|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ผู้บริหาร ปตท. วอนรัฐบาลใหม่สานต่อนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาลขิงแก่ที่เดินมาถูกทางแล้ว หวังใช้พลังงานทดแทนลดภาระการนำเข้าน้ำมันที่ราคาผันผวน พร้อมขานรับโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่ต้องสร้างเสริมความเข้าใจกับประชาชนและคุมเข้มด้านความปลอดภัย ขณะเดียวกันเตรียมทุ่มงบลงทุนกว่า 2 แสนล้านบาท ผุดโครงการซิตี้ก๊าซ ขยายการใช้ก๊าซธรรมชาติเข้าสู่ภาคธุรกิจและครัวเรือน
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT กล่าวถึง สถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ว่า รัฐบาลชุดใหม่ที่กำลังจะเข้ามาบริหารประเทศต้องจัดทำแผนการพัฒนาการใช้พลังงานอย่างมีระบบ เพื่อก่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและสอดคล้องกับราคาน้ำมันที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ ในแต่ละปีประเทศไทยมีปริมาณการใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก โดยในปี 2550 คาดว่ามีการใช้พลังงานคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 1 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 10% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (จีดีพี) แบ่งเป็นสัดส่วนการใช้พลังงานน้ำมันประมาณ 40% ก๊าซธรรมชาติ 30% ส่วนที่เหลือจะเป็นพลังงานรูปแบบอื่นๆ โดยปริมาณการใช้พลังงานทั้งหมดประเทศไทยต้องนำเข้าจากต่างประเทศถึง 60% (สัดส่วนการนำเข้าน้ำมันกว่า 90%)
สำหรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในปี 2550 อยู่ที่ระดับประมาณ 3,277 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน สามารถทดแทนการนำเข้าน้ำมันเตาประมาณกว่า 3 แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ไทยสามารถจุดเจาะได้เองจากอ่าวไทย และมีสัดส่วนการนำเข้าประมาณ 25% ของความต้องการทั้งหมด ขณะเดียวกันความต้องการก๊าซธรรมชาติในอีก 5 ปีข้างหน้าคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มถึงระดับ 5,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
"ขณะนี้มูลค่าการใช้พลังงานของประเทศคิดเป็นสัดส่วน 10% ของจีดีพี และมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับเฉลี่ย 5% ต่อปี แต่ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ค่อนข้างผันผวนสูง ดังนั้นรัฐบาลต้องเตรียมแผนจัดหาแหล่งพลังงานอื่นทดแทนการนำเข้าพลังงาน เพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น"
นายประเสริฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า นโยบายด้านพลังงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันได้มาถูกทางแล้ว โดยเฉพาะการจัดหาแหล่งพลังงานทดแทน เช่น นโยบายสนับสนุนการใช้ก๊าซโซฮอล์ การนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) การผลิตน้ำมันจากพืช รวมถึงการจัดตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่จะต้องสานต่อนโยบายดังกล่าว แต่ต้องมีการสร้างความเข้าใจกับประชาชน และมีกฎหมายควบคุมด้านความปลอดภัยอย่างรัดกุม เพื่อลดการนำเข้าน้ำมัน และลดการใช้พลังงานจากน้ำมันจากปัจจุบันที่อยู่ในอัตราสูง
