Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 พฤศจิกายน 2550
วันทูโกทุ่ม 7 หมื่น ล.ซื้อเครื่องใหม่             
 


   
www resources

โฮมเพจ สายการบินโอเรียนท์ไทย

   
search resources

โอเรียนท์ไทย แอร์ไลน์
อุดม ตันติประสงค์ชัย
Low Cost Airline




แก้ภาพลักษณ์ใหม่ วันทูโกซุ่มเจรจาโบอิ้ง เตรียมถอยเครื่องบินป้ายแดง 20 ลำมูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาท หวังขยายฝูงบินแสดงศักยภาพทางการแข่งขัน ตอกย้ำบริการเพื่อสร้างแบรนด์รอยัลตี้ เมินร่วมเล่นกลยุทธ์สงครามราคา

นายอุดม ตันติประสงค์ชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วัน ทู โก ผู้ให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ(โลว์คอสต์ แอร์ไลน์) วัน ทู โก เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัทโบอิ้ง เพื่อจะสั่งซื้อเครื่องบินใหม่ป้ายแดงจำนวน 20 ลำ รวมมูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาท เพื่อมาใช้ขยายฝูงบิน รองรับการขยายตัวของธุรกิจในอนาคต ซึ่งความคืบหน้าการเจรจาอยู่ระหว่างต่อรองราคาและผลประโยชน์ทางธุรกิจ คาดว่าจะได้ข้อสรุปครบถ้วนประมาณกุมภาพันธ์ปีหน้า

สำหรับเครื่องบินที่สั่งซื้อจะประกอบด้วย เครื่องโบอิ้ง รุ่น 787-9 จำนวน 8 ลำ และโบอิ้งรุ่น 737-800 หรือ โบอิ้งรุ่น 737-900 ER อีก 12 ลำ โดยเมื่อตกลงเซ็นสัญญาซื้อขาย บริษัทโบอิ้งจะสามารถส่งมอบเครื่องบินลำแรกได้ภายใน 4 ปีข้างหน้า โดยบริษัทตั้งใจสั่งซื้อเครื่องบินทั้ง 20 ลำดังกล่าว สำหรับรองรับแผนขยายเส้นทางบิน ที่จะเกิดขึ้นในอีก 5-10 ปีนับจากนี้ไป ซึ่งตามแผนงานที่วางไว้ จะขยายเส้นทางบินทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการเพิ่มความถี่ในเส้นทางบินเดิมที่ยังมีดีมานด์จากลูกค้าอีกจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังถือเป็นการเตรียมรับมือกับการแข่งขันของธุรกิจสายการบินโลว์คอสต์ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชีย ที่มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ทั้งนี้บริษัทวางแผนไว้ว่า จะเดินหน้าธุรกิจเพื่อประกาศศักยภาพของสายการบินวันทูโกอย่างเต็มที่ และพร้อมที่จะเข้าสู่เวทีการแข่งขันในระดับสากล โดยแผนขยายเส้นทางบินไปต่างประเทศ ที่กำลังจะขยายต่อในปีหน้า เช่น กรุงเทพ-สิงคโปร์ และกรุงเทพ-บัลคลาเทศ เป็นต้น ส่วนเส้นทางในประเทศจะเพิ่มความถี่ของเที่ยวบิน นำรูปแบบ เชียงใหม่ ชัตเทล มาใช้กับเส้นทางอื่นๆ เช่น กรุงเทพ-ภูเก็ต ซึ่งรูปแบบชัตเทล จะเลือกใช้เฉพาะในเส้นทางหลัก ที่ มีลูกค้าจำนวนมาก โยเที่ยวบินชัตเทล จะออกทุก 1 ชั่วโมง ทำให้ผู้โดยสะดวกในการเดินทางมากยิ่งขึ้น

นายอุดมกล่าวอีกว่า การมีเครื่องบินใหม่จะช่วยให้บริษัทสามารถบริหารเวลาของเครื่องบินได้ดีขึ้น ช่วยให้เครื่องออกได้ตรงต่อเวลา ซึ่งถือเป็นนโยบายหลักของ สายการบิน วันทูโก ดังนั้นเมื่องบริษัท ตัดสินใจเดินหน้าทำธุรกิจสายการบินต่อไป ก็จะต้องทำให้ดีที่สุดเพื่อนสร้างการยอมรับในกลุ่มลูกค้าผู้ใช้บริการ สมกับสโลแกนของ วันทูโก ที่ว่าเป็นสายการบินจริงใจ ในส่วนของเครื่องบินเก่า ขณะนี้ บริษัทอยู่ระหว่างการีโนเวต ปรับเปลี่ยนพรมบนเครื่องใหม่ทุกลำ ให้ดูสดใสน่าใช้ขึ้น ลบภาพที่ลูกค้ามักกังวลว่า สายการบินวันทูโก ให้บริการแต่เครื่องเก่า ซึ่งขณะนี้ตามแผนงานที่วางไว้ จะต้องเริ่มในเรื่องของการพัฒนาด้านบริการ เน้นความตรงต่อเวลา เป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้แก้องค์กร ซึ่งจะนำไปสู่แบรนด์รอยัลตี้

อย่างไรก็ตาม สำหรับความคืบหน้าสถานการณ์ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการสายการบิน วันทูโก ขณะนี้เป็นปกติแล้ว มองว่าตลาดคนไทย เริ่มมีความเข้าใจถึงบริการของสายการบินต้นทุนต่ำ(โลว์คอสต์ ) และ หันมาใช้บริการสายการบินโลว์คอสต์มากขึ้นดังนั้นก้าวต่อไปของการทำงานคือต้องทำให้ลูกค้าประทับใจในบริการ เพื่อให้เกิดการบอกต่อเป็นการขยายฐานลูกค้าได้อีกวิธีหนึ่ง ส่วนนโยบายขายตั๋วราคาถูก จูงใจลูกค้านั้น ไม่ใช่นโยบายของ วันทูโกแน่นอน เพราะเรายึดนโยบายตั๋วราคาเดี่ยวทุกที่นั่ง และในสถานการณ์เช่นนี้ ก็ไม่ควรขายตัดราคาเพราะจะเป็นสาเหตุให้บริษัทไม่สามรรถดำรงค์อยู่ได้ ซึ่งบริษัทที่กำลังใช้ราคาเป็นตัวต่อสู้แบ่งชิงลูกค้า ขณะนี้มี 2 รายที่เห็นชัด คือ สายการบิน นกแอร์ และสายการบินไทยแอร์เอเชีย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us