Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 พฤศจิกายน 2550
น้ำมัน-ศก.ตัวแปรดันค่าก่อสร้างขึ้นคาดปี51ไม่ต่ำ10%             
 


   
search resources

Real Estate
Construction




มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินระบุค่าก่อสร้างปรับขึ้นเกือบ 88% นับจากปี 39 ส่วนปี 47 บูมสุดราคาก่อสร้างปรับขึ้นถึง 11.9% ขณะที่ปี 2550 มีการปรับขึ้นแค่ 4% เท่านั้น เหตุค่าแรงไม่ขึ้นสินค้าขายไม่ดี ส่วนปี 2551คาดว่าค่าก่อสร้างขึ้นอีก 10% เพราะเศรษฐกิจไม่ดี พร้อมระบุราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่สูงที่สุดอยู่ที่สยามพารากอน ตารางวาละ 7 แสนบาท ส่วนที่ดินเปล่าแชมป์ยังเป็นทีดินสถานทูตอังกฤษที่ซื้อไปวาละ 9.5 แสนบาท ด้านศูนย์ข้อมูลฯระบุ 9 เดือนแรกยอดออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั้งโครงการ-จำนวนหน่วยเทียบช่วงเดียวกันของปี 49 ทรงตัว กรุงเทพฯหนาแน่น 21%

นายโสภณ พรโชคชัย ประธานมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินไทย เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงราคาค่าก่อสร้างอาคารตั้งแต่ พ.ศ.2539-2550 พบว่านับ จากปี 2539 จนถึงปัจจุบันราคาค่าก่อสร้างอาคารประเภทต่าง ๆ ได้แก่ บ้านเดี่ยว 2-3 ชั้น ปรับขึ้น 88% หรือราคา 10,500 บาท/ตร.ม.เพิ่มขึ้นจากปี 2549 จำนวน 4% ส่วนทาวน์เฮาส์ 2-3 ชั้น หน้ากว้าง 4 เมตร ราคาค่าก่อสร้าง ในปี 2550 จำนวน 8,000 บาท/ตร.ม. เพิ่มขึ้น 82% จากปี 2539 และเพิ่มขึ้น 3.9% จากปี 2549 และอาคารพักอาศัย 6-15 ชั้น ราคาค่าก่อสร้าง 14,800 บาท/ตร.ม. มีการปรับ 85% จากปี 2539 และเพิ่มขึ้น 3.5% เมื่อเทียบกับปี 2549

สำหรับปี 2550 ค่าก่อสร้างโดยเฉลี่ยมีการปรับเพิ่มจากปี 2549 ประมาณ 4% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราค่อนข้างต่ำ แม้ว่าราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่ม แต่ค่าก่อสร้างไม่ได้ปรับไปมาก เนื่องจากค่าแรงซึ่งถือเป็น 30% ของต้นทุนการก่อสร้าง ไม่ได้มีการปรับขึ้น ขณะเดียวกันภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดีรวมถึงการแข่งขันในธุรกิจก่อสร้างเองทำให้ค่าก่อสร้างปรับขึ้นไม่มากนัก

อย่างไรก็ตามในช่วงก่อนหน้านี้ได้มีผู้ประกอบการได้ปรับขึ้นราคาค่าก่อสร้างไปแล้วโดยอ้างเหตุผลการของวัสดุขึ้นราคา ทั้งนี้ค่าก่อสร้างที่มีการปรับขึ้นมากที่สุดคือช่วงปี 2547 ที่ปรับขึ้นทีเดียว 11.9% ซึ่งสาเหตุมาจากภาคเศรษฐกิจที่เติบโตดี และการซื้อขายก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์เกิดขึ้นจำนวนมาก

ทั้งนี้ค่าก่อสร้างในช่วง 3 ปี หลังคือ 2548- 2550 มีการปรับเพิ่มค่อนข้างน้อย โดยในปี 2550 พบว่า วัสดุก่อสร้างขึ้นราคาเฉลี่ยมากกว่าค่าก่อสร้าง แต่ค่าก่อสร้างก็ไม่ได้ปรับขึ้นไปมากนัก เพราะค่าแรงไม่ค่อยขึ้น ทำให้ค่าก่อสร้างโดยรวมขึ้นไม่มาก ส่วนปีหน้านั้นหากเศรษฐกิจไม่ดี ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องคาดว่าจะทำให้ค่าก่อสร้างปรับเพิ่มขึ้นอีก 10%

