Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2535
"การตัดสินใจสำคัญของคาลเท็กซ์"             
 


   
search resources

น้ำมันคาลเท็กซ์ (ประเทศไทย), บจก.
สุขวิช รังสิตพล
Oil and gas




"ตราดาว" เครื่องหมายการค้าของบริษัทน้ำมันที่ยิ่งใหญ่ของสหรัฐ เท็กซาโก้ เป็นยี่ห้อที่คุ้นตาคนไทยมานาน

เท็กซาโก เข้ามาทำมาหากินค้าน้ำมันในเมืองไทย ในนามบริษัทคาลเท็กซ์ โดยไม่มีโรงกลั่นของตัวเองเหมือนกับเชลล์

น้ำมันสำเร็จรูปชนิดต่างๆ ที่ขายตามสถานีปั๊มน้ำมันคาลเท็กซ์นำเข้ามาจากโรงกลั่นของตนเองที่สิงคโปร์ส่วนหนึ่งและจ้างไทยออยล์กลั่นให้จำนวนหนึ่ง

มันเป็นความใฝ่ฝันของคาลเท็กซ์มานานแล้ว ที่ต้องการมีโรงกลั่นของตัวเองที่เมืองไทย แต่มีไม่ได้สักที เนื่องจากรัฐบาลในอดีตไม่ต้องการให้มีการแข่งขันเสรีในการผลิตและค้าน้ำมัน

คาลเท็กซ์ใช้ความพยายามอย่างมากที่จะทำธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ สามารถแข่งขันกับเอสโซ่และเชลล์ แต่ด้วยเครือข่ายสถานีปั๊มน้ำมันของคาลเท็กซ์ ที่มีน้อยกว่าเชลล์และเอสโซ่มากทำให้คาลเท็กซ์เสียเปรียบคู่แข่งขันมาตลอด

การตัดสินใจของเท็กซาโก้ ที่จะส่งเสริมให้คนท้องถิ่นขึ้นมาดูแลธุรกิจเอง เหมือนกับที่ได้โปรโมทสุขวิช รังสิตพล เป็นประธานบริหารคาลเท็กซ์ในเมืองไทยเมื่อประมาณปี 2531 ก่อนหน้าที่เชลล์จะโปรโมทหม่อมสฤษดิคุณ กิติยากรเป็นประธานฯ แต่ก็ไม่ได้ช่วยแก้ไขความเสียเปรียบในเชิงการแข่งขันของคาลเท็กซ์เท่าไรนัก

จากตัวเลขส่วนแบ่งตลาดครึ่งแรกของปีนี้ คาลเท็กซ์มีส่วนแบ่งตลาดผลิตภัณฑ์น้ำมันประมาณ 11% เท่านั้น หรือประมาณครึ่งหนึ่งของเชลล์และเอสโซ่

กระนั้นก็ตาม แท้จริงแล้วภารกิจของสุขวิช ที่เท็กซาโก้มอบหมายให้มาทำให้สำเร็จคือ การล้อบบี้ผู้นำในรัฐบาลให้เปิดกว้างตั้งโรงกลั่นใหม่

การตัดสินใจของคาลเท็กซ์เมื่อปี 2531 มาเริ่มก่อดอกออกผลในสมัยรัฐบาลชาติชายเมื่อรัฐบาลยอมรับนโยบายเปิดกว้างในเรื่องโรงกลั่นและค้าน้ำมัน

คาลเท็กซ์และเชลล์ต่างได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ในโครงการที่ยื่นเสนอขอตั้งโรงกลั่นที่ระยองในเขตอุตสาหกรรมพัฒนาชายฝั่งตะวันออก ภายใต้การส่งเสริมการลงทุนจากบีไอโอ

โรงกลั่นของคาลเท็กซ์จัดตั้งในนามบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีโฟน์นิ่ง มีปตท. ถือหุ้น 36% และคาลเท็กซ์ถือหุ้น 64% มีกำลังกลั่นน้ำมันดิบสูงสุดวันละประมาณ 120,000 บาร์เรล

