Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน16 พฤศจิกายน 2550
ภาคลงทุนรัฐดันอสังหาฯกระเตื้องแนะเร่งเมกะฯ-เลิกสำรอง30%ดึงเงินนอก             
 


   
search resources

Real Estate




สศค.ชี้ 2 เดือนแรกไตรมาส 3 ภาคอสังหาริมทรัพย์-ก่อสร้างเริ่มขยับตัวดีขึ้น จากปัจจัยการเมืองที่ชัดเจน และการเร่งเบิกจ่ายเงินลงทุนของรัฐบาล โดยเครื่องชี้ภาคอสังหาฯที่ปรับตัวดีขึ้น เป็นภาษีธุกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.2% สอดคล้องกับยอดขายเหล็กที่ขยับตัวเพิ่มเป็นบวกเป็นครั้งแรกในรอบปี แนะรัฐเดินหน้าโครงการใหญ่สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน จี้ยกเลิกกันสำรอง 30%-ดูแลบาทไม่ให้ผันผวนเพื่อดึงเงินลงทุนจากต่างประเทศ

สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหาภาคและระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐการคลังประเมินแนวโน้มภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างในอนาคต จากข้อมูลล่าสุดในไตรมาสที่ 3/2550 ภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น ซึ่งมาจากปัจจัยบวกทางด้านทิศทางการเมืองที่ชัดเจนขึ้น นโยบายการคลังที่ขาดดุลเพิ่มขึ้น และการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยกระตุ้นให้โครงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการรัฐบาล รวมถึงนโยบายอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ ส่งผลดีต่อการลงทุนก่อสร้างและการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของประชาชน

ทั้งนี้ เครื่องชี้ภาคอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างในปัจจุบันที่ปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ ภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในไตรมาสที่3/2550 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวเป็นบวกครั้งแรก หลังจากที่หดตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 2550 สอดคล้องกับตัวเลขยอดจำหน่ายเหล็กที่ขยายตัวเป็นบวกเป็นครั้งแรกเช่นกันในไตรมาสที่ 3 ในขณะที่ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 3 หดตัวลดลงมาอยู่ที่ ร้อยละ -5.7 ต่อปี จากที่หดตัวร้อยละ -7.8 ต่อปีในไตรมาสที่ 2 ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขผลผลิตวัสดุก่อสร้างจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(MPI) ในหมวดวัสดุก่อสร้างที่หดตัวลดลงมาอยู่ที่ ร้อยละ -2.9 ต่อปีโดยเฉพาะจากการผลิตเหล็กทุกประเภท

นอกจากนี้ เครื่องชี้ภาคอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ โดยเฉลี่ย 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 3 บ่งชี้ว่าภาวะภาคอสังหาริมทรัพย์มีสัญญาณดีขึ้นเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น จำนวนรายการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ต่อปี และพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลทั้งประเทศที่หดตัวลดลง มาอยู่ที่ร้อยละ -6.5 ต่อปี จากที่หดตัวร้อยละ -13.4 ต่อปีในไตรมาสที่ 2 โดยเฉพาะประเภทที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ต่อปี ซึ่งขยายตัวเป็นบวกเป็นครั้งแรกจากที่หดตัวมาตลอดในครึ่งแรกของปี 2550

สำหรับการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างในอนาคตนั้น ปัจจัยภายในประเทศมีจุดแข็งในส่วนของรัฐบาลมีแผนลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงและสีม่วงในปี 2551 ซึ่งจะช่วยกระตุ้นโครงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตามแนวรถไฟฟ้า และกระตุ้นการก่อสร้างในโครงการพื้นฐานของรถไฟฟ้า รวมถึงนโยบายการคลังแบบขาดดุลที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะงบประมาณลงทุน จะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของการลงทุนในหมวดก่อสร้างของรัฐบาลดด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม จุดแข็งดังกล่าวถูกกดดันจากนโยบายอัตราดอกเบี้ยที่อาจปรับตัวสูงขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น รวมถึงภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ผ่านราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่ออำนาจซื้อและการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชน ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนอาจฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์หากเกิดความไม่แน่นอนในการจัดตั้งรัฐบาล และประเทศไทยยังขาดกลไกเชิงสถาบันในการผลักดันมาตรการเพื่อสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างเป็นระบบ

ด้านปัจจัยในต่างประเทศ มีแนวโน้มและโอกาสที่ดีจากสภาพคล่องที่มีอยู่ในตลาดโลกจะเปิดโอกาสให้ชาวต่างประเทศและบริษัทข้ามชาติสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศรวมทั้งในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หากบรรยากาศการลงทุนในประเทศเอื้ออำนวย ซึ่งอาจถูกกดดันจากความผันผวนของค่าเงินบาท แนวโน้มราคาน้ำมันที่อาจปรับตัวสูงขึ้น และปัญหา Sub-Prime สหรัฐฯ ที่อาจขยายวงกว้างกระทบต่อเศรษฐกิจการเงินโลก

