|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ครม.ไฟเขียวอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำปี 51 ระหว่าง 1-7 บาท ทั่วประเทศ มีผล 1 ม.ค.51 เผยค่าจ้างขั้นต่ำที่ภูเก็ต ขึ้นสูงสุด 7 บาท จากเดิม 186 บาทพุ่งเป็น 193 บาท ส่วนที่ เชียงใหม่ และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ในกลุ่ม 20 จังหวัดที่ไม่มีการปรับ
วานนี้ (27 พ.ย.) นายโชติชัย สุวรรณานนท์ ผู้ช่าวยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า คณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบ วาระเพื่อทราบจร "การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2551" ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง อัตราค่าแรงขั้นต่ำ (1-7 บาท) ลงวันที่12 พ.ย.50 ตามที่คณะกรรมการค้าจ้างกำหนด โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.51
ทั้งนี้ "อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ" หมายถึง อัตราค่าจ้างที่เพียงพอสำหรับแรงงานไร้ฝีมือ 1 คนให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามสมควรแก่สภาพเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่นนั้น "แรงงานไร้ฝีมือ" หมายถึง แรงงานที่มีวุฒิการศึกษาไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั้งที่เพิ่งจบการศึกษาหรือจบมาหลายปีแล้ว แต่ไม่เคยทำงานหรือ เคยทำงานมาแล้ว แต่รวมระยะเวลาการทำงานเก่ากับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบันไม่เกิน 1 ปี และการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำมุ่งจะคุ้มครองและเป็นหลักประกันรายได้ขั้นต่ำสำหรับแรงงานไร้ฝีมือที่เข้าสู่ตลาดแรงงานจำนวนหนึ่งที่อายุการทำงานเกิน 1 ปีขึ้นไป แต่นายจ้างยังจ่ายค่าจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอยู่
ตามประกาศกระทรวงแรงาน ลงวันที่ 12 พ.ย. 50 โดยนายอภัย จันทนจุลกะ รมว.แรงงาน ระบุว่า คณะกรรมการอัตราค่าจ้าง ได้มีการศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ ประกอบด้วยข้อเท็จจริงอื่นตามแนวทางในการกำหนด อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดโดยมีมติเมื่อ วันที่ 19 ต.ค.50 และวันที่ 9 พ.ย.50 ให้ปรับปรุงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน และอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด ตามาตรา 79 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 6 และมาตรา 88 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ที่ รมว.แรงงาน ประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1.ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 30 ต.ค. 49 ข้อ 2.ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานเป็นเงินวันละ 144 บาท ข้อ 3. ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 194 บาท ในท้องที่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ข้อ 4 . อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 193 บาท ในท้องที่ ภูเก็ต
ข้อ 5.อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 175 บาท ในท้องที่ ชลบุรี ข้อ 6. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงิน วันละ 170 บาท ในท้องที่ สระบุรี ข้อ 7. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงิน วันละ 165 บาท ในท้องที่ ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา และ ระนอง ข้อ 8. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 163 บาท ในท้องที่ ระนอง ข้อ 9. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 162 บาท ในท้องที่ พังงา ข้อ 10.อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 160 บาท ในท้องที่ กระบี่ และเพชรบุรี
ข้อ 11.อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 159 บาท ในท้องที่ เชียงใหม่ ข้อ 12.อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 158 บาท ในท้องที่ จันทบุรี และลพบุรี ข้อ 13.อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 157 บาท ในท้องที่ กาญจนบุรี ข้อ 14. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงิน วันละ 156 บาท ในท้องที่ ราชบุรีและสิงห์บุรี ข้อ 15.อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงิน วันละ 155 บาท ในท้องที่ ปราจีนบุรี สมุทรสงคราม และสระแก้ว
ข้อ 16.อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงิน วันละ 154 บาท ในท้องที่ ตรัง เลย และอ่างทอง ข้อ 17.อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 152 บาท ในท้องที่ ประจวบคีรีขันธ์ ลำพูน และสงขลา ข้อ 18.อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงิน วันละ 150 บาท ในท้องที่ ขอนแก่น ชุมพร ตราด นครนายก นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ บุรีรัมย์ พัทลุง เพชรบูรณ์ สตูล สุราษฏร์ธานี หนองคาย อุดรธานี และอุทัยธานี ข้อ 19.อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 149 บาท ในท้องที่ กำแพงเพชร ชัยนาท ลำปาง สุโขทัย และสุพรรณบุรี
ข้อ 20.อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 148 บาท ในท้องที่ กาฬสินธุ์ นครพนม นราธิวาส ปัตตานี พิษณุโลก มุกดาหาร ยะลา สกลนคร และหนองบัวลำพู ข้อ 21.อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 147 บาท ในท้องที่ ตาก มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ยโสธร ร้อยเอ็ด สุรินทร์ และอุตรดิตถ์ ข้อ 22.อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงิน วันละ146 บาท ในท้องที่ ชัยภูมิ เชียงราย พิจิตร แพร่ และ ศรีสะเกษ ข้อ 23.อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 145 บาท ในท้องที่ อำนาจเจริญและอุบลราชธานี ข้อ 24.อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 144 บาท ในท้องที่ น่านและพะเยา
ข้อ 25. เพื่อประโยชน์ตามข้อ 2 ถึง ข้อ 24 คำว่า"วัน" หมายถึง เวลาทำงานปกติของลูกจ้างซึ่งเกินชั่วโมงทำงานดังต่อไปนี้ แม้นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานน้อยกว่าเวลาทำงานปกติเพียงใดก็ตาม โดยข้อ 1.ระยะเวลา 7 ชั่วโมง สำหรับงานที่อาจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ 2.ระยะเวลา 8 ชั่วโมง สำหรับงานอื่นซึ่งไม่ใช่งานตามข้อ 1.
