Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2535
"ปูนใหญ่ควักพันล้านแลกอนาคตกระดาษ"             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย

   
search resources

เครือซิเมนต์ไทย
ชำนาญ สุนทรวัฒน์
Pulp and Paper




กลางปีนี้ ข่าวใหญ่เรื่องสิ่งแวดล้อม คือเรื่องเกี่ยวกับการปล่อยน้ำเสียของโรงงานกระดาษฟินิกซ์พัลพ์แอนด์เพเพอร์ที่ขอนแก่น จนกระทั่งน้ำในแม่น้ำพองบริเวณโรงงาน ไม่สามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้และส่งผลกระทบถึงสิ่งแวดล้อมในอาณาบริเวณด้วย

ปลายปีเรื่องสิ่งแวดล้อมกลายเป็นเรื่องใหญ่อีกครั้ง เมื่อโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีการปล่อยควันพิษจากการผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ถึงขั้นคนในบริเวณดังกล่าวถูกหามส่งโรงพยาบาลนับร้อยนับพัน

สองเรื่องที่กล่าวข้างต้นอาจจะไม่เกี่ยวข้องกันเลยนอกจากเรื่องของการทำลายสิ่งแวดล้อม จนเกิดการประท้วงของชาวบ้านตลอดและกลุ่มนักอนุรักษ์ธรรมชาติ

แต่สำหรับปูนซิเมนต์ไทยอุตสาหกรรมใหญ่ของประเทศเรื่องทั้งสองเป็นเรื่องเดียวกัน

ทั้งนี้ เพราะในส่วนของปูนซิเมนต์ไทยนั้น เรื่องของน้ำเสียและเรื่องของอากาศเสียจากการหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นเรื่องที่กลุ่มเยื่อและกระดาษในเครือซิเมนต์ไทย มีความหวาดวิตกเป็นอย่างยิ่ง ด้วยสาเหตุที่กลุ่มนี้ ได้ชื่อว่า เป็นเจ้าแห่งวงการกระดาษตัวจริงของประเทศ

ปัจจุบัน เครือซิเมนต์ไทยมีโรงงานในกลุ่มเยื่อและกระดาษถึง 11 บริษัทกระจายอยุ่ในหลายพื้นที่ ได้แก่ บริษัทเยื่อกระดาษสยาม บริษัทสยามเซลลูโลส บริษัทสยามคราฟท์อุตสาหกรรม บริษัทอุตสาหกรรมกระดาษคราฟท์ไทย บริษัทสยามบรรจุภัณฑ์ บริษัทสยามบรรจุภัณฑ์อุตสาหกรรม บริษัทสยามบรรจุภัณฑ์ราชบุรี (1989) บริษัทผลิตภัณฑ์กระดาษไทย บริษัทกระดาษสหไทย บริษัทสยามการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ และบริษัทกระดาษสหไทยอุตสาหกรรม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับโรงงานของกลุ่มเยื่อและกระดาษที่เปิดใหม่ที่วังศาลาจังหวัดกาญจนบุรี ที่กลุ่มปูนซิเมนต์ไทย ลงทุนประมาณ 10,000 ล้านบาท สร้างโรงงานผลิตกระดาษแบบครบวงจร 3 บริษัทในพื้นที่ดังกล่าว คือสยามเซลลูโลสที่ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,950 ล้านบาท อุตสาหกรรมกระดาษคราฟท์ไทยใช้เงินลงทุน 5,100 ล้านบาทและกระดาษสหไทยอุตสาหกรรมลงทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท

ชำนาญ สุนทรวัฒน์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส ปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งดูแลกลุ่มเยื่อและกระดาษของเครือซิเมนต์ไทยกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่าโรงงานของกลุ่มเยื่อและกระดาษที่วังศาลานี้ เป็นโรงงานที่มีระบบบำบัดน้ำเสียดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยในโครงการดังกล่าวที่หลายคนเรียกกันเล่นๆ ว่าเป็น "นิคมกระดาษ" มีการลงทุนในโครงการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมเป็นเงินประมาณ 500 ล้านบาท

"ในพื้นที่โรงงานวังศาลาเราใช้เงินในการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อมโดยการดำเนินการระบบบำบัดน้ำทิ้งประมาณ 500 ล้านบาท และแก้ปัญหาด้านกลิ่นของสยามเซลลูโลสประมาณ 30 ล้านบาท" ไพรับ เมฆอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการผลิตภัณฑ์กระดาษไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการมาตรฐานสิ่งแวดล้อมกลุ่มเยื่อและกระดาษ เครือซิเมนต์ไทยกล่าว

การดำเนินการดังกล่าวนี้คนในเครือซิเมนต์ไทยหลายคนกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่าได้รับการสนับสนุนอย่างดีจาก พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ปูนซิเมนต์ไทยที่มีหนังสือถึงพนักงานเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมว่า ให้พนักงานทุกคนให้ความสำคัญในเรื่องนี้

"ขอให้พนักงานทุกคนถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในทุกวิถีทาง เพื่อเป็นการตอบสนองต่ออุดมการณ์ของเครือฯ ที่ว่า "ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม" ข้อความที่พารณมีถึงพนักงานในเรื่องนี้

