Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2535
"อนาคตโรงแรมอยู่ที่แหล่งท่องเที่ยว"             
โดย คมเนตร เนตรประไพ
 

 
Charts & Figures

ตารางรายชื่อโรงแรมที่ก่อสร้างใหม่ ช่วงระหว่างปี 1992-1994
ตาราง 17 โรงแรมที่เปิดระหว่างปี 1992-1993
เงินลงทุนระยะแรก
ตารางเงินลงทุนโรงแรมขนาดต่าง ๆ
ตารางอัตราราคาห้องพักปี 2535 และราคาจากการสำรวจ สิงหาคม 2535
ตารางเปรียบเทียบประมาณการอุปสงค์ อุปทาน และความขาดแคลนจำนวนห้องพักของโรงแรม


   
search resources

Tourism
Hotels & Lodgings




"แผน 7 รัฐบาลวางเป้าจะมีนักท่องเที่ยวเข้าพักในโรงแรม และสถานที่พักต่างๆ รวม 6-8 ล้านคน เมื่อสิ้นปี '39 จะมีเงินเข้าประเทศเกือบ 200,000 ล้านบาท แหล่งท่องเที่ยวการอนุรักษ์ธรรมชาติ การเมือง ระบบบริการที่มีคุณภาพของโรงแรมคือปัจจัยชี้ขาดของอนาคตธุรกิจนี้ที่ลงทุนแต่ละโครงการเป็นเงินมหาศาล"

ธุรกิจโรงแรมเป็นสาขาธุรกิจหนึ่งในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อกันเป็นอันมาก จากข้อมูลแสดงจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2530 มีจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2530 มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย 3,482,958 คน หรือมีอัตราการเพิ่มขึ้น 23.59% จากปี 2529 อัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวก็ยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงและต่อเนื่องมาในปี 2531 โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้น 21.47%

อัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวในอัตราที่สูงและรวดเร็ว ส่งผลต่อการขยายตัวของปริมาณความต้องการห้องพักปี 2530 อัตราการเพิ่มขึ้นของห้องพักมีเพียง 6.10% และ 9.33% ในปี 2531 จึงทำให้เกิดสภาพความขาดแคลนของห้องพัก เปรียบเทียบสภาวะธุรกิจโรงแรมในช่วงนั้นได้ว่า ตลาดหรือธุรกิจโรงแรมเป็นของผู้ประกอบการในธุรกิจโรงแรมหรือผู้ขาย ดังนั้นผู้ขายจึงมีอิทธิพลที่สูงมากต่อการกำหนดราคาห้องพัก

ภาวะการขาดแคลนห้องพักส่งผลให้มีการปรับระดับราคาห้องพักที่สูงขึ้นโดยในปี 2530 ระดับราคาห้องพักเฉลี่ย 2,250 บาทต่อคืน เพิ่มขึ้นเป็น 2,700 บาทต่อคืนในปี 2531 คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นถึง 20%

ความขาดแคลนห้องพักจากการที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีอัตราการขยายตัวสูง เป็นแรงจูงใจต่อการขยายการลงทุนในธุรกิจโรงแรม ประกอบกับภาครัฐต้องการแก้ไขปัญหาภาวะความขาดแคลนห้องพัก จึงมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนในโรงแรมโดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)

สถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศจากผลของสงครามอ่าวเปอร์เซีย และการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองของประเทศ ประกอบกับธุรกิจโรงแรมที่มีการขยายการลงทุนในช่วงตั้งแต่ปี 2531 ได้ทยอยก่อสร้างเสร็จ ทำให้จำนวนห้องพักทั่วประเทศระหว่างปี 2532-2534 มีอัตราการขยายตัวประมาณ 12% และจำนวนห้องพักรวมทั่วประเทศในปี 2534 มีจำนวนทั้งสิ้น 190,453 ห้อง

ในขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงจึงทำให้อัตราการเข้าพักของโรงแรมลดลง หรือตลาดได้เปลี่ยนไปเป็นของผู้ซื้อแล้ว ธุรกิจโรงแรมในช่วงปี 2534 และต่อเนื่องมาในปี 2535 จึงอยู่ในภาวะที่จำนวนห้องพักมากกว่าความต้องการ ส่งผลให้เกิดภาวะการแข่งขันของโรงแรมต่างๆ ขึ้น ด้วยการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อรักษาระดับของอัตราเข้าพักให้คุ้มกับต้นทุนของโรงแรม

ปกติโรงแรมควรมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยประมาณ 71-80% จึงเป็นเกณฑ์ที่ยอมรับได้ดังนั้นธุรกิจโรงแรมช่วงตั้งแต่กลางปี 2533 ต่อเนื่องถึงต้นปี 2535 จัดเป็นช่วงที่ซบเซามากของธุรกิจนี้ ภาวะการแข่งขันก็ทวีความรุนแรงขึ้น

โครงการสร้างธุรกิจ

โครงสร้างธุรกิจโรงแรมมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอันมาก เพราะธุรกิจโรงแรมเป็นการให้บริการด้านที่พักแก่นักท่องเที่ยวโดยตรงและเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่บริการอยู่ภายในโรงแรมด้านต่างๆ เช่น ภัตตาคาร ไนต์คลับ คอฟฟี่ชอบ ร้านขายสินค้าที่ระลึก และบริการนำเที่ยว เป็นต้น การเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวมาประเทศไทยจะพักในโรงแรมในสัดส่วนที่สูงมากโดยปี 2534 นักท่องเที่ยวจะพักในโรงแรม 98.40% ดังนั้นธุรกิจโรงแรมจึงมีความสัมพันธ์กับจำนวนนักท่องเที่ยวและระยะเวลาการเข้าพักของนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก

ระดับของธุรกิจโรงแรม

ประเทศไทยแบ่งกลุ่มธุรกิจโรงแรมตามระดับของสิ่งอำนวยความสะดวก (FACILITY) โดยใช้ราคาห้องพักเป็นเกณฑ์ดังนี้

การบริหารธุรกิจโรงแรม

1. ดำเนินงานโดยเจ้าของโรงแรมที่เป็นบุคคลหรือกิจการในครอบครัวบริหารโรงแรมเอง เป็นลักษณะของโรงแรมที่มีห้องพักไม่มากนัก

2. ดำเนินงานในรูปของนิติบุคคล ที่มีห้องพักจำนวนมาก ลักษณะการบริหารพิจารณาได้ดังนี้

2.1 INTERNATIONAL HOTEL CHAIN มีรูปแบบดังนี้

1. การร่วมลงทุนโดยตรง เป็นการซื้อหุ้นกิจการโรงแรมที่มีอยู่แล้วหรือร่วมลงทุน สร้างโรงแรมขึ้นใหม่ แต่บริษัทเครือโรงแรมข้ามชาติไม่นิยมการบริหารในรูปแบบนี้

2. การเช่า เป็นการเช่าโรงแรมที่เปิดดำเนินการอยู่แล้วมาดำเนินการเอง ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิ์ในการบริหาร และจะเปลี่ยนชื่อโรงแรมเป็นชื่อของ HOTEL CHAIN นั้น ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงการจัดการและการบริหารหรืออาจปรับปรุงห้องพักและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ โดยผู้เช่าจะรับผิดชอบด้านค่าใช้จ่ายและผลกำไรจะเป็นของผู้เช่า โดยผู้ให้เช่าจะมีรายได้จากค่าเช่าเท่านั้น การดำเนินการรูปแบบนี้จะอยู่ภายใต้นักบริหารการโรงแรมอาชีพชาวต่างประเทศ

3. การขายสิทธิ์ในการใช้ชื่อ (FRANCHISE) โรงแรมที่ซื้อสิทธิ์จะเปลี่ยนมาใช้ชื่อ HOTEL CHAIN นั้น และระบบการสำรองห้องพักระหว่างโรงแรมในเครือ ในรูปแบบนี้เจ้าของโรงแรมยังคงรับผิดชอบการบริหารอยู่ แต่จะมีตัวแทนของ HOTEL CHAIN มาร่วมในการบริหารงานด้วย

