Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2535
"การรอคอยและการติดสนบนในพนมเปญ"             
 

   
related stories

"เมื่อเวียดนามเปิดตลาดชิปปิ้ง"
"กำไรงามยังรอข้างหน้า"
"ทำธุรกิจชิปปิ้งต้องมีศิลปะ"

   
search resources

Transportation
Cambodia




กัปตันเซซิลิโอ ประจำเรือ "ฮานา" ไม่สู้จะมีความสุขมากนัก เพราะเรือของเขาจอดเทียบอยู่ที่ท่าเรือพนมเปญตั้งแต่เวลา 10.30 น. แต่เมื่อล่วงถึง 11.00 น. เขาก็ยังไม่เห็นวี่แววว่าเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคาร์โก้จะมาเมื่อใด นี่เท่ากับว่าเขาจะต้องรอคอยไปอีก 3 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อยเนื่องจากช่วง 11.00-14.00 น. นั้นเป็นเวลาพักกลางวันของราชการ "เท่ากับเสียเวลาไปเกือบวันเลย" กัปตันเรือชาวฟิลิปปินส์บ่นพึมพำ

เซซิลิโอได้เป็นกัปตันเรือเมื่อเข้าสู่วัยปลายสามสิบ โดยเริ่มตั้งแต่ปี 1983 และเมื่อถึงปี 1987 เขาก็เช่าเหมาเรือบรรทุกสินค้าวิ่งขึ้นล่องระหว่างสิงคโปร์กับพนมเปญจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนับรวมได้กว่าเที่ยวทีเดียว

เรือ "ฮานา" นี้มีอายุได้ 11 ปีแล้ว ต่อขึ้นที่ญี่ปุ่นมีลูกเรือเป็นชายเอเชียรวม 10 คน สำหรับเซซิลิโอแล้ว เรือลำนี้เปรียบได้กับบ้านของเขาทีเดียว แม้ว่า "ครอบครัว" ของเขาคือภรรยาและลูกชายอีก 2 คนอยู่ที่เซบู ในฟิลิปปินส์ และคอยรับค่าใช้จ่ายราวเดือนละ 1,400 ดอลลาร์ โดยที่หากมีโอกาสพบหน้ากันสักปีละหนก็นับได้ว่าเป็นโชคแล้ว

นอกจากเรือ "ฮานา" แล้ว ริมทะเลสาบเขมรยังมีเรืออีกสามหรือสี่ลำที่จอดเทียบท่าอยู่ หนึ่งในจำนวนนั้นก็คือเรือบรรทุกสินค้า "แม่โขง เอ็กซเพรส" ซึ่งมีขนาดใหญ่โตจนทำให้เรือ "ฮานา" ดูเล็กไปถนัดทีเดียว

"แม่โขง เอ็กซเพรส" ต่อขึ้นที่ฮ่องกง เป็นเรือของ "THAI PORE ENTERPRISE" บริษัทการค้าจดทะเบียนในตลาดสิงคโปร์ มีลูกเรือทั้งหมด 21 คน เป็นชาวอินโดนีเซีย ศรีลังกาและพม่า กัปตันเรือคือราชมานเป็นชาวเมืองสุลาเวซีในมาเลเซีย

ราชมาน เฝ้ารอวันที่เรือของเขาจะมีสินค้าบรรทุกเต็มลำ เพื่อจะได้เดินทางไปพนมเปญและพบกับภรรยาชาวเวียดนามกับลูกที่พำนักอยู่ย่านชานเมือง

ราชมานกำลังหาทางพาครอบครัวของเขากลับไปอยู่ที่อินโดนีเซียด้วยกัน แต่ยังติดปัญหาที่ภรรยาของเขาไม่มีเอกสารประจำตัวใดๆ เลย

กระนั้น สิ่งที่น่าทึ่งสำหรับราชมานก็คือ เพียงชั่วระยะเวลา 6 เดือนที่เขาเป็นกัปตันเดินเรือบรรทุกสินค้า ปรากฏว่าเขามีรายได้ถึงเดือนละ 930 ดอลลาร์เป็นอย่างต่ำ