ในส่วนของผู้รับผิดชอบโดยตรง ชำนาญกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า การลงทุนในเรื่องสิ่งแวดล้อมนั้น ไม่ได้ลงทุนมากนักเมื่อเทียบต่อหน่วยกล่าวคือ จะคิดเป็นต้นทุนประมาณ 50 บาทต่อตัน แต่หากมีการผลิตกระดาษเป็นหมื่นตัน เงินลงทุนดังกล่าวก็จะสูงมากอย่างเช่นในส่วนของเครือซิเมนต์ไทยนั้น โรงงานสยามเซลลูโลสมีกำลังการผลิตเยื่อฟอกปีละ 50,000 ตัน สยามอุตสาหกรรมกระดาษคราฟท์ไทยมีกำลังการผลิตกระดาษคราฟท์ปีละ 250,000 ตัน ส่วนโรงงาน กระดาษสหไทยอุตสาหกรรมนั้น จะเริ่มทำการผลิตกระดาษแข็งเคลือบผิวกระดาษสำหรับแผ่นยิปซั่มในปลายปีนี้

สำหรับการรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวนี้เครือซิเมนต์ไทยว่าจ้างบริษัท HASIMONS แห่งประเทศแคนาดา และบริษัท AFIPK จากสวีเดน เป็นผู้รับการศึกษาดูแลรายละเอียด

การที่ปูนซิเมนต์ไทยกล้าที่จะลงทุนเป็นเงินกว่าครึ่งพันล้านบาทเพื่อรักษาระบบสิ่งแวดล้อมในครั้งนี้ นอกเหนือจากการหวาดวิตกในเรื่องสิ่งแวดล้อมแล้ว การได้รับการบรรจุอยู่ใน 15 รายการสินค้าที่จะเข้าระบบอาฟต้าตั้งแต่ปีหน้าก็จะมีส่วนด้วย เพราะเยื่อกระดาษก็เป็นหนึ่งในรายการสินค้าที่จะเข้าระบบ ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องมีการดูเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพราะนอกเหนือจากที่อาจจะถูกกีดกันเนื่องจากกลุ่มเยื่อ และกระดาษเป็นอุตสาหกรรมที่ทำลายสิ่งแวดล้อมมากด้วยการตัดป่าแล้วเรื่องของน้ำเสียยังมาเกี่ยวข้องด้วย

"อุตสาหกรรมกระดาษนับเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำมากที่สุดอุตสาหกรรมหนึ่ง" คนที่ดูเรื่องกระดาษมานานอย่างชำนาญกล่าวซึ่งนั่นหมายความว่า การรักษาสภาพแวดล้อมเรื่องน้ำ จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมดังกล่าว ให้สามารถที่จะดำเนินการได้ในระยะยาว

ตัวอย่างสภาพจริงเรื่องนี้ที่เห็นชัดเจนก็คือ คราวที่ฟีนิกซ์พัลพ์แอนด์เพเพอร์มีการปล่อยน้ำทิ้งลงในแม่น้ำพองขนกระทั่งเกิดน้ำเสียถูกต่อต้านจากชาวบ้าน กรมโรงงานสั่งปิดโรงงาน ปรากฏว่า นอกเหนือจากชื่อเสียงของบริษัทที่เสียหายแล้ว การที่ต้องหยุดการผลิต (เพราะกรมโรงงานสั่งปิด) นั้นกล่าวกันว่าบริษัทขาดรายได้ไปประมาณเดือนละ 20 ล้านบาท

อดุล อดุล กรรมการผู้จัดการอุตสาหกรรมกระดาษคราฟท์ไทย ยังยอมรับว่าการขยายตัวของอุตสาหกรรมกระดาษไทยนั้น มีแนวโน้มสูงมากเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน กล่าวคือ จากที่มีอัตราการบริโภคอยู่ประมาณ 25 กิโลกรัม/คน/ปี ในปัจจุบันเครือซิเมนต์ไทย ได้พยากรณ์เอาไว้ว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้าอัตราการบริโภคกระดาษของคนไทย จะสูงถึง 70 กิโลกรัม/คน/ปี อันเป็นตลาดที่เครือซิเมนต์ไทย วาดไว้สวยมาก ในฐานะผู้ผลิตกระดาษรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของประเทศที่เป็นการผลิตแบบครบวงจร ที่มีตั้งแต่การผลิตเยื่อจนถึงกระดาษประเภทต่างๆ นับตั้งแต่การเข้าไปเกี่ยวข้องในวงการกระดาษด้วยการเข้าดำเนินการบริษัทสยามคราฟท์อุตสาหกรรม

มองตรงนี้ เชื่อว่าเงินที่เครือซิเมนต์ไทย ทุ่มลงในในเรื่องระบบการกำจัดน้ำเสียและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถที่จะดำเนินการผลิตต่อไปได้นั้นเป็นเรื่องที่คุ้มค่ามากในอนาคตของการบริโภคกระดาษที่จะเพิ่มกว่า 3 เท่าตัวในอีก 10 ปีข้างหน้า

นอกจากวงเงินกว่า 500 ล้านบาทที่เครือซิเมนต์ไทยทุ่มลงไปในโครงการบำบัดน้ำเสียและสิ่งแวดล้อมที่วังศาลาแล้ว พารณ อิศรเสนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ปูนซิเมนต์ไทยที่จะเกษียณสิ้นปีนี้ กล่าวกัน "ผู้จัดการ" ว่าเพิ่งอนุมัติวงเงินประมาณ 450 ล้านบาทสำหรับใช้ในโครงการบำบัดน้ำเสียและรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมที่โรงงานกลุ่มเยื่อและกระดาษที่บ้านโป่ง ราชบุรีอีกด้วย

การควักเงินพันล้านบาทเพื่อแลกกับอนาคตกลุ่มเยื่อและกระดาษของเครือซิเมนต์ไทยในครั้งนี้ นับว่าปูนซิเมนต์ไทยลงทุนคุ้มมากที่จะได้รับทั้งเงินและกล่อง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us