Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2535
"ทำธุรกิจชิปปิ้งต้องมีศิลปะ"             
 

   
related stories

"เมื่อเวียดนามเปิดตลาดชิปปิ้ง"
"กำไรงามยังรอข้างหน้า"
"การรอคอยและการติดสนบนในพนมเปญ"

   
search resources

Saigon Shipping Co
เลอ ได ชุค
Transportation
Vietnam




เลอ ได ชุค ชาวเวียดนามวัย 46 ปี เป็นผู้หนึ่งที่เคี่ยวกรำอยู่กับธุรกิจชิปปิ้งในโฮจิมินห์ ซิตี มาอย่างยาวนาน ตลอดชีวิตของเขาต้องพานพบกับการทดสอบความแข็งแกร่งทั้งในด้านบุคลิกลักษณะและความแน่วแน่ของจิตใจ จากการที่แผ่นดินเกิดของเขาต้องผ่านช่วงสงครามล่าอาณานิคมถึงสองครั้ง และตอนนี้ก็กำลังอยู่ในห้วงเวลาแห่งการฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจอย่างรีบเร่ง กระนั้น ชุค ก็ยังจัดแบ่งเวลาในแต่ละวันของเขาได้อย่างลงตัว ด้วยการตรากตรำกับงานที่ "SAIGON SHIPPING CO." ในตอนกลางวัน และสร้างสรรค์ผลงานศิลปะด้วยวิญญาณศิลปินในตัวเขาเมื่อถึงยามค่ำคืน

"คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่าผมเป็นทั้งนักวาดและผู้จัดการของ SAIGON SHIPPING ไปพร้อมๆ กันได้อย่างไร" ชุคชี้ถึงคำถามที่หลายคนเคยซักกับเขา

และให้คำตอบต่อด้วยว่า "ผมใช้เวลาตั้งแต่ช่วงหนึ่งทุ่มจนถึงห้าทุ่มกับการวาดภาพ แต่ถ้าคืนไหนรู้สึกเหนื่อยมากก็จะเข้านอนแล้วตื่นขึ้นมาวาดภาพตอนตีสี่แทน ส่วนวันอาทิตย์และวันหยุด ไม่ว่าจะเป็นคริสต์มาสหรือปีใหม่ ผมก็จะวาดภาพเช่นกัน และเป็นอย่างนี้มานับสิบปีแล้ว"

ชุคเกิดเมื่อปี 1944 ที่เมืองไฮฟอง เป็นบุตรชายคนที่สามของครอบครัวที่มีสมาชิกอยู่ด้วยกันแปดคน บิดาของเขาเป็นกวีผู้ใฝ่รู้ทางด้านภาษา และจุดนี้เองที่มีอิทธิพลต่อชุคอย่างมาก

พี่ชายคนโตของเขาประกอบธุรกิจชิปปิ้ง โดยเป็นผู้ช่วยผู้จัดการของ "ไฮฟอง ชิปปิ้ง โค." ส่วนพี่ชายคนรองซึ่งเสียชีวิตไปเมื่อเจ็ดปีก่อนก็เป็นนักแต่งเพลง น้องชายคนหนึ่งเป็นผู้จัดการโรงภาพยนตร์ในฮานอย พี่สาวคนโตทำงานในโรงงานแห่งหนึ่ง ส่วนน้องสาวเป็นนักแสดง ซึ่งจัดได้ว่าเป็นครอบครัวศิลปินครอบครัวหนึ่งทีเดียว

ชุคเล่าว่าเขาโชคดีมากเพราะบรรดาศิลปินชั้นยอดของเวียดนามส่วนใหญ่จะเป็นเพื่อนสนิทกับพ่อของเขา บุคคลเหล่านี้จึงเอ็นดูเขาราวกับลูกชายของตัวเอง อีกทั้งถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ทางศิลปะให้ด้วยความเต็มใจ

แต่เมื่อราว 3 ปีมานี้เองที่ชุคตัดสินใจลืมทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรมครูทางศิลปะ ลืมความรู้ที่ได้จากตำรา และลดการออกไปชมผลงานทางศิลปะตามสถานที่ต่างๆ ลงด้วยความมุ่งมั่นที่จะแสวงหาความรู้ใหม่จากธรรมชาติ อย่างที่เขาอธิบายว่า "เรียนรู้สีสันจากก้อนเมฆ เรียนรู้ลายเส้นจากลวดลายบนหินอ่อนและเนื้อไม้ เรียนรู้แสงเงาและรูปร่างจากวัตถุโบราณ"

และเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ชุคก็ได้มีโอกาสเปิดแสดงผลงานภาพสีน้ำมันของตัวเองขึ้นที่โฮจิมินห์ ซิตี ซึ่งเขาบอกว่า "ตอนนี้ผมรู้แล้วว่าเมื่อไหร่ที่จะมั่นใจได้ว่าภาพของตัวเองมีความสมบูรณ์ และเมื่อไหร่ที่ผมจะเซ็นชื่อสลักหลังภาพได้"

ปีนี้ ชุค ขายภาพของเขาได้ 3 ภาพ และปีหน้าเขาเตรียมจะเปิดแสดงผลงานศิลปะที่ฮานอยด้วย

ส่วนชีวิตในภาคของการทำงานนั้น ชุคย้อนอดีตให้ฟังว่าเมื่ออายุได้ราว 20 ปี เขาได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนการเดินเรือในไฮฟอง และเมื่อบริษัทชิปปิ้ง "VOSA" เปิดรับพนักงาน เขาและเพื่อนอีกสองคนจึงชักชวนกันไปสมัคร แต่เพื่อนคนหนึ่งสอบเข้าโรงเรียนภาพยนตร์ได้เสียก่อน จึงเหลือชุคกับเพื่อนชื่อ ฮา คัม ไค ที่เข้าทำงานที่ VOSA และปัจจุบันไคได้ก้าวขึ้นเป็นผู้บริหารคนหนึ่งของกิจการแห่งนี้ด้วย

ชุคเล่าว่าช่วงปี 1967 นั้น บุคลากรทางด้านชิปปิ้งกำลังขาดแคลน ผู้ที่อยู่ในธุรกิจแขนงนี้ส่วนใหญ่ก็คือผู้ที่พอจะมีความรู้ทางด้านภาษาฝรั่งเศส และภาษาอังกฤษผสมกับประสบการณ์ทางธุรกิจบ้างเล็กน้อยเท่านั้น ทางผู้บริหารของ VOSA จึงเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องจัดการฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้ในธุรกิจนี้อย่างจริงจัง เหตุนี้เองชุคจึงได้รับเลือกเป็นหนึ่งในพนักงานจำนวน 20 คนที่เข้ารับการอบรมทางด้านธุรกิจชิปปิ้งอย่างจริงจัง

หน้าที่รับผิดชอบประการแรกของชุคก็คือ การดูแลหน่วยงานด้านการเทียบท่าและดำเนินการด้านศุลกากร โดยประจำอยู่ที่สำนักงานในไฮฟอง ต่อมาจึงย้ายไปประจำสาขาโฮจิมินห์ ซิตีในปี 1978

ครั้นถึงปี 1982 ชุคและพนักงานของโวซาอีกสองคน ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารกิจการ "SAIGON SHIPPING CO." ซึ่งคณะกรรมาธิการในสภาประชาชนจัดตั้งขึ้น นับว่าเป็นงานบุกเบิกครั้งสำคัญของชุคและทีมงานทีเดียว

"ตอนแรกสุดเราไม่มีเรือแม้แต่ลำเดียว" ชุคบอก ธุรกิจในขณะนั้นจึงมีลักษณะของการร่วมทุนกับบริษัทเวียดนามในญี่ปุ่น และซื้อเรือมือสองสำหรับขนส่งสินค้าจากญี่ปุ่น โชคดีที่ธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้าในระยะนั้นกำลังเติบโต "SAIGON SHIPPING CO." จึงเก็บเกี่ยวผลกำไรได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย พร้อมกับซื้อเรือเพิ่มเติม เพื่อขยายฐานกิจการได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว

เพียงชั่วระยะเวลา 5 ปีก็มีเรือขนสินค้าเพิ่มขึ้นเป็น 12 ลำ กับเรือบรรทุกสินค้าแช่แข็งอีก 3 ลำ

ปี 1989 นับเป็นปีที่อุตสาหกรรมชิปปิ้งของเวียดนามเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เนื่องจากการเปิดตัวของกิจการเดินเรือขนส่งสินค้าในท้องถิ่นแห่งแรกชื่อ "GEMARTRANS" อันเป็นการร่วมทุนระหว่าง "COMPAGNIE GENERALE MARITIME" กับ "VINAMARINE"

