Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์19 พฤศจิกายน 2550
สิงห์ VS ช้าง สงครามฟองเบียร์อีโคโนมีรอบใหม่             
 


   
www resources

โฮมเพจ สิงห์ คอร์ปอเรชั่น

   
search resources

ฉัตรชัย วิรัตน์โยสินทร์
ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง, บจก.
Alcohol
สิงห์ คอร์ปอเรชั่น, บจก.




- ถึงเวลา...“เบียร์สิงห์”เอาคืน เปิดแนวรุก รบเฉพาะจุด
- ฝ่ากำแพงราคา เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค
- ส่งอีสานเบียร์ แบรนด์ใหม่อัดท้ายปีหวังดันยอด
- ตัดตอนกลุ่มคนดื่มอาชาไปถึงเบียร์ช้าง...

สงครามฟองเบียร์ในเมืองไทย 9 หมื่นล้านบาทซึ่งเป็นการต่อสู้ระหว่างค่ายบุญรอด เบียร์สิงห์ กับค่ายไทยเบฟ เบียร์ช้าง กลายเป็นเรื่องราวการแข่งขันที่มีความต่อเนื่องและยาวนาน จากช้างที่เข้ามาช่วงชิงกับสิงห์ และแม้ว่าที่ผ่านมา พี่ใหญ่เบียร์สิงห์จะพยายามแก้เกม โดยส่งเบียร์หลากหลายแบรนด์ ทั้งซูเปอร์ลีโอ ไทเบียร์ ซึ่งเป็นนโยบายครบพอร์ตโฟลิโอเพื่อมาสกัด แต่ที่สุดผู้ท้าชิงอย่างเบียร์ช้างก็สามารถโกยแชร์จากเซกเมนต์อีโคโนมีที่มีตัวเลขสัดส่วนตลาดขนาดใหญ่ และก้าวขึ้นเป็นผู้นำของตลาดรวมไปได้

ทว่า หลังจากที่เบียร์ช้าง พิชิตตำแหน่งผู้นำไปได้ จิกซอว์ต่อไปคือการเปิดแนวรุกให้ครบเซกเมนต์เบียร์เพื่อกินรวบทั้งตลาดซึ่งเป็นเป้าหมายต่อไป แต่แบรนด์เดียวจะพิฆาตทั้ง 3 ตลาดคงเป็นไปได้ยาก ทำให้ต้องเปิดตัวเบียร์อาชา ที่เป็นแบรนด์ใหม่เอี่ยมแกะก่องออกมาเพื่อรับช่วงจากเบียร์ช้างที่พลิกบทบาทอัพเกรดขึ้นไปเล่นตลาดบนและตลาดต่างประเทศ

อย่างไรก็ตามในระยะแรกการทำตลาดยังไม่ชัดเจนนักว่า เบียร์อาชา จะจับตลาดผู้ดื่มกลุ่มไหนเป็นเป้าหมายหลัก แต่ระยะต่อมาเมื่อไทยเปฟเริ่มจับทิศทางได้ และปรับแนวทางการตลาดใหม่ ทำให้เบียร์อาชาค่อยๆเผยโฉมที่แท้จริงออกมา ซึ่งว่ากันว่าด้วยสูตรสำเร็จทั้งกลยุทธ์ราคาบวกกับตัวสินค้าของเบียร์อาชานั้น ไม่เป็นรองเบียร์ช้างนัก เพราะเข้ามาทำหน้าที่โกยแชร์ในพื้นที่ตลาดต่างจังหวัด โดยเฉพาะภาคอีสานซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของสินค้าแอลกอฮอล์ มีสัดส่วนยอดขายประมาณ 30% ของยอดขายรวมทั้งประเทศ

นั่นเป็นที่มาของการเปิดศึกช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดรอบใหม่ เพื่อทวงตำแหน่งแชมป์กลับมา ดังนั้น การเปิดตัวอีสานเบียร์ ภายใต้แนวคิด “เบียร์ของเฮา อีสานของเฮา” ซึ่งเป็นแบรนด์ใหม่เพื่อปิดท้ายปี 2550 จึงเป็นภารกิจใหม่ของค่ายบุญรอด หลังเปิดตลาดเบียร์สิงห์เพื่อผลักดันเป็นโกลบอลแบรนด์สู่ตลาดต่างประเทศ คือการเปิดเกมรบเฉพาะจุดกับไทยเบฟคู่แข่งรายสำคัญในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งเป็นพื้นที่หัวใจสำคัญในการแจ้งเกิดเบียร์ช้างในอดีต และสำหรับสร้างยอดขายเบียร์อาชาในปัจจุบัน

