Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2535
"สยามกลการทศวรรษที่ 5 ให้จับตา "พรพินิจ"             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท สยามกลการ จำกัด

   
search resources

สยามกลการ, บจก.
พรทิพย์ ณรงค์เดช
พรพินิจ พรประภา
Vehicle




วันที่ 4 กันยายนนี้ นับเป็นปีที่คนในสยามกลการ ตื่นเต้นเป็นพิเศษ เพราะเป็นการฉลอง 40 ปีสยามกลการ ชื่อบริษัทซึ่ง ม.ล. ยวง อิศรเสนา ตั้งให้กับถาวร พรประภา ผู้รับมรดกร้าน "ตั้งท่งฮวด" จาก "ไต้ล้ง" ต้นตระกูล "พรประภา"

แม่งานของงานฉลอง 40 ปีสยามกลการในปีนี้ จะชื่อคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช ผู้จัดการใหญ่สยามกลการบุตรสาวคนโตของถาวร พรประภานั่นเอง

40 ปีที่ผ่านมาความสำเร็จของสยามกลการมาจากความมุ่งมั่นในการทำงานของถาวร พรประภา ภายใต้ความช่วยเหลืออย่างดีของ MR. KAWAMATA ประธานนิสสันมอเตอร์ในอดีต เนื่องจากไม่ต้องการที่จะให้บริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์นิสสันนอกประเทศญี่ปุ่นรายแรกต้องประสบปัญหาในการดำเนินการ

นอกจากนั้นในบางเสี้ยวของความยิ่งใหญ่ของสยามกลการ คนในตระกูลพรประภาจะต้องไม่ลืมชื่อของ "นุกูล ประจวบเหมาะ" อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ได้รับการเชื้อเชิญจากเจ้าหนี้ (แบงก์กรุงเทพ) ให้รับตำแหน่งประธานแทน ในยุคที่การแข่งขันในอุตสาหกรรมรถยนต์มีสูง รวมทั้งวางรากฐานด้านการเงินให้กับสยามกลการด้วย แม้ในที่สุดนุกูลจะต้องออกจากสยามกลการมาอย่างเจ็บปวด เพราะสยามกลการต้องอยู่คู่กับคนในตระกูล "พรประภา" ก็ตาม

อันว่าธุรกิจรถยนต์นั้น ความสำเร็จที่จะเป็นเครื่องชี้ว่าดีหรือไม่ดีนั้นเป็นเรื่องที่ต้องวัดกันตรงการตลาด ว่าบริษัทใดประสบความสำเร็จในเรื่องการตลาดมากกว่ากัน ดังนั้นแม่ทัพรุ่นต่อไปของสยามกลการก็ต้องมาจากสายการตลาด

บังเอิญคนในตระกูล "พรประภา" ในรุ่นของ "พร" ที่จับต้องงานสายการตลาดมาโดยเฉพาะก็คือ "พรพินิจ" ดังนั้นจึงไม่อาจจะไม่กล่าวถึงคนๆ นี้ได้ แม้ว่าในวันนี้คนในรุ่น "พร" ที่มีอำนาจมากที่สุดในสยามกลการจะชื่อ "พรทิพย์" ก็ตาม แต่เชื่อกันว่าถึงวันหนึ่ง คุณหญิงพรทิพย์ก็คงจะทิ้งสยามกลการไปได้โดยไม่มีความอาลัยมากนัก เพราะมีเคพีเอ็น. เป็นธุรกิจส่วนตัวรองรับ แม้ที่ผ่านมาตัวของคุณหญิงเอง จะเป็นส่วนหนึ่งของสยามกลการก็ตาม

จะว่าไปแล้ว กว่าจะถึงวันนี้ของสยามกลการ บริษัทนี้ต้องเผชิญมรสุมการแข่งขันหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือกระทั้งการแข่งขันกันภายใน จนครั้งหนึ่งในอดีตที่ผ่านมา องค์กรแห่งนี้ก็แทบจะหน้ามืดกับภาระหนี้สินที่รุมเร้าขณะที่ยอดขายก็ฝืด แถมความเป็นบริษัทครอบครัว จีงมักจะมีข่าวเกี่ยวกับ "ศึกสายเลือด" อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระหว่างพี่กับน้อง อากับหลาน

แต่ถึงวันนี้ ดูเหมือนว่าทุกอย่างในสยามกลการจะจัดการ "ภายใน" เสร็จเรียบร้อยแล้วกล่าวคือ คนในสยามกลการหลายคน เริ่มที่จะมี "อาณาจักร" เป็นของตนเองอย่าง ปรีชา พรประภา น้องชายของถาวรที่เริ่มก่อตั้งสยามกลการมาด้วยกันก็ตั้ง "สยามอินเตอร์" ขึ้นมาเป็นธุรกิจด้านการนำเข้ารถยนต์เป็นของตนเอง

พรเทพ พรประภา ที่กล่าวกันว่าน่าที่จะขึ้นมารับอำนาจแทน "พี่สาว" คือคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช ก็มีอาณาจักรของตนเองคือ บางกอกมอเตอร์เวอร์ค ดังนั้นเขาน่าที่จะมีความสุขกับธุรกิจของตนเองมากกว่าตำแหน่งในสยามกลการ

