|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยห่วงเสถียรภาพค่าเงินบาท หลังประเมินแนวโน้มเงินดอลลาร์ยังอ่อนค่าต่อเนื่อง จากปัญหาซับไพรม์ที่ลามไปสู่สินเชื่ออื่นจนทำให้เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวในที่สุด เตือนภาครัฐรับมือการโยกย้ายเงินลงทุนจากสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ไปสู่สินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะน้ำมัน ส่งผลให้ต้นทุนด้านพลังงานสูงต่อเนื่องและกระทบเศรษฐกิจไทยในที่สุด
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินแนวโน้มค่าเงินดอลลาร์สหรัฐยังคงอ่อนค่าต่อเนื่องจากหลากปัจจัยที่กดดันอยู่ ภายหลังจากการอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เงินดอลลาร์ฯร่วงลงทำสถิติต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบกับตะกร้าเงินสกุลหลักไม่ว่า เงินยูโร และเงินฟรังก์ และต่ำสุดในรอบ 26 ปีเทียบกับเงินปอนด์ ในเดือนพฤศจิกายน 2550 ซึ่งนับตั้งแต่ต้นปี 2550 เป็นต้นมา (ข้อมูล ณ ระดับปิดตลาดนิวยอร์กวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550) จะพบว่าเงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลงแล้วประมาณ 10% เมื่อเทียบกับตะกร้าเงินสกุลหลักคือ ประมาณ 12.4% เมื่อเทียบกับเงินยูโร ประมาณ 7.6% เมื่อเทียบกับเงินเยน ประมาณ 5.5% เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ และประมาณ 9.2% เมื่อเทียบกับเงินฟรังก์
โดยตั้งแต่ต้นปี 2550 ที่ผ่านมา จะพบว่า เงินดอลลาร์ฯ ถูกกดดันจากการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากความอ่อนแอของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐฯ และความปั่นป่วนในตลาดสินเชื่อทั่วโลกอันเนื่องมาจากวิกฤตซับไพร์มเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เฟดต้องประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Funds Rate) ถึง 0.50% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2545 สู่ระดับ 4.75% ในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2550 และตามมาด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งอีก 0.25% สู่ระดับ 4.50% ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2550
สำหรับผลกระทบต่อประเทศไทยนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองว่า แนวโน้มการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ฯ เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ จากหลากหลายปัจจัยลบนอกเหนือไปจากปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงของสหรัฐฯ โดยปัจจัยที่อาจกดดันเงินดอลลาร์ฯ ประกอบด้วย ปัญหาสินเชื่อซับไพร์มและวิกฤตสภาพคล่องในตลาดการเงินที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับแนวโน้มความซบเซาต่อเนื่องของตลาดอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯ ที่อาจส่งผลทำให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจออกเป็นวงกว้างในท้ายที่สุด พฤติกรรมหลีกเลี่ยงความเสี่ยงและการระบายธุรกรรม Carry Trade ของนักลงทุน แนวโน้มการปรับลดสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์ฯ ในทุนสำรองระหว่างประเทศ และความเป็นไปได้ที่จะมีการยกเลิกระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบผูกติดกับเงินดอลลาร์ฯ ของประเทศในอ่าวเปอร์เชีย
ดังนั้น กระแสการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ฯ จากปัจจัยลบดังกล่าวข้างต้นมีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง และอาจสร้างแรงกดดันให้ค่าเงินสกุลหลักตลอดจนสกุลเงินในภูมิภาคซึ่งรวมถึงเงินบาท ต้องปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งถือเป็นผลกระทบทางตรงที่เกิดขึ้นกับภาคส่งออกของไทย และเป็นโจทย์ที่มีความท้าทายในการรักษาเสถียรภาพให้กับตลาดอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับความสามารถในการแข่งขันของภาคส่งออกของไทย
นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ฯ ยังส่งผลข้างเคียงให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการโยกย้ายเงินลงทุนของนักลงทุนออกจากสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์ฯ เข้าสู่ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะน้ำมัน ซึ่งการเพิ่มขึ้นของต้นทุนทางด้านพลังงานได้ส่งผลกระทบทางอ้อมต่อเศรษฐกิจไทย ผ่านต้นทุนการผลิต ค่าขนส่ง ตลอดจนค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น การรับมือกับการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ฯ จึงเป็นความท้าทายที่สำคัญของเป้าหมายการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมของทางการไทย
|
|
|
|
|