Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2535
"การต่อสู้แย่งชิงตำแหน่งดาวเทียม"             
โดย รัฐ จำเดิมเผด็จศึก
 


   
search resources

Telecommunications




การแย่งชิงตำแหน่งดาวเทียมในห้วงอวกาศกำลังเป็นเวทีใหม่ของโลกธุรกิจสื่อสารในทศวรรษนี้ เรื่องนี้ยังไม่มีกฎหมายใดๆ ที่บ่งชี้ชัด ทางออกอยู่ที่การเจรจาบนพื้นฐานการประนีประนอมระหว่างกัน

ในยุคสมัยปัจจุบัน การติดต่อสื่อสารโทรคมนาคมเป็นสิ่งสำคัญของการเมืองการปกครอง หรือไม่ว่าจะเป็นเรื่องการค้าและเศรษฐกิจก็ตาม ผู้ที่ได้รับข่าวสารก่อนย่อมเป็นฝ่ายที่ได้เปรียบในการวางแผนตัดสินใจและดำเนินการให้บรรลุถึงเป้าหมายของตน

ดังนั้นรัฐบาลและเอกชนในประเทศต่างๆ จึงมุ่งที่จะพัฒนาระบบการคมนาคมของตนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในขณะนี้การคมนาคมสื่อสารที่มีประสิทธิภาพที่มนุษย์สามารถคิดค้นได้คือการสื่อสารโทรคมนาคมโดยผ่านดาวเทียม

แต่การสื่อสารโทรคมนาคมผ่านดาวเทียมนั้นจำเป็นจะต้องใช้คลื่นวิทยุเป็นสื่อของข่าวสาร จึงมีข้อจำกัดในการใช้คลื่นวิทยุและการกำหนดตำแหน่ง (SLOT) ของดาวเทียมในวงโคจรให้มีปริมาณพอเหมาะเพื่อประสิทธิภาพการติดต่อสื่อสารไม่ให้คลื่นวิทยุแทรกแซงกัน

ดังนั้นเมื่อความต้องการใช้บริการติดต่อสื่อสารมีมากขึ้นเท่าใด ตำแหน่งที่ว่างดาวเทียมเพื่อการสื่อสารก็ยิ่งลดน้อยลง

เนื่องจากประเทศที่พัฒนาแล้วได้ส่งดาวเทียมขึ้นโคจรมากขึ้น ประเทศกำลังพัฒนาอันเป็นสมาชิกส่วนใหญ่ของสังคมระหว่างประเทศ ซึ่งขาดความพร้อมที่จะมีดาวเทียมเป็นของตนเองเริ่มหวั่นเกรงว่า เมื่อถึงเวลาที่ประเทศตนมีขีดความสามารถที่จะส่งดาวเทียมขึ้นสู่ท้องฟ้าได้ วงโคจรของดาวเทียมจะแออัดจนไม่มีตำแหน่งให้ดาวเทียมของตนอยู่ได้ จึงมีการเรียกร้องให้จัดระบบการสื่อสารระหว่างประเทศขึ้นใหม่ที่ให้ความเป็นธรรมต่อประเทศกำลังพัฒนา

กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาได้เสนอแนวความคิดและหลักการเรื่องทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ในการสื่อสารให้เป็นสมบัติร่วมกันของมนุษยชาติ (COMMON HERITAGE OF MANKIND)

แนวคิดเรื่อง COMMON HERITAGE OF MANKIND นี้ได้ปรากฏครั้งแรกในกรอบขององค์การสหประชาชาติปี 1958 ในการประชุมว่าด้วยกฎหมายทะเล โดยพระวงวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ได้ทรงกล่าวไว้ว่า "ทะเลเป็นสมบัติร่วมกันของมนุษยชาติ" (THE SEA IS THE COMMON HERITAGE OF MANKIND) และแนวคิดนี้ก็ได้รับการยอมรับจากสมาชิกระหว่างประเทศโดยทั่วกัน

แนวคิดเรื่องหลัก COMMON HERITAGE OF MANKIND ถูกนำมาใช้กับห้วงอวกาศโดยได้ปรากฏขึ้นครั้งแรกในปี 1952 ก่อนที่มนุษย์จะสามารถส่งดาวเทียมขึ้นโคจรในห้วงอวกาศ

ได้มีนักนิติศาสตร์เสนอว่า "ห้วงอวกาศและเทหวัตถุอื่นๆ เป็นสมบัติร่วมกันของมนุษยชาติ" แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับดังปรากฏในข้อมติของสมัชชาใหญ่สหประชาชาติที่ 1427 (XIV) 1959 เรื่อง ความร่วมสื่อสารระหว่างประเทศในการใช้ห้วงอวกาศเพื่อสันติ และสนธิสัญญาที่เกิดขึ้นในภายหลัง เช่น THE OUTER SPACE TREATY เองก็ยอมรับหลักการโดยกล่าวถึงหลักนี้ไว้ในอารัมภบทเช่นกัน

