|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตไตรมาส 4 กระเตื้อง เหตุผู้ประกอบแห่ขนแคมเปญล่อใจช่วงโค้งสุดท้ายของปี ซึ่งเป็นเทศกาลแห่งการจ่ายจับสินค้า คาดมียอดรวมทั้งไตรมาส 194,410 ล้านบาท โต 12.38%เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปีก่อน เตือนผู้ใช้อย่ารูดเพลินระวังหนี้สินพอกพูนอาจเกิดปัญหาการชำระหนี้ในอนาคต
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินแนวโน้มการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2550 โดยคาดว่าจะมีปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่สูง เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาล เป็นฤดูแห่งการใช้จ่ายหรือหาซื้อของขวัญในเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ และยังเป็นอีกช่วงหนึ่งที่คนไทยนิยมเดินทางท่องเที่ยว ซึ่งเป็นช่วงที่ธุรกิจบัตรเครดิตน่าจะมีการเติบโตเร่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากผู้ประกอบการบัตรเครดิตที่ต่างเร่งทำการตลาดเพื่อเร่งทำเป้ารายได้สินเชื่อที่บัตรเครดิตให้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ โดยผู้ประกอบการบัตรเครดิตเน้นการทำตลาดร่วมกับพันธมิตร อาทิ ห้างสรรพสินค้า สายการบิน โรงแรม และร้านค้าเฉพาะอย่าง (Specialty Stores) มากขึ้น อาทิ ผู้ซื้อสินค้าสามารถผ่อนชำระสินค้าแบบ 0% ผ่านบัตรเครดิตที่ร่วมกับร้านค้านั้นๆ การเพิ่มคะแนนสะสมเพื่อแลกของรางวัล การให้ของสมนาคุณจากยอดใช้จ่ายผ่านบัตร การเสนอรายการคืนเงินเมื่อมียอดใช้จ่ายผ่านบัตร และการมอบส่วนลดในการซื้อสินค้าต่างๆ ยังคงเป็นกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการบัตรเครดิตยังคงใช้เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าชำระค่าสินค้าผ่านบัตรเครดิตแทนเงินสด เป็นต้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการทุกกลุ่มให้ความสำคัญต่อกลยุทธ์กระตุ้นการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่เหลือของปี 2550 นั้น ธุรกิจบัตรเครดิตอาจจะยังคงต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาวะเงินเฟ้อ ค่าครองชีพที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันที่สูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอาจจะส่งผลกระทบต่ออำนาจซื้อของผู้บริโภคบางกลุ่ม ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในไตรมาส 4 ปี 2550 น่าจะอยู่ที่ประมาณ 194,410 ล้านบาท ขยายตัว 12.38% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2549 เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3 แต่ต่ำกว่าจากที่ขยายตัว 15.34% ในไตรมาส 4 ปี 2549
นอกจากการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงแล้ว ความสามารถในการผ่อนชำระสินเชื่อของผู้บริโภคบางกลุ่มยังถูกกระทบจากปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจด้วย ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ปรับลดประมาณการณ์ยอดสินเชื่อคงค้างบัตรเครดิต คาดว่าสินเชื่อคงค้างบัตรเครดิตในไตรมาส 4 ปี 2550 น่าจะอยู่ที่ประมาณ 188,500 ล้านบาท ขยายตัว 10.23% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2549 ซึ่งชะลอลงจากการขยายตัวที่ 17.31% ในปี 2549 โดยการขยายตัวยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ทั้งนี้ สาเหตุส่วนหนึ่งจะมาจากการปรับลักษณะการก่อหนี้ของผู้ที่ได้รับผลกระทบในการผ่อนชำระสินเชื่อบัตรเครดิตทำให้ต้องหันมาพึ่งสินเชื่อเงินสดมากขึ้น
อย่างไรก็ดี จากการแข่งขันธุรกิจบัตรเครดิตที่รุนแรงในขณะนี้ ผู้บริโภคย่อมได้รับประโยชน์จากการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการ ซึ่งจะเห็นได้จากแคมเปญการตลาดที่พยายามเพิ่มสิทธิประโยชน์ในบัตรเครดิต การใช้บัตรเครดิตเพื่อเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้าหรือบริการ ตลอดจนการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเพื่อรับ หรือแลกของรางวัล เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคชำระสินค้าผ่านบัตรเครดิตแทนเงินสดมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้บริโภคที่ประสบกับปัญหาสภาพคล่องสามารถใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าหรือบริการก่อนได้ และสามารถผ่อนชำระบัตรเครดิตได้เป็นรายเดือน โดยไม่จำเป็นต้องชำระเป็นเงินก้อน
