Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2535
"ชีวิตต้องสู้ของ 4 พี่เบิ้ม"             
โดย นฤมล อภินิเวศ
 


   
search resources

เจฟิล์ม โปรเซส
ปธาน หวังธรรมบุญ
พีระ ประยุกต์วงศ์
ปรีดา เพชรพันธุ์
ธวัชชัย เตชะวิเชียร
Printing & Publishing
71 ฟิล์ม อินเตอร์สแกน
โอเชี่ยนฟิล์ม




จากเงินออมีละเล็กละน้อยของเงินเดือนเด็กทำบล็อกและถ่ายฟิล์มทำแม่พิมพ์ในโรงพิมพ์ จึงได้รถมอเตอร์ไซด์เวสป้ามาขับขี่

พอบรรลุนิติภาวะแล้วก็เริ่มบุกบั่นสร้างกิจการแยกสีเป็นของตนเอง เวสป้าก็พลอยหมดอายุไข ด้วยเงินเก็บหอมรอบริบ 5,000 บาท จึงได้รถฮิลแมน แอดแวนเจอร์ปี 2499 มาแทน

ด้วยนิสัยขี้ร้อนและหยุดเครื่องพักผ่อนบ่อยของฮิลแมน ประจวบกับพอมีเงินกำไรจากงานแยกสีเข้ามาบ้าง ทำให้เขาเปลี่ยนมาใช้ดัทสันเชอรี มือสอง

จากนั้นเขาเปลี่ยนมาใช้มาสดา เปอโยต์ โอเปิล เบนซ์ จนล่วงเลยมาถึงอายุย่างเบญจเพสของบริษัท เขาเลือกใช้รถจากัวร์

การเลือกใช้รถของพีระ แห่งบริษัทเจ. ฟิล์ม โปรเซสข้างต้น มีนัยถึงการเติบโตของธุรกิจแยกสีทำแม่พิมพ์จากที่เคยมีเงินซื้อรถมอเตอร์ไซด์ราคาไม่กี่หมื่น จนกระทั่งมีเงินมากพอสำหรับรถราคาเป็นล้าน คงไม่ห่างไกลจากพี่เบิ้มของวงการคนอื่นๆ คือ ปธาน บริษัทกนกศิลป์ ปรีดา บริษัท 71 ฟิล์ม อินเตอร์สแกน และธวัชชัย บริษัทโอเชี่ยนฟิล์ม

ปธาน หวังธรรมบุญ ก่อนจะมาถึง ณ จุดนี้ เขาเคยเป็นเด็กรับใช้คอยวิ่งซื้อการแฟให้เถ้าแก่โรงพิมพ์ควบคู่กับการฝึกหัดทำบล็อกแม่พิมพ์ในยุคที่ยังเป็นการพิมพ์แบบเลตเตอร์เพรส พอเก่งขึ้นก็เรียนรู้ขั้นตอนต่อไปคือการถ่ายกระจก

พออายุ 20 ปีเศษ หรือ 31 ปีที่แล้วได้เปิดร้านเล็กๆ ย่านหัวลำโพงรับบริการถ่ายกระจกและทำแม่พิมพ์ เมื่อวงการพิมพ์เปลี่ยนเป็นระบบออฟเซ็ตจึงเปลี่ยนเป็นการถ่ายฟิล์มทำแม่พิมพ์ และขยายกิจการเปิดร้านใหม่ที่ถนนบรรทัดทอง ใช้ชื่อว่ากนกศิลป์ฟิล์มนานกว่า 20 ปี จึงเปลี่ยนรูปเป็นบริษัทกนกศิลป์ (ประเทศไทย) จำกัด จนมาถึงต้นปีที่แล้วย้ายมาอยู่ที่อาคารสร้างใหม่ในซอยเกษมสันติ์ 2

พีระ ประยุกต์วงศ์ เปิดบริษัทเจ. ฟิล์ม โปรเซสหลังปธานตั้งกนกศิลป์ฟิล์มถึง 9 ปี ที่ซอยพญานาคเป็นตึกแถว 2 คูหา 14 ปีให้หลังเขาย้ายบริษัทมาที่อาคารใหม่ 7 ชั้น บนถนนรางน้ำ