กล่าวโดยทั่วไปแล้วหลัก COMMON HERITAGE OF MANKIND มีความคล้ายคลึงกับหลัก RES COMMUNIS อันเป็นแนวคิดในการได้มาซึ่งทรัพย์สินตามกฎหมายโรมันที่ใช้กับดินแดนนอกพาณิชย์ (TERRUTIRIUM EXTRA COMMERCIUM) ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์หรือสิ่งของที่ทุกคนถือเป็นสมบัติร่วมมีลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ ไม่อาจถูกยึดถือครอบครองได้และทุกคนเป็นเจ้าของเท่าเทียมกันในการใช้หลัก RES COMMUNIS เป็นหลักที่ตรงข้ามกับหลัก RES NULLIUS ซึ่งใช้กับทรัพย์สินที่ไม่มีเจ้าของแต่อาจถูกยึดครอบครองได้

กลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกมักอ้างหลัก RES NULLIUS เพื่อครอบครองและใช้อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนที่ไม่มีผู้อยู่อาศัย เมื่อได้พบดินแดนเหล่านี้เข้าในยุคแสวงหาอาณานิคม

แต่ประเทศกำลังพัฒนาไม่ยอมรับหลัก RES NULLIUS ว่าเป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่สามารถปรับใช้ได้กับกฎหมายอวกาศ เพราะมิฉะนั้นก็จะมีแต่เพียงประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเท่านั้น ที่มีความสามารถในอันที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในห้วงอวกาศได้

เนื่องจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาขาดความรู้วิทยาการสมัยใหม่ ขาดเงินทุนในการศึกษาวิจัยและพัฒนารวมทั้งยังไม่สามารถจะสร้างอุปกรณ์เครื่องมือที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอวกาศได้

ในขณะที่กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วและมีความพร้อมทุกด้าน อยู่ในฐานะที่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ในการสื่อสารในลักษณะของ "ผู้มาก่อนย่อมได้ก่อน" (FIRST COME, FIRST SERVED) ประเทศกำลังพัฒนาย่อมไม่มีโอกาสที่จะมีส่วนได้เข้าถึงได้ใช้ประโยชน์จากวงโคจรดาวเทียมเพื่อการสื่อสารโทรคมนาคมและความถี่คลื่นวิทยุ

ความเห็นของประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่ยอมรับหลัก RES NULLIUS ว่าเป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่ใช้ในกฎหมายอวกาศ ได้รับการยอมรับจากสังคมระหว่างประเทศ ดังปรากฏในมาตรา 2 ของ THE OUTER SPACE TREATY 1967 ซึ่งบัญญัติว่า "ห้วงอวกาศรวมทั้งดวงจันทร์และเทหวัตถุอื่นๆ ไม่อยู่ภายใต้การครอบครองของรัฐในการอ้างอำนาจอธิปไตยโดยวิถีทางการใช้หรือยึดถือครอบครอง หรือโดยวิธีทางอื่นใด" และก็ได้รับการยอมรับโดยสนธิสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ 1982 ซึ่งจะกล่าวถึงในภายหลัง

แม้ว่าอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ 1982 จะได้รับรองหลัก EQUITABLE ACEESS โดยให้คำนึงถึงความจำเป็นพิเศษของประเทศกำลังพัฒนา และสภาพการณ์ทางภูมิศาสตร์นั้นก็ตาม แต่ก็ยังมิใช่หลักประกันว่า ทุกรัฐในสังคมระหว่างประเทศจะมีโอกาสได้เข้าถึง และได้ตำแหน่งในวงโคจรดาวเทียมเพื่อการสื่อสารโทรคมนาคมอันเป็นการได้สิทธิมาอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงได้จัดประชุมใหญ่ฝ่ายบริหารระดับโลกด้านการวิทยุ ว่าด้วยตำแหน่งในวงโคจรดาวเทียมเพื่อการสื่อสารโทรคมนาคม และกำหนดแผนการเพื่อใช้ประโยชน์ของบริการสื่อสารทางอวกาศในระหว่างปี 1985-1988 (WORLD ADMINISTRATIVE RADIO CONFERENCE ON THE GEOSTATIONARY ORBIT AND THE PLANNING OF THE SPACE SERVICES UTILZING IT : WARC-ORV 85-88) เพื่อพิจารณาและกำหนดแผนการจัดสรร (ALLOCATION) และการแบ่งสัน (ALLOTMENT) ตำแหน่งดาวเทียมในวงโคจรดาวเทียมเพื่อการสื่อสารโทรคมนาคมและความถี่คลื่นวิทยุเพื่อแก้ไขปัญหาที่ได้ปรากฏชัดมาตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1970