สำหรับในส่วนของผู้บริโภคถึงแม้ว่าจะได้รับประโยชน์จากการแข่งขันก็ตาม แต่ผู้บริโภคควรคำนึงถึงว่า การชำระสินค้าหรือบริการผ่านบัตรเครดิตเปรียบเสมือนการนำเงินในอนาคตมาใช้ เมื่อถึงรอบบัญชีเรียกเก็บหากชำระไม่เต็มจำนวนก็จะถูกคิดอัตราดอกเบี้ยในรอบบัญชีถัดไป ซึ่งหากผู้ที่ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตไม่มีความระมัดระวัง ก็อาจจะก่อให้เกิดการสะสมเป็นวงเงินที่สูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการผ่อนชำระในอนาคตได้ ทั้งนี้ ผู้บริโภคควรวางแผนการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต เช่น การกำหนดวงเงินใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในแต่ละเดือน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการผ่อนชำระภายหลัง นอกจากนี้ สิ่งที่ผู้ใช้บัตรเครดิตควรคำนึงถึงคืออัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต ซึ่งในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตได้ถูกปรับขึ้นเป็น 20% ซึ่งทำให้ผู้ที่ชำระบัตรเครดิตขั้นต่ำหรือชำระไม่เต็มจำนวน ได้รับผลกระทบในอนาคตได้
ส่วนธุรกิจบัตรเครดิตไตรมาส 3 ปี 2550 ยังคงขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยภาพรวมปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในไตรมาส 3 ปี 2550 มีมูลค่าทั้งสิ้น 176,419 ล้านบาท ขยายตัว 12.07% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจากไตรมาส 2 ที่มีการเติบโต 13.38% โดยการชะลอตัวของธุรกิจบัตรเครดิตในช่วงที่ผ่านมานั้น น่าจะเกิดจากปัจจัยเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะการปรับขึ้นราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการชะลอการใช้จ่ายของประชาชน รวมทั้งเกิดจากมาตรการของทางการ ได้แก่ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตจาก 18% เป็น 20 % มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2550 และการปรับขึ้นการชำระขั้นต่ำยอดสินเชื่อคงค้างบัตรเครดิตจาก 5% เป็น 10% ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2550
โดยเมื่อแยกพิจารณาตามกลุ่มผู้ประกอบการ พบว่า ไตรมาส 3 ปี 2550 ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยมีมูลค่า 83 ,104 ล้านบาท โดยขยายตัว 12.16% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งลดลงจากที่ขยายตัว 15.19% ในไตรมาส ในส่วนของกลุ่มผู้ประกอบการสาขาธนาคารต่างประเทศมีปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตมีปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตทั้งสิ้น 26 ,650 ล้านบาท และขยายตัว 21.49% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งลดลงจากที่ขยายตัว 23.51% ในไตรมาส 2
สำหรับปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของสถาบันที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์นั้นเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นในไตรมาสนี้ โดยในไตรมาส 2 มีปริมาณการใช้จ่ายทั้งสิ้น 64 ,639 ล้านบาท และมีอัตราการขยายตัว 8.20% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัว 7.30% ในไตรมาส 2 ทั้งนี้ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของกลุ่มสถาบันที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในกลุ่มนี้ น่าจะเป็นผลมาจากการที่ผู้ประกอบการกลุ่มนี้มีการทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง และมีการขยายฐานลูกค้าจากระดับกลางไปยังกลุ่มลูกค้าระดับบนมากขึ้น ทำให้มูลค่าการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของผู้ประกอบการบางรายเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ และโดยเฉพาะการทำตลาดบัตรเครดิตของผู้ประกอบการที่มีบริษัทในเครือที่ทำธุรกิจค้าปลีกที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน เช่น ห้างสรรพสินค้า หรือ ดิสเคานท์สโตร์ เป็นต้น
|
|
 |
|
|