|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แอสเซ็ทพลัส -ไอเอ็นจี สบช่องเห็นโอกาสการลงทุนในกลุ่ม BRIC แนวโน้มสดใส เหตุมีการบริโภคภายในแข็งแกร่ง เติบโตได้สวนกระแสแม้จะมีซับไพรม์ เรียงคิวเปิด FIF กองใหม่ช่วงชิงลูกค้า ขายจุดต่างวิธีการบริหาร-การกระจายพอร์ตการลงทุนที่ไม่ซ้ำกัน
ถ้าหากจะพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานและอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาวแล้ว คงไม่มีประเทศไหนในโลกที่จะโดดเด่นไปกว่า 4 สหายดาวรุ่งแห่งยุคในตระกูล BRIC อันได้แก่ บราซิล รัสเซีย อินเดีย และ จีน
ด้วยเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ มีประชากรจำนวนมาก มีทรัพยากรธรรมชาติที่มั่งคั่ง มีการลงทุนใหม่อยู่ในระดับสูง สามารถพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศได้ ส่งผลให้ GDP ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มว่ายังจะสามารถโตต่อไปได้อีก แม้ในยามที่ลุงแซมจะโดนโรคซับไพรม์รุมเร้าก็ตาม
เมื่อเศรษฐกิจมหภาคดีก็ย่อมส่งผลให้เศรษฐกิจจุลภาคสดใสตามไปด้วยเช่นกัน เห็นได้จากกองทุนรวมที่เข้าไปลงทุนใน 4 ประเทศนี้สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าไปลงทุนในภูมิภาคอื่นของโลก ทำให้ปัจจุบันมีจำนวนกองทุนที่ลงทุนในกลุ่มประเทศ BRIC รวมแล้วกว่า 100 กอง สำหรับในประเทศไทยก็มีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.)ที่เปิดตัวกองทุนประเภทนี้แล้วถึง 3 กองในรอบระยะเวลาไม่ถึง 2 สัปดาห์ไม่ว่าจะเป็น บลจ.พรีมาเวสท์ , บลจ.แอสเซ็ทพลัส และ บลจ.ไอเอ็นจี
ลดาวรรณ เจริญรัชต์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.แอสเซท พลัส กล่าวว่า บริษัทได้เสนอขาย“กองทุนเปิดแอสเซทพลัสบริค(ASP-BRIC)"กองทุนต่างประเทศประเภทกองทุนรวมหน่วยลงทุน หรือ Feeder Fund ที่ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Templeton BRIC Fund มูลค่าโครงการ 1.7 พันล้านบาท และเปิดให้จองซื้อขั้นต่ำ 5 พันบาท
สำหรับกองทุนเปิดแอสเซทพลัสบริค (ASP-BRIC) บริหารจัดการโดย Templeton Asset Management กองทุนดังกล่าวเน้นลงทุนในหลักทรัพย์ของประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน (รวมไต้หวันและฮ่องกง) ที่มีพื้นฐานดี และมีราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน มีมูลค่าตลาดใหญ่และสภาพคล่องสูง และเน้นกระจายการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ (Well Diversify) ภายใต้การวิจัยแบบ Bottom-Up Approach เน้นการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและการประเมินมูลค่าเพื่อการลงทุนระยะยาว ทำให้กองทุนที่ Templeton บริหารสามารถคัดเลือกหลักทรัพย์ที่มีความแข็งแกร่งในธุรกิจและมีศักยภาพในการเติบโต และมีผลการดำเนินงานกองทุนที่ดีอย่างต่อเนื่อง
"ปัจจุบันการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) กำลังเป็นที่จับตามองและยังคงเป็นที่สนใจในการลงทุน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศผู้นำเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ เช่น บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์มองว่าเป็นกลุ่มประเทศหลักที่จะผลักดันเศรษฐกิจของโลก โดยในปีหน้าคาดว่าอัตราการเติบโตเศรษฐกิจของกลุ่ม BRIC เฉลี่ยจะอยู่ที่ 9% ซึ่งจังหวะนี้ การเลือกลงทุนในหุ้นคุณภาพหรือมีความแข็งแกร่งในธุรกิจ และมีศักยภาพในการเติบโตจะให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ "
