Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์26 พฤศจิกายน 2550
เวิลด์แบงค์หนุนแบงก์จีนปล่อยกู้ SMEs ศุนย์วิจัยกสิกรแนะธนาคารไทยร่วมวง!             
 


   
search resources

Banking and Finance




เวิลด์แบงค์จับมือธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศจีน วางระบบปล่อยกู้ภาค SMEs – MSEs จีน หวังสร้างศก.จีนแข็งแกร่ง ดันจีดีพี-การจ้างงานเพิ่ม เบื้องต้นพบ NPL น้อยกว่า 1% เตรียมขยายระบบกู้เงินรายย่อยสู่ธนาคารพาณิชย์ทั่วแดนมังกร ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ธนาคารของไทยยังมีโอกาสเจาะตลาด SMEsจีน แต่ต้องเร่งสปีดก่อนจีนวางระบบเสร็จ

หลังจากจีนเปิดประเทศ และเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นหลายแห่ง เพื่อทดลองทำเศรษฐกิจก่อนเข้าสู่ทุนนิยมแบบจีน ถือเป็นยุคที่เป็นจุดเปลี่ยนผ่านที่น่าสนใจยิ่ง เพราะเมื่อจีนเริ่มเปิดประเทศ และมีการเริ่มผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ คนจีนหลายคนก็เริ่มจะหันมาทำธุรกิจกันมากขึ้น จนถึงวันนี้ถือว่าจีนประสบความสำเร็จจนร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีมีจำนวนไม่น้อย และคนจีนอีกจำนวนมากก็ได้เริ่มทำธุรกิจของตัวเอง ทำให้เมืองจีนทุกวันนี้เต็มไปด้วยธุรกิจเอสเอ็มอี หรือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมากมาย แต่หนทางของเอสเอ็มอีของจีนก็ใช่ว่าจะโรยด้วยกลีบกุหลาบ!

MSEs จีนเข้าถึงเงินกู้ยาก

มร.Jun Wang, เจ้าหน้าที่ประสานงานด้านการเงินสาธารณรัฐประชาชนจีน ธนาคารโลก หรือ World Bank เปิดเผยในงานประชุม 34th International Small Business Conference (ISBC) พร้อมทั้งให้สัมภาษณ์พิเศษ “ผู้จัดการรายสัปดาห์” เมื่อวันที่ 12 พ.ย.ที่ผ่านมา ว่า ในประเทศจีนมีธุรกิจเอ็มเอสอี (MSEs: Micro and small enterprises) และธุรกิจเอ็สเอ็มอี โดย MSEs เป็นธุรกิจที่มีขนาดเล็กกว่าธุรกิจเอ็สเอ็มอีซึ่งมีมีอยู่จำนวนมาก คาดว่าในอนาคตจะเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นแหล่งจ้างงานที่สำคัญ แต่ในความเป็นจริงทุกวันนี้ MSEs ในจีนกลับไม่ได้รับการสนับสนุนมากนักจากภาคการเงินของรัฐบาลจีน

ประเด็นที่กำลังถกเถียงกันมากในแวดวงการเงินของจีนเกี่ยวกับการให้เงินกู้ MSEs คือ มีการแบ่งแยกธุรกิจขนาดเล็กออกจากธุรกิจขนาดใหญ่อย่างสิ้นเชิง และมองว่าการให้เงินกู้กับ MSEs จีนนั้นมีความเสี่ยงสูง และต้องใช้เงินจำนวนมากในการบริหารจัดการการเงินส่วนนี้ ทำให้ธนาคารจีนใหญ่ ๆ รวมทั้งธนาคารพาณิชย์ของจีนมองว่าการให้เงินกู้ MSEs จีน ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน รวมทั้งธนาคารในจีนเกือบทั้งหมดยังขาดเทคโนโลยีและข้อมูลในการให้เงินกู้ยืมกับ MSEs อย่างเป็นระบบ ที่ผ่านมา MSEs จีนจึงเติบโตมาด้วยการพึ่งพาการเงินของตัวเอง ยืมเงินจากครอบครัว เพื่อน และกู้เงินนอกระบบมาดำเนินการ และต้องพบกับปัญหาคือคู่แข่งที่มีจำนวนมาก และถูกละเลยการช่วยเหลือจากภาครัฐ