4. การบริการด้านการจัดการ เป็นการเสนอขายบริการด้านการจัดการให้แก่โรงแรมใดโรงแรมหนึ่ง โดย HOTEL CHAIN จะมาจากกำไรจากการดำเนินงาน

INTERNATIONAL HOTEL CHAIN ในประเทศไทยจะเป็นการดำเนินงานโดยบริษัทสายการบินบริษัทนำเที่ยวระหว่างประเทศและบริษัทที่ประกอบธุรกิจโรงแรมโดยตรง การบริหารงานโดย INTERNATIONAL HOTEL CHAIN มีผลต่อการไหลออกของเงินรายได้ที่ CHAIN เหล่านี้ได้รับในรูปแบบต่างๆ ตามข้อตกลงหรือรูปแบบการดำเนินงานข้างต้น การส่งเงินออกนอกประเทศของธุรกิจโรงแรมโดยขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่าปี 2529 มียอดการส่งออกเงิน 14.48 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น 185.39 ล้านบาทในปี 2531 (จำนวนโรงแรม 27 แห่ง) โดยค่าบริหารและการจัดการจะมีสัดส่วนที่สูงที่สุด 49.09% ในปี 2531

ข้อมูลดังกล่าวแสดงถึงการบริหารธุรกิจโรงแรมที่เข้าเป็นสมาชิกของ INTERNATION HOTEL CHAIN เพิ่มขึ้น เพราะเป็นการบริหารงานโรงแรมที่ได้มาตรฐานสากล และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในธุรกิจโรงแรมได้เนื่องจากเครือโรงแรมมีส่วนช่วยในการหาลูกค้าเพราะภาพพจน์และชื่อเสียงของ CHAIN อันเป็นการได้เปรียบทางธุรกิจอีกทางหนึ่ง

2.2 เครือโรงแรมไทยเป็นการบริหารของกลุ่มธุรกิจโรงแรมที่เป็นคนไทยที่เริ่มต้นจากการดำเนินงานบริหารโรงแรมแห่งเดียวก่อน เมื่อเรียนรู้ระบบการดำเนินงาน และมีประสบการณ์ในธุรกิจโรงแรมจึงขยายการดำเนินงานออกไป เช่น เครืออิมพีเรียล ดุสิต (ดุสิตธานี) สยามลอดจ์ และสยามเบย์ เป็นต้น เครือโรงแรมที่เป็นของคนไทยจะช่วยลดการไหลออกของเงินไปยังต่างประเทศ และเพื่อพัฒนาให้ธุรกิจโรงแรมสามารถดำเนินงานด้วยคนไทยอันเป็นการลดการพึ่งพิงต่างประเทศลง

ความต้องการห้องพัก

ความต้องการห้องพักมีความสัมพันธ์กับจำนวนนักท่องเที่ยวโดยตรง การหาความต้องการห้องพักจึงเป็นการวิเคราะห์จากข้อมูลจำนวนนักท่องเที่ยวช่วงที่ผ่านมาและระยะเวลาพำนักเฉลี่ย

การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2530 มีอัตราการเพิ่มถึง 23.59% จากปี 2529 และอัตราการเพิ่มก็ยังคงอยู่ในอัตราที่สูงและต่อเนื่องมาในปี 2531 นักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อความต้องการสถานที่พักแรมที่เพิ่มขึ้นโดยถ้าพิจารณาประเภทของสถานที่พักแรมตามความต้องการของนักท่องเที่ยว โรงแรมจะเป็นสถานที่พักที่นักท่องเที่ยวมีความต้องการมากที่สุดถึงร้อยละ 98% นอกจากนั้นระยะเวลาพำนักเฉลี่ยที่นานขึ้นก็แสดงว่านอกจากความต้องการห้องพักที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังต้องการพักเป็นระยะเวลาที่นานขึ้น โอกาสที่นักท่องเที่ยวจะใช้บริการของโรงแรมก็มากขึ้นด้วย ดังนั้นในช่วงปี 2530-2531 จึงเป็นช่วงที่ธุรกิจโรงแรมประสบผลสำเร็จทางธุรกิจที่สูงมาก

ความต้องการห้องพักที่สูงขึ้นขณะที่ปริมาณห้องพักมีไม่เพียงพอนี้ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาห้องพักที่สูง และถ้าพิจารณาการขึ้นราคาห้องพักตามกลไกตลาดจากอุปสงค์ (DEMAND) และอุปทาน (SUPPLY) แล้ว ความต้องการส่วนเกิน (EXCESS DEMAND) ของห้องพัก เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมปรับราคาขึ้น แต่ส่วนเกินของการประกอบธุรกิจโรงแรม (PRODUCER' S SURPLUS) ก็ควรอยู่ในอัตราที่คุ้มและเพียงพอต่อการลงทุน เพราะการปรับราคาลักษณะนี้เป็นการสะท้อนถึงการเอาเปรียบต่อผู้บริโภค

จากข้อมูลจะพบว่าอัตราค่าที่พักของโรงแรมไทยมีอัตราการเพิ่มขึ้นที่สูงกว่าประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ซึ่งเฉลี่ยแล้วมีอัตราการเปลี่ยนแปลงปี 2532 เพิ่มขึ้น 41.11% จากปี 2530

ราคาห้องพักเป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการเดินทางของนักท่องเที่ยวตกประมาณร้อยละ 23 ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายอันดับที่สองรองจากค่าซื้อของซึ่งตกประมาณร้อยละ 33 ดังนั้นจึงมีผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวด้วย

ตั้งแต่ปี 2530 จำนวนนักท่องเที่ยวของประเทศมีอัตราการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงและมีค่าติดลบในปี 2534 การเปลี่ยนแปลงจำนวนนักท่องเที่ยวนี้ นอกจากราคาห้องพักแล้วปัจจัยอื่นก็มีผลต่อการเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยด้วย เช่นปัจจัยทางการเมืองภายในประเทศก็มีผลต่อธุรกิจโรงแรมเช่นกัน เพราะการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล โดยการรัฐประหารเมื่อปี 2534 ทำให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศไม่กล้าเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย เนื่องจากไม่มั่นใจในความปลอดภัย เมื่อจะเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย

การพิจารณาผลกระทบของการรัฐประหารครั้งนี้ ระยะสั้นคือในช่วงของการรัฐประหารจะได้รับผลกระทบมาก จากการเปรียบเทียบจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างปี 2533 และ 2534 ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จะพบว่าในช่วงหลังการรัฐประหารเดือนกุมภาพันธ์ อัตราการลดลงของนักท่องเที่ยวจะอยู่ในอัตราที่สูงมาก คือ 12.50% และ 10.83% ในเดือนมีนาคม และเมษายน ตามลำดับ และอยู่ในอัตราที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากในช่วงครึ่งหลังของปี

แต่ในระยะยาวแล้วจะเป็นผลทางด้านภาพพจน์ของประเทศต่อความจูงใจในการมาท่องเที่ยวประเทศไทยมากกว่า

ดังนั้นภาพรวมของความต้องการห้องพักจึงมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อจำนวนนักท่องเที่ยว ระยะเวลาพำนักเฉลี่ย ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ และการเมืองในประเทศและต่างประเทศ แต่ทั้งนี้สัดส่วนของนักท่องเที่ยวจากแต่ละประเทศและสถานที่ท่องเที่ยวก็มีความสัมพันธ์ต่อความต้องการห้องพักเช่นกัน เพราะสัดส่วนของนักท่องเที่ยวจากแต่ละประเทศเป็นการแสดงถึงโอกาสทางการตลาดและอำนาจซื้อของนักท่องเที่ยวประเทศนั้นๆ นักท่องเที่ยวที่มีอำนาจซื้อสูงจะสามารถบริโภคกลุ่มสินค้าและบริการที่มีระดับราคาหรือคุณภาพสูงได้มากกว่า ระดับราคาห้องพักจึงเป็นปัจจัยที่กำหนดตำแหน่งทางการตลาดของแต่ละโรงแรมและลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของโรงแรม และอีกนัยหนึ่งคือด้านสถานที่ท่องเที่ยวก็จะมีความต้องการสถานที่พักเพิ่มขึ้นด้วย

