ปุตราจายา นครหลวงแห่งใหม่ ที่เป็นศูนย์รวมหน่วยราชการของมาเลเซีย ผุด ขึ้นมาจากหมู่ต้นไม้ราวกับมิราจหรือภาพลวงตา
ที่มักเกิดขึ้นกลางทะเลทราย หมู่โดมยักษ์ และหอ ยอดแหลมทำจากเหล็กกล้าถูกรายล้อมด้วยกลุ่มอาคาร
สำนักงานไฮเทค ซึ่งระดะไปด้วยกระจก และโลหะวามวาว มองจากโรงแรมไซเบอร์วิว ลอดจ์
ลงสู่ถนนเบื้องล่าง แขกผู้มาพักสามารถมองเห็นหญิงสาวในชุดคลุมศีรษะแบบมุสลิมเดินไปตามเส้นทางสู่มหาวิทยาลัยมัลติมีเดีย
อีก ฟากหนึ่งของถนน พวกนักธุรกิจขบคิดคร่ำเคร่งถึงวิธี ที่จะใช้สอยออฟฟิศใหม่ของพวกเขาให้เต็มพื้นที่
ตลอดจนใช้สอยข่ายสายเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ความเร็วสูง ซึ่งจัดวางไว้แล้วพร้อมสรรพ
ถึงแม้รัฐบาลของประเทศจำนวนมากในโลก มีวิสัยทัศน์ กว้างไกลเกี่ยวกับอนาคตแห่งยุคไฮเทค
และต้องการสร้าง "ซิลิ คอนแวลลีย์" ของประเทศตัวเองขึ้นมา แต่ไม่มีใครอีกแล้ว
ซึ่งเชื่อมั่นศรัทธาในความสามารถของพวกเขา ว่าจะทำได้สำเร็จมากเท่ากับบรรดาเสือแห่งเอเชีย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาเลเซีย ฮ่องกง และสิงคโปร์ ประเทศเหล่านี้มุ่งหมาย ที่จะผลักดันเศรษฐกิจของ
พวกเขาให้ก้าวรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ด้วยการอาศัยจิตวิญญาณของเถ้าแก่นักบุกเบิกสร้างกิจการยุคไฮเทค
(techno-preneurship) กับธุรกิจยุคอี-คอมเมิร์ซ และใช้ประโยชน์จากโอกาส ที่เปิดให้ของยุคอินเตอร์เน็ต
มากระโจนข้าม ไม่ต้องผ่านขั้นตอนวิวัฒนาการจำนวนมาก เพื่อไล่ให้ทันโลกตะวันตก
ปุตราจายาเป็นหนึ่งในอภิมหาโครงการแบบนี้ในเอเชีย มันเป็นส่วนหนึ่งของอาณาบริเวณ
ที่ได้รับขนานนามว่า เขต "มัลติมีเดีย ซุปเปอร์คอร์ริดอร์" (เอ็มเอสซี) ของมาเลเซีย
ซึ่งฟากหนึ่งเหยียดจรดตึกเปอร์ตามินา อันเป็นอาคารคู่สูงที่สุดในโลก และอีกฟากหนึ่งก็แผ่ไปถึงท่าอากาศยานสุดโมเดิร์น
แห่งใหม่ของเสือเหลือง
ทางด้านสิงคโปร์ก็วางตัวเองให้เป็นเกาะอัจฉริยะแห่งการสื่อสาร และสาร สนเทศ
ที่มีข่ายสายโทรคมนาคมความเร็วสูง วางเป็นเครือข่ายครอบคลุมไว้ ทั่วเกาะ
อีกทั้งยังจัดตั้งกองทุนมูลค่าถึง 1,000 ล้านดอลลาร์ ไว้สนับสนุนผู้ต้องการสร้างกิจการ
เป็นเถ้าแก่ยุคไฮเทคโดยเฉพาะ สำหรับฮ่องกงนั้น วาง แผนก่อตั้งเขต "ไซเบอร์พอร์ต"
ราคา 1,700 ล้านดอลลาร์ขึ้นมา หมายใจจะ ให้เป็นแหล่งกลาง ที่นักธุรกิจเริ่มเตาะแตะของตัวเองได้ทำงานเคียงข้างพวกบริษัทเทคโนโลยีระดับนานาชาติส่วนประเทศอื่นๆ
