Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน27 พฤศจิกายน 2550
ธ.ก.ส.ระดมเงินฝากดอกเบี้ย2.5% ปลอดภาษี-ตั้งเป้า2หมื่นล้าน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

   
search resources

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร - ธ.ก.ส.
Banking and Finance




ธ.ก.ส.เปิดโครงการเงินฝากดอกเบี้ยทันใจตั้งเป้ารับฝาก 2.1 หมื่นล้านบาท จ่ายดอกเบี้ยปลอดภาษีทันที 2.5% พร้อมโชว์ผลงาน 7 เดือนปล่อยกู้ 1.23 แสนล้านบาท เงินฝากเพิ่ม 3.7 พันล้านบาท ยอมรับ IAS39 ดันเอ็นพีแอลพุ่ง 14.10% แต่ยังไม่กระทบผลดำเนินงาน ฟุ้งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภาคชนบทปล่อยเงินกู้ผ่านโครงการต่างๆ ไปแล้วกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท

นายธีรพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส.ได้เปิดโครงการเงินฝากดอกเบี้ยทันใจโดยมีการจ่ายดอกเบี้ยสำหรับผู้ฝากเงินทันที ณ วันที่ฝากเงินโดยเปิดให้ประชาชนที่สนใจสามารถฝากเงินในโครงการนี้ได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 สำหรับเงื่อนไขการฝากเงินไม่ต่ำกว่าครั้งละ 50,000 บาท โดยจ่ายดอกเบี้ยทันที่ 2.5% และไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก

สำหรับผู้ที่ถอนเงินบางส่วนหรือถอนปิดบัญชีก่อนสิ้นสุดโครงการ ธ.ก.ส.จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการถอนในอัตรา 1.5% ของเงินต้นที่ถอนแต่ไม่ร้อยกว่า 500 บาท โดยธ.ก.ส.ตั้งเป้าที่จะระดมเงินฝากในโครงการนี้ไม่น้อยกว่า 21,000 ล้านบาท ซึ่งจะนำเงินฝากนี้ไปสนับสนุนการสร้างงานในชนบทและส่งเสริมการปลูกพืชที่จะนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนเพื่อแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศต่อไป

ในขณะที่ผลการดำเนินงานในปีบัญชี 2550 รอบ 7 เดือน(1เมษายน – 31 ตุลาคม 2550) จ่ายเงินกู้ไปแล้ว 123,347 ล้านบาท หรือ 44.275 จากเป้าที่ตั้งไว้ทั้งปี 278,600 ล้านบาท ส่งผลให้สินเชื่อขยายตัวจากปีที่แล้ว 5.46% ส่วนการชำระคืนเงินกู้เป้าหมายทั้งปีที่ 231,188 ล้านบาท ได้รับชำระคืนแล้ว 98,312 ล้านบาท หรือ 42.52% ของเป้าหมาย

ส่วนเงินฝากตั้งเป้าทั้งปีไว้ที่ 25,000 ล้านบาท ในรอบ 7 เดือนรับเงินฝากไปแล้ว 3,751 ล้านบาท มียอดเงินฝากคงเหลือ 492,870 ล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปีบัญชี 2549 (31 มีนาคม 2550 ) ซึ่งมียอดเงินฝาก 496,621 ล้านบาท ลดลง 3,751 ล้านบาท เนื่องจากลูกค้ารายใหญ่ที่เป็นส่วนราชการและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นถอนเงินในช่วงเบิกจ่ายเงินงบประมาณ

นายธีรพงษ์กล่าวว่า ธ.ก.ส.ได้นำเกณฑ์การรับรู้รายได้และการสำรองหนี้ตามมาตรฐานทางบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39(IAS39) ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) มาปรับใช้ ส่งผลให้อัตราส่วนหนี้ค้างชำระเดิมในสิ้นปีบัญชี 2549 ซึ่งอยู่ในระดับ 4.19% ของสินเชื่อคงเหลือปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 14.10% ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2550 ซึ่งข้อดีจะทำให้ฐานะการสำรองหนี้ของธ.ก.ส.มีความเข้มแข็งและเป็นสากล

“การตั้งสำรองตามเกณฑ์ของธปท.ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของธ.ก.ส. แต่การดำเนินงานในอนาคตธ.ก.ส.จะต้องเข้มงวดในเรื่องคุณภาพของสินเชื่อมากขึ้น โดยจะเน้นให้ความสำคัญกับสินเชื่อเพื่อการลงทุนทางการเกษตรที่มีอนาคต เช่น สินเชื่อเพื่อพลังงานทดแทน ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลังและปาล์มน้ำมัน สินเชื่อเพื่อผลิตอาหารปลอดภัย เป็นต้น นอกจากนี้ยังจะเน้นการสนับสนุนความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่ให้แก่เกษตรกร”

นายธีรพงษ์กล่าวว่า นอกจากนี้ธ.ก.ส.ได้สนับสนุนสินเชื่อเพื่อการสร้างงานในชนบทโดยมีเป้าหมายการดำเนินงาน 26,000 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2550 ธ.ก.ส.สามารถจ่ายสินเชื่อผ่านโครงการต่างๆ ไปแล้ว 16,257 ล้านบาท เช่น โครงการสนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและโครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เป็นต้น

สำหรับการจัดทำโครงการชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งเป้าหมายไว้ 999 ชุมชน ดำเนินการไปแล้ว 491 ชุมชน และโครงการกองทุนทวีสุขซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการออมพร้อมสร้างสวัสดิการแก่เกษตรกรในวัยชรา โดยมีเป้าหมายรับเกษตรกรเข้าเป็นสมาชิกในปี 2550 จำนวน 100,000 ราย ผลการดำเนินการจริงมีเกษตรกรสนใจสมัครเป็นสมาชิกกองทุน ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2550 แล้วจำนวน 168,131 ราย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us