พีระมีลักษณะของคนไฟแรงต้องการประสบความสำเร็จสูง เขาหนีออกจากบ้านเมื่อจบประถม 7 เพราะว่าไม่อยากเป็นเด็กขายเต้าทึงตามความต้องการของพ่อ จากนั้นเขาเลือกทำงานที่โรงพิมพ์ทันทีด้วยเหตุผลง่ายๆ ของเด็กวัย 14 ขวบคือแม้แต่คนจนที่สุดก็ต้องซื้อตำราเรียน ฉะนั้นงานโรงพิมพ์ย่อมเป็นกิจการที่ไม่ตายง่ายๆ

เขาเรียนรู้งานโรงพิมพ์ไวมาก ได้เลื่อนจากเด็กฝึกหัดเป็นหัวหน้าภายในปีเดียวจากปรัชญาส่วนตัวว่าต้องรู้จักบริหาร และฉกฉวยโอกาสทำให้เขาเป็นเจ้าของกิจการแยกสีในวัยเพียง 20 ปีเศษ โดยเช่าซื้อเครื่องมือทั้งหมดจากเจ้านายที่มีแผนยกเลิกแผนกแยกสี

พีระบอกว่าเขาเป็นคนทำงานประเภทที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนบริษัททุกๆ 5 ปี แผนงานของเขาเกิดขึ้นนับตั้งแต่ก้าวแรกของการเป็นเจ้าของกิจการเอง

5 ปีแรก เขาถือว่าเป็นระยะตั้งไข่ เป็นช่วงการสะสมทุนทำงานหนักเพราะเขาเริ่มจากศูนย์เช่นเดียวกับคนอื่นๆ ในวงการ ฉะนั้นการจะได้เงินเข้ามาก็คือการต้องใช้แรงงานและมันสมองของตนเองเป็นทุน

ช่วงปีที่ 2 เป็นช่วงที่วงการแยกสีก้าวสู่ยุคใหม่ คือการใช้เครื่องคัลเลอร์สแกนเนอร์ เงินสะสมจาก 5 ปีแรกทำให้เขาเป็นหนึ่งในกลุ่มรุ่นแรกที่มีเงินทุนสั่งซื้อเครื่องสแกนเนอร์ได้ เริ่มด้วยบริษัท 71 ฟิล์มก่อน บริษัทเจ. ฟิล์ม ไล่ตามมา ตามติดด้วยบริษัทกนกศิลป์ หลังจากนั้นประมาณ 2 ปี ร้านอื่นๆ จึงระดมซื้อกันมากขึ้น

พอมาช่วงที่ 3 และ 4 เขาคิดเรื่องการขยายตลาดไปต่างประเทศ เขาตระเวนรอบโลก 3 ปีติดกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524-2526 และมาสำเร็จเอาเมื่อปีที่ 3 มีผลให้ต่อมาเกิดการร่วมมือกับกรมพาณิชย์สัมพันธ์ออกงานบุ๊คแฟร์ในประเทศต่างๆ

มาถึงช่วงที่ 5 กินเวลาถึงปี พ.ศ. 2537 เขาเริ่มการบริหารสมัยใหม่อย่างเต็มรูปแบบและริเริ่มโครงการใหม่ที่สร้างความงงงวยให้กับคนในวงการ 2 เรื่องคือ เรื่องการเปิดโรงพิมพ์ และสองการยื่นเรื่องของจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

พี่เบิ้มคนต่อมา ปรีดา เพชรพันธุ์ ไต่เต้าจากเด็กฝึกงานเช่นเดียวกัน ทำทุกอย่างตั้งแต่เป็นช่างเขียนตัวหนังสือ นามบัตร ทำบล็อก เป็นช่างประกอบฟิล์ม ถ่ายฟิล์มทำแยกสีจนรู้ครบกระบวนแล้ว มาเปิดบริษัท 71 ฟิล์ม อินเตอร์สแกน ในปีที่ใช้ตั้งชื่อบริษัท คือ ปี ค.ศ. 1971 หรือ พ.ศ. 2514 ซึ่งเกิดหลังจากเกิดบริษัทเจ. ฟิล์ม โปรเซส 1 ปี ร้านแรกของเขาอยู่ซอยวัดดอน แถบบางรัก เพียง 3 ปีผ่านไปเขาย้ายมาอยู่ที่ซอยสามพี่น้อง ถนนนเรศจนถึงทุกวันนี้

ระบบการบริหารงานของปรีดาเข้าทำนองเดียวกับปธานคือมีลักษณะที่ค่อยๆ โต ค่อยๆ ขยายเมื่อเห็นลู่ทางและพร้อมเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำให้ช่วงรอยต่อของการบริหารแบบครอบครัวสู่มืออาชีพกินเวลานานพอสมควร และยังไม่คิดเรื่องการตั้งโรงพิมพ์หรือการเข้าตลาดหลักทรัพย์แต่อย่างใด