ปัจจุบันนอกจากนักท่องเที่ยวที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจโรงแรมแล้ว การประชุมสัมมนาระดับนานาชาติและระดับภายในประเทศ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดความต้องการห้องพักด้วยเช่นกัน แม้ว่าจะยังคงมีขนาดตลาดที่เล็กแต่ก็มีศักยภาพที่ดีในอนาคต จากสถิติของการท่องเที่ยวจะพบว่าจากปี 2530 การจัดประชุมนานาชาติเพิ่มขึ้นจาก 348 ครั้งเพิ่มเป็น 450 ครั้งในปี 2534

โรงแรมโดยทั่วไปจะมีห้องประชุมขนาดต่างๆ บริการลูกค้าอยู่แล้ว แต่ห้องประชุมสัมมนาขนาดใหญ่จะเป็นการดัดแปลงจากห้องจัดเลี้ยงที่มีไว้บริการอยู่แล้ว และการจัดเลี้ยงก็มักจะจัดในช่วงเย็น ดังนั้นในช่วงกลางวันห้องจัดเลี้ยงจึงไม่ได้ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์

แนวทางหนึ่งของการใช้ห้องเป็นประโยชน ์ก็ด้วยการจัดเป็นสถานที่ประชุมสัมมนา แต่จุดมุ่งหมายของการใช้ห้องจัดเลี้ยงเป็นห้องประชุมโรงแรมจะเน้นที่การขายอาหาร และเครื่องดื่มสำหรับผู้ร่วมประชุมมากกว่ารายได้ค่าเช่าห้องประชุม ถ้าเป็นการประชุมที่ผู้ร่วมประชุมไม่ได้เป็นคนในท้องถิ่นแล้วย่อมจำเป็นต้องการสถานที่พักแรมด้วย

ข้อมูลปี 2534 สถานที่จัดการประชุมนานาชาติ 68.20% จะจัดที่โรงแรม การประชุมภายในประเทศจัดที่โรงแรม 70.90% และผู้เข้าร่วมประชุมนานาชาติ และประชุมภายในประเทศจะพักแรมระหว่างการประชุมที่โรงแรมในอัตราส่วน 55.80% และ 69.70% ตามลำดับ

การสร้างศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อรองรับและสนับสนุนการจัดการประชุมและสัมมนาในระดับต่างๆ ของประเทศ อาจจะกระทบด้านห้องประชุมของโรงแรมบ้าง แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงก่อให้เกิดความต้องการห้องพักของธุรกิจโรงแรมอยู่ดี

อุปทานธุรกิจโรงแรม

ธุรกิจโรงแรมในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการขยายตัวของการลงทุนที่สูงมาก โดยมีแรงจูงใจจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวขยายตัวสูง แล้วก่อให้เกิดภาวะความขาดแคลนห้องพักขึ้น รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนโดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพื่อแก้ไขภาวะดังกล่าวด้วย

อัตราการเพิ่มขึ้นของห้องพัก มีการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นมาตลอดเมื่อพิจารณาโดยรวม แต่ถ้าพิจารณาในระดับภาคแล้ว อัตราการเปลี่ยนแปลงของห้องพักจะมีค่าที่กระจายไปยังทุกภูมิภาคที่แตกต่างกันไป กรุงเทพมหานครจัดเป็นพื้นที่ที่มีจำนวนห้องพักสูงที่สุด โดยในปี 2534 กรุงเทพฯ มีห้องพักรวม 45,548 ห้อง ขณะที่ภาคใต้ทุกจังหวัดรวมกันมีจำนวนห้องพัก 48,276 ห้อง

เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนห้องพัก รัฐจึงสนับสนุนการลงทุนในธุรกิจโรงแรม โดยจากปี 2531 ที่ให้การส่งเสริมเพียง 1 ราย ได้เพิ่มเป็น 102 และ 132 ราย ในปี 2532 และ 2533 ตามลำดับ ซึ่งในช่วง 2 ปีนี้ มีจำนวนห้องพักสูงถึง 79,622 ห้อง แต่ในปี 2534 จำนวนผู้ขอรับการส่งเสริมได้ลดลงเหลือ 68 ราย ทั้งนี้เพราะภาวะความต้องการห้องพักได้ลดลงตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงและห้องพักที่เพิ่มในอัตราที่สูง รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนอันเนื่องมาจากอัตราดอกเบี้ยงเงินกู้ ในตลาดเงินยังเป็นอัตราที่สูงมาก เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ที่ชะลอตัวลง การลงทุนในช่วงนี้จึงเป็นการเสี่ยงต่อเงินทุนที่จะลงทุน

การส่งเสริมการลงทุนของ BOI ช่วงปี 2532-2533 มีการกระจายไปยังหลายพื้นที่ของประเทศแต่กรุงเทพมหานครก็ยังคงเป็นพื้นที่ที่ได้รับการส่งเสริมในสัดส่วนที่สูงกว่าพื้นที่อื่น คิดเป็น 33.33% ของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมทั้งหมด

กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีอัตราการลงทุนของธุรกิจโรงแรมสูงมาก เพราะเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวและการเดินทางของประเทศนักท่องเที่ยวส่วนมากจึงต้องเดินทางผ่านกรุงเทพฯ ก่อนไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ของประเทศ

การคาดการณ์ความต้องการห้องพักในกรุงเทพฯ จากข้อสมมติฐานนี้จึงทำให้มีการลงทุนสร้างโรงแรมในกรุงเทพฯ สูงมาก จนเกินความต้องการห้องพักในช่วงที่ผ่านมาขณะที่แหล่งท่องเที่ยวของประเทศหลายแห่งมีนักลงทุนให้ความสนใจที่จะลงทุนน้อย ทั้งที่ยังคงมีความต้องการห้องพักอยู่

ประกอบกับปัจจุบันรูปแบบการเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยได้เปลี่ยนไป จากที่ต้องผ่านกรุงเทพฯ ก็เป็นเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวนั้นโดยตรง เช่น ภูเก็ต เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี (สมุย) เป็นต้น ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าจำนวนห้องพักในกรุงเทพฯ มากเกินความต้องการ แต่ในบางพื้นที่ยังขาดแคลนห้องพักอยู่ การลงทุนในธุรกิจโรงแรมจึงยังคงน่าลงทุนอยู่ แต่ขึ้นกับว่าจะลงทุนในพื้นที่ไหน

จากรายงานการวิจัยอุปสงค์และอุปทานของสถานพักแรมในแหล่งท่องเที่ยวหลักช่วงแผน 7 ยังคงมีความขาดแคลนห้องพักในบางพื้นที่แต่อยู่ในอัตราที่ไม่สูงนัก โดยภูเก็ตจะเป็นจังหวัดที่ขาดแคลนห้องพักมากที่สุด

โครงสร้างรายได้

รายได้ของการประกอบธุรกิจโรงแรม แบ่งพิจารณาได้ 3 ประเภท ดังนี้

1. รายได้จากค่าห้องพักเป็นรายได้ที่สำคัญต่อการประกอบการของธุรกิจโรงแรมมาก ปกติรายได้จากค่าห้องพักจะอยู่ในอัตราส่วนระหว่าง 45-60%