อีสานเบียร์ เมินราคาขอสู้ด้วยแบรนด์

เมื่อค่ายบุญรอด ปฏิเสธจะเล่นบท การห้ำหั่นกันด้วยกลยุทธ์ราคา เพราะเห็นว่าไม่ใช่ทางออก ทว่าการเปิดฉากของอีสานเบียร์ยังต้องอาศัยกลไกทางด้านราคามาเป็นหัวหอกในการขับเคลื่อนสินค้า เพราะที่ผ่านมาไทยเบฟฯ ใช้กลยุทธ์ราคาในภาคอีสานอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบต่อยอดขายเบียร์ลีโอ ซึ่งเป็นสินค้าเรือธงของค่ายบุญรอด สำหรับการตอบโต้สงครามราคาของคู่แข่งนั้น ทำให้การทำตลาดอีสานเบียร์ จะทำโปรโมชั่นลดราคาเป็นระยะๆ ในช่วงแนะนำสินค้า แต่ไม่มีนโยบายขายพ่วง โดยมีราคาส่งกล่องละ 360 บาท และขายปลีกถึงลูกค้าอยู่ที่ 3 ขวด 100 บาท ขณะที่เบียร์อาชาคู่แข่ง ในส่วนราคาขายปลีกอยู่ที่ 4 ขวด 100 บาท

แต่หากเปรียบมวยกันแล้ว อีสานเบียร์มีจุดที่เหนือกว่า ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์นำหน้าราคา โดยเตรียมงบประมาณทำตลาดไว้ทั้งสิ้น 35 ล้านบาท ในช่วง 3 เดือนจากนี้ สำหรับการทำตลาดเพื่อสื่อสารการตลาดและจัดกิจกรรมคอนเสิร์ตที่มีนักร้องลูกทุ่งชื่อดังอาทิ จินตหรา พูลลาภ เฉลิมพล ปู พงษ์สิทธิ์ หลวงไก่ และบ่าววี ในเทศกาลอาหารเบียร์ในภาคอีสาน รวมถึงมีมิวสิควิดิโอและการทำโฆษณาออกมาเฉพาะจุด อีกทั้งย้ำตำแหน่งสินค้าอย่างชัดเจนว่าเป็น “เบียร์เซ็กเมนต์อีโคโนมี ที่เจาะตลาดหลักในภาคอีสาน และวางบุคลิกแบรนด์เป็นเบียร์ที่สื่อถึงการรักถิ่นฐานบ้านเกิด

แม้ว่าคนอีสานมีการย้ายถิ่นฐานมาทำงานในเมืองมาก อีกทั้งสัดส่วนคนในพื้นทีอีสาน กับนอกพื้นที่พอๆกัน แต่การทำตลากจะเริ่มต้นจากภาคอีสานก่อนโดยช่วง 3-6 เดือนแรกจะจำหน่ายเฉพาะในพื้นที่นี้ จากนั้นมีแผนขยายไปจำหน่ายในพื้นที่อื่น ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนอีสานที่กระจายอยู่ทุกพื้นที่ทั้งในกรุงเทพฯ หรือจังหวัดอื่นๆ