WARC-ORB 85-88 ได้จัดประชุม 2 วาระ โดยวาระแรกได้จัดขึ้นในปี 1985 ที่ประชุมได้รับหลักการที่สำคัญดังต่อไปนี้

1. ให้หลักประกันว่า รัฐจะได้รับจัดสรรตำแหน่งดาวเทียมในวงโคจรดาวเทียมเพื่อการสื่อสารโทรคมนาคมและความถี่คลื่นวิทยุอย่างเป็นธรรม (GUARANTEE OF ACCESS AND EAUITABILITY) อย่างน้อยที่สุดก็จะได้ 1 ตำแหน่งและบางรัฐอาจได้มากกว่าหนึ่งสำหรับการสื่อสารโทรคมนาคมภายในประเทศ

2. จัดสรรแบ่งความถี่ให้กับบริการอื่น (SHARING WITH OTHER SERVICE) บนพื้นฐานเบื้องต้นของความจำเป็นที่เท่าเทียมกัน (EQUAL PRIMARY BASIS)

3. สงวนรักษาทรัพยากร (RESERVATION OF RESOURCES) ในการพิจารณากำหนดแผนการ ให้พิจารณาถึงตำแนห่งดาวเทียมและความถี่คลื่นวิทยุที่มีอยู่ทั้งหมดและให้กันส่วนสงวนไว้ สำหรับความต้องการในอนาคตของสมาชิกในอนาคตของสหภาพโทรคมนาคม โดยรัฐมิได้มีสิทธิในการใช้อย่างถาวร (PERMANENT PRIORITY USE) ในลักษณะกีดกันรัฐอื่นที่จะได้รับจัดสรร

WARC ORB 85-88 ได้จัดประชุมวาระที่ 2 ในปี 1988 ในที่ประชุมประสบกับปัญหาสำคัญทั้งในด้านการเมืองและด้านเทคนิคหลาประการ

ประเด็นหลักในการประชุมนั้นคือแผนการแบ่งสรร (ALLOTMENT PRAN) ซึ่งส่วนแรกเป็นการกำหนดตำแหน่งดาวเทียมให้ทุกประเทศ และส่วนหลังเป็นการกำหนดโดยพิจารณาถึงระบบดาวเทียมที่กำลังใช้อยู่ (EXISTING SYSTEM)

WARC-ORB 85-88 วาระที่ 2 นี้ ประสบผลสำเร็จเป็นที่พอใจของประเทศกำลังพัฒนา แต่ประเทศพัฒนาแล้วไม่ค่อยพอใจกับผลประชุมนี้นักโดยมีบางประเทศตั้งข้อสงวนไว้

แม้ว่าจะมีการเจรจาเกี่ยวกับการดำเนินกิจารที่เกี่ยวข้องกับดาวเทียมโดยประเทศกำลังพัฒนาได้ลุกขึ้นต่อสู้เพื่อสิทธิของตนกับประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ในปัจจุบันปัญหาเรื่องตำแหน่งดาวเทียมเริ่มก่อตั้งขึ้นระหว่างประเทศกำลังพัฒนาแล้ว เพราะประเทศเหล่านี้เริ่มมีศักยภาพในการส่งดาวเทียมของตนเองขึ้นโคจร

และปัญหาเหล่านี้มักจะเกิดกับกลุ่มประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน เช่น ประเทศจีน, ไทย, ฮ่องกง หรือสิงคโปร์

ดังกรณีที่เอเชียแซทของฮ่องกงได้ร้องเรียนต่อสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศว่า วงโคจรดาวเทียมไทยคมที่จะยิงขึ้นไปนั้น อยู่ใกล้วงโคจรดาวเทียมเอเชียแซท 2 ที่จะส่งขึ้นโคจรซึ่งสัญญาณคลื่นวิทยุอาจมีการรบกวนกันได้

อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นหรือกำลังจะเกิดขึ้นก็คือการหันหน้าร่วมมือเข้าเจรจาไม่ว่าจะเป็นการเจรจาแบบทวิภาคระหว่างประเทศ ที่มีข้อขัดแย้ง หรือการเจรจาแบบพหุภาคีที่มีการตกลงกันระหว่างประเทศในภูมิภาคเดียวกัน โดยวางอยู่บนหลักกฎหมายและการเมืองระหว่างประเทศ

สิ่งเหล่านี้อาจนำมาถึงจุดที่หลายๆ ฝ่ายสามารถประนีประนอมในเรื่องผลประโยชน์แต่ละประเทศได้ ซึ่งคงจะเป็นวิถีทางแก้ไขที่ดีที่สุดในสังคมระหว่างประเทศ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us