Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2535
"ประยูร พลพิพัฒนพงศ์ และซี.อีโต้ "Synergy" พาร์ตเนอร์"             
 


   
search resources

ซี.อีโต้ แอนด์โก
เชียงใหม่โฟรเซ่นฟู้ดส์, บมจ.
ประยูร พลพิพัฒนพงศ์
Import-Export




พ่อค้าพืชไร่อย่างประยูร พลพิพัฒนพงศ์ ที่ร่ำรวยเงียบๆ จากกิจการ "หจก.พีพรอสเพอร์" ไม่ต่ำกว่า 23 ปีที่เขาค้าหัวหอม กระเทียม และพริกจากเมืองเชียงใหม่ส่งออกไปขายยังต่างประเทศ เป็นคนที่ LOW PROFILE มากๆ ประยูรเป็นคนจีนแต้จิ๋วแซ่เซียว เกิดที่เมืองขอนแก่น แต่มาโตที่กรุงเทพ และทำการค้าขายพืชไร่ที่เชียงใหม่จนเป็นผู้นำในนาม "บริษัทเชียงใหม่โฟรเซ่นฟูดส์" หรือเครื่องหมายการค้า "CM" ที่ตลาดญี่ปุ่นยอมรับคุณภาพ

บริษัทเชียงใหม่โฟรเซ่นฟูดส์เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างตระกูลพลพิพัฒน์พงศ์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ 51% กับไต้หวันและญี่ปุ่นก่อตั้งในปี 2531 ด้วยทุนแรกเริ่ม 50 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจส่งออกผักผลไม้แช่แข็ง เช่น ถั่วแระ ถั่วแขก แครอทและสตรอเบอรี่ โดยมี "บริษัทไตเยา" ที่รวมเอาสี่โรงงานยักษ์ใหญ่ผู้ส่งออกผักและผลไม้แช่แข็งแห่งไต้หวันซึ่งถือหุ้น 30% ทำหน้าที่ดูแลด้านการผลิตและ "บริ-ษัทซี.อีโต้ แอนด์ โก" ซึ่งเป็นบริษัทการค้า ที่มีเครือข่ายในญี่ปุ่น ถึง 760 แห่งถือหุ้น 19% ดูแลการทำตลาดหลักที่ญี่ปุ่น

"ซี.อีโต้กับเราเป็นคู่ค้ากันมานานประมาณ 7-8 ปีแล้ว โดยเขามาซื้อหัวหอมจากเรา ส่วนผู้ร่วมทุนชาวไต้หวันนี้ทาง ซี.อีโต้แนะนำมาให้รู้จักกับเรา แต่ละคนก็มีจุดแข็งและความชำนาญคนละด้านของไทยเราก็ได้เปรียบตรงที่เรามีวัตถุดิบป้อนโรงงานสม่ำเสมอขณะที่ไต้หวันก็มีโนว์ฮาว ระบบ I.Q.F ใช้กับอุตสาหกรรมผักผลไม้แช่แข็ง และญี่ปุ่นก็มีความชำนาญด้านเครือข่ายการตลาด" ประยูรกรรมการผู้จัดการบริษัทเชียงใหม่โฟรเซ่นฟูดส์เล่าให้ฟังถึงจุดแข็งของบริษัทฯ

การช่วงชิงโอกาสความได้เปรียบทางธุรกิจที่บริษัทเชียงใหม่โฟรเว่นฟูดส์ได้ผู้ร่วมลงทุนที่แข็งแกร่งเช่นนี้ ได้สร้างให้บริษัทกลายเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมส่งออกผักผลไม้แช่แข็งของไทยนับตั้งแต่ตั้งบริษัทในปี 2531 และเริ่มส่งออกในปี 2533 มียอดขาย 72.5 ล้านบาทต่อมาในปี 2534 บริษัทสามารถทำรายได้สูงถึง 201.6 ล้านบาทหรือประมาณ 42% ของมูลค่าส่งออกผักแช่แข็งทั้งหมด 467.3 ล้านบาท

"ตอนแรกๆ เราส่งออกไปโดยยังไม่รู้ทิศทาง เป็นระยะการศึกษา พอปีที่สองเรารู้ว่าเราจะส่งออกอะไรที่จะทำตลาดได้มากๆ รายได้เราจึงถีบตัวขึ้นจากที่ตั้งไว้ ดังนั้นในปีที่สามคือปี 2535 นี้ เราตั้งไว้ว่าจะมีรายได้ 270 ล้านบาท แต่คิดว่าคงจะได้ต่ำกว่าประมาณการบ้าง เพราะมีปัญหาพันธุ์ถั่วแระที่จะขยายไม่เพียงพอกับความต้องการ แต่อัตราเติบโตของรายได้ก็คาดว่าจะโตประมาณปีละ 25% และขยายกำลังผลิตให้ได้ถึง 13,000 ตันในอีก 2 ปีข้างหน้า" ประยูรเล่าให้ฟังถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้