สันติ ภิรมย์ภักดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด กล่าวว่า “ภาพรวมตลาดเบียร์ในพื้นที่ภาคอีสานจะมีผู้ประกอบการ 3 รายหลักด้วยกันคือ ลีโอ ช้าง และอาชา แต่ละแบรนด์มีส่วนแบ่งการตลาดใกล้เคียงกัน แต่อีสานเบียร์ คือเบียร์แบรนด์แรกของไทย ที่เป็นเบียร์ประจำท้องถิ่นเพื่อทำตลาดในพื้นที่ภาคอีสาน “อีสานเบียร์” ที่สำคัญเป็นเบียร์ที่ผ่านการวิจัยที่คนอีสานชอบ ซึ่งมีดีกรี 3 ระดับ 5.8 5.2 ซึ่งพบว่าดีกรี 4.7% เป็นที่นิยมมากที่สุด และโดยทั่วไปทุกบริษัทลดดีกรีลงหมดแล้ว และต่ำกว่าลีโอและสิงห์ซึ่งมี 5% นอกจากนั้นยังมีรสชาติที่ตรงกับความต้องการของลูกค้ากลุ่มคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งผู้ชื่นชอบอาหารอีสานเป็นหลัก และผลิตในโรงงานของบริษัทที่จังหวัดขอนแก่น

ที่สำคัญใครจะใช้ชื่อเบียร์อีสานไม่ได้ เพราะมีโรงเบียร์อยู่โรงเดียว โดยบุคลิกภาพของแบรนด์มีการพูดคุยวิจัยกับชาวอีสานว่าเค้ามีมุมมองชีวิตว่า “ชีวิตเป็นเรื่องสนุก รวยแล้วยังไง จนแล้วยังไง คนอีสานเจอกันในกรุงเทพฯทักทายกันเป็นภาษาอีสาน” และเมื่อนึกถึงการไปเที่ยวคือ การกลับบ้าน และทำให้ได้คอนเซปต์ว่า “เป็นเบียร์ที่รักและภูมิใจในบ้านเกิด”

การออกแบบแพกเก็จจิ้ง ใช้ฉลากสีแดง สีทอง สะอาดง่ายๆเป็นสีที่ชื่นชอบของผู้บริโภคกลุ่มนี้ และภาพสุ่มจับปลาที่มีความเป็นเบียร์ในภาคอีสาน เน้นทำตลาดเฉพาะในบรรจุภัณฑ์แบบขวดขนาดใหญ่ 630 มล.อย่างเดียว เพราะสอดคล้องกับพฤติกรรมการดื่มที่มีการแชร์กันระหว่างเพื่อนฝูงและไม่ได้ผลิตในแบบกระป๋อง เนื่องจากปัจจุบันแบบขวดมีการขายที่ดีถึง 85% รองลงมาก็เป็นแบบกระป๋องและขวดขนาดเล็ก

สำหรับการวางกลยุทธ์ที่มีความได้เปรียบคู่แข่งเนื่องจากผลิตและวิจัยขึ้นมาเพื่อคนอีสานโดยเฉพาะทำให้มั่นใจว่าจะได้รับการตอบรับจากลกค้ากลุ่มนี้ โดยมีการเตรียมความพร้อมเพื่อขยายกำลังการผลิตอีก 200 ล้านลิตรต่อปี จากปัจจุบันกำลังการผลิตอยู่ที่ 800-900 ล้านลิตรต่อปี โดยวางเป้าหมายในช่วง 6-9 เดือน จะมีส่วนแบ่งทางการตลาด 2.5-3% ของตลาดรวม และคาดว่าปีหน้า จะมีฐานลูกค้าในพื้นที่อีสานมากกว่าเบียร์ช้างและอาชา โดยปัจจุบันบริษัทฯ มีรายได้จาก ลีโอขายในพื้นที่แถบนมากที่สุด 25-30% ของรายได้รวม” สันติกล่าว

สิงห์มาเป็นขบวน ชนช้างทุกเซกเมนต์

ฉัตรชัย วิรัตน์โยสินทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท สิงห์คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า อีสานเบียร์ เป็นแบรนด์ที่เข้ามาเติมเต็มพอร์ตโฟลิโอสินค้า และทำเพื่อขายจริงๆ ลักษณะการเป็นผู้นำต้องมี พอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายคลอบคลุมทุกตลาด และลดต้นทุนการขนส่ง

ที่ผ่านมา แม้ว่าพอรต์โฟลิโอเบียร์ของค่ายบุญรอด ยังขาดเซกเมนต์เบียร์พรีเมียม แต่ความวาไรตี้ต้องทำให้ฐานล่างแน่นก่อน เพราะแบรนด์แต่ละตัวมีหน้าที่ต่างกัน โดยแบรนด์สิงห์ เป็นCash Cow ที่ทำรายได้และสร้างกำไร ขยายการตลาดไปต่างประเทศแล้ว ศักดิ์ศรีมีมากช่วย Branding ภาพลักษณ์องค์กร และทำกำไรซึ่งส่วนนี้ไม่หวือหวาในยอดขาย ส่วนแบรนด์ลีโอและอีสาน ที่อยู่ในเซกเมนต์อีโคโนมีเพื่อทำยอดขาย

