Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน21 พฤศจิกายน 2550
เอ็กโกฟุ้งปี51รายได้โตต่อ10% เล็งแตกพาร์ชี้หุ้นสภาพคล่องต่ำ             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ผลิตไฟฟ้า, บมจ.
Electricity
วิศิษฎ์ อัครวิเนค




เอ็กโก มั่นใจชนะประมูลไอพีพีอย่างน้อย 1โรงจากที่ยื่นไป 2.8 พันเมกะวัตต์ ติงคณะกรรมการคัดเลือกไอพีพี พิจารณาอย่างรอบคอบอย่าดูเพียงค่าไฟถูก ต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ของโครงการหลังพบโรงไฟฟ้าถ่านหินบางโครงการส่อแววชวด อีไอเอ "วิศิษฎ์" ฟุ้งรายได้ปีนี้เกินเป้าแตะ 2.3 หมื่นล้านบาท ปี51 โตอีก 10% เร่งศึกษาผลดี-เสียเพื่อแตกพาร์ คาดได้ข้อสรุปปีหน้า แก้ปัญหาสภาพคล่องต่ำ RATCH จ่อถอนฟ้องศาลปกครอง และอนุมัติสัดส่วนการถือหุ้นโครงการโรงไฟฟ้าหงสาในลาว 40%

นายวิศิษฎ์ อัครวิเนค กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) (EGCO) เปิดเผยว่า บริษัทฯยังมีความมั่นใจที่จะได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ชนะการประมูลโครงการรับซื้อไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี)ประมาณ 30%ของกำลังการผลิตที่บริษัทได้ยื่นประมูลไป 2,800 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็น 800 เมกะวัตต์ แต่ก็มีความกังวลเกี่ยวกับวิธีการตัดสินของคณะกรรมการฯ หากใช้ราคาค่าไฟมาตัดสินใจคัดเลือกเป็นหลักโดยไม่คำนึงถึงความเป็นไปได้ของโครงการและสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้า หวั่นจะเกิดเหตุการณ์เดียวกับโรงไฟฟ้าหินกรูด และโรงไฟฟ้าบ่อนอก

เนื่องจากการประมูลไอพีพีรอบนี้ มีโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีการยื่นประมูลถึง 5 โครงการ โดยบางโครงการมีความเป็นได้ค่อนข้างต่ำที่จะผ่านอีไอเอจาก สผ.เพราะบางโครงการโรงไฟฟ้าตั้งอยู่พื้นที่ป่าชายเลน เป็นต้น จึงอยากให้มีการแยกการพิจารณาออกเป็น 2 กลุ่ม คือโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซฯ

" ในเรื่องราคาที่เสนอประมูลไอพีพีไปนั้นบริษัทมีความมั่นใจหากแข่งขันกับโครงการโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซฯเป็นเชื้อเพลิงเหมือนกัน แต่ถ้าคณะกรรมการที่พิจารณาคัดเลือกฯไอพีพี ดูเพียงราคาค่าไฟที่เสนอเป็นหลัก โดยไม่คำนึงถึงประเภทเชื้อเพลิงและความเป็นไปได้ของโครงการ เชื่อว่าสุดท้ายเราอาจเป็นตัวสำรอง เพราะต้นทุนค่าไฟจากถ่านหินจะต่ำกว่าก๊าซธรรมชาติ"

ทั้งนี้ บริษัทได้ยื่นประมูลโครงการไอพีพีจำนวน 3 โครงการ คิดเป็น 2,800 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยโครงการโรงไฟฟ้าที่จังหวัดระยอง 2 ยูนิตๆละ 800 เมกะวัตต์รวม 1,600 เมกะวัตต์ ส่วนขยายโรงไฟฟ้าขนอม 400 เมกะวัตต์ โครงการโรงไฟฟ้าที่ราชบุรี 800 เมกะวัตต์

นายวิศิษฎ์ กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้คาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2 หมื่นล้านบาท ส่วนปีหน้ารายได้บริษัทฯจะเติบโตต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 10% หลังจากรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 ระยะ2 ที่จะส่งไฟเข้าระบบตามกำหนดมี.ค.2551 แต่คาดว่าจะส่งไฟเข้าระบบได้เร็วขึ้น

นอกจากนี้ บริษัทฯจะเจรจากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)เพื่อต่อสัญญารับซื้อไฟฟ้า(PPA)จากโรงไฟฟ้าขนอมและโรงไฟฟ้าระยองที่จะครบกำหนดสัญญาPPA ในปี 2554 และ2557 ตามลำดับ ออกไปอีก 10ปี

สำหรับการลงทุนในปี 2551 คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 1.5 -2 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้ในการลงทุนโรงไฟฟ้าต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดยไม่รวมโครงการไอพีพีที่เข้าร่วมประมูล เพราะถ้าเอ็กโกชนะประมูลไอพีพีจะใช้เงินลงทุนถึง 1.6 หมื่นล้านบาทต่อโรง

โดยโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ-น้ำอู สปป.ลาว คาดว่าจะได้ข้อสรุปสัดส่วนการถือหุ้นในสิ้นเดือนพ.ย.นี้ โดยเอ็กโกต้องการถือหุ้นประมาณ 25-30% รวมทั้งยังมีแผนจะสร้างโรงไฟฟ้าในฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานใต้พิภพ(พลังงานความร้อนใต้ดิน) ขนาด 200 เมกะวัตต์ อยู่ตอนกลางเกาะมินดาเนา คาดว่าจะได้ข้อสรุปในปี 2551 จากปัญหาราคาพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ทำให้รัฐบาลมีนโยบายที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในอีก 13ปีข้างหน้า ซึ่งบริษัทฯได้กำหนดแผนการศึกษาเกี่ยวกับโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไว้ในแผนการดำเนินธุรกิจ 5 ปีข้างหน้า เพราะเชื่อว่าพลังงานนิวเคลียร์จะเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคในอนาคต

"วันนี้ไทยมีทางออกด้านพลังงานน้อยมาก เชื่อว่าในปี 2554 ปริมาณก๊าซจากอ่าวไทยและพม่าจะไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ ขณะที่ปตท.ในฐานะผู้จัดหาพลังงานก็ขยับการจัดหาก๊าซฯLNGช้ามาก ทำให้ราคาLNGแพง ส่งผลต่อค่าไฟฟ้า แต่ก็ยังดีกว่าไม่มีก๊าซฯใช้ "

เตรียมกู้เงิน8พันล้านรีไฟแนนซ์

นายวิศิษฎ์ กล่าวต่อไปว่า บริษัทฯเตรียมกู้เงินจากสถาบันการเงินวงเงิน 8 พันล้านบาทในเดือนธันวาคมนี้ เพื่อนำมาชำระหนี้เงินระยะสั้นที่จะครบกำหนดในต้นปีหน้าประมาณ 5-6 พันล้านบาท หลังจากพิจารณาแล้วเห็นว่าแนวทางการกู้เงินมีความเหมาะสมมากกว่าการออกหุ้นกู้

เล็งแตกพาร์ปี51

ขณะนี้ เอ็กโกอยู่ระหว่างการศึกษาข้อดีและข้อเสียในการที่จะแตกพาร์(มูลค่าที่ตราไว้)หุ้นละ 10 บาท คาดว่าจะได้ข้อสรุปในปี 2551 เนื่องจากปัจจุบันจำนวนหุ้นเอ็กโกมีสภาพคล่องค่อนข้างต่ำ โดยบริษัทไม่มีแผนจะเพิ่มทุนจดทะเบียนในอีก 5ปีข้างหน้า แม้ว่าบริษัทฯจะมีความจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้นมากหากชนะประมูลไอพีพีก็ตาม

แหล่งข่าวจากวงการไฟฟ้า กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) มีมติให้บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีถอนคำร้องจากศาลปกครอง ในคดีที่ให้เพิกถอนคำสั่งของกระทรวงพลังงานที่ตัดสิทธิบริษัทฯ ในการเข้าร่วมประมูลโครงการไอพีพีเนื่องจากไม่ผ่านการคัดเลือกด้านเทคนิค

RATCH ถือหุ้นโรงไฟฟ้าหงสา40%

นายณรงค์ สีตสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)(RATCH) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติให้ลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนถ่านหินหงสาใน สปป.ลาว โดยจะมีการลงนามในสัญญาร่วมพัฒนาโครงการ หรือJoint Development Agreement (JDA) ระหว่างกลุ่มผู้ร่วมทุนรวม 3 ราย คือ RATCH 40% บริษัท บ้านปูเพาเวอร์ 40% และรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนลาว 20%

นอกจากนี้ ยังอนุมัติการลงทุนในโครงการบริษัทเหมืองถ่านหิน ผู้ร่วม ทุนประกอบด้วย RATCH ถือหุ้น 37.5% บริษัท บ้านปูเพาเวอร์ จำกัด 37.5% และรัฐบาลลาว25% อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีนักลงทุนจากประเทศจีนเข้าถือหุ้นเพิ่ม สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทในโครงการโรงไฟฟ้าหงสาลิกไนต์และบริษัทเหมืองถ่านหินจะลดลงเหลือ 30% และ 28.125% ตามลำดับ

ทั้งนี้ โครงการโรงไฟฟ้าหงสา มีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 1,653 เมกะวัตต์ต่อปี โดยจะนำไฟฟ้าขายกลับมายังประเทศไทย 1,470 เมกะวัตต์ต่อปี มีมูลค่าโครงการรวมทั้งสิ้นประมาณ 2,600 ล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจาข้อตกลงเบื้องต้นในการรับซื้อไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ได้ประมาณปี2556   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us