อกิจการประมาณ 1 ปี ราคาต่อหุ้นของสามชัยและฟิลาเท็กซ์พุ่งขึ้นเป็นประมาณ 117 และ 102 บาท ตามลำดับ

ผลประกอบการขาดทุน ทุนจดทะเบียนในราคาตลาด (MARKET CAPITALIZATION) ต่ำกว่า 700 ล้าน, ค่า P/E (PRICE EARNING RATION) ต่ำ (ราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น) และความยินยอมพร้อมใจของเจ้าของกิจการเดิม องค์ประกอบเหล่านี้ล้วนมีคุณสมบัติจูงใจต่อการถูกซื้อกิจการ

จากการสำรวจผลประกอบการ 2 ไตรมาสสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2535 พบว่ามี 14 บริษัทที่ขาดทุน โดยส่วนใหญ่เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจการเกษตร (3 บริษัท), ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง และธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (2 บริษัท) (พิจารณาตารางประกอบ)

ดังนั้นเมื่อเจ้าของบริษัทไม่สามารถนำพาให้ตลอดรอดฝั่งได้ เมื่อมีผู้ยื่นมือเข้ามาเสนอซื้อบริษัทที่มีรอยรั่วลำนี้ไปเสียโดยให้ราคาเป็นที่น่าพอใจ เจ้าของบริษัททุกคนคงไม่มีใครปฏิเสธ

อย่างไรก็ตาม หากเจ้าของบริษัทยินยอมสละบริษัทแล้ว แต่หากขนาดของบริษัทใหญ่เกินไป ผู้ซื้อจะมีกำลังซื้อหรือไม่?

จากการสอบถามไปยังค่ายวาณิชธนกิจของบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านซื้อกิจการหลายราย เช่น บริษัทเงินทุนเอกธนกิจ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์นิธิภัทร หรือบริษัทหลักทรัพย์เจเอฟธนาคม เกี่ยวกับมูลค่าของบริษัทที่เข้าข่ายจะถูกซื้อกิจการ ต่างประเมินราคาออกมาใกล้เคียงกันว่าไม่ควรเกิน 1,000 ล้านบาท

แต่ที่เป็นไปได้มากคงอยู่ในระดับ 500-700 ล้านบาท ด้วยเหตุผลที่ว่าผู้ซื้อในไทยใช้แหล่งเงินทุนจากเงินของตนเองเป็นหลัก ส่วนที่เป็นการกู้ยืมไม่มากนัก วงเงินในการซื้อกิจการจึงค่อนข้างจำกัด ซึ่งต่างกับการซื้อกิจการของต่างประเทศที่ผู้ซื้อมีวงเงินในการซื้อสูง กล่าวคือนิยมสร้างหนี้ขึ้นมาเพื่อซื้อกิจการ โดยใช้ตราสารแห่งหนี้เป็นหลัก เช่นการออก JUNK BOND เป็นต้น

ผลการสำรวจบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนตามราคาตลาดต่ำกว่า 700 ล้านบาท ณ วันที่ 10 พฤศจิกายนศกนี้นั้น มีทั้งสิ้น 47 บริษัท ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มสิ่งทอ ซึ่งมีอยู่ถึง 11 บริษัท (พิจารณาตาราง 2 ประกอบ)

นอกจากนี้ บริษัทที่มีทุนจดทะเบียนต่ำกว่า 700 ล้านบาท และมีผลประกอบการขาดทุนในช่วงสิ้นสุดไตรมาส 2 นี้มีทั้งสิ้น 5 บริษัทคือ ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี, บางกอกเพนท์, อิสเทิร์นไวร์, วิทยาคม, เซมิคอนดัคเตอร์ และไทยจิวฟู

เมื่อผู้ซื้อมีความพร้อมในการซื้อแล้ว ก็สมควรที่จะพิจารณาถึงความพร้อมของผู้ชายด้วย นั่นคือหากผู้ชายเข้าข่ายเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นโดยไม่หวังผลกำไร หรือเป็นบริษัทของตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ที่ไม่ยอมเสียชื่อจากการขายกิจการ การซื้อขายย่อมไม่เกิดขึ้น