2. รายได้จากการขายอาหาร และเครื่องดื่มรวมทั้งรายได้จากการจัดเลี้ยงประชุม และสัมมนาเป็นรายได้ที่มีความสำคัญรองลงมาจากรายได้ค่าห้องพักคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 35-50% ของรายได้ทั้งหมด

3. รายได้อื่นๆ ประกอบด้วยค่าซักรีด ค่าโทรศัพท์ แฟกซ์ ค่าเช่าร้านค้าของที่ระลึก หรือบริษัทนำเที่ยวภายในโรงแรม เป็นต้น รายได้ส่วนนี้จะเป็นสัดส่วนที่น้อยมากคือประมาณ 3-15% เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้สองส่วนแรก ทั้งนี้เพราะโรงแรมไม่ได้หวังจะทำกำไรจากรายได้ส่วนนี้ แต่เป็นบริการเพื่อความสะดวกของลูกค้ามากกว่า

ปัจจัยที่มีผลต่อรายได้จากการขายห้องพัก

1. อัตราค่าห้องพักเฉลี่ย (AVERAGE ROOM RATE) คำนวณจากรายได้ของการขายห้องพักทั้งหมด หารด้วยจำนวนห้องพักที่ขายได้ทั้งหมด ถ้าโรงแรมมีอัตราค่าห้องพักเฉลี่ยสูง ก็หมายถึงโรงแรมสามารถขายห้องพักได้ในระดับราคาที่สูง แต่การจะพิจารณาเปรียบเทียบว่าระดับราคาห้องพักโรงแรมใด มีค่าเท่าไรต้องคำนึงถึงระดับของโรงแรมซึ่งแบ่งตามหลักเกณฑ์การแบ่งระดับโรงแรมของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ด้วย ทั้งนี้เพราะโรงแรมแต่ละระดับย่อมมีอัตราค่าห้องพักต่อคืนที่ต่างกัน การขายห้องพักนี้ อัตราค่าห้องพักที่โรงแรมคิดจากนักท่องเที่ยวหรือลูกค้าแต่ละรายจกแตกต่างกัน แม้ว่าจะเป็นห้องพักแบบเดียวกัน อัตราค่าห้องพักที่คิดกับกลุ่มลูกค้าต่างๆ แบ่งได้ดังนี้

อัตราค่าห้องพักที่ไม่มีส่วนลด (RACK RATE/FULL RATE) เป็นอัตราค่าห้องพักที่โรงแรมคิดกับลูกค้าเต็มราคาที่โรงแรมประกาศไว้ การขายห้องพักในอัตรานี้ปกติจะคิดกับลูกค้าที่จองห้องพักโดยตรงหรือไม่ได้จองล่วงหน้า (WALK-IN) อัตรานี้เป็นอัตราที่ได้ราคาดีที่สุด แต่โรงแรมก็ไม่สามารถขายห้องพักในอัตรานี้ได้ทั้งหมด เพราะลักษณะความแตกต่างของธุรกิจโรงแรมที่ผลิตภัณฑ์หรือห้องพักของธุรกิจโรงแรมที่มีไว้ให้ลูกค้ามาเช่าพักในแต่ละวันไม่สามารถเก็บไว้ได้ (PERISHABLE PRODUCT) ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียรายได้ส่วนนี้ การขายห้องพักธุรกิจโรงแรมจึงต้องทำการขายห้องพักล่วงหน้า

อัตราค่าห้องพักที่มีส่วนลด (DISCOUNT RATE) เป็นอัตราค่าห้องพักที่โรงแรมขายให้แก่ลูกค้าในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราที่ประกาศไว้ และส่วนลดที่โรงแรมให้กับลูกค้าแต่ละรายก็จะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้เงื่อนไขของการให้ส่วนลดขึ้นกับปัจจัยดังนี้

การขายห้องพักให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว จะเป็นการทำข้อตกลงอัตราที่ซื้อขายล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 1 ปี หรือเรียกว่าอัตราค่าห้องพักตามข้อตกลง (CONTRACT RATE) อัตราค่าห้องพักที่โรงแรมให้กับธุรกิจนำเที่ยวแต่ละรายก็ไม่เท่ากัน ขึ้นกับจำนวนห้องพักที่ตกลงซื้อความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่มีต่อกัน หรือประวัติในการชำระหนี้ของลูกค้าแต่โดยทั่วไปจะตกลงกันเป็น 2 อัตรา คือ อัตราค่าห้องพักที่มีจำนวนการจองต่ำกว่า 15 ห้อง หรือเรียกว่า FIT RATE อัตราค่าห้องพักที่มีจำนวนการจองอย่างน้อย 15 ห้องขึ้นไป หรือเรียกว่า GROUP RATE ซึ่งจะมีห้องพักแถมให้ 1 ห้อง (COMPLEMENTARY ROOM)

จากลักษณะการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่สัดส่วนของการเดินทางมากับบริษัทนำเที่ยวจะมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น แสดงถึงความสัมพันธ์ของธุรกิจโรงแรมกับธุรกิจนำเที่ยวที่มีต่อกัน ราคาห้องพักที่โรงแรมให้กับธุรกิจนำเที่ยวจะเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาปกติ แต่การซื้อห้องพักของธุรกิจนำเที่ยวก็เป็นการซื้อจำนวนห้องที่มาก

ปี 2531 สัดส่วนของการเดินทางมากกับบริษัทนำเที่ยวลดลงนี้ เป็นผลจากการปรับราคาห้องพักซึ่งถือว่าเป็นการฉวยโอกาสของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม อันเป็นข้อขัดแย้งระหว่างบริษัทนำเที่ยวและธุรกิจโรงแรม

แต่หลังจากมีการปรับปรุงราคาห้องพักอย่างเหมาะสมแล้ว สัดส่วนนี้ก็อยู่ในอัตราที่สูงขึ้น ดังนั้นรายได้ด้านห้องพักส่วนหนึ่งจึงเป็นรายได้ที่ผ่านมาทางธุรกิจนำเที่ยว

การขายห้องพักในอัตราธุรกิจ (COMMERCIAL RATE) เป็นอัตราที่โรงแรมขายให้แก่ลูกค้าที่ใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ โรงแรมจะขายห้องพักในอัตรานี้โดยมีเงื่อนไขว่าต้องไม่เข้าพักในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว การขายห้องพักในช่วงฤดูกาลต่างๆ (SEASONAL RATE) การขายห้องพักในอัตรานี้ เป็นอัตราที่ใช้สำหรับโรงแรมที่ตั้งอยู่ในแหล่งท่องเที่ยว เพราะจะมีอิทธิพลของฤดูกาลท่องเที่ยวเป็นปัจจัยในการกำหนดอัตราค่าห้องพัก ปกติถ้าอยู่ในช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว อัตราห้องพักละลดลงประมาณ 30-50% โดยขึ้นกับสถานการณ์ทางการตลาดในแต่ละปีด้วย แต่ในช่วงที่เป็นฤดูกาลท่องเที่ยว (PEAK SEASON) โรงแรมจะคิดส่วนบวกเพิ่ม (SUR CHARGE) เข้าไปกับอัตราค่าห้องพักด้วย

อัตราค่าห้องพักช่วงการส่งเสริมการขาย (PROMOTIONAL RATE) คืออัตราค่าห้องพักที่คิดโดยรวมค่าบริการอื่นๆ ไว้แล้ว (PACKAGE PRICE) เช่น อัตราค่าห้องพักที่รวมค่าเดินทาง ค่าอาหาร บริการนำเที่ยว เป็นต้น การขายห้องพักในอัตรานี้จะขายในช่วงที่โรงแรมต้องการส่งเสริมการขายอันสืบเนื่องมาจากสภาวะทางการแข่งขันช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว หรือเป็นราคาในช่วงที่โรงแรมเริ่มเปิดดำเนินการใหม่