ที่สำคัญการเข้าถึงตลาดพื้นที่ต่างจังหวัดของค่ายบุญรอดที่ยังมีช่องว่างอยู่ เพราะแนวทางการทำตลาดของลีโอที่มีเน้นความเซ็กซี่ ลูกค้ากลุ่มนี้บางส่วนก็เห็นว่าไม่ใช่แบรนด์ของเค้า

ทั้งนี้ เบียร์ลีโอ จะทำหน้าที่ได้ดีและเข้าไปแบ่งแชร์ระหว่างกลุ่มผู้ดื่มของค่ายอยู่แล้ว แต่ลีโอยังไปได้อีก “ที่ผ่านมาเราได้รับบทบาทสาหัสากรรจ์อย่างร้ายแรงกับการเฉยเมยต่อเบียร์ช้าง ดังนั้นในสถานการณ์เดียวกัน เมื่อเบียร์อาชากำลังขึ้น และชัดเจนว่าแย่งเบียร์ช้างลง แต่ลีโอยังอยู่ รอตีตอนนี้ดีกว่า”อีกทั้งเป็นจังหวะดี ออกมาเพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจดีที่ได้รับจากการเลือกตั้ง และช่วงฤดูการขายตั้งแต่ปลายปีนี้ถึงเดือนเมษายนปีหน้า

ยิ่งกว่านั้น อีสานเป็นพื้นที่การขายใหญ่ที่สุดของสินค้ากลุ่มนี้ “ใครชนะพื้นที่อีสาน คนนั้นคือลีดเดอร์ ราคาเราทำไม่ได้ ไม่มีทางทำได้ ดังนั้นจึงตัดไปเลย มีทางเดียวคือการ Branding โดยอาศัยจากความเป็นต่อในกรุงเทพฯ พื้นที่ภาคกลางที่เราชนะ และแข็งแกร่งในภาคใต้ รวมทั้งปัจจัยการตั้งชื่อและการวางบุคลิกแบรนด์ ที่ทำให้ง่ายขึ้น รวมกับภาษาพูด อาหาร วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่คนอีสานภูมิใจมากที่สุดเป็นข้อได้เปรียบ ที่มีราคาแพงกว่านิดหน่อย แต่เข้าถึงท้องถิ่นภาคอีสานมากกว่า”

เกมตัดตอน “อาชา” “เบียร์อีสาน”สะพานถึง“ลีโอ”

ฉัตรชัย กล่าวอีกว่า ที่ผ่านตลาดภาคอีสานเดิมเป็นตลาดเหล้าขาว และก่อนหน้านี้ คอเหล้าขาว จะเปลี่ยนพฤติกรรมมากินเบียร์อาชาก่อน หลังจากนั้นจะเปลี่ยนมากินเบียร์ลีโอ และนั่นเป็นเหตุผล และความจำเป็นต้องทำให้อีสานเบียร์แจ้งเกิดให้ได้ เพื่อเป็นสะพานทอดกลุ่มเดิมที่เป็นตลาดเหล้าขาวก่อนไปถึงเบียร์ลีโอ ซึ่งเป็นเบียร์ในระดับคุ้มค่ากับราคา เพราะว่าเซกเมนต์เบียร์ในปัจจุบันมีการขยายไปถึงระดับซูเปอร์อีโคโนมี 6 ขวด ราคา 100 บาท

นอกจากนั้น ต้องไม่ลืมว่ามีกลุ่มเป้าหมายบางส่วนที่เป็นคอเบียร์ช้าง ซึ่งพอรต์โฟลิโอเบียร์ของค่ายบุญรอด ที่มีความวาไรตี้ในฐานล่างจะทำหน้าที่เพื่อดักหน้าดักหลังคู่แข่ง โดยเบียร์ลีโอตามประกบกับช้าง และดักหลังด้วยอีสานเบียร์ที่ตามประกบกับเบียร์อาชา รวมถึงไทเบียร์ ซึ่งมีไว้เป็นชนกันเบียร์ช้างด้วยเช่นกัน และหยุดทำตลาดเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะเป็นแบรนด์ไม่ขาดทุน และไม่กำไร อยู่ในตลาดมา 5 ปี