ในเอเชียตั้งแต่จีน ไปจนถึงฟิลิปปินส์ ต่างก็ได้ประกาศเปิดตัวโครงการไฮเทคอันวิจิตรพิสดารของตัวเองกันแล้วทั้งนั้น
เพียงแต่ยังคงตามหลัง 3 รายแรกนี้อยู่อีกไกล
เถ้าแก่ผู้บุกเบิกสร้างกิจการแถวซิลิคอนแวลลีย์ของอเมริกานั้น ย่อมมีลักษณะเด่นร่วมกันประการหนึ่ง
คือ รังเกียจ รังงอนทางการ มักมองข้าราช การเป็นปัญหามากกว่าเป็นผู้แก้ไขปัญหา
ดังนั้น วิธีเช่นนี้ของเอเชียจึงดูเป็นเรื่องแปลกสำหรับฝ่ายตะวันตก ทว่าการผลักดันเ
ศรษฐกิจให้รุดหน้าโดยมีรัฐบาลเป็นตัวนำ กลับไม่ใช่เรื่องประหลาดผิดเพี้ยนเลยสำหรับเอเชีย
ทางการไต้หวันตัดสินใจ ที่จะเป็นมหาอำนาจหนึ่งในวงการฮาร์ดแวร์เครื่อง คอมพิวเตอร์พีซี
เวลานี้ก็สามารถผลิตเครื่องพีซีได้มากกว่าใครในโลกแล้วจริงๆ สิงคโปร์เริ่มต้นด้วยการเป็นเมืองท่าของอาณานิคม
ก่อนจะปรับแปลงตัวเองให้กลายเป็นศูนย์กลางโรงงานอุตสาหกรรมไฮเทค และศูนย์ให้บริการทางธุรกิจ
ฮ่องกงเมื่อก่อนเคยทำได้แค ่ของเล่นพลาสติก แต่อาศัยจังหวะ ที่จีนเปิดประเทศ
จัดการโยกย้ายงานประเภทโรงงานผลิตทั้งหลายข้ามแดนเข้าไปในแผ่น ดินใหญ่ และเปลี่ยนตัวเองกลายเป็น
"ฐานการผลิตเสมือนจริง" โดยกุมเอาไว้แน่นแต่เรื่องการธนาคาร และบริการสนับสนุนทั้งหลาย
ในเมื่อประสบความ สำเร็จก้าวกระโดดจากไร่นามาสู่โรงงาน และการเงินได้ ทำไมเสือเอเชียเหล่านี้
จึงไม่ควรคิด ที่จะกระโจนเข้าสู่การสร้างธุรกิจเว็บไซต์ยอดนิยมหรือการจัดทำโปรแกรมซอฟต์แวร์เล่า
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคอินเตอร์เน็ตด้วยแล้ว เว็บคือ กระดานหก ที่ช่วยให้ผู้มาใหม่กระโจนไล่ตามเจ้าเก่า
และเป็นพลัง ที่ให้อำนาจคนตัวเล็กๆ สู้กับยักษ์ใหญ่ได้ ผู้มาทีหลังบางครั้งก็ได้เปรียบในแง่
ที่สามารถเหาะข้ามไม่ต้องติด ตรึงอยู่กับเทคโนโลยีรุ่นเก่า (อย่างเช่นเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม)
ตลอดจนสามารถหลีกเลี่ยงการเข้าซอยตัน (ตัวอย่างเช่น มาตรฐานพีซีแบบเฉพาะ
ของแต่ละบริษัท ซึ่งเป็นตัวฉุดรั้งอุตสาหกรรมพีซีในญี่ปุ่น)
นอกจากนั้น เสือแห่งเอเชียยังมีข้อได้เปรียบอื่นๆ ด้วย อาทิ ภูมิภาคแถบนี้เป็นศูนย์การผลิตฮาร์ดแวร์ด้านไอทีอยู่แล้ว
หลายชาติในเอเชียมีแรงงานโดยเฉลี่ยอยู่ในวัยหนุ่มสาว และมีการศึกษาสูง ด้านวัฒนธรรมทางธุรกิจก็
ไม่รังเกียจเรื่องการต้องเสี่ยง แล้วเมื่อผสมกับ ที่ขนาดของตลาดแถบนี้ ซึ่งเท่ากับประชากรกว่าครึ่งหนึ่งของโลก