จากโครงสร้างการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเพื่อส่งออกได้ปีละ 10,000 ตันปรากฏว่าในปี 2534 ถั่วแขกมีสัดส่วนการขายสูงที่สุดถึง 17.6% ของทั้งหมดและถั่วแขกมีอัตรากำไรสูงกว่าผลิตผลตัวอื่นๆ ขณะที่ถั่วแระเป็นอันดับที่สองคือ 19.92% ทั้งนี้เนื่องจากตลาดความต้องการบริโภคในญี่ปุ่นสูงมากถึง 200,000 ตัน ชาวญี่ปุ่นนิยมทานถั่วแขก ถั่วแระแกล้มเบียร์สุรา

ประยูรได้เล่าถึงกลยุทธ์ผูกผู้ค้าชาวญี่ปุ่นทั้งหมดไว้กับมือว่า จะมีลักษณะเป็นลูกโซ่ที่ทำให้การกระจายสินค้าไปได้รวดเร็วและเข้าเป้าหมาย ช่องทางการจัดจำหน่ายแบ่งเป็นสองช่องทาง

หนึ่ง ระบบขายตรงแก่ลูกค้าประเภทห้างสรรพสินค้าซุปเปอร์มาร์เกตต่างๆ ในญี่ปุ่นเช่น TAIYO GYOGYO, KABUSHIKI KAISHA, SERIA FOODS, CHUO SHOKUHIN, THE DAIEINICHIREI CORP., KANNGAWA CONSUMERS, FUJI TRADING ฯลฯ ซึ่งทางเชียงใหม่โฟรเซ่นฟูดส์จะผลิตให้ในบรรจุภัณฑ์ที่มีชื่อต่างๆ ตามแต่จะสั่งสัดส่วนตลาดประเภทแรกนี้จะมากถึง 65% ของยอดขายรวม

สอง ระบบขายผ่านตัวแทนจำหน่ายโดยผ่านทางบริษัทซี.อีโต้ แอนด์ โก เป็นจำนวน 35% ของยอดขาย

ช่องทางการจำหน่ายทั้งสองนี้ ทางเชียงใหม่โฟรเซ่นฟูดส์จะจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้แก่ตัวแทนในอัตรา 3% ของยอดขาย นอกจากนี้บริษัทยังทำส่งเสริมการขายด้วยการให้ส่วนลด 3-5% สำหรับลูกค้าที่สั่งซื้อปริมาณมากหรือทำสัญญาระยะยาว 6-12 เดือน ทั้งนี้ราคาของบริษัทจะตั้งราคาขายสูงกว่าต้นทุนประมาณ 15-25%

แต่ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมส่งออกฯ นี้ก็คือความไม่แน่นอนของวัตถุดิบหรือคุณภาพไม่ได้มาตรฐานปัญหานี้ ประยูรเล่าให้ฟังว่าบริษัทได้ทำเป็นอุตสาหากรรมการเกษตรครบวงจร ที่สามารถควบคุมคุณภาพได้ทุกขั้นตอน ตั้งแต่การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์และปุ๋ยให้เกษตรกรเพาะปลูกประกันราคารับซื้อ ผลิตและแปรรูปจนถึงขั้นตอนการส่งออก

"รายได้ตอบแทนเกษตรกรในโครงการของเราน่าพอใจความจริงการปลูกถั่วนี้เป็นผลพลอยได้จากพื้นที่ทำนาปลูกข้าวแต่ปรากฎว่า รายได้เฉลี่ยต่อไร่เขาได้ปีละ 9,000-12,000 บาทขณะที่ขายข้าวได้ไม่ถึงไร่ละ 3,000-4,000 บาท"

ความจูงใจด้านผลตอบแทนสูงเช่นนี้ ทำให้ปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกผลผลิตของบริษัทมีถึง 20,000 ไร่ที่คลอบคลุม 8 จังหวัดคือ เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน ลำปาง พะเยา ลำพูนและแม่ฮ่องสอน โดยมีโรงงานที่ถนน เชียงใหม่-พร้าว อ.สันทรายเป็นศูนย์กลางแหล่งผลิตวัตถุดิบ