แต่อีสานเบียร์เป็นสินค้าทำยอดขายหวังอนาคต และมีศักยภาพการเข้าถึงเอเยนต์ในพื้นที่ซึ่งค่ายเบียร์สิงห์เป็นผู้คุมเกมในพื้นที่นี้จากเอเยนต์ทั่วประเทศ 300 ราย และการเข้าถึงคนอีสานที่ได้เปรียบ เพราะมีมีบุคลิกแบรนด์ตรงที่สุด เห็นได้จากการติดป้ายโฆษณา ณ จุดขาย เพื่อโปรโมทแบรนด์ที่ร้านค้า ร้านอาหารให้ความเป็นร่วมมือเป็นอย่างดี เพราะมีชื่อพื้นที่เป็นหัวหอกหลักในการบุกตลาด

สำหรับ ที่มาของการเปิดสงครามเบียร์เซกเมนต์อีโคโนมีในภาคอีสานอย่างรุนแรงนั้น ที่ผ่านมาเบียร์ในบ้านเราเป็นสินค้า Luxery ซึ่งมีคลอสเตอร์ ไฮเนเก้น และสิงห์ เป็นค่ายหลัก จนกระทั่งค่ายเบียร์ช้างเข้ามาเปิดตลาดทำให้ตลาดเปลี่ยนเป็นเรื่องราคา แต่ด้วยข้อห้ามต่างๆที่เป็นนโยบายรัฐผลักดันเป็นปัจจัยให้ตลาดเบียร์ไปในทิศทางดังกล่าว

“อยากให้การออกกฎหมายที่กำลังออกมาตัดสินใจดีๆ เพราะตลาดอีโคโนมีเป็นตลาดเดียวที่มีการเติบโตและอาศัยแรงโฆษณาเป็นตัวขับเคลื่อนน้อยที่สุด เช่นกรณีการการแจ้งเกิดของเบียร์อาชา ที่ใช้งบไม่มาก แต่มีอัตราการเติบโตมากที่สุด และถ้าเทียบกับอาชากับเบียร์เชียร์ เปิดตำราการตลาดแตกต่างกันตรงไหน ทำเหมือนกันหมด นั่นก็เป็นผลจากการทำ Pricing ที่มีไม่เหมือนกัน ที่สุดแล้วนโยบายการห้ามโฆษณาจะทำให้เกิดกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ด้วยราคา ”

เห็นได้จากตลาดภาคอีสานเดิมเป็นตลาดเหล้าขาว แต่เมื่อปล่อยให้มีการทำการตลาดด้วยเบียร์ราคาถูก ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนให้กลุ่มคนดื่มเหล้าขาวเปลี่ยนมากินเบียร์ช้างแทน ซึ่งต้องยกเครดิตให้คู่แข่ง

ฉัตรชัย กล่าวอีกว่า แม้ว่าโลคอลแบรนด์ อีสานเบียร์ จะเริ่มต้นที่ภาคอีสานที่มีความอ่อนไหวต่อราคา แต่การแบรนดิ้งและการวางตำแหน่งสินค้าจะเข้ามาเปลี่ยนตลาดอีโคโนมี และเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคให้มีความจงรักภักดีต่อแบรนด์ได้อีกด้วย ที่สำคัญการทำตลาดด้วยแบรนด์จู่โจมเฉพาะพื้นที่ยังเป็นแนวโน้มที่คาดว่าจะเกิดในอนาคต“โลคอลเบียร์ เพื่อรักษาการเป็นผู้นำในรูปแบบหนึ่ง อาจจะมาเร็วกว่าตลาด แต่ต้องทำก่อนคู่แข่งจะทำกลยุทธ์นี้”

"มั่นใจ"คุมเกมตลาดได้ เอเยนต์ยังซื้อ"อาชา"