"รัฐบาลชุดนี้ดำเนินนโยบายมาถูกทางแล้ว แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือขาดการสานต่อจากรัฐบาลชุดต่อๆ ไป เพราะโครงการต่างๆ ทั้งการใช้แอลเอ็นจี โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการเป็นเวลานานและต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ต้องใช้เวลานานถึง 13 ปี แต่เกรงว่ารัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารงานอาจจะขาดการทำความเข้าใจกับประชาชน และเจอกระแสต่อต้านจนถอดใจไม่เดินหน้าโครงการดังกล่าวต่อ เพราะหวั่นจะกระทบต่อฐานเสียงของตนเอง"
นายประเสริฐ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ปตท. มีแผนจะนำก๊าซธรรมชาติเข้าสู่เขตเมืองผ่านโครงข่ายท่อย่อยที่เชื่อจากระบบท่อส่งก๊าซสายหลัก เพื่อนำมาใช้ประโยชน์สำหรับชีวิตในเมืองมากขึ้น หรือโครงการ City Gas เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติภายในอีก 5 ปีข้างหน้า เพราะเป็นพลังงานสะอาดช่วยลดมลภาวะและต้นทุนถูกกว่าน้ำมันให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือ ภาคธุรกิจ อาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล ตลอดจนบ้านเรือนประชาชน
นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจสำรวจผลิตและก๊าซธรรมชาติ บมจ. ปตท. กล่าวเพิ่มเติมถึง โครงการ City Gas ว่า ปตท. ได้ทำการศึกษารูปแบบและวางระบบโครงการ City Gas ของ OSAKA GAS ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2415 ด้วยการนำก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) เข้ามาใช้จนเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ ปัจจุบันมีโครงข่ายระบบท่อก๊าซธรรมชาติกว่า 228,000 กิโลเมตร โดยปตท. ต้องพยายามหาช่องทางลดต้นทุนด้วยการส่งเสริมการผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติไปใช้ทำความเย็นและทำน้ำร้อน ซึ่งเหมาะกับอาคารพาณิชย์ ศูนย์การค้า โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย โรงแรมและภาคอุตสาหกรรม
"ขณะนี้ในเขตกรุงเทพฯ มีการใช้ก๊าซหุงต้มประมาณ 1.06 ล้านตัน/ปี น้ำมันเตา 1.48 ล้านตัน/ปี และดีเซล 5.9 ล้านตัน/ปี หากภาคธุรกิจต่างๆ หันหาใช้พลังงานผ่านโครงข่าย City Gas จะช่วยลดภาระด้านต้นทุนได้ ดังนั้น ปตท.มีแผนลงทุนธุรกิจก๊าซธรรมชาติรองรับความต้องการใช้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งโครงข่ายระบบท่อก๊าซ LNG Terminal สถานีเอ็นจีวี ในระยะเวลา 5 ปี ( 2551-2555) ประมาณ 2 แสนล้านบาท"
สำหรับโครงการนำร่องในระยะเริ่มต้น ปตท. จะวางระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติในเขตธุรกิจและชุมชน 2 เส้นทาง คือ เส้นทางตามแนวทางรถไฟฟ้าสุวรรณภูมิ-พญาไท ซึ่งเป็นที่ตั้งอาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ และระบบขนส่ง สำหรับเส้นที่ 2 คือ เป็นการวางระบบท่อจากเส้นทางรังสิต-พญาไท เริ่มจากรังสิต ผ่านดอนเมือง ถนนวิภาวดีรังสิต วิ่งตามแนวขนานรถไฟเข้าสู่พญาไท เพื่อบรรจบกับเส้นที่ 1 โดยเส้นทางกล่าวจะรองรับโครงการศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ Energy complex และภาคอุตสาหกรรมใกล้เคียง
ส่วนพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จาก City Gas 2 เส้นทาง แบ่งเป็น 4 เขตเศรษฐกิจสำคัญ คือ 1. เส้นทาง ถนนพญาไท- เพชรบุรี ตามแนวเขตปทุมวัน แยกราช โรงแรมปาร์คนายเลิศ ถนนพระราม 3 เส้นที่ 2 คือ ถนนรัชดาภิเษก-อโศก - รางรถไฟ ถนนวิทยุ-รัชดาภิเษก เส้นที่ 3 คือ ถนนวิภาวดี-ถนนรัชดาภิเษก เขตพญาไท-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เส้นที่ 4 ถนนรัชดาภิเษก-สุขุมวิท รามอินทรา อาจณรงค์-แอร์พอร์ตลิ้ง ถนนสุขุมวิท
|
|
|
|
|