จากอัตราค่าห้องพักเฉลี่ยที่แบ่งได้ 2 ประเภท การที่โรงแรมจะมีรายได้จากส่วนของค่าห้องพักมากน้อยเพียงไรจึงขึ้นกับว่านักท่องเที่ยวเข้าพักในโรงแรมเป็นระยะเวลานานแค่ไหน และขณะเดียวกันบริการต่างๆ ที่ทางโรงแรมจัดไว้บริการลูกค้าก็มีโอกาสที่ลูกค้าจะใช้บริการเพิ่มขึ้นด้วย เช่น บริการซักรีด อาหาร หรือบริการนำเที่ยวที่ทางโรงแรมจัดขึ้น เมื่อนักท่องเที่ยวพักนานขึ้น

2. อัตราการเข้าพัก (OCCUPANCY RATE) การเพิ่มรายได้ของค่าห้องพักอีกวิธีหนึ่งคือโรงแรมจะต้องพยายามขายห้องพักให้ได้ราคาที่สูงที่สุดและจะต้องพยายามขายห้องพักที่มีอยู่ทั้งหมด แต่ในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยากมากที่จะสามารถขายห้องพักได้เต็มอัตราการเข้าพักทุกวัน การจองห้องพักของลูกค้าบางกรณีเมื่อถึงวันเข้าพักลูกค้าไม่มาเข้าพัก เป็นการเสียโอกาสในการขายห้องพัก ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหานี้โรงแรมจึงจะรับจองห้องพักสูงกว่าจะนวนห้องพัก (OVER BOOKING) ประมาณ 5-10% เพื่อลดการสูญเสียรายได้ถ้าลูกค้าไม่มาพัก อัตราการเข้าพักคำนวณจาก

อัตราการเข้าพัก = จำนวนคืนพักตลอดปี x 100 / จำนวนห้องพักทั้งหมด x 365 ถ้า

อัตราการเข้าพักมีค่าสูงแสดงว่าโรงแรมสามารถขายห้องพักได้มากด้วย ขณะเดียวกันอัตราการเข้าพักต่ำก็มีผลต่อราคาขายห้องพักที่ต่ำลงด้วย

ปกติโรงแรมควรมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยประมาณ 71-80% จึงจะเป็นอัตราที่น่าพอใจ จากสถิติของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยพบว่าอัตราการเข้าพักที่อยู่ระหว่าง 70-80% ของโรงแรมมีปรากฏระหว่างช่วงปี 2530-2533 เท่านั้น

ถ้าต่ำกว่านี้แสดงว่าโรงแรมกำลังมีปัญหาในการขายห้องพัก ซึ่งปัจจุบันผลกระทบจากภาพพจน์ของการท่องเที่ยวของประเทศส่งผลให้อัตราการเข้าพักอยู่ในระดับที่ต่ำมาก แต่อัตราการเข้าพักที่ต่ำนี้อาจจะเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น ในระยะยาวแล้วเป็นสิ่งที่จะต้องร่วมมือกันสร้างภาพพจน์ที่ดีของการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้น

ขณะที่รายได้จากการเข้าพักลดลงนี้ การชดเชยรายได้ที่เสียไปจึงเป็นการเน้นตลาดมายังรายได้จากการขายอาหารและเครื่องดื่มหรือบริการด้านอื่นของโรงแรม ทั้งนี้เพราะเป็นการใช้ทรัพยากรด้านต่างๆ ที่โรงแรมมีอยู่ให้เกิดรายได้ขึ้นดังจะเห็นได้จากการจัดเทศการอาหารขึ้นภายในห้องอาหารของโรงแรม หรือการให้ความสำคัญด้านการจัดเลี้ยงโดยการให้ส่วนลดและสิทธิพิเศษอื่นๆ

โครงสร้าง ต้นทุน

การลงทุนของธุรกิจโรงแรมแบ่งเงินลงทุนเป็น 2 ระยะดังนี้ การลงทุนช่วงก่อนสร้างโรงแรมและก่อนเปิดดำเนินงานต้นทุนการดำเนินงานช่วงเปิดดำเนินการ

เงินทุนทั้ง 2 ระยะนี้มีผลต่อการกำหนดราคาห้องพัก และกลยุทธ์ทางการตลาด สัดส่วนเงินลงทุนระยะแรกแบ่งได้ดังนี้

สัดส่วนเงินลงทุนนี้เป็นการประเมินโดยรวมของโรงแรมมาตรฐาน แต่ทั้งนี้ในบางพื้นที่ส่วนของค่าที่ดินอาจจะมีอัตราส่วนที่สูงกว่านี้ก็ได้ขึ้นกับทำเล หรือค่าก่อสร้าง ถ้าเป็นช่วงที่ขาดแคลนวัสดุก่อสร้างรายการนี้ย่อมสูงขึ้น

เงินลงทุนระยะนี้พิจารณาเฉลี่ยต่อห้องโดยประมาณตามขนาดและระดับของโรงแรมซึ่งเป็นการประเมินในช่วง 2530-2533 แสดงได้ดังนี้ (ดูตารางเงินลงทุนโรงแรมขนาดต่างๆ)

ข้อมูลนี้ใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นของการลงทุนสร้างโรงแรมเพื่อการวางแผนทางการเงินของโครงการถึงการหาเงินทุนจากแหล่งไหนซึ่งจะมีต้นทุนของเงินทุนต่ำที่สุด

จากข้อกำหนดของ BOI การให้การส่งเสริมธุรกิจโรงแรม สัดส่วนของหนี้สินต่อทุนจะต้องไม่เกิน 1.50:1 ถ้าขนาดของเงินลงทุนสูง สัดส่วนของเงินทุนที่เป็นส่วนของผู้ประกอบการก็จะต้องเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งเงินทุนของผู้ประกอบการก็มีค่าเสียโอกาสเช่นกันนอกเหนือจากเงินกู้ที่ต้องเสียดอกเบี้ยแล้ว ทั้งนี้ถ้านำเงินส่วนนี้ไปลงทุนในธุรกิจอื่นแล้วได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนสร้างโรงแรมแล้ว ผู้ประกอบการก็จะไม่ลงทุนในโครงการสร้างโรงแรม

การวางแผนทางการเงินของการสร้างโรงแรมในชั้นตอนแรกนี้ จึงควรเป็นการวางแผนที่รอบคอบในทุกขั้นตอนของการลงทุน ทั้งนี้การลงทุนย่อมมีความเสี่ยงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะถ้าไม่สามารถคาดการณ์ความต้องการของห้องพักได้อย่างแม่นยำเนื่องจากพฤติกรรมหรือรสนิยมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปก็มีผลต่อการดำเนินการเมื่อเปิดบริการ ซึ่งปัจจัยนี้ถือเป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่ในด้านระยะเวลาก่อสร้างจะสามารถควบคุมได้โดยการเริ่มโครงการก่อสร้างเร็วขึ้น การเตรียมพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์ล่วงหน้าในทุกระยะของการก่อสร้างเป็นต้น

ในด้านผลตอบแทนจากการลงทุนพิจารณาจากระยะเวลาคืนทุน (PAYBACK PERIOD) ของเงินลงทุนระยะนี้ จะแสดงให้เห็นถึงความได้เปรียบของโรงแรมที่ผ่านระยะเวลาคืนทุนแล้วต่อการกำหนดนโยบายการดำเนินงาน และกลยุทธ์การแข่งขันด้วยราคาเพราะต้นทุนส่วนนี้ตามมูลค่าทางบัญชีมีมูลค่าเป็นศูนย์ แต่ทั้งนี้เมื่อพ้นระยะเวลาคืนทุนแล้วก็ต้องพิจารณาผลตอบแทนในระยะหลังการคืนทุนด้วย

ต้นทุนการดำเนินงาน

ต้นทุนการดำเนินงานช่วงเปิดดำเนินการแล้ว หรือต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการประกอบการโรงแรม แบ่งพิจารณาได้ดังนี้