ซึ่งจะต่างจากกิจการใหม่ที่เกิดขึ้นโดยผู้บริหารรุ่นใหม่ที่ร่วมกันก่อตั้งเช่นกิจการโรงพยาบาลที่นายแพทย์หลายท่านร่วมกันจัดตั้ง การขายกิจการเพื่อได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าจะมีความเป็นไปได้สูง

หลังจากพิจารณาถึงปัจจับพื้นฐานเบื้องต้น เพื่อมองหากลุ่มบริษัทที่คาดว่าจะเป็นเป้าหมายของการถูกซื้อกิจการกันได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปที่นักลงทุนต้องพิจารณาคือ ณ ระดับราคาเท่าไรที่ควรจะซื้อ

การพิจารณาถึงระดับราคาที่เหมาะสมนั้น พิจารณาได้คร่าวๆ จากการเปรียบเทียบค่า P/E ของหุ้นตัวนั้น กับค่า P/E ของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือของอุตสาหกรรม

ซึ่งถ้ามีค่าต่ำกว่าก็พอจะประมาณได้ว่ายังเป็นหุ้นที่น่าสนใจในการลงทุนเพราะราคายังไม่สูงเกินไป แต่หากค่า P/E ของบริษัทสูงกว่าอุตสาหกรรมหรือตลาดรวมต้องวิเคราะห์ต่อไป ว่าราคาที่ขึ้นไปนั้นสูงเกินกว่าความสามารถในการทำกำไรของบริษัทในอนาคตหรือไม่ เพราะหากสูงเกินไปแล้ว ก็ไม่น่าที่จะลงทุนแม้ว่าบริษัทนั้นจะถูกซื้อกิจการจริงก็ตาม (พิจารณาตารางประกอบ)

จากหลักเกณฑ์การพิจารณาถึงกลุ่มบริษัทที่มีแนวโน้มจะถูกซื้อกิจการ เชื่อว่าคงจะช่วยให้นักลงทุนผู้กระโดดขึ้นรถด่วนคงจะเป็นผู้ที่กระโดดขึ้นตั้งแต่สถานีต้นๆ ไม่ใช่สถานีปลายทางที่เป็นจุดหมายแล้ว

สำหรับทิศทางการซื้อกิจการในอนาคต คาดว่าจะออกมาในรูปแบบของการสร้าง SYNERGY มากขึ้น คงจะไม่เป็นไปในลักษณะที่เห็นผลของระดับราคาเปลี่ยนแปลงอย่างหวือหวาดังเช่น การซื้อกิจการในลักษณะที่ผู้ซื้อเข้ามาเปลี่ยนแปลงธุรกิจหลักของกิจการซึ่งเข้าข่ายของการเข้าประตูทางอ้อม (BACKDOOR LISTING) อีกแล้ว

เนื่องจากทางการได้เข้ามาควบคุมออกกฎบังคับใช้ในทางปฏิบัติตั้งแต่ตุลาคมที่ผ่านมาว่า ให้ผู้ที่ประสงค์จะทำ BACKDOOR LISTING ต้องขอเข้าจดทะเบียนต่อทางการตามกฎเกณฑ์การรับหลักทรัพย์ใหม่อีกครั้ง แม้ว่าจะซื้อกิจการในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วก็ตาม

ลักษณะทั่วไปของการซื้อกิจการที่เข้าข่ายการทำ BACKDOOR

1. บริษัท ในตลาดซื้อบริษัทนอกตลาด ซึ่งตามเกณฑ์บริษัท นอกตลาดมีขนาดใหญ่กว่าบริษัท ในตลาดมากกว่าหรือเท่ากับ 100%

2. บริษัท ในตลาดซื้อบริษัทนอกตลาด และการซื้อดังกล่าวมีผลให้เกิดการโอนระบบการควบคุมของบริษัท ในตลาดไปยังบริษัทนอกตลาด

3. บริษัท ในตลาดรวมกิจการ กับบริษัทนอกตลาดและ การรวมกันดังกล่าวมีผลให้มีการโอนอำนาจการควบคุมของบริษัท ในตลาด ไปยังบริษัทนอกตลาด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us