ความใฝ่ฝันของเท็กซาโก้และภารกิจของสุขวิช สำเร็จแล้วครึ่งหนึ่ง เหลืออีกครึ่งหนึ่งเป็นเรื่องการสร้างโรงกลั่น

การสร้างโรงกลั่นเป็นเรื่องง่ายของเท็กซาโก้ที่มีประสบการณ์มายาวนานในหลายประเทศ แต่ที่เมืองไทยเป็นเรื่องไม่ง่ายเลยสำหรับคาลเท็กซ์

หนึ่ง คาลเท็กซ์ยังไม่มีสถานที่ขนาดประมาณ 1,000 ไร่ที่จะสร้างโรงกลั่นบริเวณในเขตพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออกตามเงื่อนไขส่งเสริมของบีโอไอและรัฐบาล "คาลเท็กซ์ตัดสินใจพลาดที่ไม่จองที่ในนิคมมาบตาพุดก่อนเชลล์" พ่อค้าน้ำมันรายใหญ่รายหนึ่งพูดถึงปัญหาคาลเท็กซ์ในการสร้างโรงกลั่น

สอง คนไทยกำลังตื่นตัวอย่างมากในการต่อต้านโรงงานอุตสาหกรรม ที่อาจมีแนวโน้มส่งผลร้ายต่อความสมดุลย์ของระบบนิเวศน์ของธรรมชาติ

คาลเท็กซ์จะสร้างโรงกลั่นตรงไหน ถึงจะคุ้มค่าต่อการลงทุนและไม่สร้างผลร้ายต่อระบบนิเวศน์ ?

สุขวิชหาทางออกด้วยการเข้าหาการนิคม (กนอ) เจ้าของโครงการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและระบบสาธารณูปโภคในอีสเทอร์นซีบอร์ด เพื่อให้ กนอ. เดินเรื่องขออนุญาตสำนักงานสิ่งแวดล้อม (สวท.) และกรมเจ้าท่า ตั้งโรงกลั่นในทะเลขนาดเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ห่างจากฝั่งประมาณ 1.5 กิโลเมตร

คาลเท็กซ์ฉลาดพอที่จะให้หน่วยราชการเดินเรื่องที่ละเอียดอ่อนแบบนี้ เพราะ หนึ่ง เอกชนไม่สามารถขออนุญาตถมทะเล เพื่อสร้างสิ่งปลูกสร้างใดๆ ในทะเล สอง หน่วยราชการด้วยกันเองย่อมพูดกันง่าย

กนอ. จะได้ประโยชน์จากโครงการสร้างโรงกลั่นนี้ของคาลเท็กซ์ ค่าเช่าปีละ 300,000 บาทต่อไร่ หรือประมาณปีละ 300 ล้านบาทต่อ 1,000 ไร่ ขณะที่กรมเจ้าท่าได้ค่าธรรมเนียมปีละ 80 บาทต่อตารางเมตรหรือปีละ 12.8 ล้านบาทต่อ 1,000 ไร่

"เราไม่เห็นด้วยเพราะต้องถมทะเลขนาดพื้นที่ 6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งจะทำให้ระบบนิเวศน์ในทะเลและใต้ทะเลเสียหายในวงกว้างตามทิศทางของกระแสน้ำที่พัดจากทิศตะวันตกไปออก ซึ่งมีสถานีเพาะพันธุ์สัตว์ทะเลของกรมประมงตั้งอยู่ห่างออกไปรัศมี 10 กิโลเมตร แหล่งเพาะพันธุ์ธรรมชาติปลาหมึกที่อยู่ห่างออกไปรัศมีประมาณ 5 กิโลเมตรบริเวณที่เราเรียกว่าบ้านปากน้ำ และเกาะเสม็ดแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของระยองที่ห่างออกไปรัศมีประมาณ 22 กิโลเมตร" แหล่งข่าวในสิ่งแวดล้อมกล่าวอย่างวิตก