แถมยังเป็นมิตรกับเทคโนโลยี ดังนั้น ความใฝ่ฝันของพวกนักวางแผนของทางการจึงอาจไม่ใช่สิ่งเลื่อนลอยเลย
เพื่อให้ได้กลิ่นอายของความเป็นจริงอย่างใกล้ชิด ลองหวนกลับไป ที่ปุตราจายา
ตอน ที่นายกรัฐมนตรีมหาเธร์ โมฮาหมัด ของมาเลเซียวาดฝันถึง เอ็มเอสซีในช่วงกลางทศวรรษ
1990 เขาคิดว่าไมโครซอฟท์ ซัน และบริษัท ยักษ์ด้านเทคโน โลยีอื่นๆ จะพากันมาตั้งสำนักงานใหญ่ภาคพื้นเอเชียกัน
ที่นี่ และสร้างอุตสาหกรรมไอทีพื้นถิ่นของชาวมาเลเซีย ที่เจริญรุ่งเรืองขึ
้นมา ทว่า ไซเบอร์จายา ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ที่เป็นหัวใจของเขตเอ็มเอสซี
เวลานี้กลับยังคงมีบรรยากาศของเมืองร้าง เอ็นทีทีแห่งญี่ปุ่นเป็นบริษัทนานาชาติยักษ์ใหญ่เพียงแห่งเดียว
ที่โยกย้ายเต็มตัว เข้าไปอยู่ในออฟฟิศของตัวเอง ที่นั่น มันอยู่ค่อนข้างไกลไปหน่อย
จึงแทบไม่มีผู้จัดการคนใด ปรารถนาจะขับรถไปสอดส่องหาคนเด่นๆ จากมหาวิทยาลัย
มัลติมีเดีย ที่อยู่ใกล้ๆ นักศึกษาอันทรงคุณค่าจึงไม่ค่อยได้ถูกใช้งาน และขาดประสบการณ์ในธุรกิจจริงๆ
นอกจากนั้น ยังไม่มีบ้านพักสำหรับครอบครัวของผู้จัดการโรงเรียนใกล้ที่สุด
ต้องขับรถตัดผ่านสวนปาล์มน้ำมันไปราวครึ่งชั่วโมง และพวกโปรแกรมเมอร์ ก็ยังคงต้องตาละห้อยมองผืนดินว่างเปล่า
ที่สงวนไว้สำหรับตั้งร้านแมคโดนัลด์
ปัญหานานาของเอ็มเอสซีในบางด้านอาจเป็นเรื่องเฉพาะตัวอันเกิดจากวิธีจัดการแบบรวมศูนย์ของมาเลเซียเอง
ทว่าแถวอาคารอันว่างเปล่าของ โครงการไฮเทคนี้ก็ยังคงชี้ให้เห็นข้อบกพร่องฉกรรจ์
3 ประการในความฝันสร้างซิลิคอนแวลลีย์ของเอเชีย
ประการแรก เอเชียเป็นสถานที่อันลำบากยากเย็นนัก ที่ จะสร้างบริษัทอย่างไมโครซอฟท์ขึ้นมาให้ได้
ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูด ถ ึงบริษัทรุ่นใหม่กว่าอย่าง เอโอแอล หรือ อีเบย์ มันไม่เหมือนกับอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์พีซี
ที่มีมาตรฐานร่วมระดับโลกอยู่แล้ว ขอเพียงหา ที่ดิน และแรงงานราคาถูกได้ก็สามารถเริ่มสร้าง
"เอเซอร์" หรือ "ซัมซุง" ขึ้นในไต้หวันหรือเกาหลีใต้ได้ ธุรกิจด้าน อินเตอร์เน็ต
( และซอฟต์แวร์) กลับเทใจให้แก่พวกนักริเริ่มคิดค้น ซึ่งกระเป๋าหนัก และตลาดบ้านเกิดก็ใหญ่โต
ไม่ใช่เรื่องลำบากนัก ที่จะลอกเลียนแบบ สร้างเครื่องพีซี ซึ่งราคาถูกกว่า
และคุณภาพดีเท่าของดั้งเดิม ทว่าการลอกเลียนแบบ ยาฮู! หรือ อเมซอน กลับเป็นอีกเรื่องหนึ่งไปเลย
