Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2535
"นาคา ชิปปิ้ง ไลน์ โค"             
 

   
related stories

"เมื่อเวียดนามเปิดตลาดชิปปิ้ง"

   
search resources

นาคา ชิปปิ้ง ไลน์ โค
อีเอซี ทรานสปอร์ต
นาวิเทรด
เฮียบ โฮ ชิปปิ้ง
ไลน์ ฟาสต์
เควิน วิตคราฟต์
ทอร์เบน ฮาสเซลริส
ปีเตอร์ เคเอช อึ้ง
เอลวิน กัว
Transportation




ตั้งแต่สิ้นปีที่แล้วนาคา ชิปปิ้ง ไลน์ โค ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพฯ ได้เปิดเส้นทางเดินเรือสินค้าระหว่างกรุงเทพฯ กับพนมเปญ โดยใช้เรือ 2 ลำ ออกตลอดเวลา และเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาก็เพิ่มเส้นทางไปสีหนุวิลล์ (กัมปงโสม) ด้วย โดยเรือที่ใช้ผลิตในนอร์เวย์ส่วนลูกเรือนั้นเป็นชาวไทยและพม่า

บริษัทชิปปิ้งของไทยเจ้านี้มีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาทและมีสตาฟฟ์ทำงาน 50 คน ให้บริการเช่าเหมาลำสำหรับการขนส่งสินค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะระหว่างสิงคโปร์กับเวียดนาม และมีแผนจะเปิดบริการขนส่งทางเรือตามปกติระหว่างกรุงเทพฯ กับเวียดนามด้วย

แต่ปัญหาหนึ่งซึ่ง เควิน วิตคราฟต์ กรรมการผู้จัดการของบริษัทกังวลอยู่ในขณะนี้คือ การสร้างทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ และพนมเปญ เพราะหากทางสายนี้เปิดใช้เมื่อไหร่ การขนส่งทางบกจะมีมากกว่าเพราะท่าเรือพนมเปญยังไม่พัฒนาเท่าใดนัก

เควินชี้ว่า "การดำเนินงานในท่าเรือพนาเปญที่ยังไม่สามารถยกระดับขึ้นมาได้นั้นทำให้บริษัทที่เป็นเจ้าของเรือทั้งหลายเสียค่าใช้จ่ายไปโดยไม่จำเป็น เพราะการที่เรือไม่สามารถออกได้เนื่องจากสินค้าไม่เต็มบริษัทก็ต้องจ่ายค่าแรงกับลูกเรือ, ค่าบำรุงรักษาเรือ และยังค่าเชื้อเพลิงอีก"

เขายังเพิ่มเติมด้วยว่า ครึ่งหนึ่งของสินค้าในคลังที่ส่งไปลงที่พนมเปญนั้นเป็นสินค้าสำหรับกองกำลังของสหประชาชาติ ที่เหลือเป็นสินค้าพาณิชย์

ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมามีสินค้ามือสองประเภทเครื่องใช้ในโรงงานส่งจากประเทศไทยไปให้กับร้านค้าส่ง และโรงงานของชาวจีนในพนมเปญรวมทั้งนักลงทุนชาวไทยที่นั่นเป็นจำนวนมาก

วิตคราฟต์ยังเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง "โอเรียนเอ็กซ์เพรส ไลน์" ร่วมกับอุดม ตันติประสงค์ชัย และถือหุ้น 35% ในบริษัทด้วย พ่อของเขาคือ มาร์ค วิตคราฟต์ เป็นเจ้าของ "อาร์เอ็ม เอเชีย คอนซัลแตนต์" ธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการส่งออกและการตลาดในภูมิภาคเอเชียและได้ทำสัญญากับไครส์เลอร์ คอร์ปแห่งอเมริกาเพื่อจัดจำหน่าย "ไครส์เลอร์ จี๊ป" ในกัมพูชาด้วย

อีเอซี ทรานสปอร์ต

อีเอซี ทรานสปอร์ตซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอีเอซี กลุ่มธุรกิจชิปปิ้งและอุตสาหกรรมของเดนมาร์กเข้าไปเปิดสาขาในเวียดนามเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา และเข้าไปในกัมพูชาในปี 1991