ข้อปริวิตกของสวท. สอดคล้องกับผลงานวิจัยของ บริษัทที่ปรึกษาแมนเซลและสินธุเมื่อปี 2525 เรื่อง "การศึกษาแผนแม่บทท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ" ที่ทำเสนอต่อกระทรวงคมนาคมผ่านการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งระบุว่า "ผลกระทบจากการขุดและถมในทะเล จะทำให้เกิดผลเสียหายอย่างมากต่อปะการัง"

ปะการังเป็นที่อยู่อาศัยของปลาชนิดต่างๆ ใต้ทะเลถ้าปะการังเสียหาย ปลาก็อยู่ไม่ได้นั่นหมายความว่าระบบนิเวศน์ทางทะเลได้เกิดความเสียหายขึ้นแล้ว

โครงการถมทะเลเพื่อสร้างโรงกลั่น ทางคาลเท็กซ์ได้ว่าจ้างให้บริษัทอิตัลไทยเป็นผู้ดำเนินการ วงเงินประมาณ 2,100 ล้านบาท

การสร้างโรงกลั่นในทะเลของคาลเท็กซ์ ถ้าทำได้สำเร็จจะเป็นสิ่งมหัศจรรย์แห่งหนึ่งของโลก เพราะไม่มีโรงกลั่นที่ไหนในโลกตั้งอยู่ในทะเล เนื่องจากมันเสี่ยงเกินไปต่อโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุการรั่วไหลของน้ำมันและกากของเสียจากการกลั่นลงสู่ทะเล

"มันจะรุนแรงยิ่งกว่าเรือบรรทุกน้ำมันของเอสโซ่ที่ประสบอุบัติเหตุล่มกลางทะเลเมื่อ 2-3 ปีก่อน" นักสิ่งแวดล้อมในสวท. กล่าว

คาลเท็กซ์อาจจะยังโชคดีอยู่ที่การต่อต้านของกลุ่มอนุรัษ์และชาวประมงยังไม่เกิดขึ้น เหมือนกับที่โครงการสร้างท่าเรือน้ำลึกของสีชังทองเจอมาแล้วที่เกาะสีชัง

แต่คำถามที่คาลเท็กซ์อาจต้องเผชิญในอนาคตต่อการตัดสินใจสร้างโรงกลั่นในทะเล คือ หนึ่ง คาลเท็กซ์หาที่สร้างโรงกลั่นบนบกบริเวณในเขตอีสเทอร์นซีบอร์ดแล้วไม่ได้ใช่หรือไม่ จึงต้องสร้างในทะเล

สอง โรงกลั่นที่สร้างห่างจากฝั่งประมาณ 1.5 กิโลเมตรซึ่งมีทิศทางตั้งอยู่หน้าแปลงที่ดินของพงศ์ สารสิน และนายแพทย์ประเสริฐ ปราสาททองโอสถ ทางคาลเท็กซ์จะหาทางออกอย่างไรถ้าเอกชนทั้ง 2 ท่านนี้เกิดร้องต่อกรมเจ้าท่าอ้างสิทธิเหนือกรรมสิทธิ์ที่ดินชายฝั่งโดยอ้างระเบียบกรมเจ้าท่า ว่าด้วยการรักษาแนวฝั่งน่านน้ำไทยปี พ.ศ. 2526

ที่ระบุว่า "ชายฝั่งที่ติดต่อกับเขตที่ดินตามโฉนด และอยู่ต่ำกว่าเขตแนวฝั่งของน่านน้ำลงมาซึ่งยอมให้เจ้าของที่ดินบนฝั่งขออนุญาตทำการก่อสร้าง หรือสงวนไว้ไม่ให้ผู้อื่นทำการก่อสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้นั้น คือ ภายในบริเวณเฉพาะหน้าแนวเขตที่ดินตามโฉนดบนฝั่งโดยถือเอาเส้นฉากกับแนวฝั่งผ่านจุดสุดปลายเขตที่ดินแนวฝั่งลงมาในน่านน้ำ"

การตัดสินใจสร้างโรงกลั่นในทะเลของคาลเท็กซ์ครั้งนี้สำคัญยิ่งนักต่ออนาคตของคาลเท็กซ์ในประเทศไทย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us