ในขณะที่กัปตันเรือทั้งสองเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตและการทำงานอยู่นั้น ธุรกิจชิปปิ้งในเส้นทางระหว่างพนมเปญและสิงคโปร์ก็ยังคงดำเนินต่อไป โดยแต่ละเที่ยวนั้นจะกินระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์

ทว่ายังไม่มีผู้ใดคาดได้ว่าธุรกิจแขนงนี้ต้องใช้เวลาอีกยาวนานเท่าใดกว่าที่จะลงหลักปักฐานในกัมพูชาได ้เพราะผู้ประกอบการจะต้องมีความอดทนอย่างสูง และต้องฝ่าฟันกับปัญหาคอร์รัปชันที่เรื้อรังมานาน

ข้อยุ่งยากประการหนึ่งก็คือ ก่อนที่เรือบรรทุกสินค้าจะเข้าเทียบท่าได้นั้น เจ้าหน้าที่ประจำเรือจะต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ชิปปิ้งของทั้งเวียดนาม และกัมพูชาเพื่อขออนุญาตผ่านน่านน้ำและต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าทั้งหมดในเรือรวมทั้งชื่อของบริษัทในท้องถิ่นที่จะติดต่อด้วย ซึ่งเท่ากับเปิดช่องให้พวกโจรสลัดล่วงรู้ข้อมูล และเข้าปล้นชิงสินค้าจากเรือได้ง่ายเข้า

แม้เมื่อเรือเตรียมจะเข้าจอดเทียบท่า ก็ยังต้องเสียเวลารอคอยเจ้าหน้าที่นำร่องของกัมพูชาซึ่งมีอยู่ทั้งหมดเพียง 5 คนเท่านั้น

วันใดที่เรือเข้าเทียบท่าพร้อมกัน 5 ลำ ก็หมายความว่าอาจต้องเสียเวลารอคอยเจ้าหน้าที่สองวันหรือมากกว่านั้นยังไม่นับรวมค่าธรรมเนียมการนำร่องที่สูงถึง 50 ดอลลาร์และค่าตอบแทนในรูปบุหรี่กับเบียร์สำหรับเจ้าหน้าที่นำร่อง ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ศุลกากรอีกต่างหาก

ครั้นเรือเข้าเทียบท่าที่พนมเปญได้แล้ว จะต้องมีการตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับการเดินทางและที่พักอีกต่างหาก "ปกติจะเสียเวลาราวสองหรือสามวัน แล้วแต่ระเบียบของทางการ แต่ถ้าสินค้าในเรือเป็นข้าวหรือความช่วยเหลือจากต่างชาติก็อาจจะไม่ต้องเสียเวลาเลย" แฮง แฮรี่ ผู้จัดการส่วนปฏิบัติการและชิปปิ้งของ "KAMPUCHEA SHIPPING AGENCY & BROKERS" หรือ KAMSAB ให้ความเห็น

กระนั้นเรือบรรทุกสินค้าลำใดที่ต้องการจะ "ลัดคิว" ก็ย่อมกระทำได้ หากยอมจ่ายเงินใต้โต๊ะให้กับผู้คุมท่า และทำเรื่องแจ้งว่าเรือเกิดรั่ว และจำเป็นต้องซ่อมแซมโดยด่วน

และที่แย่กว่านั้นก็คือ เมื่อมีบริษัทชิปปิ้งหน้าใหม่ต้องการเข้าสู่พนมเปญมากขึ้น ต่างก็ยอมจ่ายเงินในส่วนนี้ในสัดส่วนที่สูงขึ้น ทำให้เป็นปัญหาหนักหน่วงขึ้นทุกวัน

ส่วนการดำเนินการในขั้นตอนหลังจากที่เรือเข้าจอดเทียบท่าแล้วนั้น กัปตันเรือและเจ้าหน้าที่ของบริษัทชิปปิ้งจะต้องติดต่อกับหน่วยงานของทางการสองระดับด้วยกันคือ KAMSAB การท่าเรือแห่งพนมเปญ