- ค่าใช้จ่ายทางตรงของห้องพัก

- ต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายทางตรงของแผนกอาหารและเครื่องดื่ม

- ค่าใช้จ่ายในการขาย

- ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

ต้นทุนการดำเนินงานนี้ขึ้นกับขนาดของโรงแรมและความสามารถในการดำเนินงาน แต่ทั้งนี้เมื่อพิจารณาต้นทุนทั้งหมด (TOTAL COST) แล้ว ถ้าผู้ประกอบการสามารถควบคุมให้ต้นทุนเฉลี่ยของกิจการต่ำ ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินการในรูปแบบต่างๆ แล้ว ผู้ประกอบการก็จะได้รับประโยชน์จากการประหยัดต่อขนาด (ECONOMIES OF SCALE) ซึ่งก็คือกำไรที่จะได้รับเพิ่มขึ้นนั่นเอง

แรงงาน

ธุรกิจโรงแรมมีลักษณะการดำเนินธุรกิจที่เป็นการขายบริการ เช่น บริการด้านห้องพัก อาหารและเครื่องดื่ม ซักรีด เป็นต้น การดำเนินธุรกิจบริการจำเป็นจะต้องมีแรงงานที่มีคุณภาพ และใช้แรงงานในอัตราที่สูงกว่าปัจจัยการผลิตอื่นจะเห็นได้จากค่าใช้จ่ายในส่วนของเงินเดือนพนักงานของธุรกิจโรงแรมจะมีอัตราส่วนประมาณ 15% ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่มากที่สุดของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

แรงงานในธุรกิจโรงแรมทั่วประเทศจากรายงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยปี 2534 รวม 328,784 คน (คิดเป็น 37.4% ของแรงงานทั้งหมดในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว) มีอัตราการเพิ่มขึ้น 291% จากปี 2530 ทั้งนี้จากผลของการขยายตัวในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมา และอัตราการเพิ่มที่สูงนี้ก็แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของธุรกิจโรงแรมตลอดจนผลต่อการจ้างแรงงานของประเทศด้วย

จากจำนวนแรงงานธุรกิจโรงแรมทั้งหมดปี 2534 ภาคใต้จะมีแรงงานมากที่สุดคิดเป็น 25.10% และ 24.60% 23.20% ในภาคเหนือและกรุงเทพมหานครตามลำดับ แต่พิจารณาในระดับจังหวัดแล้ว กรุงเทพมหานครจะมีจำนวนแรงงานมากที่สุด เพราะกรุงเทพมหานครเป็นแหล่งที่พักแรมและศูนย์กลางการท่องเที่ยวของประเทศ

อัตราการใช้แรงงานจะมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อจำนวนห้องพัก ซึ่งโดยเฉลี่ยทั่วประเทศจำนวนแรงงานต่อโรงแรม 1 แห่งเท่ากับ 87.5 คน และโรงแรมที่มีจำนวนห้องพักมากขึ้นจะมีอัตราการใช้แรงงานเฉลี่ยที่สูงขึ้น จำนวนแรงงานเฉลี่ยต่อ 1 ห้องพักเท่ากับ 1.72 คน (ปี 2530 เท่ากับ 1.4 คน ต่อห้อง) แรงงานส่วนใหญ่เป็นคนในท้องถิ่นหรือภูมิภาคเดียวกับที่ธุรกิจโรงแรมตั้งอยู่ ระดับรายได้ของแรงงานในธุรกิจโรงแรมประมาณ 71% จะอยู่ระหว่าง 2,000-5,000 บาทต่อเดือน

แรงงานในธุรกิจโรงแรมแบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้

1. ระดับบริหาร เช่น ผู้อำนวยการ ผู้จัดการทั่วไป มีอัตราส่วนประมาณ 3%

2. ระดับผู้จัดการ เช่น ผู้จัดการแผนกอาหารและเครื่องดื่ม แผนกห้องพัก และแผนกบริการส่วนหน้า (FRONT OFFICE) เป็นต้น ระดับผู้จัดการนี้คิดเป็นอัตราส่วน 5%

3. ระดับใช้เทคนิคขั้นกลาง เช่น พนักงานผสมเครื่องดื่ม คุมงานครัว เป็นต้น คิดเป็นอัตราส่วน 41%

4. ระดับที่ไม่ต้องใช้เทคนิคหรือทักษะ (UNSKILLED LABOR) ได้แก่ พนักงานทำความสะอาดขนของขายอาหาร เป็นต้น มีอัตราส่วน 51%

สภาพปัญหาของแรงงาน

การขยายตัวของธุรกิจโรงแรมในช่วงที่ผ่านมาส่งผลต่อปัญหาด้านแรงงานเป็นอย่างมาก เพราะขาดการวางแผนด้านความต้องการแรงงานเพื่อรองรับการขยายตัว จึงทำให้แรงงานที่เข้ามาสู่ธุรกิจโรงแรม เป็นแรงงานที่ไม่มีคุณภาพ หรือมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมกับงานตลอดจนขาดทักษะในการทำงาน เช่น ภาษาต่างประเทศ การใช้คอมพิวเตอร์ หรือประสบการณ์เฉพาะด้านในการทำงาน จึงทำให้เกิดการซื้อตัวพนักงานที่มีประสบการณ์ในหลายระดับ อันเป็นการก่อปัญหาการเปลี่ยนงานหรือลาออกบ่อย (TURN OVER) ในอัตราที่สูง

ปัญหาด้านแรงงานนี้จะต้องแก้ไขด้วยการวางแผนความต้องการแรงงานล่วงหน้า เพื่อจะได้เตรียมความพร้อมของแรงงานใหม่ โดยการพัฒนาระดับแรงงานให้มีคุณภาพตามความต้องการของธุรกิจโรงแรม ขบวนการนี้แบ่งเป็นระยะสั้นและระยะยาว ได้ดังนี้

ระยะสั้น เพื่อแก้ปัญหาของแรงงานที่อยู่ในธุรกิจโรงแรมแต่ยังขาดคุณภาพหรือมีปัญหาในการทำงาน รวมทั้งผู้ที่จบจากสถาบันที่สอนด้านการโรงแรมแต่ขาดประสบการณ์การทำงาน โดยเป็นการให้การฝึกอบรม (TRAINING) เพื่อเพิ่มความรู้ทักษะ และความสามารถในการทำงานแก่แรงงานเหล่านั้น การฝึกอบรมจะเพิ่มประสิทธิภาพและมาตรฐานในการทำงานของผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม เพราะการจัดการฝึกอบรมจะจัดขึ้นจากความต้องการที่จะให้มีการฝึกอบรม (TRAINING NEED) เนื่องจากหน่วยงานมีปัญหาการดำเนินงานอันเกิดจากแรงงานของหน่วยงานั้น เมื่อรู้สภาพปัญหาก็วางรูปแบบการฝึกอบรมที่จะสามารถแก้ปัญหาได้ จะเป็นการฝึกอบรมระหว่างเวลาปฏิบัติงาน (ON-THE-JOB TRAINING) หรือการฝึกอบรมนอกเวลาปฏิบัติงาน (OFF-THE-JOB TRAINING) ทั้งนี้ขึ้นกับความเหมาะสมของแต่ละกรณี และขึ้นกับฝ่ายบริหารด้วยว่าจะเห็นความสำคัญของปัญหาและประโยชน์ของการฝึกอบรมต่อการแก้ไขปัญหาแรงงานอย่างไร เพราะการฝึกอบรมย่อมมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นด้วย