ในอุตสาหกรรม ซึ่งขึ้นอยู่กับมนต์เสน่ห์ในการดึงดูดผู้บริโภคจำนวนมหาศาลให้ยอมรับเทคโนโลยี
บริการ หรือเนื้อหา ที่เป็นเฉพาะ ตัวไม่เหมือนใครแล้ว อเมริกากินขาด ที่อื่นหมดด้วยความโดดเด่นในเรื่องปริมาณ
และคุณภาพของผู้บริโภค การมีเครือข่ายด้านเทคโนโลยีเกาะกลุ่มกันแน่นหนา และการมีตลาดทุนอันทรงพลานุภาพ
นี่ไม่ได้หมายความว่าบริษัทมากมายในเอเชียจะไม่สามารถประสบความสำเร็จในการเสนอบริการ
และเนื้อหา ที่มุ่งสนองความต้องการระดับท้องถิ่น เพียงแต่ถ้าพวกเขาจะดิ้นรน
ขึ้นสู่เวทีระดับโลกหรือกระทั่งระดับภูมิภาคก็ตาม ก็จะพบว่าเป็นเรื่องยากนักหนา
ที่จะเป็นผู้นำในเทคโนโลยีใหม่ๆ
บริษัทซอฟต์แวร์ตั้งใหม่ ที่เดินแผนยุทธศาสตร์จะชนะในมาเลเซีย สิงคโปร์
หรือฮ่องกงก่อน แล้วขยายสู่ส่วนอื่นขอ งเอเชีย จากนั้น จึงไปอเมริกานั้น
เสี่ยงเหลือเกิน ที่จะถูกพวก กิจการอเมริกัน ซึ่งพนักงานล้วนร้อนรุ่มด้วยแรงจูง
ใจจากการได้หุ้นบริษัทเป็นผลตอบแทน เข้ามาเบียดเสียด และตีตกจากธุรกิจ ไปเสียตั้งแต่ก่อน
ที่พวกเขาจะได้ก้าวเหยียบแผ่นดินแดน อินทรีด้วยซ้ำ แฟนานุแฟนของเว็บชมชอบ
ที่จะชี้ว่า ในระบบออนไลน์นั้น ภูมิศาสตร์มิใช่เรื่องสำคัญอะไรเลย แต่อันที่จริงในบางมิติแล้วความใกล้ไกลของทำเล
ที่ตั้งอาจหมดความหมายไปรวดเร็ว ทว่าไม่ใช่ในมิติอื่นๆ เปรียบได้เหมือนกับ
ที่มหาวิทยาลัยเสมือนจริงยังคงไม่สามารถเข้าแทน ที่ฮาร์วาร์ดหรือออกซฟอร์ดได้
ซิลิ คอนแวลลีย์เสมือนจริงจึงยังคงไม่อาจเทียบเคียงซิลิคอนแวลลีย์ของแท้ในแคลิฟอร์เนียได้
ข้อบกพร่องประการที่สองคือ การขาดแคลนกำลังแรงงานประเภทช่างริเริ่มคิดค้น
แม้เอเชียมักได้รับการยกย่อง ในเรื่องมีวัฒนธรรม ที่แข็งแกร่งแห่ง การเป็นเถ้าแก่นักบุกเบิกสร้างกิจการ
แต่อ ัน ที่จริงฉลากรับรองคุณภาพใบนี้ นำเอาคุณสมบัติ 2 อย่างมาปะปนกัน ได้แก่
ความปรารถนา ที่จะหากำไร กับความสามารถ ที่จะขบคิดหาวิธีใหม่ในการทำเงินได้อย่างหลักแหลม
แน่นอนทีเดียว นักธุรกิจเอเชียพิสูจน์ ตัวเองแล้วว่ากล้าเสี่ยง และกล้าเริ่มต้นทำธุรกิจของตัวเอง
ทว่าพวกเขามักเป็นนักลอกเลียนแบบ ที่รู้จักจับฉวย โอกาสมากกว่า ถ้าใครเกิด
ทำสินค้าอะไรสักอย่างแล้วรวยไม่รู้เรื่อง อีกหลายสิบคนจะกระโจนเข้าทำอย่างเดียวกันบ้าง
เถ้าแก่นักบุกเบิกสร้างกิจการ ขนานแท้จัดว่ามีอยู่น้อย และหากเกิดขึ้นมาจริงๆ
ส่วนใหญ่ก็มักเลือกอพยพไปทำมาหากิน ที่อเมริกามากกว่าอยู่บ้านเกิด
