Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน8 พฤษภาคม 2546
ค้าปลีกจวกกฎหมายผังเมือง หวั่นปิดช่องทางดำเนินธุรกิจ             
 


   
search resources

Retail




ผู้ประกอบการค้าปลีก ชี้กฎ หมายผังเมืองยังบกพร่อง ส่งผลผู้ประกอบการค้าปลีกไม่แจ้งเกิด "เซ็นทรัล" เผยแค่นิยามยังไม่ชัดเจน แนะแยกกำหนดขนาดพื้นที่ใหม่ "คาร์ฟูร์" จวกแนวทางปฏิบัติทำไม่ได้จริง วอน ให้ความเป็นธรรมค้าปลีกข้ามชาติ ส่วนด้านซัปพลายเออร์ หวั่นได้รับผลกระทบ หากค้าปลีกไม่ ขยายตัว ขยาดกลับไปทำการตลาดแบบเดิม

ดร.ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์เปอเรชั่น กล่าวแสดงความคิดเห็นในงาน "สัมมนาผังเมืองร่วมพลิกโฉมค้าปลีกไทย"ว่า มาตรการและหลักเกณฑ์ด้านผังเมืองในเรื่องการการค้าปลีกค้าส่ง ในทางปฏิบัติทำได้ยาก แค่ คำนิยามก็มีไม่ชัดเจน ทำให้สับสนว่าจะครอบ คลุมถึงห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ตลาดสด ด้วยหรือเปล่า

นอกจากนี้ยังไม่เห็นด้วยในส่วนที่กรมโยธาธิการและผังเมืองได้กำหนดอาคารพาณิชย กรรมค้าปลีกค้าส่ง ซึ่งแบ่งขนาดพื้นที่เป็น 2 ประเภท คือ ขนาดตั้งแต่ 300-1,000 ตร.ม. สามารถตั้งอยู่ในเขตเมืองได้ ในขณะที่ มีพื้นที่ค้าปลีกตั้งแต่ 1,000 ตร.ม.จะต้องตั้งอยู่นอกเมือง และอยู่นอกเขตผังเมืองรวม โดยมีระยะห่างจาก เขตเทศบาลที่อยู่ในเขตผังเมืองรวมไปตามแนวถนนสายหลักไม่น้อยกว่า 15 กม. ซึ่งการใช้มาตร การดังกล่าวนี้ จะทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถ เปิดดำเนินธุรกิจได้ เนื่องจากทำให้การดำเนินธุรกิจจะต้องไปตั้งในเขตนอกชานเมืองหรือนอก จังหวัด ซึ่งเป็นสถานที่ที่ไม่เอื้ออำนวยในการดำเนินธุรกิจค้าปลีก

ทั้งนี้ เห็นว่าการใช้มาตรการและหลักเกณฑ์ ผังเมืองค้าปลีกค้าส่ง จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเป็นจริงในปัจจุบัน และสามารถทำให้ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกสามารถดำเนินธุรกิจได้ โดยเสนอว่าการแบ่งขนาดพื้นที่เป็น 2 ประเภท ควรมีการแก้ไข โดยแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ อาคารพาณิชย กรรมขนาดตั้งแต่ 300-1,000 ตร.ม.ควรตั้งอยู่ในเมือง และตั้งแต่ 1,000-6,000 ตร.ม.ตั้งอยู่นอก เมืองโดยมีระยะห่างจากเขตเทศบาล 1-3 กม. ตั้งแต่ 3,000-6,000 ตั้งอยู่นอกเมืองโดยมีระยะห่างจากเขตเทศบาล 3-5 กม. และ 6,000 ขึ้นไป ตั้งอยู่นอกเมืองโดยมีระยะห่างจากเขตเทศบาล 10 กม. ขึ้นไป
คาร์ฟูร์ชี้แนวทางปฏิบัติทำได้ยาก

นายธนภณ ตั้งคณานันท์ ผู้อำนวยการฝ่าย พัฒนา บริษัท เซ็นคาร์ จำกัด เปิดเผยว่า มาตร การและหลักเกณฑ์ผังเมืองค้าปลีกค้าส่งมีข้อบกพร่องหลายจุด ยกตัวอย่างเช่น เกณฑ์การควบ คุมให้พื้นที่ตั้งอาคารพาณิชยกรรมควรมีพื้นที่ห่างจากบริเวณด้านหน้า75 เมตร และระบุห้ามใช้เป็นลานจอดรถซึ่งทางปฏิบัติไม่สามารถทำได้ เพราะเป็นพื้นที่ที่เว้นว่างมากเกินไป โดยเชื่อว่าเหตุผลที่ทำให้ข้อกำหนดเป็นเช่นนี้ เนื่องจากการใช้ข้อมูลประกอบในการพิจารณาไม่ได้เป็นข้อมูลใหม่