“ สถาบันการเงินของจีนยังเจาะเข้าไปสู่ภาค MSEs ไม่ได้เพราะยังขาดระบบการกู้ยืมเงินให้กับคนกลุ่มนี้ รวมทั้งยังไม่สามารถทำระบบประมวลผลได้ จึงมักจะพูดว่านโยบายภาครัฐบาลไม่แข็งแกร่ง และโดยตัวของสถาบันฯ ไม่มีความรู้ด้านการให้ MSEs กู้ยืมเงินได้ บางแห่งถึงแม้จะให้กู้ได้ แต่ก็คิดดอกเบี้ยสูง คือเริ่มแรกมีอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 30% แม้จะลดลงมาแล้วก็ยังอยู่ที่อัตราดอกเบี้ย 10% ซึ่งสูงเกินความสามารถของ MSEs ที่จะส่งเงินคืนได้ในระยะยาว”

เวิลด์แบงค์จับมือแบงค์จีนวางระบบเงินกู้ SMEs

ขณะเดียวกันในเอเชียมีสถาบันการเงินบางแห่งที่ดำเนินธุรกิจให้สินเชื่อเงินกู้กับเอสเอ็มอี และดำเนินการประสบความสำเร็จ คือมีผลตอบแทนกลับมาสู่สถาบันการเงินนั้นๆ มากกว่าร้อยละ 50 ทำให้นักการเงินในจีนเกิดการอภิปรายกรณีที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย รัฐบาลจีนจึงได้ทำโครงการร่วมกับเวิลด์แบงค์ และ KfW (กองทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาลเยอรมัน) ขึ้นมาโครงการหนึ่ง โดยให้ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศจีน (China Development Bank) เป็นตัวดำเนินการหลัก เพื่อหาวิธีให้เงินกู้กับ SMEs หรือ MSEs จีน โดยมีเป้าหมายสำคัญ 2 ประการคือ

ประการแรก การเงินสำหรับภาค SMES ของจีนจะต้องให้มีการปรับมากที่สุดเพื่อสามารถให้สินเชื่อไปถึงคนที่ต้องการยืมเงิน

ประการที่สอง ในการให้สินเชื่อจะต้องคำนึงถึงความมั่นคงระยะยาว กล่าวคือ ต้องมีแหล่งเงินทุนที่ภาค SMEs และ MSEs ของจีนสามารถกู้ยืมเงินได้ในระยะยาว

“ทุกคนเห็นด้วยว่าต้องมีการส่งเสริม MSEs เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น เพราะ SMEs และ MSEs จะเป็นตัวหลักสำหรับรายได้ประชาชาติของจีนและเป็นตัวเพิ่มจีดีพีตัวสำคัญให้กับจีนต่อไป ซึ่งส่งผลโดยตรงกับการจ้างงาน ซึ่งส่วนนี้ต้องทำให้แข็งแกร่ง”

โดยโครงการร่วมมือนี้ ทางเวิร์ดแบงค์ได้ให้เงินกู้ยืมกับจีนจำนวน 100 ล้านบาท โดย 95% ใช้เพื่อให้ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศจีนสุ่มเลือกธนาคารพาณิชย์ของจีนเพื่อให้เงินกู้กับ MSEs ที่ผ่านการพิจารณา อีก 5% ใช้สำหรับเทคโนโลยีและการจ้างบริษัทที่ปรึกษาด้านการเงินนานาชาติเพื่อให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีกับธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในการให้เงินกู้กับภาค MSEs

สำหรับขั้นตอนการดำเนินการนั้นจะเริ่มจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศจีนเลือกธนาคารพาณิชย์ ในพื้นที่ต่างๆ ที่สามารถเข้าถึงผู้ประกอบการ MSEs ได้มากกว่าเพื่อทำการเลือกผู้ประกอบการ MSEs ที่จะให้กู้เงิน โดยบริษัทที่ปรึกษาด้านการเงินจะช่วยวางระบบการให้เงินกู้และการคืนเงินให้ธนาคารพาณิชย์นั้นๆ

ความซื่อสัตย์ปัจจัยแรกพิจารณาให้กู้เงิน

หลักสำคัญของการพิจารณา นอกจากจะมองถึงความสามารถในการใช้เงินคืนเป็นหลักแล้ว จะมีการใช้หลักของความเต็มใจในการคืนเงินมาพิจารณาด้วย โดยอันดับแรกจะสอบถามข้อมูลจากตัวผู้กู้ จากนั้นจะมีการสอบถามไปที่เพื่อนร่วมงาน ญาติ เพื่อพิจารณาความซื่อสัตย์ของตัวผู้กู้เป็นอันดับแรก

“ถ้าเขาบอกประวัติผิด พูดไม่ตรงกัน ก็จะไม่มีการอนุมัติเงินกู้ให้ รวมทั้งเจ้าหน้าที่จะไปเยี่ยมตามที่ทำงานและที่บ้าน ถ้ามีการแจ้งที่อยู่ผิดก็จะถอนการขอเงินกู้ทันทีเช่นกัน”