เนื่องจากอุตสาหกรรมผักผลไม้แช่แข็งเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาล บริษัทเชียงใหม่โฟรเซ่นฟูดส์จึงได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก บี โอ ไอ ได้รับสิทธิยกเว้นเครื่องจักรและภาษีเงินได้ถึง 7 ปี โดยมีอีกสองรายที่ได้รับการส่งเสริมคือ บริษัทยูเนี่ยนฟรอสท์และบริษัท THAI TOPY PROCESSING ที่มีกำลังผลิตรวมเท่ากับ 13,200 ตัน ใกล้เคียงกับเชียงใหม่โฟรเซ่นฟูดส์

แต่คู่แข่งที่น่ากลัวของเชียงใหม่โฟรเซ่นฟูดส์คือไต้หวันที่เป็นเจ้าของตลาดครองส่วนแบ่งในตลาดญี่ปุ่นสูงสุดในขณะที่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนเช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย มักส่งออกในรูปของสด แต่คู่แข่งที่กำลังมาแรงจนน่าจับตาในอนาคตก็คือ สาธารณรัฐประชาชนจีนและเวียดนาม

"ตอนนี้ไต้หวันประสบปัญหาค่าเงิน ปัญหาที่ดินราคาแพงขี้น ทำให้พื้นที่เพาะปลูกน้อยลง และค่าแรงงานที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้ความสามารถ ในการแข่งขันในตลาดโลกลดลง เราก็คิดว่า นี่คือปัจจัยที่จะเอื้อให้สินค้าเรามีโอกาสขยายตัวในญี่ปุ่นได้มาก" ประยูรกล่าวถึงสาเหตุของการเคลื่อนย้ายทุนจากได้หวันมาไทย ที่ทำให้เชียงใหม่โฟรเซ่นฟูดส์มีศักยภาพเติบโตได้

จากแนวโน้มตลาดอันสดใสนี้เองการเพิ่มทุนเป็น 125 ล้านบาทจึงได้เกิดขึ้นกลางปี 2534 เพื่อขยายงานการผลิตจาก 10,000 ตันเป็น 13,000 ตันและขยายพื้นที่ห้องเย็นจาก 2,500 ตันเป็น 4,000 ตันซึ่งใช้เงินประมาณ 55 ล้านบาทในการก่อสร้างและซื้อเครื่องจักร

เนื่องจากผักผลไม้มีลักษณะเป็น SEASONAL PRODUCT ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมและกุมภาพันธ์-มีนาคม จะเก็บเกี่ยวผลิตผลเช่นถั่วแขก ถั่วแระได้มากและนำเข้าสู่ระบบการผลิต ช่วงเวลาจำกัดนี้จึงทำให้ผลผลิตส่วนเกินต้องนำไปเก็บแช่แข็งไว้ห้องเย็นด้วยระบบ FLUIDISED BED FREEZER หรือที่รู้จักกันดีว่าระบบ I.Q.F

วิธีการในการระดมทุนในส่วนที่เพิ่มนี้ ประยูรได้นำเอาบริษัทเชียงใหม่โฟรเซ่นฟูดส์เข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทรับอนุญาตในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยกระจายหุ้นจำนวน 2 ล้านหุ้นแก่ประชาชนทั่วไป ในราคาเสนอขายหุ้นละ 40 บาท "เงินที่ได้จากการขายหุ้น 80 ล้านบาทนี้ ส่วนหนึ่งเรามีโครงการจะขยายกำลังผลิตขยายพื้นที่ห้องเย็น เรามั่นใจว่าการดำเนินงานในปี 2536-38 นี้ อัตราขยายตัวจะเพิ่มปีละ 25% และเงินอีกส่วนหนึ่งเราจะมาใช้คืนเงินกู้ระยะยาว 13.82 ล้านบาท และอีกส่วนใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน" ประยูรเล่าให้ฟัง

ปัจจุบันกิจการที่ประยูรดำเนินการอยู่มี 5 แห่ง คือ หจก.พี พรอสเพอร์ บริษัทสยามอาหารและห้องเย็น บริษัทขนมปัง เอ เอ บริษัท ไทยฟังซึ่งส่งออกกุ้งแช่แข็ง และบริษัทสยามส่งเสริมการเกษตร โดยมีประภาส พลพิพัฒนพงศ์น้องชายเป็นผู้ช่วยบริหารกิจการคนสำคัญอีกคนหนึ่ง

ด้วยเหตุนี้การเกิด "บริษัทเชียงใหม่โฟรเซ่นฟูดส์" นี้จึงเป็นก้าวกระโดดของประยูรและครอบครัวตระกูล "พลพิพัฒน์พงศ์" สู่ประตูการค้าระหว่างประเทศที่ใช้กลยุทธ์การร่วมทุนกับไต้หวัน และญี่ปุ่นทำให้อาณาจักรธุรกิจของตระกูลนี้แผ่ขยายกว้างออกไปสู่การแข่งขันอันดุเดือดบนเวทีการค้าโลก !!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us