นายโสภณกล่าวว่า ปัจจุบันค่าก่อสร้างคิดเป็นมูลค่าประมาณ 20-30% ของต้นทุนการก่อสร้างทั้งหมดส่วนที่เหลือจะมาจากต้นทุนที่ดิน เพราะต้นทุนที่ดินนั้นคิดเป็น 2 ใน 3 ของมูลค่าของบ้าน ทั้งนี้ในเขตกทม.พบว่าราคาสิ่งปลูกสร้างพร้อมที่ดินที่มีราคาเฉลี่ยสูงที่สุดคือที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน ซึ่งมีราคาอยู่ที่ 7 แสนบาทต่อตารางวา ขณะที่ปีที่

ผ่านมาราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 6.4 แสนบาทต่อตารางวา ส่วนที่ดินเปล่าที่ราคาซื้อขายหรือราคาสูงสุดยังคงเป็นที่ดินบริเวณสถานทูตอังกฤษที่มีการขายที่ตารางวาละ 9.5 แสนบาทต่อตารางเมตรเหมือนเดิม

9เดือนออกใบอนุญาตจัดสรรทรงตัว

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.)ได้รายงานข้อมูลการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั่วประเทศระหว่างเดือนมกราคม - กันยายน 2550 พบว่าทั่วประเทศทั้งจำนวนโครงการและจำนวนหน่วยใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปี 2549 โดยจำนวนโครงการเพิ่มขึ้น 1% จำนวนหน่วยเพิ่มขึ้นเพียง 0.2%

นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ชี้แจงว่าสถิติการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั่วประเทศ ในช่วง 9 เดือนแรก 2550 มีจำนวนโครงการรวม 379 โครงการ จำนวนหน่วยรวม 47,034 หน่วย เฉลี่ย 124 หน่วยต่อโครงการ เปรียบเทียบกับครึ่งปีแรก 2549 มีจำนวนโครงการรวม 375 โครงการ จำนวนหน่วยรวม 46,921 หน่วย เฉลี่ย 125 หน่วยต่อโครงการ โดยเป็นการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีจำนวน 226 โครงการ 34,490 หน่วย เฉลี่ย 153 หน่วยต่อโครงการ จำนวนหน่วยทั้งหมดลดลง 14%

ทั้งนี้ในจำนวนหน่วยทั้งหมดกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานคร 21% จังหวัดปริมณฑลรอบกรุงเทพฯ 52% ส่วนที่เหลือ 27% อยู่ในอีก 70 จังหวัดรวมกัน โดยเฉพาะกรุงเทพฯจังหวัดเดียวมีการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน 10,048 หน่วย รองลงมาเป็นจ.สมุทรสาคร (8,815 หน่วย) สมุทรปราการ (6,295 หน่วย) นนทบุรี (4,827 หน่วย) ปทุมธานี (3,752 หน่วย) ชลบุรี (3,222 หน่วย)

สำหรับการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินในภาคอื่นๆ ในรอบ 9 เดือนแรก ปี 2550 มีจำนวนโครงการและจำนวนหน่วย ดังนี้ ภาคเหนือมี 24 โครงการ 1,503 หน่วย เฉลี่ย 63 หน่วยต่อโครงการ , ภาคกลางมี 35 โครงการ 3,456 หน่วย เฉลี่ย 99 หน่วยต่อโครงการ ,ภาคตะวันออกมี 59 โครงการ 4,777 หน่วย เฉลี่ย 81 หน่วยต่อโครงการ ,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี 16 โครงการ 1,003 หน่วย เฉลี่ย 63 หน่วยต่อโครงการ และภาคใต้มี 19 โครงการ 1,805 หน่วย เฉลี่ย 95 หน่วยต่อโครงการ อยู่ในจังหวัดภูเก็ต 1,579 หน่วย จ.สุราษฎร์ธานี 226 หน่วย

ทั้งนี้ จังหวัดที่มีจำนวนการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินเพิ่มขึ้นมาก อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งในช่วง 9 เดือนแรกปี 2549 มีจำนวนหน่วยเพียง 1,781 หน่วย แต่ในช่วงเดียวกันของปีนี้มีจำนวนหน่วยมากถึง 8,815 หน่วย เพิ่มขึ้นมากถึงเกือบ 400%

สำหรับจังหวัดใหญ่อื่นๆ พบว่าจังหวัดนครราชสีมามีการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน (คิดเป็นจำนวนหน่วย) เพิ่มขึ้น 21% จังหวัดชลบุรีเพิ่มขึ้น 6% จังหวัดภูเก็ตเพิ่มขึ้น 6%ในขณะที่การออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินในจังหวัดเชียงใหม่ลดลง 24%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us