ส่วนธวัชชัย เตชะวิเชียร กับการเกิดบริษัทโอเชี่ยนฟิล์มเป็นเรื่องที่เหนือความคาดคิด และใช้เวลาสั้นมากในการขยายธุรกิจ

ธวัชชัยเรียนรู้การทำบล็อกแม่พิมพ์จากพ่อ ซึ่งมีร้านชื่อว่าเซ็นเตอร์บล็อกในระยะที่เกิดเซ็นเตอร์บล็อกเป็นช่วงที่คัลเลอร์สแกนเนอร์เพิ่งเข้ามาเมืองไทย แต่เนื่องจากทุนน้อยธวัชชัยจึงไม่สามารถขยายงานด้วยการซื้อเครื่องดังเช่นร้านอื่นๆ

ต่อมาเมื่อน้องๆ โตขึ้นเรียนจบกันบ้างแล้ว เซ็นเตอร์บล็อกก็มีโอกาสซื้อเครื่องสแกนเนอร์แยกสีและเปลี่ยนชื่อร้านเป็นเซ็นเตอร์ฟิล์ม ส่วนใหญ่รับงานแยกสีประเภทหนังสือพิมพ์เพราะการพัฒนาฝีมือยังไม่เทียบเท่าร้านเก่าแก่อย่างเช่นกนกศิลป์

หลังจากเกิดเซ็นเตอร์ฟิล์มได้ 7 ปี น้องชายชื่อกำชัยเปิดร้านใหม่ชื่อว่า ออฟไซด์ฟิล์ม และน้องอีกคนก็เปิด ซี.ที. สแกนเนอร์งานหลักก็ยังเป็นประเภทหนังสือพิมพ์

พอสิ่งพิมพ์สีเริ่มบูมขึ้น หนังสือพิมพ์สอดสีมากขึ้น งานก็มากขึ้นแต่กำลังของการผลิตไม่มากพอที่จะรับมือ จึงเกิดความคิดรวมตัวเซ็นเตอร์ฟิล์มกับออฟไซด์ฟิล์มเป็นบริษัทโอเชี่ยนฟิล์มเมื่อกลางปี พ.ศ. 2532 และขอซื้อตึกจาก บริษัทอารีซีสเท็มส์ที่ถูกไฟไหม้เมื่อปี พ.ศ. 2531 เป็นที่ตั้งของบริษัท

ปีต่อมาธวัชชัยติดตั้งเครื่องไฮเทคเพิ่มขึ้น และมีการจัดงานเปิดตัวบริษัทโอเชี่ยนฟิล์ม ร่วมกับบริษัทโวตร้าตัวแทนจำหน่ายเครื่องประกอบหน้าและตกแต่งฟิล์มยี่ห้อไซเท็กซ์ในประเทศไทย เป็นการเปิดตัวที่ประสบความสำเร็จมาก เพราะหลังจากนั้นชื่อของบริษัทโอเชี่ยนฟิล์มก็เป็นที่รู้จักในวงการ โดยเฉพาะบริษัทเอเจนซีและหนังสือพิมพ์

ในขณะนี้บริษัทโอเชี่ยนฟิล์มเป็นบริษัทเดียวที่เปิดบริการ 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุด น้องๆ 6 คนรวมธวัชชัยพี่ใหญ่เป็น 7 คน ต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนคืนละคนดูแลบริษัทถึงเช้า

ธวัชชัยและกำชัยยอมรับอย่างเต็มปากว่าเป็นการทำงานที่เหนื่อยและเครียดมากจนบางครั้งต้องหนีห่างบริษัทไปสักพักหนึ่ง ซึ่งก่อนหน้าที่จะใช้เครื่องไซเท็กซ์งานไม่เคยมากจนหัวหมุนขนาดนี้

การเกิดของบริษัทแยกสีทำแม่พิมพ์ของทั้ง 4 บริษัท แม้ว่าจะต่างรุ่นต่างปีกันมากบ้างน้อยบ้างแต่กลับมีความคล้ายคลึงของจุดเริ่มต้นและการเติบโต คือเริ่มจากการจับเสือมือเปล่าแล้วค่อยๆ สะสมทุนเพื่อลงทุนเพิ่มขึ้น

ก็คงต้องดูกันต่อไปว่าหลังจากยุคจากัวร์แล้วจะเข้าสู่ยุคขับขี่ยวดยานอะไรต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us