ระยะยาว เป็นการแก้ปัญหาแรงงานของธุรกิจโรงแรมในรูปแบบของการให้การศึกษาในสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีสถาบันด้านนี้ทั้งสิ้น 85 แห่งแต่ยังไม่เพียงพอที่จะผลิตแรงงานเข้าสู่ธุรกิจโรงแรม จะพบว่ามีผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมหลายแห่งเปิดโรงเรียนสอนการโรงแรมขึ้นเอง เช่น โรงแรมโอเรียนเต็ล ดุสิตธานี และอีกหลายโรงแรมที่กำลังดำเนินโครงการสอนการโรงแรมอยู่ แต่การเปิดโรงเรียนการโรงแรมก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ เพราะยังขาดแคลนอาจารย์ผู้สอนที่มีประสบการณ์ อุปกรณ์ อาคารสถานที่ งบประมาณ และหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพตรงกับความต้องการของธุรกิจโรงแรมเพราะจะสอนได้เพียงภาคทฤษฎีแต่การปฏิบัติยังคงมีปัญหาอยู่

ความต้องการแรงงานในปี 2535-2537

จากการสำรวจของคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (เสนอต่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) ถึงปริมาณความต้องการแรงงานธุรกิจโรงแรมปี 2535-2537 พบว่ามีความต้องการเพิ่ม 87,692 คน เป็นตำแหน่งบริหาร 3,188 คน ผู้จัดการ 7,175 คน หรือรวมกันประมาณ 12% ของการต้องการทั้งหมด ซึ่งเป็นการระบุความต้องการแรงงานจากผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมในปี 2534 แต่แรงงานที่มีคุณภาพและคุณสมบัติตรงตามระดับตำแหน่ง แต่จากสภาพปัญหาด้านแรงงานดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นข้อจำกัดที่จะได้ผู้ที่มีทั้งคุณสมบัติและคุณภาพ

จากระดับตำแหน่งที่ต้องการสัดส่วนของแรงงานที่ต้องการมากจะอยู่ในระดับปฏิบัติงาน ซึ่งจะเป็นผู้ให้บริการโดยตรงแก่นักท่องเที่ยว งานบริการเป็นงานที่ต้องใช้ความอดทนและมีศิลปะของการบริการรวมอยู่ด้วย คือผู้ให้บริการจะต้องเป็นผู้ที่มีความตั้งใจและเต็มใจที่จะบริการลูกค้า ถ้าไม่สามารถหาแรงงานตรงตามความต้องการได้ก็ควรเป็นการรับแรงงานที่มีความพร้อมที่จะรับการฝึกอบรม

แข่งขันธุรกิจโรงแรม

การขยายตัวของธุรกิจโรงแรมจากความต้องการห้องพักในช่วงปี 2530-2532 ก่อให้เกิดการลงทุนในธุรกิจโรงแรมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะผู้ลงทุนจะตัดสินใจลงทุนจากการพิจารณาผลตอบแทนของการลงทุนในระยะยาว

แต่ผลตอบแทนนี้เป็นการประเมินหรือคาดการณ์ล่วงหน้าโดยจะคาดการณ์ได้ถูกต้องเพียงใดจะต้องคำนึงถือภาวะของการแข่งขันในธุรกิจโรงแรมประกอบด้วย ทั้งนี้ความรุนแรงของการแข่งขัน จะมีผลต่ออัตราผลตอบแทนของการลงทุนในระยะยาวการแข่งขันในธุรกิจโรงแรมพิจารณาได้จากแรงผลักดันที่มีต่อการแข่งขันทั้ง 5 ข้อ

1. การแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมในปัจจุบัน เป็นการพิจารณาเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจโรงแรมแล้วส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงกรณีนี้คือจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงส่งผลกระทบต่อความต้องการห้องพักที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อความอยู่รอดของกิจการจึงต้องปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินการหรือกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อรักษาระดับกำไรของกิจการไว้ การพยายามรักษาระดับกำไรของผู้ประกอบการแต่ละราย ก่อให้เกิดการแข่งขันและการตอบโต้ระหว่างผู้ประกอบการเอง ซึ่งทุกรายจะหลีกเลี่ยงการแข่งขันในรูปแบบที่รุนแรงมาก เช่น การตัดราคาห้องพัก แต่จะใช้ทางเลือกอื่นก่อน เช่น การแข่งขันด้านคุณภาพการบริการ การให้สิทธิพิเศษด้านการใช้บริการด้านอื่นของโรงแรม เป็นต้น ทั้งนี้ถ้าการแข่งขันรุนแรงก็จะกระทบต่อความพยายามที่จะรักษาระดับกำไรด้วย

ผู้ประกอบการแต่ละรายมีความแตกต่างกันในความสามารถของการแข่งขัน เพราะผู้ประกอบการที่อยู่ในธุรกิจโรงแรมนานย่อมได้รับการคืนทุนจากการก่อสร้างโรงแรมไปแล้ว ดังนั้นต้นทุนเฉลี่ยของการดำเนินงานย่อมต่ำกว่าผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจนี้ได้ไม่นาน และถ้าเป็นโรงแรมที่ดำเนินงานในรูปแบบของ HOTEL CHAIN ก็ย่อมมีความได้เปรียบในด้านความพร้อมของการแข่งขันสูงกว่า แต่ทั้งนี้การวัดระดับความรุนแรงของการแข่งขันควรเป็นการวัดในโรงแรมระดับเดียวกัน

2. โอกาสของผู้ประกอบการรายใหม่ที่เข้าสู่ธุรกิจโรงแรม การเข้ามาดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบรายใหม่แสดงถึงจำนวนห้องพักที่เพิ่มขึ้น และผู้ประกอบการรายใหม่ก็จะมีความพร้อมในด้านต่างๆ จึงตัดสินใจเข้ามา ซึ่งต้องการวิเคราะห์และประเมินโครงการลงทุนก่อนแล้ว ความพร้อมของผู้ประกอบการรายใหม่ประการหนึ่ง จะสังเกตได้จากการเข้ามาบริหารงานของ INTERNATIONAL HOTEL CHAIN รายใหม่ๆ ในประเทศเพิ่มขึ้นมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเพราะ HOTEL CHAIN จะมีศักยภาพทางการแข่งขันสูง

การเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่จะต้องพิจารณาถึงอุปสรรคจากผู้ประกอบการเดิมด้วย ทั้งนี้เพราะถ้าไม่มีศักยภาพทางการแข่งขันที่ดีย่อมเป็นการเสียเปรียบด้านต้นทุนเฉลี่ยด้านต่างๆ ที่สูงกว่าผู้ประกอบการเดิม ตลอดจนการดำเนินการด้านตลาดที่ผู้ประกอบการเดิมจะมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทนำเที่ยวหรือนักท่องเที่ยวทีดีกว่าผู้ประกอบการรายใหม่ และขณะเดียวกันในช่วงที่ผ่านมา BOI ให้สิทธิประโยชน์ต่อผู้ลงทุน แต่ปัจจุบันสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้ลดลงไปแล้ว ซึ่งผู้ประกอบการรายใหม่จะเสียเปรียบ ตลอดจนการสร้างโรงแรมใหม่ในทะเลที่ดีก็จะมีอุปสรรคด้านราคาที่ดินที่สูงขึ้นมากในปัจจุบัน

3. อำนาจต่อรองของผู้บริโภค กลุ่มผู้บริโภคของธุรกิจโรงแรมแบ่งพิจารณาได้ 2 กลุ่ม คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาเอง และบริษัทนำเที่ยว แต่การจะวัดความรุนแรงของอำนาจต่อรองของผู้บริโภคจะต้องเป็นการวัดกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายเดียวกัน เพราะระดับโรงแรมที่แตกต่างกันกลุ่มผู้บริโภคย่อมมีโอกาสทางการตลาดและอำนาจซื้อที่ต่างกัน อันเป็นเครื่องกำหนดระดับราคาและคุณภาพของโรงแรมที่ผู้บริโภคจะเลือกพัก ทั้งนี้การตัดสินใจ เพื่อเลือกซื้อกลุ่มสินค้าและบริการของผู้บริโภคย่อมเป็นการตัดสินใจภายใต้ความมีเหตุและผล (RATIONALITY) และระดับรายได้ของกลุ่มผู้บริโภคเอง ความมีเหตุและผลนี้จะนำไปสู่การทดแทนในการบริโภคซึ่งจะพิจารณาต่อไป อำนาจต่อรองของผู้บริโภคขึ้นกับอุปสงค์และอุปทานของห้องพัก จะพบว่าในช่วงที่ธุรกิจท่องเที่ยวของประเทศขยายตัวมากก่อให้เกิดความต้องการส่วนเกินในห้องพักขึ้น ช่วงนั้นอำนาจต่อรองของผู้บริโภคจะต่ำเปรียบเทียบกับปัจจุบันที่อุปทานของห้องพักสูงขณะที่ความต้องการห้องพักต่ำอำนาจต่อรองของผู้บริโภคจะสูง