สิ่งนี้ไม่ใช่ลักษณะเฉพาะของเอเชียเลย เส้นทางสู่ความเป็นเถ้าแก่เจ้าของกิจการที่คนอเมริกัน
และคนยุโรปนิยมเลือกเดินที่สุดก็คือ การซื้อแฟรนไชส์จากคนอื่น หาใช่การบุกเบิกเองไม่
ทว่าบริษัทตั้งใหม่แถวซิลิคอนแวลลีย์ นั้น บริหารโดยคนเผ่าพันธุ์ ที่มีความริเริ่มสร้างสรรค์
และกล้าคิดค้นทดลองมากกว่าคนส่วนใหญ่ แน่นอนเอเชียเองก็สามารถผลิตคนสังกัดเผ่าพันธุ์นี้ได้
อันที่จริงบริษัทตั้งใหม่ในซิลิคอนแวลลีย์จำนวนมากก่อตั้งขึ้นโดยชาวอินเดียอพยพ
หรือ ชาวไต้หวันอพยพเสียด้วยซ้ำ แต่ถ้าเอเชียต้องการบ่มเพาะวัฒนธรรม ที่เอื้ออำนวยไฮเทคของตัวเองแล้ว
เห็นทีจะต้องเรียนรู้วิธีกล่อมเกลี้ยง และ รักษาคนเหล่านี้เอาไว้ให้ได้เป็นจำนวนมากขึ้นอีกมาก
รัฐบาลของบางประเทศเอเชียเริ่มตระหนักถึงเรื่องนี้แล้ว ปัญหาเริ่มต้น กันตั้งแต่ระบบการศึกษา
ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยวิธีท่องจำมากกว่าการริเริ่มสร้างสรรค์ ทั้งมาเลเซีย
และสิงคโปร์ ต่างยอมรับว่าพวกเขาต้องเปิดช่องให้คนหนุ่มสาวได้สัมผัสกับความคิด
และอิทธิพลอันแตกต่างหลากหลาย ซึ่งหนทางอย่างหนึ่งได้แก่การให้พวกเขาได้เข้าไปท่องเว็บไซต์ต่างๆ
อย่างกว้างขวาง ทว่าการเรียนรู้แบบนกแก้ว นกขุนทองย่อมเห็นชัดว่าเกี่ยวโยง
กับการมีรัฐบาล และ ระบบราชการที่เผด็จอำนาจเบ็ดเสร็จด้วย ในจุดนี้รัฐบาลของประเทศ
ทั้ง 2 มิได้แสดงความกระตือรือร้น ที่จะสร้างคนรุ่นใหม่ ที่เป็นนักคิดอิสระขึ้นมาแต่อย่างไร
นักริเริ่มคิดค้น ที่แท้จริง นอกเหนือจากคิดแบบสร้างสรรค์ได้แล้ว ยังต้องมีความกระหาย
ที่จะแสวงหาไอเดียนานาอีกด้วย
ผลตอบแทนทางการเงินของความรู้ ที่มีพื้นฐานมาจากไอทีก็ดูจะเป็นอุปสรรคด้วยเหมือนกัน
ไม่เพียงภูมิภาคแถบนี้ ไม่คุ้นเ คยกับเรื่องการให้ออปชั่น หุ้น (สิทธิ ที่จะซื้อหุ้นของบริษัทไปในราคา
ที่กำหนดในอนาคตข้างหน้า) ซึ่งถูกมองกันมากว่าเป็นส่วนสำคัญแห่งความสำเร็จของซิลิคอนแวลลีย์
พนักงานไฮเทคในอเมริกา ผู้ปฏิเสธเงินเดือนแพงๆ ที่บริษัทใหญ่ๆ เสนอให้ และยอมมาทำงานในบริษัทตั้งใหม่นั้น
ยังได้รับประสบการณ์อันมีค่านอกเหนือจากออปชั่นหุ้น และในอุตสาหกรรม ซึ่งเติบโตรวดเร็วเหลือเกินนี้
ประสบการณ์ก็ สามารถให้ผลตอบแทนทางการ เงินได้เช่นกัน ถึงแม้บริษัท ที่พวกเขาทำอยู่ด้วยจะมีอันล้มคว่ำคะมำไป
ชาวเอเชียรุ่นที่เติบโตขึ้นพร้อมอินเตอร์เน็ต ต่างถูกล่อให้หลงใหลอยู่กับการร่ำรวยเป็นเศรษฐีอย่างรวดเร็วด้วยการเล่น