KAMSAB นั้นก่อตั้งเมื่อปี 1979 มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการขนส่งและการสื่อสาร ทำหน้าที่ดูแลงานด้านเอกสารและคิดค่าบริการราว 1,000 ดอลลาร์ต่อเรือหนึ่งลำ

ส่วนการท่าเรือแห่งพนมเปญมีหน้าที่หลักเกี่ยวกับการขนถ่ายสินค้าขึ้น-ลงจากคาร์โก้ ซึ่งโดยปกติต้องเสียค่าธรรมเนียม 6 ดอลลาร์ต่อสินค้า 1 ตัน อีกทั้งยังควบคุมดูแลในส่วนของกรรมกรขนถ่ายสินค้า รถบรรทุกสินค้าภายในท่าและคลังสินค้า และรวมถึงเจ้าหน้าที่นำร่องเรือด้วย

อุปสรรคที่ทำให้เกิดความล่าช้าในการขนถ่ายสินค้าในจุดนี้ก็คือ การขาดแคลนอุปกรณ์ที่ทันสมัยและพื้นที่จัดเก็บสินค้า นอกจากนั้นปัญหาที่ยุ่งยากมากที่สุดก็คือ ก่อนที่จะนำสินค้าออกจากคาร์โก้ได้นั้น จะต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบและลงนามร่วมจากคณะกรรมการ 4 คนคือ กัปตันเรือ ตัวแทนจาก KAMSAB เจ้าหน้าที่ศุลกากรและเจ้าหน้าที่ของการท่าเรือพนมเปญ โดยรายงานที่คณะกรรมการลงนามร่วมกันนี้จะเป็นหลักฐานสำคัญในการเรียกร้องค่าเสียหายกรณีที่สินค้าเสียหาย ซึ่งยังไม่นับรวมถึงปัญหาจากการที่กรรมกรขนสินค้าถูกกดค่าแรง จนบางส่วนจ้องหาช่องทางลักขโมยสินค้าออกไปขายเพื่อหารายได้เสริมให้กับตนเอง

นอกจากนั้นค่าใช้จ่ายในส่วนของภาษีนำเข้าสินค้าและการขนย้ายสินค้าจากคลังสินค้าแห่งหนึ่งไปอีกแห่งหนึ่งก็ยังไม่มีความแน่นอน หากอยู่ที่ชั้นเชิงในการเจรจาต่อรอง

ทั้งนี้เพราะเจ้าหน้าที่ศุลกากรนั้นจะมีรายชื่อสินค้าอยู่ชุดหนึ่ง และมักคำนวณภาษีจากฐานราคาที่ซื้อขายกันภายในประเทศเป็นเงินเรียล

หากสินค้าไม่ได้อยู่ในบัญชีรายการชุดนี้แล้ว ก็เป็นเรื่องของการตกลงกันเอง สำหรับผู้ที่อยู่ในวงการมาก่อนย่อมรู้ช่องทางในการตกลงราคาได้ง่ายขึ้น ขณะที่นักธุรกิจหน้าใหม่ก็เสี่ยงต่อการถูกโก่งราคาเช่นกัน

อย่างไรก็ตามปัญหายุ่งยากเหล่านี้กำลังได้รับความสนใจและน่าจะได้รับการแก้ไขมากขึ้น โดยเฉพาะในระยะที่เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารงานชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชา (UNTAC) เข้าไปพบปัญหาดังกล่าวในกัมพูชา และเรียกร้องให้ทางการดำเนินการแก้ไข รวมทั้งจัดระบบให้เข้ามาตรฐานสากลโดยเร็ว อีกทั้งผู้เชี่ยวชาญจากสหประชาชาติที่จะเดินทางถึงกัมพูชาในเดือนกันยายนนี้ ก็ยังเตรียมให้คำแนะนำเกี่ยวกับกลไกการประเมินทางศุลกากร รวมทั้งในส่วนการจัดเก็บภาษีกับงานเอกสารต่างๆ เช่น ใบแจ้งราคาสินค้าด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us