|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ได้ประมาณการภาวะเศรษฐกิจของไทยปี 2551 คาดว่า จะขยายตัว 4.6% เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่คาดว่า ขยายตัว 4.2% เนื่องจากผลกระทบจากราคาน้ำมัน ซึ่งมีแนวโน้มค่าเฉลี่ยราคาขยับขึ้นอีก 5 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มจาก 65-68 เหรียญสหรัฐ เป็น 70-72 เหรียญสหรัฐในปีหน้า ทำให้กระทบต่อราคาเฉลี่ยน้ำมันขายปลีกในประเทศเพิ่มอีก 2 บาทต่อลิตร หรือน้ำมันดีเซลเพิ่มจากลิตรละ 26-27 บาท เป็นลิตร 29-30 บาท น้ำมันเบนซินเพิ่มจากลิตรละ 29-30 บาท เป็นลิตรละ 32-33 บาท ทำให้ไทยขาดดุลสูงขึ้นจากการนำเข้าน้ำมันอีก 50,000 ล้านบาท เป็นปัจจัยกระทบต่อการขยายตัวเศรษฐกิจลดลง 0.2%
นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังได้รับผลกระทบจากการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ที่ขณะนี้มีปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) อาจทำให้ระบบธนาคารของสหรัฐไม่ปล่อยเงินสู่ระบบ กระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการค้าของสหรัฐฯ และส่งผลให้กระทบต่อการส่งออกสินค้าไทย ที่คาดว่าปีหน้าการส่งออกไทยจะขยายตัวได้เพียง 8% ยกเว้นธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ลดดอกเบี้ยเงินกู้ 1-2% โดยเริ่มลดในเดือนธ.ค.นี้ 0.5% ปัญหาซับไพรม์ คาดว่า จะคลี่คลายได้บางส่วน
“เมื่อเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ย 1% จะส่งผลให้เงินสหรัฐฯ อ่อนตัวลง แต่ทำให้สกุลยูโรและบาทแข็งขึ้น ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยในปีหน้าน่าจะอยู่ที่ 32.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐ หรืออาจลงถึง 31 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ในระยะเวลาสั้นๆ จะกระทบต่อการส่งออก”
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ทำให้ไตรมาสแรกปีหน้า การส่งออกไทยมีสถานการณ์น่าห่วงจากปัญหาค่าบาทแข็ง รัฐบาลต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย และควรเปิดด่านชายแดนถาวรเพื่อลดอุปสรรคการค้าชายแดน ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคฟื้นตัวกลับมา ทำให้มีการใช้จ่าย การลงทุน และการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น จะทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ภายในครึ่งปีหลังบนพื้นฐานการเมืองนิ่งและมีเสถียรภาพ
สำหรับการวิเคราะห์เศรษฐกิจแต่ละภูมิภาค พบว่า ทุกภูมิภาคมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในทิศทางเดียวกัน คือ ปี 2550 เศรษฐกิจจะต่ำสุดในไตรมาส 3 และเริ่มฟื้นตัวในไตรมาส 4 โดยปัจจัยส่งเสริมให้เศรษฐกิจทุกภูมิภาคขยายตัวสูงขึ้นในไตรมาสสุดท้าย ได้แก่ สินค้าภาคเกษตรยังมีราคาในเกณฑ์ดี รวมทั้งการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในเทศกาลปีใหม่และการเลือกตั้ง ทำให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจทุกภูมิภาคเพิ่มขึ้น
“ไตรมาสสุดท้าย เศรษฐกิจภูมิภาคจะเริ่มฟื้นตัวขึ้น เพราะเข้าสู่ช่วงหน้าหนาว มีเทศกาลปีใหม่ และการเลือกตั้ง ทำให้มีเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายหาเสียง รายได้จากการท่องเที่ยวโดยเฉพาะภาคเหนือ ยกเว้นความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ อาจกระทบต่อการท่องเที่ยวใต้ตอนล่าง แต่ภาครวมถือว่ามีความคึกคักมากขึ้น”
|
|
|
|
|