ที่ดิน เล่นห ุ้น หรือได้เงินเดือน แพงๆ พวก ที่หันมาศึกษาเล่าเรียนก็จับอาชีพเป็นนักบัญชีหรือนายธนาคาร
ตลอดจนเป็นผู้บริหารในกลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่หรือในวงราชการ น้อยคนนัก ที่
เลือกวิศวกรรมศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ ฮ่องกงเพิ่งจัดตั้งมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีเมื่อไม่ถึงสิบปีมานี้เอง และผู้สำเร็จการศึกษาระดับเยี่ยมมีเพียง
10% ที่ลงเอยด้วยการทำงานในสายอันเกี่ยวข้องกับไอที
สิงคโปร์ทำได้ดีกว่านิดหน่อย รัฐบาล ที่นี่ส่งเสริมเรื่องเทคโนโลยีมาหลายสิบปีแล้ว
แต่ระบบการศึกษา ซึ่งจำกัดเข้มงวดก็ยังคงส่งให้บัณฑิตระดับดีที่สุด เฉียบแหลมที่สุดเข้าสู่ตำแหน่งงานในรัฐบาล
และบริษัทใหญ่ๆ เมื่อเป็น เช่นนี้ อุตสาหกรรมไอทีของเอเชียจึงเต็มไปด้วยคน
ซึ่งมองหาวิธีร่ำรวย ที่สะดวกสบาย และเคยทำๆ กันมา
วัฒนธรรมของบริษัทตั้งใหม่ในซิลิคอนแวลลีย์ ที่เน้นการทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยแม้ได้ค่าจ้างต่ำ
เพื่อตอบสนองอา รมณ์ความรู้สึก ที่มีต่องาน อย่างลึกซึ้งร่วมกัน ตลอดจนฝันถึงคำสัญญา
ที่จะร่ำรวยในอนาคต ดูกลายเป็นสิ่งแปลกประหลาดสำหรับคนหนุ่มสาว ที่มีการศึกษาในเอเชีย
พอๆ กับ เมื่อพวกเขาได้รับฟังเงื่อนไขการทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำแบบโรงงานนรกในยุคปู่ย่าตายาย
ทั้งความห่างไกลจากอเมริกา และการขาดแคลนนักริเริ่มคิดค้น ที่แท้จริง ยิ่งย่ำแย่หนักหน่วงขึ้นอีกด้วยอุปสรรคประการที่สาม
นั่นคือ การขาดแคลนนักลงทุนแบบเวนเจ อร์แคปิตอล รัฐบาลในเอเชียออกจะมีผลงานไม่เอาไหนในเรื่องการให้เงินสนับสนุนพวกบริษัทไฮเทคตั้งใหม่
ผลก็คือ เงินทุนก้อนโต ที่ มุ่ง เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมไฮเทคของเอเชียส่วนใหญ่แล้วถูกปล่อยทิ้งไว้
เฉยๆ อาทิ กองทุนประเภทนี้กองทุนแรกของฮ่องกงมอบหมายให้ระบบราชการ เป็นคนจัดสรรพิจารณา
จึงได้เห็นผู้สมัครแต่ละรายห่อเหี่ยวฝ่อลงไปเรื่อยๆ ตลอดช่วง 9 เดือนหรือนานกว่านั้น
อันเป็นช่วงชีวิตเฉลี่ยของพวกบริษัทตั้งใหม่ สิงคโปร์ก็มีโครงการจำนวนหนึ่ง
ที่มุ่งช่วยบริษัทตั้งใหม่ แต่ส่วนใหญ่มี ระเบียบกฎเกณฑ์อันจำกัดทำให้ พวกบริษัทอินเตอร์เน็ตไม่เข้าข่าย
น่ายินดี ที่รัฐบาลของทั้งฮ่องกง มาเลเซีย และสิงคโปร์ เรียนรู ้บทเรียนนี้
และเวลานี้ หันมาใช้พวกนักลงทุนเวนเจอร์แคปิตอล ในการจัดสรรกองทุน ใหม่ๆ
