Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 พฤศจิกายน 2550
SCBSลดจีดีพีปี51เหลือ4.5% ผลกระทบราคาน้ำมันพุ่งไม่หยุด             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด

   
search resources

ไทยพาณิชย์, บล.
Funds
เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ




บล.ไทยพาณิชย์ขยับลดจีดีพีปีหน้าเหลือ 4.5% จากเดิม 4.7% รับผลกระทบราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ระบุหากราคาน้ำมันสูงขึ้น 10 ดอลลาร์สหรัฐ กระทบเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่ม 0.4% และกดดันจีดีพีลด 0.40% ชี้ในช่วงที่ผ่านผลกระทบจากราคาน้ำมันยังไม่ชัดเจน จากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นและกองทุนน้ำมันช่วยพยุง

บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ โดยนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจได้ออกบทความเรื่อง น้ำมันแพงจะกระทบเศรษฐกิจไทยอย่างไร โดยประเมินว่าหากราคาน้ำมันสูงขึ้น 10 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล จะทำให้เงินเฟ้อพื้นฐานปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก 0.4% ส่วนเงินเฟ้อทั่วไปอาจเพิ่มขึ้นถึง 1.1% โดยการประเมินดังกล่าวใช้สมมติฐานว่าค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 5% และผู้ผลิตสามารถส่งผ่านราคาไปยังผู้บริโภคได้ทั้งหมด

นอกจากนี้ หากราคาน้ำมันสูงขึ้น 10 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล ก็อาจส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจ(จีดีพี)ลดลง 0.40% ซึ่งผลกระทบส่วนใหญ่น่าจะมาจากการบริโภคที่ลดลง โดยคาดว่าราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจะทำให้รายรับหลังหักค่าใช้จ่ายจำเป็น (HHDI)ลดลง 1.1% และทำให้การบริโภคลดลง 0.75% แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะไม่กระทบต่อการเติบโตของการลงทุนมากนักเนื่องจากระดับการลงทุนในปีนี้ซึ่งอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำอยู่แล้วมาจากสาเหตุอื่นอื่นๆที่ไม่ราคาน้ำมัน และหากดูตัวเลขอัตราผลตอบแทนต่อการใช้เงินทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์(ไม่รวมกลุ่มการเงินธนาคาร)แล้ว พบว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงที่ 15.4% ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ดังนั้น การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันคงไม่น่าจะทำให้อัตราผลตอบแทนลดลงต่ำไปกว่าต้นทุนทางการเงิน

ขณะที่ผลกระทบต่อภาคการส่งออกจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นคงจะไม่มากนัก เนื่องจากอุตสาหกรรมการส่งออกสามในสี่ตัวหลักๆได้แก่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และยางพารา ซึ่งรวมแล้วคิดเป็นมูลค่าหนึ่งในสามของการส่งออกในครึ่งปีแรกของปี 2550 มีผลกระทบจากราคาน้ำมันต่อต้นทุนการผลิตค่อนข้างต่ำ อีกประการราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเกิดจากปรมาณความตอ้งการใช้เชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ดังนั้น หากเศรษฐกิจโลกชะลอลงราคาน้ำมันก็น่าลดลงด้วย

อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่องนั้น เป็นผลจากปัจจัยพื้นฐานจึงเชื่อว่าราคาจะยังสูงไปอีกระยะหนึ่ง โดยปัจจัยหลักที่มีผลต่อราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมาจากอุปสงค์จากทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นแม้ว่าราคาจะสูงขึ้น โดยอุปทานจากประเทศนอกกลุ่มโอเปค ก็ไม่ค่อยเพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มโอเปคเองก็เกือบเต็มกำลังการผลิตแล้ว ส่วนระดับปริมาณน้ำมันสำรองของกลุ่มโอเปคก็ลดลงทำให้การคาดการณ์ราคาน้ำมัน US WTIของหลายหน่วยงานปรับเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรลในปี 2551 เทียบกับ 71 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรลในปี 2550 ส่วนราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ยจะอยู่ที่ 75 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรลในปี 2551

ดังนั้น จากปัจจัยต่างๆดังกล่าว ซึ่งเป็นผลกระทบในทางลบต่อประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2551นั้น จึงคาดว่าในปี 2551 ประมาณจีดีพีอาจลดลงจาก 4.7% เหลือ 4.5% ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานอาจเพิ่มจาก 1.6% เป็น 1.7-1.8% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะเพิ่มขึ้นจาก 2.7% เป็น 3.0-3.2% ในสมมติฐานว่าราคาน้ำมันในปีหน้าเพิ่มขึ้นเป็น 75 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล จากเดิมที่คาดไว้ที่ระดับ 70 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล และ 65 เหรียญสหรัฐต่อบาเรลในปีนี้

ส่วนค่าเงินบาทนั้นไม่น่าจะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากนัก แต่แนวโน้มเงินบาทที่จะยังแข็งค่าขึ้นต่อไปนั้น มีส่วนหนึ่งสาเหตุมาจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐที่จะดำเนินต่อไปในอนาคต รวมถึงการไหลเข้าของเม็ดเงินลงทุนต่างชาติสุทธิขนาดใหญ่และสูงถึง 5.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่ต้นปี ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นบวกซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนของค่าเงินบาท และการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันส่วนหนึ่งเกิดจากการอ่อนค่าของค่าเงินสหรัฐฯ ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมันเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้น จึงปรับลดประมาณค่าเงินบาทปลายปีหน้าลงจาก 32.5 เป็น 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสะท้อนถึงการอ่อนค่าลงของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับในช่วงที่ผ่านมาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องยังไม่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจไทย แม้ว่าประเทศไทยจะมีการนำเข้าน้ำมันเป็นจำนวนมาก โดยมีสัดส่วนสูงถึง 12%ของจีดีพีในปี 2549 นั้น เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเกิดจากปริมาณการใช้ที่เพิ่มขึ้น ไม่ใช่การลดลงของอุปทาน ซึ่งหมายถึงเป็นการเพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจโลกที่มีการขยายตุว ซึ่งส่งผลดีต่อจีพีดีและการส่งออกของไทยทำให้การเติบโตไม่ลดลงมากนัก

นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินบาทช่วยลดผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น โดยการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐในช่วงที่ผ่านมาเป็นสาเหตุหลักของการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ทำให้แม้ราคาน้ำมันจะเพิ่มขึ้นเมื่อคิดเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ แต่เงินบาทก็แข็งค่าขึ้นเช่นกัน ผลกระทบของราคาน้ำมันในรูปของเงินบาทจึงไม่สูงมากนัก โดยตั้งแต่ต้นปี 2547 จนถึงตุลาคม 2550 ราคาน้ำมันเมื่อเทียบเป็นดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรลเพิ่มขึ้น 165% ในขณะที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น 14% ช่วยให้ราคาขายน้ำมันเพิ่มขึ้นเพียง 89% และประการสุดท้าย กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้ทำหน้าที่ช่วยลดความผันผวนของราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศไว้พอ ไม่ให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเกินไปตามราคาในตลาดโลกไว้พอสมควร   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us