ที่สำคัญก็คือ ตัวของคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช มีอาณาจักรที่ชื่อ "เคพีเอ็น." ที่มาจากชื่อย่อของเกษม-พรทิพย์ ณรงค์เดชอยู่แล้ว จึงเชื่อว่าในอนาคตคุณหญิงเองคงให้ความสนใจกับเคพีเอ็น. มากกว่างานของสยามกลการแน่นอน

เมื่อหลายคนมีอาณาจักรเอง ความต้องการที่จะครอบครองสยามกลการก็หมดไป ความขัดแย้งที่เคยเป็นอุปสรรคในการพัฒนาสยามกลการก็หมดไป

เหลือเพียงพรพินิจ พรประภาเท่านั้น ทีจะก้าวมาดูสยามกลการอย่างจริงจัง

จะว่าไปแล้วคนในสยามกลการเอง ก็ยอมรับว่า พรพินิจเป็นคนที่มี "ฝีมือ" ไม่แพ้ใครในวงการธุรกิจรถยนต์ เพียงแต่ที่ผ่านมานั้นบทบาทของเขาถูกกลืนอยู่ในส่วนของบุคคลอื่นๆ ที่เป็นเหมือนม่านบังเขาไว้

และดูเหมือนว่าพรพินิจเองก็พอใจในบทบาทนั้นท่ามกลางความเชื่อมั่นของคนในบังคับบัญชาของเขาว่า เขากำลังสะสมประสบการณ์และความรู้ด้านธุรกิจรถยนต์ และพรพินิจเองก็เริ่มปรากฏตัวต่อสาธารณชนในฐานะรองผู้จัดการใหญ่ด้านการตลาดของสยามกลการเมื่อไม่นานมานี้เอง

ทั้งๆ ที่ว่าไปแล้ว ความรู้ด้านปริญญาตรีสังคมศาสตร์จาก RIKYO UNIVERSITY จากประเทศญี่ปุ่น และอายุงานในสยามกลการกว่า 15 ปี นับจากเริ่มต้นงานในฝ่ายเลขาธิการเมื่อปี 2520 อันเป็นตำแหน่งที่ใกล้ชิดกับถาวร พระประภา จนกระทั้งมาจับงานด้านการตลาดจนถึงวันนี้เป็นเครื่องชี้ถึงความเหมาะสมในการเตรียมขึ้นนั่งเก้าอี้ใหญ่ในสยามกลการได้เป็นอย่างดี

กล่าวกันว่า ที่ผ่านมานั้นแม้คุณหญิงพรทิพย์ จะส่งเสริมพรเทพมากกว่าพรพินิจ เนื่องจากความเป็นพี่น้องมารดาเดียวกันก็ตาม แต่การที่พรพินิจมี "พี่เลี้ยง" ที่ดีๆ ในเรื่องการตลาดหลายคน เช่น ประพัฒน์ เกตุมงคล ที่ดึงตัวมาจากสยามยามาฮ่า เออร์วิน มูลเลอร์ ที่มาจากยางสยาม ศิริชัย สายพัฒนา หรือคนรุ่นเก่าอย่างกวี วสุวัต ปรีชา พงษ์เพชร ล้วนแต่ช่วยในการ "บ่ม" ความรู้ให้กับพรพินิจทั้งนั้น จนกระทั่งในทุกวันนี้เขากล้าที่จะออกมาให้ความเห็นต่อสาธารณชนในเรื่องตลาดรถยนต์หลายครั้ง

นอกจากนี้การที่พรเทพแสดงให้เห็นว่า เขาสนใจที่จะมุ่งพัฒนาอาณาจักรบางกอกมอเตอร์เวอร์คของตนมากกว่าสยามกลการของตระกูล คุณหญิงพรทิพย์ จึงต้องส่งเสริมให้พรพินิจพร้อมที่จะก้าวขึ้นมารับตำแหน่งใหญ่ในสยามกลการโดยเร็ว

เพราะถึงอย่างไรสยามกลการก็ต้องเป็นของ "พรประภา"

และ "พรประภา" รุ่น "พร" ที่เหลือที่จะรับตำแหน่งก็มี "พรพินิจ" เท่านั้นที่เหมาะสมที่สุด

ขณะเดียวกันในสงครามการตลาดของธุรกิจรถยนต์ ที่ต้องแข่งขันกันในเรื่องการตลาดเพราะเป็นธุรกิจแบบ GLOBALIZE ที่มีทั้งรถยนต์นำเข้าและรถยนต์ที่ประกอบในประเทศแล้ว ดูเหมือนว่าความเหมาะสมของคนชื่อ "พรพินิจ" จะยิ่งมีมากขึ้น เมื่อพิจารณาจากประสบการณ์ของเขาในสยามกลการที่ผ่านมา ที่เน้นในการดูเรื่องการตลาดเป็นหลัก

ความเหมาะสมที่ดูจะลงตัวพอดีตรงนี้ จึงน่าจะการันตีชื่อได้เลยว่า ผู้จัดการใหญ่คนต่อไปของสยามกลการ จะต้องชื่อ พรพินิจ พรประภา แม้อาจจะต้องรอจนถึงสยามกลการจะฉลองครบ 50 ปีก็ตาม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us