และเพื่อให้ความเป็นธรรมกับค้าปลีก ดังนั้นการออกมาตรการจะต้องแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกการให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่ดำเนินธุรกิจ โดยการใช้กฎหมายดังกล่าวหากในพื้นที่ที่มีการเปิดดำเนินธุรกิจอยู่แล้วจะต้องใช้กฎหมายเดียว กันไม่ว่าจะเป็นรายใหม่หรือรายเก่า แต่หากพื้นที่นั้นๆ ยังไม่มีการเปิดดำเนินธุรกิจก็สามารถใช้กฎหมายใหม่ได้

ผู้ผลิตรับกระทบหากค้าปลีกเจอทางตัน

ทางด้านนายมนัส กนกภัยพิพัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและการขาย บริษัท ฟูจิ โฟโต้ฟิล์ม (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยในฐานะมุมมองของซัปพลายเออร์ว่ามาตรการ และหลักเกณฑ์ผังเมืองค้าปลีกค้าส่ง ฉบับปรับปรุงนี้ เป็นมาตรที่เข้มงวดเกินไปอาจทำ ให้อนาคตค้าปลีกขยายสาขาได้ยากมากขึ้น และยังส่งผลให้ซัปพลายเออร์ได้รับกระทบไปด้วย เพราะปัจจุบันค้าปลีกถือเป็นลูกค้ารายใหญ่ ของซัปพลายเออร์

ทั้งนี้ หากการเปิดขยายสาขาค้าปลีกเป็นไปได้ยากมากขึ้น หรือแทบไม่มีเลยซัปพลายเออร์จะต้องเปลี่ยนกลยุทธ์ในการตลาดโดย หันมามุ่งเน้นกับกลุ่มร้านค้าปลีกรายย่อยหรือโชว์ห่วยเหมือนกับการทำการตลาดในอดีต รวมทั้งทำให้ต้นทุนของซัปพลายเออร์เพิ่มขึ้น และในระยะยาวผู้บริโภคอาจบริโภคสินค้าในราคาที่แพงขึ้น ตลอดจนเป็นการปิดโอกาส การดำเนินธุรกิจของเอสเอ็มอี ซึ่งปัจจุบันใช้ช่องทางจำหน่ายสินค้าผ่านค้าปลีกเป็นหลัก

อย่างไรก็ตาม เห็นว่าการที่รัฐบาลจะ ช่วยโชวห่วยให้สามารถแข่งขันกับค้าปลีกข้ามชาติเป็นเรื่องดี แต่เงื่อนไขหลายอย่างควร ลดลง เพื่อให้ค้าปลีกสามารถดำเนินธุรกิจอยู่ได้

หวั่นซาร์สกระทบค้าปลีกไตรมาส 2

นายพิศิษฐ เจียรวิศิษฐ์กุล ประธานสมาคมค้าปลีกไทย เปิดเผยว่ากฎหมายแผน ผังเมืองในขณะนี้ยังไม่สมบูรณ์มากนัก และจำเป็นจะต้องปรับปรุง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและจะต้องให้ความ เป็นธรรมกับผู้ดำเนินธุรกิจค้าปลีก โดยหากไม่มีการแก้ไขในระยะยาวผู้ดำเนินค้าปลีก รายใหม่ไม่เกิด และอาจส่งผลธุรกิจค้าปลีกไม่มีการแข่งขันเกิดขึ้น

ส่วนภาพรวมธุรกิจค้าปลีกในไตรมาสแรกที่ผ่านมา ไม่ได้รับกระทบจากโรคซาร์สทำให้มีอัตราเติบโต 7-8% ในขณะที่ไตรมาส 2 นี้ เชื่อว่าโรคซาร์สจะส่งผลกระทบและทำให้อัตรา การเติบโตหดตัวลงโดยโตแค่ประมาณ 6% เนื่องจากนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวในไทยน้อยลง

อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลสามารถสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการแพร่ระบาดโรคซาร์ส ได้ คาดว่าภาพรวมค้าปลีกจะถูกกระทบเพียง แค่ 0.5% แต่หากถูกกระทบในระยะยาวค้าปลีกจะได้รับผลกระทบ 1% โดยคาดว่าสิ้นปีนี้ค้าปลีก โดยรวมจะเติบโตขึ้น 8% จากมูลค่ารวมของธุรกิจ ค้าปลีก 1.35 ล้านล้านบาท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us