ทอร์เบน ฮาสเซลริส ตัวแทนของบริษัทในพนมเปญเผยว่า "เราเชื่อว่าธุรกิจขนส่งสินค้าด้วยคอนเทนเนอร์ที่นี่จะไปได้ด้วยดี เพราะท่าเรือที่สามารถขนคอนเทนเนอร์ขึ้นได้ในปริมาณมากที่สุดคือสีหนุวิลล์ (กัมปงโสม) ซึ่งจะคิดค่าธรรมเนียมกับสินค้าที่เกิน 500 ตันในแต่ละวัน อัตรานี้มากกว่าท่าเรือพนมเปญถึงสองเท่าแต่กระนั้นก็ยังเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของท่าเรือนานาชาติอื่นๆ"

อีเอซี ทรานสปอร์ตให้บริการขนส่งด้วยคอนเทนเนอร์ระหว่างสิงคโปร์และสีหนุวิลล์ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บริษัททำหน้าที่บรรทุกคอนเทนเนอร์จากสิงคโปร์ไปที่กัมปงโสม และรับหน้าที่ขนส่งทางบกอีก 240 กิโลเมตร ไปที่พนมเปญ เส้นทางในพนมเปญส่วนใหญ่ได้รับการซ่อมแซมมากแล้ว จะมีปัญหาก็คือความปลอดภัยและกระบวนการด้านศุลกากรที่เป็นปัญหาในการทำธุรกิจ เพราะต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนมาก

นาวิเทรด

ปีเตอร์ เคเอช อึ้ง เจ้าของและกรรมการผู้จัดการของ "นาวิเทรด" ธุรกิจชิปปิ้งและการค้าสิงคโปร์ที่เข้าไปดำเนินกิจการในกัมพูชาเมื่อปี 1978 เป็นผู้หนึ่งที่บอกความแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจชิปปิ้งในกัมพูชาในปัจจุบันกับเมื่อ 14 ปีก่อนได้เป็นอย่างดี เพราะเขาเคยทำธุรกิจในสถานการณ์ทางการเมืองทั้งสองแบบมากแล้ว

ความจริงนาวิเทรดไม่มีเรือขนส่งเป็นของตัวเองแล้วในปัจจุบัน เพราะเรือ 3 ลำที่เคยใช้บุกเบิกเส้นทางในบังคลาเทศเมื่อปี 1975 นั้นบริษัทได้ขายไปแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่า "ธุรกิจชิปปิ้งนั้นจะดีเมื่อเวลาได้บุกเบิกเส้นทางใหม่ๆ แต่เมื่อการแข่งขันเพิ่มขึ้นจนกระทั่งไม่สามารถทำกำไรได้เราก็ต้องขายเรือไป แต่ยังเหลือการค้าในพนมเปญ" เป็นธุรกิจหลักอยู่

ทุกวันนี้ สินค้าที่นาวิเทรดขนส่งเข้าไปที่กัมพูชามีโมโนโซเดียมกลูตาเม (200-300 ตันต่อเดือน), เบียร์, มอเตอร์ไซด์ใช้แล้ว และรถยนต์ทั้งใหม่และเก่า นอกจากทำธุรกิจชิปปิ้งแล้วบริษัทยังทำธุรกิจเก็งกำไรที่ดินด้วย อึ้งเผยว่า "ถ้าหากรัฐบาลสิงคโปร์อนุญาตให้เราเข้ามาลงทุนในกัมพูชาได้เมื่อไรเราต้องทำเงินจากเรียลเอสเตสได้มากแน่ๆ"

อึ้งก่อตั้งนาวิเทรดขึ้นเมื่อปี 1975 ปัจจุบันธุรกิจของเขาประกอบด้วย "นาวิเทรด", "นาวิเทรด ชิปปิ้ง", "นาวิเทรด พรอเพอร์ตี้ส" และ "เพาเวอร์ ชิปปิ้ง"

เฮียบ โฮ ชิปปิ้ง

"เฮียบ โฮ ชิปปิ้ง" เป็นบริษัทเดินเรือแบบดั้งเดิมที่ใหญ่ที่สุดที่เข้าไปประกอบการในพนมเปญ ปีหนึ่งๆ บริษัทเดินเรือประมาณ 100 เที่ยว เฮียบ โฮ เปิดกิจการชิปปิ้งในกัมพูชาเป็นครั้งแรกในปี 1984 และค้าขายกับประเทศนี้ในปี 1989 เป็นต้นมา