ที่ ก้อนใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ให้แก่พวกเถ้าแก่นักบุกเบิกไฮเทค
กระนั้น ก็ตามที เงินทอง ที่อัดฉีดกันออกมายังมีน้อยนิดเห ลือเกิน ที่ควรค่าแก่การเรียกเป็นกองทุนเวนเจอร์แคปิตอลอย่างเต็มปากเต็มคำ
ในซิลิ คอนแวลลีย์ และ ที่อื่นๆ นักลงทุน เวนเจอร์แคปิตอลให้ทั้งเงิน และสิ่งอื่นๆ
แก่บริษัทตั้งใหม่ พวกเขาไม่เหมือนนักลงทุนอื่นทั่วไป ตรง ที่สามารถช่วยปรับ
แต่งเพิ่มขนาดอันเหมาะสมให้แก่ทั้งเทคโนโลยีใหม่ และผู้ที่ยื่นสมัครขอความช่วยเหลือมา
จากนั้น ก็เลี้ยงดูพวกเขาให้สามารถ ผ่านความลำบากตลอดช่วง ปีแรกๆ ที่ยังเป็นธุรกิจเล็กๆ
อยู่เอเชียขาดแคลนบุคคลประเภทนี้ โดย เฉพาะอย่างยิ่งพวก ที่เคยลงมือช่วยเหลือพวกบริษัทอินเตอร์เน็ต
และซอฟต์แวร์มา ไม่ใช่ผู้ ซึ่งคุ้นเคยแต่กับบริษัทฮาร์ดแวร์ไอที ในด้านหนึ่ง
เอเชียสามารถอวดโอ่ว่าพวกตนมีแรงงานการศึกษาสูง มีนักธุรกิจผู้ประสบความสำเร็จ
และมีความกระตือรือร้นจะสร้างเครือข่ายดิจิ ตอลเชื่อมโยงทั่วภูมิภาคของตัวในฐานะส่วนหนึ่ง
ที่สำคัญของโลก
แต่ในอีกด้านหนึ่ง เอเชีย ดูเหมือนว่าจะขาดแคลนประสบการณ์ และกรอบความคิด
ที่ จะแข่งขันกับบริษัทเทคโนโลยีจากภูมิภาคอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสหรัฐฯ
ความขัดแย้งสองด้านนี้จะโยงเข้ามาประนี ประนอมกันอย่างไรเล่า ความอ่อนแอสารพัดอย่างของเอเชียในปั
จจุบันนี้นับว่าใหญ่หลวงนัก แต่ความอ่อนแอเหล่านั้น ที่จริงแล้วเป็นส่วน
ที่เกี่ยวข้องกันเพียงครึ่งเดียวของอุตสาหกรรมสารสนเทศ นั่นคือ ตลาดที่มุ่งสู่ซอฟต์แวร์รุ่นใหม่
ที่จะปฏิวัติวงการ ตลอดจนเทคโนโลยีทำให้โลกตะลึงอย่างอื่นๆ ส่วนอีกครึ่งหนึ่ง
ที่เป็น เรื่อง ของการประยุกต์เทคโนโลยีให้เข้ากับความต้องการระดับท้องถิ่น
และระดับภูมิภาค ครึ่งนี้กลับยังเป็นสิ่งที่คนเอเชียสามารถทำได้ดี และอันที่จริงก็เริ่มมีการเดินหน้ากันไปแล้ว
บริษัทประเภทดอทคอมในเอเชีย ซึ่งไปจดทะเบียนซื้อขายอยู่ในตลาดหุ้น แนสแนคของสหรัฐฯ
นั้น รายใหญ่สุด 2 ราย ต่างเป็นกิจการที่มุ่งประยุกต์ ไอเดีย ซึ่งมีอยู่แล้วให้เข้ากับสภาพของเอเชีย
หาใช่ประดิษฐ์คิดค้นไอเดียเหล่า นี้กันตั้งแต่ต้นไม่ กล่าวคือ แปซิฟิก อินเตอร์เน็ต
จากสิงคโปร์ คือ ผู้ให้ บริการต่อเชื่อมอินเตอร์เน็ต ขณะที่ไชน่าดอทคอม คือ
ไซต์ พอร์ทัล
ในระดับ ที่พื้น ๆที่สุด เอเชียยังต้องการเว็บไซต์ด้านเนื้อหา และเว็บไซต์