4. การทดแทนจากบริการอื่นๆ เป็นการทดแทนในการบริโภคอันเป็นผลจากการตัดสินใจภายใต้ระดับเงินรายได้ ความมีเหตุและผลของผู้บริโภค การพิจารณาผลกระทบของการทดแทนในธุรกิจโรงแรมอยู่บนข้อสมมติฐานที่ว่าไม่สามารถหาการทดแทนในการบริโภคได้อย่างสมบูรณ์ เพราะธุรกิจโรงแรมนอกจากการให้บริการด้านห้องพักแล้ว ยังมีบริการด้านจัดเลี้ยงประชุมสัมมนา ห้องอาหาร คอฟฟี่ชอบ และสิ่งอำนวยความสะดวก (FACILITY) ที่โรงแรมมีไว้บริการผู้เข้าพักจึงทำให้ไม่สามารถหาการทดแทนได้ทั้งหมด แต่ถ้าพิจารณาว่าการทดแทนเป็นการทดแทนบางส่วนแล้วก็พอที่จะหาสิ่งทดแทนได้ เหตุผลหนึ่งของการทดแทนของผู้บริโภคคือเมื่อระดับราคาห้องพักเปลี่ยนไป ผู้บริโภคที่มีงบประมาณจำกัดก็จะต้องหาการทดแทนโดยการเปลี่ยนแปลงระดับโรงแรมที่จะเข้าพักให้เพียงพอกับวงเงิน ทั้งนี้การทดแทนในการบริโภคจะมากหรือน้อยจึงขึ้นกับปัจจัยด้านระดับรายได้ของผู้บริโภคด้วย

5. อำนาจต่อรองของ SUPPLIER ในธุรกิจโรงแรม จากลักษณะพื้นฐานทางธุรกิจของโรงแรมที่จะเป็นการขายบริการด้านห้องพักเป็นหลัก โดยรายได้จากห้องพักจะเป็นแหล่งรายได้หลักประมาณ 53% และรายได้จากบริการอาหารและเครื่องดื่มประมาณ 41% ดังนั้นการพิจารณาอำนาจต่อรองของ SUPPLIER จึงแยกพิจารณาเป็น 2 กรณี

5.1 ธุรกิจบริการโดยทั่วไปแล้วจะมีโครงสร้างการใช้ปัจจัยผลิตที่เป็นปัจจัยแรงงานในสัดส่วนที่สูงกว่าปัจจัยอื่น โดยเปรียบเทียบการขยายตัวของธุรกิจโรงแรมที่ผ่านมาโดยขาดการเตรียมพร้อมด้านแรงงาน ส่งผลให้เกิดภาวะการขาดแคลนแรงงานที่มีคุณภาพและประสบการณ์ความต้องการแรงงานที่สูง เป็นการสร้างอำนาจต่อรองให้แก่แรงงานที่มีน้อยกว่าความต้องการเองจะพบว่าอัตราการเปลี่ยนงานของแรงงานในธุรกิจโรงแรมที่ผ่านมาจะอยู่ในอัตราที่สูง เกิดการซื้อตัวบุคลากรที่มีคุณภาพและประสบการณ์ขึ้น และยังไม่เป็นการเพียงพอจึงต้องยอมใช้แรงงานที่ไม่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ภาวะธุรกิจโรงแรมในปัจจุบันที่ซบเซาทำให้ความต้องการแรงงานลดลงและแรงงานที่มีอยู่ก็เกินความต้องการ สิ่งนี้เป็นการลดอำนาจต่อรองของแรงงานลง และธุรกิจโรงแรมก็ต้องคงอัตราแรงงานไว้เพราะถ้าภาวะธุรกิจโรงแรมกลับสู่ภาวะปกติแล้วความต้องการใช้แรงงานก็จะพอดีกับจำนวนแรงงานที่มีอยู่

5.2 ความต้องการใช้วัตถุดิบประเภทอาหารและเครื่องดื่มของธุรกิจโรงแรมขึ้นกับจำนวนผู้เข้าพักและผู้ใช้บริการ ปัจจุบันจำนวนผู้เข้าพักลดลงย่อมกระทบต่อรายได้ของโรงแรมเป็นอย่างมาก การทดแทนรายได้ที่ลดลงนี้ก็โดยการพยายามเพิ่มรายได้จากด้านอาหาร การจัดเลี้ยงและด้านอื่น ทำให้ความต้องการใช้วัตถุดิบด้านนี้เพิ่มขึ้นแต่อำนาจต่อรองของ SUPPLIER ประเภทนี้จะมีอยู่น้อยเพราะธุรกิจด้านวัตถุดิบอาหารและเครื่องดื่มมีภาวะการแข่งขันที่สูงอยู่แล้วจึงเป็นการลดอำนาจต่อรองของ SUPPLIER กับธุรกิจโรงแรมลง

แนวโน้มธุรกิจโรงแรม

ภาวะธุรกิจโรงแรมที่ซบเซาในปัจจุบันไม่ได้เป็นเครื่องชี้อนาคตของธุรกิจนี้ หากแต่เป็นผลของการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งคงเป็นเพียงผลกระทบในระยะสั้นเท่านั้น การประกอบธุรกิจโรงแรมในช่วงนี้จึงเป็นการประกอบการเพื่อให้คุ้มกับต้นทุน ดำเนินงานด้านต่างๆ เพราะโรงแรมแต่ละแห่งมีอัตราการเข้าพักอยู่ในระดับที่ต่ำ การพยายามชดเชยรายได้ของแต่ละโรงแรมด้วยรายได้จากการขายอาหารและเครื่องดื่ม การจัดเลี้ยง ประชุมและสัมมนา หรือบริการด้านอื่นของโรงแรมตลอดจนการจัด PACKAGE TOUR เหล่านี้นำมาซึ่งภาวะการแข่งขันในธุรกิจนี้

การที่พิจารณาว่าเป็นผลกระทบในระยะสั้นเพราะเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศและอยู่นอกฤดูการท่องเที่ยว แต่ผลในระยะยาวธุรกิจโรงแรมยังคงให้ผลตอบแทนที่ดีต่อผู้ประกอบการ ในแผนพัฒนาฉบับที่ 7 ได้กำหนดว่าธุรกิจท่องเที่ยวจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีละ 100,000 ล้านคนในปี 2535 เป็น 188,700 ล้านคนในสิ้นปี 2539 นักท่องเที่ยวจะเข้าประเทศไทยจากปีละ 5 ล้านคนในปี 2535 เป็น 6.8 ล้านคนในปีถ้าภาพพจน์การท่องเที่ยวของประเทศด้านต่างๆ ได้รับการแก้ไขและการให้ความสนใจอย่างจริงจังต่อการอนุรักษ์ และพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวขณะเดียวกันการลงทุนในธุรกิจโรงแรมก็ยังคงทำได้แต่คงอยู่ในบางพื้นที่ที่ยังคงมีความต้องการห้องพักอยู่ เช่น ภูเก็ต สมุย เชียงใหม่ ชะอำ เป็นต้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us