สินค้าที่ขายก็คือรถจักรยานยนต์, รถยนต์, เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์และเบียร์ แต่ในการขนส่งสินค้าไปที่กัมพูชามักไม่มีสินค้าขากลับติดเรือออกมา

ฉะนั้นบริษัทจึงได้ทำสัญญากับรัฐบาลของกัมพูชาเพื่อตกลงกันว่าเรือของบริษัทจะมีสินค้าประเภทยางดิบติดมาด้วยในเที่ยวขากลับเป็นเวลา 6 เดือน

เอลวิน กัว หนึ่งในเจ้าของบริษัทเปิดเผยว่า "เราไม่ได้เปิดเส้นทางอื่นอีกนอกจากกัมพูชา เพราะธุรกิจในเส้นทางสิงคโปร์ พนมเปญนั้นก็มีมากพออยู่แล้ว เมื่อ 4 ปีก่อนเราก็เลิกเส้นทางเดินเรือไปกรุงเทพฯ และเมื่อปีที่แล้วก็ยกเลิกเส้นทางไปกัมปงโสมเพราะเราขาดทุนทุกเที่ยว เรือขนส่งขนาดเล็กไม่เหมาะกับท่าเรือที่กัมปงโสม และที่นั่นยังมีปัญหาการเก็บค่าธรรมเนียมที่ตลกๆ ด้วย"

อย่างไรก็ตาม เฮียบ โฮ ก็ได้ทำสัญญาร่วมทุนเพื่อดำเนินกิจารท่าเรือกัมปงโสมกับธุรกิจของสิงคโปร์ 2 แห่งคือ "เพรซิเดนท์ มารีน" (ถือหุ้น 50%) และ 'เวสต์ โคสต์ ซึ่งถือหุ้น 30% และเฮียบ โฮถือหุ้น 20% ที่เหลือธุรกิจแห่งใหม่นี้ก่อตั้งขึ้นในนาม "กัมโสม" ซึ่งจะทำหน้าที่บริหารการดำเนินงานที่ท่าเรือ, จัดหาเครื่องอำนวยความสะดวกและเครื่องมือที่ใช้ในการท่าเรือ

นอกจากนั้นเฮียบ โฮยังได้ตั้งบริษัทร่วมทุนในพนมเปญกับ 'สิงคโปร์ เทคโนโลยี'

ธุรกิจของรัฐเพื่อทำธุรกิจขนส่งทางอากาศด้วย ธุรกิจใหม่นี้คือ "เอแพค" ได้เริ่มขนส่งสินค้าจากสิงคโปร์แล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม โดยเครื่องบินขนส่งแต่ละเครื่องจุสินค้าได้มากกว่า 28 ตันขึ้นไป ซึ่งกัวกล่าวว่า "เราได้สิทธิในการลงจอดที่สนามบินพนมเปญเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว การร่วมทุนครั้งนี้เป็นเพราะสิงคโปร์ เทคโนโลยีเองก็ไม่มีทางเลือกอื่น เราเป็นผู้บุกเบิกของที่นั่นและยังมีสายสัมพันธ์ที่ดีอยู่แล้วด้วย"

ออง ชู ซูน เจ้าของไลน์ ฟาสต์

"การขนส่งทางเรือแบบดั้งเดิมยังมีเวลาอีก 5 ปี"

ไลน์ ฟาสต์ บริษัทขนส่งสินค้าของสิงคโปร์ตั้งขึ้นโดย ออง ชู ซูน เมื่อ 15 ปีก่อนด้วยทุนจดทะเบียน 300,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ และอองถือหุ้นคนเดียว

ไลน์ ฟาสต์มีเรือขนส่ง 7 ลำ ในจำนวนนี้มี 5 ลำที่ขนส่งสินค้าไปพนมเปญเดือนละ 6 ครั้ง ลำหนึ่งไปที่สีหนุวิลล์และอีกลำไปที่วุงเตา ลูกค้ารายใหญ่ของบริษัทคือ "เนวิเทรด" และ "โยชินา มอเตอร์ไซเคิล อิมปอร์ต แอนด์ เอ็กซ์ปอร์ต"

อองในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจเดินเรือขนส่งได้ให้ข้อแนะนำที่น่าสนใจเกี่ยวกับธุรกิจชิปปิ้งในอินโดจีน อาทิ

การลงทุนด้านชิปปิ้ง ต้องใช้ทุนสูงและความเสี่ยงก็สูงด้วย แต่ละปีจะต้องเสียค่าเสื่อมสภาพของเครื่องไม้เครื่องมือไปมากกว่า 10% ค่าบำรุงรักษาก็แพง ตามปกติแล้วจะถอนทุนคืนได้ต้องใช้เวลา 5 ปี

ค่าระวาง ยังอยู่ในระดับดี เช่น ค่าระวาง 400 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับคอนเทนเนอร์ขนาด 24 ฟุตจากสิงคโปร์ไปโฮจิมินห์นั้นเป็นอัตราที่พอประมาณกับเส้นทางอื่นๆ อย่างสิงคโปร์-จาการ์ตา

แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าเรือจากสิงคโปร์ที่เข้าไปส่งสินค้าในกัมพูชาและเวียดนามมักไม่มีสินค้าเที่ยวขากลับที่มากพอติดออกมา ซึ่งทำให้เราเสียประโยชน์ แต่เราก็ได้แก้ปัญหาด้วยการขอพิจารณาค่าระวางใหม่ที่จะคุ้มกับการตีเรือเปล่าออกมา

เที่ยวเรือขากลับ เป็นเที่ยวที่ไม่ทำกำไรมากนักเพราะเครื่องมืออำนวยความสะดวกที่ท่าเรือพนมเปญยังไม่ดีพอ การขนสินค้าก็ช้า เราต้องเสียเวลารอประมาณ 4-5 วันในการขนสินค้า 1,000 ตันขึ้นเรือขณะที่ใช้เวลาเพียงวันเดียวหากขนที่ท่าเรือในสิงคโปร์ แต่เราก็ยังต้องให้บริการตรงนี้กับลูกค้าเพราะลูกค้าส่วนใหญ่ยังเป็นพ่อค้าแบบบาร์เตอร์

แม่น้ำโขง ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงธันวาคมนั้นสามารถนำเรือที่กินน้ำลึก 5 เมตรเข้าไปส่งของถึงพนมเปญได้ แต่ไม่มีเวลาบริการที่แน่นอนในการขนส่งสินค้าจากสิงคโปร์ไปที่พนมเปญ ส่วนเดือนอื่นๆ นั้นเหมาะสำหรับใช้เรือคอนเทนเนอร์ที่กินน้ำลึก 4 เมตรมากกว่า

เรือคอนเทนเนอร์ สร้างมาด้วยจุดประสงค ์เพื่อให้ขนส่งสินค้าจำนวนมากที่สุดได้ในเวลาสั้นที่สุด แต่เที่ยวเรือไปกลับระหว่างสิงคโปร์กับพนมเปญเที่ยวหนึ่งใช้เวลา 20-24 วัน และเรือขนส่งกินน้ำลึก 4 เมตร บรรจุสินค้าได้เต็มที่ 100-150 ทีอียู และในระยะทางเท่านี้ควรใช้เวลา 1 อาทิตย์ แต่ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันต้องใช้เวลาถึง 3 อาทิตย์ ซึ่งถ้ายังไม่สามารถขนส่งสินค้าหนึ่งเที่ยวได้ในเวลา 10-14 วันก็จะไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย และการใช้คอนเทนเนอร์เพื่อขนส่งสินค้าคุณค่าต่ำก็ไม่คุ้มอีกด้วย

อนาคตของธุรกิจขนส่งแบบดั้งเดิม ยังไม่จบลงทีเดียว เพราะแม้ท่าเรือทุกแห่งในอินโดจีนจะพัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือ เพื่อให้เหมาะกับการขนส่งด้วยคอนเทนเนอร์แต่เครื่องมืออำนวยความสะดวกเหล่านี้นก็ยังไม่พร้อม และยังมีอุปสรรคในการเดินเรือเข้าไปในภูมิภาคอีก ฉะนั้นการขนส่งแบบดั้งเดิมก็ยังจำเป็นอยู่ อย่างน้อยก็ในช่วงปีข้างหน้านี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us