ขณะที่ข้อ 26.ห้ามมิให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเป็นเงินแก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค้าจ้างขั้นต่ำ และ ข้อ 27. ประกาศกระทรวงฉบับนี้ ให้มีผล ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.51 เป็นต้นไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จ.ภูเก็ต เป็นจังหวัดเดียวที่มีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปรับขึ้นสูงสุด 7 บาท จาก 186 บาท ปรับเป็น 193 บาท ด้านจังหวัดที่มีพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น จ.นครราชสีมา ปรับขึ้นเป็น 165 บาท จากเดิม 162 บาท ส่วนจ.ระยอง ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา ปรับขึ้นเป็น 165 บาท จากเดิม 161 บาท จ.สระบุรี จาก 168 บาท ปรับเป็น 170 บาท
ขณะที่มีจังหวัดที่ไม่ได้ปรับอัตราขี้นเพิ่มขึ้นจำนวน 20 จังหวัด เช่น จ.เชียงใหม่ คงเดิมที่ 159 บาท รวมทั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี และ ยะลา ยังคงเดิมที่ 148 บาท เป็นต้น
ทั้งนี้ ประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 7) ที่มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.50 ตามที่ ครม.มีมติให้ยกเลิกไปนั้น เดิมกำหนดอัตราขั้นต่ำดังนี้
ในท้องที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร อัตรา 191 บาท ท้องที่ ภูเก็ต อัตรา 186 บาท ท้องที่ ชลบุรี 172 บาท ท้องที่ สระบุรี 168 บาท ท้องที่ นครราชสีมา 162 บาท ท้องที่ ระยอง 161 บาท ท้องที่ ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา และ ระนอง 160 บาท ท้องที่ เชียงใหม่ และพังงา 159 บาท
ท้องที่กระบี่ และ เพชรบุรี 156 บาท ท้องที่ กาญจนบุรี จันทบุรี และลพบุรี 155 บาท ท้องที่ ราชบุรี สมุทรสงคราม และสระแก้ว 154 บาท ท้องที่ ตรัง ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี สงขลา สิงห์บุรี และอ่างทอง 152 บาท ท้องที่ เลย และอุดรธานี 150 บาท ท้องที่ ชุมพร ตราด ลำปาง ลำพูน สุโขทัย และสุพรรณบุรี 149 บาท ท้องที่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม นครศรีธรรมราช นราธิวาส บุรีรัมย์ ปัตตานี ยะลา สตูล และหนองคาย 148 บาท
ท้องที่ กำแพงเพชร ตาก นครนายก นครสวรรค์ พัทลุง พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุราษฎร์ธานี และอุตรดิตถ์ 147 บาท ท้องที่ ชัยนาท ชัยภูมิ เชียงราย มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร หนองบัวลำภู และ อุทัยธานี 146 บาท ท้องที่ พิจิตร แม่ฮ่องสอน สุรินทร์ อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ 145 บาท ท้องที่ พะเยา และแพร่ อัตรา 144 บาท และท้องที่ น่าน 143 บาท
นายโชติชัย กล่าวว่า การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้ มีการปรับเพิ่มเป็นรายจังหวัด ไม่เท่ากันทุกจังหวัด มีตั้งแต่ปรับเพิ่ม 1 บาท ถึงปรับเพิ่ม 7 บาท ที่ไม่ปรับเลยมี 20 จังหวัด ที่ปรับ 1 บาท 10 จังหวัด 2 บาท 17 จังหวัด 3 บาท 20 จังหวัด 4 บาท 5 จังหวัด 5 บาท 2 จังหวัด และ 7 บาท 1 จังหวัด
ทั้งนี้ การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้ นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเป็นเงินให้กับลูกจ้างทุกคนไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าลูกจ้างจะมีเชื้อชาติ สัญชาติ วัย หรือเพศใดๆ
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำฉบับนี้ ไม่มีผลบังคับใช้กับลูกจ้าง ข้าราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ลูกจ้างที่ทำงานเกษตรกรรม ได้แก่ งานเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ เลี้ยงสัตว์ ลูกจ้างรับงานไปทำที่บ้าน ลูกจ้างทำงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย และลูกจ้างที่ทำงานอันมิได้แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ
|
|
|
|
|