Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 พฤศจิกายน 2550
ธปท.หวั่นตลาดการเงินโลกผันผวน สั่งแบงก์คุมเข้มลงทุนCDO-อนุพันธ์             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Banking and Finance




ธปท.หวั่นความผันผวนตลาดโลกสั่งแบงก์คุมเข้มการลงทุนใน CDO และธุรกรรมทางการเงินที่มีอนุพันธ์แฝงให้ประเมินราคาของตราสารอย่างน้อยเดือนละครั้งตามเกณฑ์บัญชีใหม่ IAS39 ระบุหากพบผลขาดทุนให้หักจากเงินกองทุนงวดนั้นทันที หรือผลขาดทุนส่อให้เงินกองทุนต่ำกว่าเกณฑ์ของธปท.ห้ามแบงก์ลงทุนเด็ดขาดและรายงานการแก้ไขฐานะต่อธปท.ทันที

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง ธปท. ได้ส่งหนังสือเวียนถึงธนาคารพาณิชย์ในระบบ ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยจำนวน 2 ฉบับ คือ ปรับปรุงหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ลงทุนในตราสาร Collateralized Debt Obligation (CDO) และอนุญาตให้ทำธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง เนื่องจากมองว่าในช่วงที่ตลาดโลกมีความผันผวนมากขึ้นจำเป็นที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีระบบการบริหารความเสี่ยง และมีการบันทึกบัญชี รวมทั้งการรับรู้ผลขาดทุนที่เหมาะสม

ทั้งนี้ ในประกาศฉบับนี้ได้ปรับปรุงให้ธนาคารพาณิชย์จะต้องประเมินมูลค่ายุติธรรม (Fair Value)ของตราสาร CDO ที่ธนาคารพาณิชย์ลงทุนเพิ่มอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 (IAS39) โดยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์จะต้องประเมินราคายุติธรรมของ CDO และหากพบว่ามีผลขาดทุนให้นำผลขาดทุนหักออกจากเงินกองทุน ณ งวดบัญชีล่าสุดทันที ทั้งนี้ การคำนวณให้รวมการลงทุนใน CDO ธุรกรรมเงินฝากหรือพันธบัตรที่อ้างอิงจากการค้ำประกันสินเชื่อ และธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงด้วย โดยหากมีตราสารทั้ง 3 ประเภทรวมกันไม่เกินกว่า1% ของสินทรัพย์รวมให้ประเมินผลกระทบทุกเดือน แต่หากมีเกินกว่า 1% ให้คำนวณผลกระทบทุกวัน

โดยหากยังมีเงินทุนเพียงพอในขณะนี้ แต่ไม่เพียงพอหากมีการลงทุนใน CDO หรือตราสารในลักษณะเดียวกันนี้เพิ่มในอนาคต ธปท.จะไม่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ลงทุนเพิ่มเติมได้อีก แต่หากคำนวณแล้ว พบว่า ผลขาดทุนจากการลงทุนดังกล่าวมีผลให้เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงต่ำกว่าเกณฑ์ที่ ธปท.กำหนด ธนาคารพาณิชย์ต้องรายงาน ธปท.เป็นลายลักษณ์อักษร และรายงานตรงต่อผู้เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการ และส่งแนวทางในการแก้ไขปัญหามาให้ ธปท.รับทราบ

สำหรับเงื่อนไขการลงทุนใน CDO ของธนาคารพาณิชย์จะต้องเป็นตราสารที่ได้รับอันดับความน่าเชื่อจากสถาบันที่ได้รับความเชื่อถือตั้งแต่ BBB หรือเทียบเท่าขึ้นไปเท่านั้น และหากเป็นการลงทุนใน Synthetic CDO กำหนดเพิ่มว่าจะต้องลงทุนได้ในเฉพาะกรณีที่ผู้ออกขายตราสารนำเงินที่ได้ไปลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารชั้นดีที่มีอันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันที่ได้รับการยอมรับ ตั้งแต่ระดับ AA หรือเทียบเท่าขึ้นไป โดยการลงทุนใน CDO ถือเป็นอำนาจและความรับผิดชอบของคณะกรรมการธนาคาร ทั้งนี้ หากต่อมา CDO ดังกล่าวถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่า BBB ธนาคารพาณิชย์จะสามารถถือตราสารดังกล่าวได้ต่อไป เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการธนาคารเท่านั้น และต้องเก็บหลักฐานการอนุมัติดังกล่าวให้ ธปท.ตรวจสอบด้วย

นอกจากนั้น ยังห้ามไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ลงทุนใน CDO ที่มีลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อชื้อหลักทรัพย์ (บัญชีมาร์จิ้น) ตราสารที่นับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ที่ลงทุน และตราสาร CDO เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ยกเว้นจะได้รับอนุญาตจาก ธปท. เป็นกรณีไป จากเดิมที่ ธปท.อนุญาตให้ลงทุนโดยไม่จำกัดอันดับความน่าเชื่อถือเพียงแต่อยู่ในเกรดการลงทุน (Investment Grade) และไม่จำกัดสินทรัพย์ค้ำประกัน

ส่วนในกรณีของธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงได้จะต้องไม่มีลักษณะทำให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจหรือการเงิน เช่น การทำธุรกรรมที่มีผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนและอัตราแลกเปลี่ยน โดยหากเป็นอนุพันธ์แฝงที่อ้างอิงกับตัวแปรต่างประเทศ หรือเป็นสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าจะต้องทำกับผู้ลงทุนสถาบันหรือบุคคลที่จะต้องส่งมอบเงินตราต่างประเทศในอนาคต หรือมีสัญญาการส่งมอบเงินตราต่างประเทศที่มีกำหนดในสัญญาของอนุพันธุ์แฝงเท่านั้น และจะต้องปฎิบัติตามมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทอย่างเข้มงวด

ทั้งนี้ ในหนังสือเวียนที่ออกในครั้งนี้นั้นได้กำหนดให้เปลี่ยนการลงบัญชีของธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงให้เป็น IAS 39 เช่นเดียวกับ CDO และกำหนดให้คำนวณผลกระทบของการลงทุนดังกล่าวในลักษณะเดียวกับ CDO ด้วย เพื่อให้การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ทั้งหมดนี้ไม่กระทบต่อเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงและฐานะของธนาคารพาณิชย์

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่ามีความเป็นไปได้ที่การใช้มาตรฐานบัญชี IAS39 ในการประเมินมูลค่ายุติธรรมของตราสารอนุพันธ์เหล่านี้แทนมาตรฐานบัญชีของไทย อาจจะมีผลต่อผลขาดทุน หรือการเสื่อมมูลค่าของตราสารที่ธนาคารพาณิชย์ลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารพาณิชย์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us