สมชัย สุทธิกุลพาณิช รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้จัดจำหน่ายเบียร์ช้าง และอาชา กล่าวว่าภาพรวมตลาดเบียร์โตปีนี้ 5-6% โดยในช่วง 3 ไตรมาสแรก มีเบียร์อาชาเป็นแบรนด์ที่มีขับเคลื่อนตลาด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีฐานเล็กและเพิ่งเริ่มเข้ามาทำตลาด และยอดขายส่วนใหญ่เป็นตลาดต่างจังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่ในภาคอีสานที่มีจำนวนประชากรมาก และพฤติกรรมคนอีสานเฮฮา สนุกสนาน รักพวกพ้อง ชอบการสังสรรค์ แต่เป็นกลุ่มคนที่มีการย้ายถิ่นทำมาหากินมากที่สุด

เห็นได้ว่าสินค้าทุกเจ้า ทุกประเภทวางเป้าหมายจับกลุ่มลูกค้าผู้บริโภคที่เป็นคนอีสานมีมากที่สุด ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้คู่แข่งออกมาเปิดเกมรุกในพื้นที่สกัดทางเบียร์อาชาไม่ให้แจ้งเกิด เพราะในตลาดเบียร์นั้น ไทยเบฟทั้ง 2 แบรนด์ มีสัดส่วนการขายต่างจังหวัด 55% และกรุงเทพฯ 45% และในพื้นที่ทั่วประเทศนั้น ไทยเบฟมีกลุ่มลูกค้าในพื้นที่แถบภาคอีสานมากที่สุดมาเป็นอันดับหนึ่ง ตามลำดับคือภาคเนือ กลาง และใต้

กอปรกับการที่คู่แข่งมีศักยภาพมีโรงงานในพื้นที่ ทำให้ประหยัดต้นทุนค่าขนส่ง อีกทั้งการตั้งโรงงานในภูมิภาคเป็นจุดแข็งที่ทำให้การกระจายสินค้าให้เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งคนไทยเป็นชอบทดลองของใหม่ และจะรู้ผลในระยะ 3 เดือนรู้ผล ออกมาแล้วทำให้เกิดการเปรียบเทียบ ผู้บริโภคเป็นคนเลือก ถ้าทดลองแล้วดีกว่าและเป็นเรื่องดี เพราะสินค้าทุกตัวถ้ามีการแข่งขันทำให้ตลาดโต สำคัญว่าอยู่ได้มั้ย และนานเท่าไหร่

ส่วนทฤษฎีการตั้งชื่อสินค้า เป็นชื่อที่ตั้งของชุมชนนั้น เป็นทฤษฎีที่ต้องตามดู แม้เชื่อว่าจะแจ้งเกิดได้ แต่จุดเริ่มต้นคือคุณภาพ และรสชาติ เป็นหัวใจหลัก ซึ่งถ้าดูทั่วไป แม้มีสินค้าที่เป็นแบรนด์ในประเทศ แต่ในความเป็นจริงพฤติกรรมของผู้บริโภคยังซื้อสินค้าเมืองนอกมาใช้

หากเปิดดูในตำรามาร์เก็ตติ้ง เรื่องการตั้งชื่อในรูปแบบนี้ ในตำราไม่เคยมี แต่ไม่ได้หมายความว่าทำไม่ได้ เพราะในประเทศอเมริกา มีสินค้าหลายประเภทที่ทำตลาดเฉพาะพื้นที่ เพราะมีพื้นที่กว้างถึง 50 รัฐ ซึ่งพยายามตั้งชื่อเฉพาะเจาะจงเป็นเฉพาะรัฐ และมีโค้กกับเป๊ปซี่ ที่มีเพียงแบรนด์เดียวทำตลาดเหมือนกันทุกรัฐ

อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่า ระบบการขายเอเยนต์ ซึ่งทีผ่านมามีการซื้อเบียร์ช้าง และอาชาจากภาคอีสานจาก เอเยนต์อีสาน 2-3 รายใน 19 จังหวัด มาวางขายในภาคกลาง ส่วนช่องทางการขายผ่านโมเดอร์นเทรด ซึ่งกำลังมีบทบาทสำคัญการทำตลาดเบียร์ในปัจจุบันนั้น เป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us