หลังจากนั้น โง ลัค ไต มือขวาของชุคซึ่งเคยเป็นรองอธิบดีกรมการสื่อสาร การขนส่งและกิจการสาธารณะในโฮจิมินห์ ซิตี และปัจจุบันได้ก้าวขึ้นเป็นอธิบดีของกรมนี้ ก็ได้เล็งเห็นช่องทางธุรกิจใหม่ จึงติดต่อกับยักษ์ใหญ่ในธุรกิจชิปปิ้งจากเดนมาร์กอย่าง "อี๊สต์ เอเชียติ๊ก โค." และนำไปสู่การก่อตั้ง "EAC SAIGON SHIPPING CO." คู่แข่งรายสำคัญของ "GEMARTRANS" ในเวลาต่อมา

แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป ความสำเร็จในธุรกิจก็ไม่อาจจีรังยั่งยืน โดยเฉพาะเมื่อเรือบรรทุกสินค้าของ "SAIGON SHIPPING CO." กลายเป็นเรือคอนเทนเนอร์รุ่นใหม่ ซึ่งแน่นอนว่าบริษัทการค้าทั้งหลายย่อมพึงใจเลือกใช้บริการของบริษัทชิปปิ้งที่มีเรือคอนเทนเนอร์ประสิทธิภาพสูง

ยิ่งเมื่อมีผู้ประกอบการหน้าใหม่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการแข่งขันกันตัดราคาค่าบริการก็ยิ่งทำให้ "SAIGON SHIPPING CO." จึงต้องตัดสินใจขายเรือบรรทุกสินค้าแช่แข็ง 3 ลำ กับเรือบรรทุกสินค้ารุ่นเก่าอีก 2 ลำออกไป คงเหลือแต่เรือบรรทุกสินค้าสู่สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฮ่องกงและบางครั้งไปถึงจีนและญี่ปุ่นบ้างโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการบรรทุกสินค้าโภคภัณฑ์การเกษตร เช่น ข้าวโพด พริกไทย หวายและไม้ออกจากโฮจิมินห์ ซิตี ส่วนในเที่ยวกลับก็บรรทุกเอาแป้งสาลี แอสฟัลต์ หรือสินค้าทั่วไปเข้าประเทศ

ส่วนการรับมือกับการเติบโตของธุรกิจขนส่งสินค้าด้วยเรือคอนเทนเนอร์ในเวียดนาม "SAIGON SHIPPING CO." เตรียมแผนการแตกแขนงธุรกิจออกไป อาทิ ธุรกิจด้านแทลลี่ หรือการตรวจสอบคาร์โกเมื่อเรือเข้าเทียบท่าและระหว่างการขนถ่ายสินค้าขึ้นลงเรือ รวมทั้งบริการให้เช่าเรือแบบเหมาลำ เป็นต้น

นอกจากนั้น ยังเตรียมจัดหาเรือบรรทุกสินค้ารุ่นใหม่และมีขนาดใหญ่เพื่อใช้ในเส้นทางสู่ยุโรป และคาดว่าจะไปถึงตลาดสหรัฐฯ ได้ เมื่อมีการยกเลิกนโยบายปิดกั้นทางการค้าในอนาคต

ทว่า อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งก็คือการจัดหาเงินทุนสนับสนุนนั่นเอง และทางบริษัทเห็นว่าทางออกหนึ่งได้แก่ การหาผู้ร่วมทุนรายใหม่นั่นเอง

ผมชอบสุภาษิตบทหนึ่งที่ว่า "ผู้ที่มีความสุขคือผู้ที่สนุกกับการงาน" ตัวผมเองนั้นรักธุรกิจชิปปิ้งและการวาดภาพแม้ว่ามันจะเป็นชีวิตที่หนักมาก แต่ผมคิดว่ามันคือความสุขเมื่อคุณทำงานด้วยความสุขแล้วคุณก็จะสามารถผ่านพ้นความยากลำบากทั้งหลายไปได้ ชุคกล่าวทิ้งท้าย และชี้ถึงแรงผลักดันสำคัญในชีวิตของเขาได้อย่างน่าสนใจ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us