หากพบว่าผู้กู้มีข้อมูลเชื่อถือได้ก็จะมีการเริ่มให้เงินกู้ โดยครั้งแรกจะมีการให้เงินกู้ในจำนวนน้อย แต่หากมีการใช้คืนอย่างตรงเวลาและจำนวนเงินที่แน่นอน ก็จะมีการให้กู้มากขึ้นในครั้งที่ 2 เพื่อตรวจสอบความตรงต่อเวลาและจำนวนเงินคืนอีกครั้งหนึ่งก่อนจะปล่อยกู้ในครั้งที่ 3 และ 4 ต่อไป ซึ่งแต่ละครั้งจะมีการอนุมัติเงินกู้ให้มากขึ้นด้วย ในส่วนของพนักงานสินเชื่อก็จะมีการอบรมประเมินผลเป็นรายสัปดาห์ด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

“ผลคือประสบความสำเร็จมาก เชื่อไหมว่าเมื่อมีการวางระบบให้ธนาคารต่างๆ ของจีนไปในทางเดียวกันแล้ว ผลที่ได้กลับมาคือในจำนวนนี้มี หนี้เสียหรือ NPL แค่ 0.3% น้อยกว่าร้อยละ 1 เสียอีก”

โดยการพัฒนาขั้นต่อไปคือในกระบวนการกู้ยืมเงินของภาค MSEs จีนต่อไปนั้นจะต้องทำได้สะดวก รวดเร็วและยั่งยืนมากขึ้น โดยการทำงานอย่างเป็นระบบก็ไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารมาก และระยะเวลาให้กู้ไม่ควรนานกว่า 1 สัปดาห์ ถ้าเป็นไปได้จะมีการพัฒนาให้กู้ยืมเงินได้ในระยะเวลาแค่ 2-3 วันเท่านั้น

ชี้ช่องโอกาสธนาคาร-SMEs ไทย

อย่างไรก็ดีเมื่อมองในแง่โอกาสของธุรกิจธนาคารไทย และภาคเอสเอ็มอีไทยที่มุ่งไปเจาะตลาดจีนนั้น ดร.สักกรินทร์ นิยมศิลป์ นักวิจัยอาวุโส (เอเชียตะวันออก) จีน-ญี่ปุ่น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาภาค SMEs จีนมีปัญหาการกู้เงินยาก เพราะธนาคารจีนมองว่ามีความเสี่ยงสูง ธนาคารใหญ่ๆ ของไทยทั้งธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทยจึงได้เข้าไปเจาะตลาด SMEs จีน โดยเน้น SMEs ที่ต้องการสินเชื่อสูง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะการปล่อยกู้จริงๆ แล้วทำได้ยาก เพราะปัญหาของ SMEs จีนที่สำคัญคือมีระบบบัญชีที่ไม่ดีมากนัก ไม่สามารถตรวจสอบได้ ทำให้การประเมินความเสี่ยงทำได้ยาก ขนาดบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้นหลายบริษัทยังมีข้อมูลด้านการเงินที่ไม่ชัดเจน

ขณะนี้เมื่อจีนกำลังพัฒนาการกู้เงินให้กับภาค SMEs แนวโน้มของธุรกิจ SMEs ในจีนก็มีโอกาสเติบโตได้สูง ซึ่งเมื่อ SMEs จีนเติบโตก็จะส่งทั้งผลบวกและผลลบกับไทย ผลบวกคือประชาชนจีนจะมีอำนาจซื้อสูงขึ้น ซึ่งมีการบริโภคมากขึ้น ส่วนผลลบคือการแข่งขันในธุรกิจ SMEs ในจีนยิ่งสูงขึ้น

อย่างไรก็ดีมองว่าใน 2-3 ปี นี้ก่อนที่จีนจะวางระบบกู้เงินเสร็จ โอกาสของธุรกิจธนาคารไทยในการปล่อยกู้ให้ SMEs จีนยังเป็นโอกาสที่ดี แต่ต้องเน้นไปในพื้นที่ที่มีคู่แข่งน้อย คือในภาคกลางกับภาคตะวันตกของจีน รวมทั้งการปล่อยกู้ให้ SMEs ไทยที่จะไปเจาะตลาดจีนด้วย จึงต้องเลือกเมืองที่มีคนไทยเข้าไปทำธุรกิจด้วย

ส่วนธุรกิจ SMEs ไทยโดยเฉพาะธุรกิจบริการที่ประสบการณ์และมีความชำนาญ เช่นธุรกิจภัตตาคาร และการจัดการโรงแรมทุกระดับ ช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่ดีที่จะไปเจาะตลาดจีนเช่นกัน เพราะไทยมีความชำนาญด้านธุรกิจท่องเที่ยวดีกว่าจีน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us