ด้านบริการต่างๆ ทำนองเดียวกับ ที่พบเห็นกันในอเมริกา ทว่าเป็นเวอร์ชั่น
ของภูมิภาคนี้ และขณะนี้บริษัท ซึ่งมุ่งสร้างเว็บไซต์เช่นนี้ เริ่มปรากฏตัวออกมาให้เกลื่อนยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
อาทิ มายฟลาวเวอร์ส เว็บไซต์ขายดอกไม้ออนไลน์ จากสิงคโปร์ ประกาศตัวเชี่ยวชาญในรสนิยมด้านดอกไม้ของคนเอเชีย
และใช้ ความรู้ด้านเครือข่ายจัดจำหน่ายในท้องถิ่นมาขยายกิจการไปใ น 2-3 ประเทศ
หรือ มุคมิน ดอทคอม ที่เป็นไซต์พอร์ทัลในมาเลเซีย ซึ่งมุ่งให้บริการ ออนไลน์ครบวงจร
แก่นักท่องเที่ยวชาวมุสลิม อาทิ โปรแกรมช่วยคำนวณเวลาการสวดมนต์เมื่อพำนักอยู่ตามเมืองต่างๆ
4,000 เมือง ทั่วโลก หรือ แนะนำสุเหร่าในแต่ละท้องถิ่น ไปจนถึงแนะนำร้านอาหารมุสลิมในแต่ละเมือง
สำหรับกิจการที่มุ่งทำธุรกิจ ซึ่งเป็นเนื้อเป็นหนังมากขึ้น เอเชียก็ มีช่องให้ทำธุรกิจออนไลน์ชนิด
ที่แม้แต่ในอเมริกาก ็ยังไม่อาจเทียบเคียง ภูมิ ภาคนี้คือ ศูนย์กลางการผลิตอุตสาห-กรรมของโลก
ดังนั้น บริการโลจิสติกส์ ออนไลน์ อี-คอมเมิร์ซระดับธุรกิจสู่ธุรกิจ และบริการด้านเทรดไฟแนนซ์
ออนไลน์ ล้วนแล้วแต่เป็นความต้องการระดั บท้องถิ่น ซึ่งบริษัทอินเตอร์เน็ตของเอ
เชียเองน่าจะสามารถให้บริการได้อย่างไม่ยากเย็น
อย่างไรก็ตาม พวกรัฐบาลในเอเชียยังดูจะไม่ยอมทิ้งสัญชาตญาณ ที่ ต้องการเป็นผู้นำการปฏิวัติไอทีระดับโลก
ด้วยกรอบควา มคิดมองโลกแบบใคร ชนะได้หมดใครแพ้เสียหมด ตลอดจนอิจฉากรณีความยิ่งใหญ่ที่ไม่ดีของ
ไมโครซอฟท์ รัฐบาลของฮ่องกง สิงคโปร์ และมาเลเซีย จึงกำลังพยายามบังคับ เศรษฐกิจของพวกเขาให้เดินไปตามเส้นทาง
ที่คิดว่าจะทำให้ตนเองกลายเป็น "ศูนย์กลาง" เทคโนโลยีของเอเชียได้
แนวความคิดเช่นนี้น่าจะผิดพลาดเสียแล้ว เพราะความได้เปรียบอย่างมหาศาลของเสือแห่งเอเชียเหล่านี้
อยู่ ที่ความสามารถนำเทคโนโลยีใหม่ๆ จำนวนมา ก ซึ่งพัฒนาขึ้นในที่ต่างๆ อยู่แล้ว
มาประยุกต์ใช้กับภูมิภาคของตนเอง หากเดินหน้าอาศัยความได้เปรียบนี้ ไม่เพียงภาคอุตสาหกรรมการผลิต
และภาคบริการของพวกเขาจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ และเฟื่องฟูรุ่งเรือง ขึ้นอีกเท่านั้น
แต่เศรษฐกิจโดยรวมของพวกเขาก็จะมั่งคั่งขึ้น และฉลาดขึ้นอีก ด้วย
แล้วเอเชียก็จะขยับใกล้เข้าไปถึงวันเวลา ที่พวกเขาสามารถลงแข่งขันแบบ ประจันหน้าในด้านเทคโนโลยีใหม่
ไม่ว่าคู่แข่งจะเป็นอเมริกา ยุโรป หรือ ญี่ปุ่นก็ตามที