ด้าน บลจ.พรีมาเวสท์ เพิ่มพล ประเสริฐล้ำ กรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า จากการศึกษาเกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศBRIC ซึ่งประกอบด้วยประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน จะเห็นว่ากลุ่มประเทศดังกล่าวมีอัตราการเติบโตเศรษฐกิจสูงต่อเนื่อง ทั้งการขยายตัวด้านการค้าและอุตสาหกรรม ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำคาดการว่าในอนาคตกลุ่มประเทศ BRIC ดังกล่าวอาจมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าประเทศในกลุ่ม G6 ได้
เชื่อว่าจากการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องของกลุ่มประเทศ BRIC จะสร้างโอกาสความมั่งคั่งได้ รวมทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในกลุ่มประเทศที่มีอัตราการขยายตัวสูงในโลก ดังนั้นทาง บลจ.จึงได้เปิดขายกองทุนเปิดพรีมาเวสท์ (ไทยแลนด์) บริค สตาร์ ฟันด์ หรือ PBS มูลค่าโครงการ 2 พันล้านบาท ซึ่งเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Allianz-dit BRIC Stars กองทุนนี้จะเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่สามารรับความเสี่ยงในระดับสูงได้ โดยเปิดจองซื้อขั้นต่ำ 1 หมื่นบาท
ส่วนกรณีที่ บลจ.แอสเซท พลัส ได้ขายกองทุนเปิด แอสเซทพลัสบริค (ASP-BRIC) ที่ไปลงทุนในประเทศเกิดใหม่เหมือนกัน แต่ลงทุนในกองทุน Templeton BRIC Fund ซึ่งบริหารจัดการโดย TempletonAsset Management ซึ่งเน้นลงทุนในหลักทรัพย์ของประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน(รวมไต้หวันและฮ่องกง) นั้นมองว่ามีความแตกต่างเนื่องจากกองทุนเทมเพิลตันลงทุนในจีน 33.6% บราซิล 25.8%รัสเซีย 22.9% และอินเดีย 10.2% ในขณะที่กองทุน PBS ลงทุนในบราซิลเป็นหลัก 28.2% อินเดีย 24.5% และจีน 19.8% โดยได้มีการลดน้ำหนักการลงทุนในประเทศจีนลง เนื่องจากมี P/E สูง และราคาแพงจึงปรับพอร์ตลงทุน ซึ่งทำให้ทั้งสองกองทุนนี้มีพอร์ตการลงทุนที่ไม่เหมือนกัน
ขณะที่ มาริษ ท่าราบ กรรมการผู้จัดการ บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย)กล่าวว่า โครงสร้างพื้นฐานของกลุ่ม BRIC ถือได้ว่ามีการบริโภคภายในที่แข็งแกร่งมาก โดยเฉพาะจีนซึ่งมีน้ำหนักเกือบครึ่งหนึ่งของพอร์ตการลงทุน
"แม้จะมีเรื่องซับไพรม์กระทบบ้าง แต่อย่างไร GDP จีนก็คงโตไม่ต่ำกว่า 8%ต่อปี ถึงจะมีหรือไม่มีโอลิมปิคหรืองานเอ็กซ์โป จีนก็ยังคงโตไปอย่างต่อเนื่อง ส่วนบราซิล รัสเซีย และอินเดียก็มีอัตราการเติบโตที่มั่นคงเช่นกัน"
สำหรับข้อแตกต่างของ กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย บริค 40 กับ 2 กองก่อนหน้านั้นคือ กองของไอเอ็นจีเป็นกองแบบ Passive Fund ที่จะลงทุนตาม Index โดยซื้อกองที่บริหารจัดการโดย State Street Gobal Advisors ลงทุนใน ETF ของ S&P อีกทอดหนึ่ง ขณะที่กองของพรีมาเวสท์และแอสเซทพลัสมีลักษณะเป็น Active Fund ไม่ได้อิงสัดส่วนลงทุนตามดัชนี
สำหรับกองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย บริค 40นี้ มูลค่าโครงการ 5 พันล้านบาท และเปิดให้จองซื้อขั้นต่ำ 2 พันบาท
อะไรคือสิ่งที่ทำให้ 3 บลจ.ในประเทศไทยแข่งกันออกมาเปิดตัวกองทุน FIF ใหม่ที่ลงทุนหุ้นในกลุ่มประเทศ BRIC ในเวลาไล่เลี่ยกัน...แน่นอนหละว่าไม่มีใครปารถนาความเสี่ยง แต่ในอีกด้านหนึ่ง นี่คือโอกาสและความท้าทายที่จะสร้างผลตอบแทนในระดับที่สูงให้ผู้ถือหน่วยได้
|
|
|
|
|