ทั้งนี้ จากจุดแข็งดังกล่าวรัฐควรสานต่อเพื่อขยายโอกาสให้กับธุรกิจ โดยรัฐบาลใหม่ควรผลักดันสนับสนุนโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการสนับสนุนการเข้ามาลงทุนต่างชาติ ทำให้เกิดปริมาณงานก่อสร้างภายในประเทศสูงขึ้นตามมา ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างของไทย และรัฐบาลควรให้ความสำคัญกับเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยเฉพาะดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทผันผวนมากเกินไป และไม่ให้เงินเฟ้ออยู่สูงเกินไป

นอกจากนี้ ทางการควรมีนโยบายสนับสนุนเพิ่มเติม โดยภาครัฐอาจพิจารณายกเลิกมาตรการกันสำรอง 30 % ในเวลาที่เหมาะสม เพื่อเปิดโอกาสให้ต่างชาติสามารถเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรได้ง่ายขึ้น และลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ และควรพัฒนานโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ (National Housing Policy) ในภาวะที่การลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภาคเอกชนยังฟื้นตัวไม่เต็มที่

โดยสรุปจากการประเมินภาวะและแนวโน้มภาคอสังหาริมทรัพย์ข้างต้น รัฐบาลควรมีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างได้แก่ การดูแลรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และค่าเงินบาทมิให้เกิดความผันผวนมากเกินไป รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายของภาครัฐและดำเนินโครงการลงทุนภาครัฐต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ เพื่อขยายระบบการให้บริการขนส่งมวลชนเข้าสู่พื้นที่ต่างๆ ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยพบว่าหากระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพเข้าสู่พื้นที่ใด จะมีการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์และการลงทุนก่อสร้างอย่างมีนัยสำคัญ เช่น การก่อสร้างสำนักงาน และที่อยู่อาศัยจำนวนมากในเขตพื้นที่ตามเส้นทางเดินรถของระบบรถไฟฟ้า BTS และ MRT เป็นต้น

พร้อมกันนั้น ควรมีการพัฒนาแนวนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ (National Housing Policy) และกลไกเชิงสถาบันที่จะทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์ กำหนดนโยบาย วางแผน ประสานงาน และประเมินผลการแก้ไขปัญหา และการพัฒนาที่อยู่อาศัย และอสังหาริมทรัพย์ในระยะยาวทั้งของภาครัฐและเอกชน และเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของนักลงทุนและประชาชน โดยคาดว่า หากมีการเลือกตั้งก่อนสิ้นปี 2550 และมีรัฐบาลชุดใหม่จะช่วยให้สถานการณ์การเมืองกลับเข้าสู่ภาวะปกติและมีนโยบายเศรษฐกิจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

สำหรับภาวะภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 ด้านอุปทานมีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวตั้งแต่ช่วงปี 2549 ต่อเนื่องถึงช่วงไตรมาสที่ 1/2550 โดยภาคอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวชะลอลงจากร้อยละ 4.8 ต่อปี ในปี 2548 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี ในปี 2549 ขณะที่ภาคก่อสร้างขยายตัวชะลอลงจากร้อยละ 6.0 ต่อปี ในปี 2548 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.9 ต่อปีในปี 2549 เนื่องจากปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง ซึ่งกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง รวมทั้งประชาชนในการใช้จ่ายเพื่อซื้อบ้านที่อยู่อาศัย ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา ภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างเริ่มมีการฟื้นตัวโดยขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี และร้อยละ 3.7 ต่อปี ตามลำดับ ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่1 ที่ขยายตัวได้เพียงร้อยละ 2.4 ต่อปี และร้อยละ 0.4 ต่อปีตามลำดับ เนื่องจากภาครัฐ ได้มีการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ

ส่วนด้านอุปสงค์ แม้ว่าข้อมูลในด้านอุปทานการผลิตจะแสดงถึงการปรับตัวที่ดีขึ้นทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างโดยรวม แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดจากด้านอุปสงค์ ทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่า ปัจจัยที่ทำให้การลงทุนก่อสร้างรวมปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสที่ 2 มาจากแรงขับเคลื่อนในการลงทุนก่อสร้างภาครัฐที่เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 9.4 ต่อปี จากเดิมร้อยละ 1.5 ต่อปี ในไตรมาสที่1 ในขณะที่ การลงทุนก่อสร้างของภาคเอกชนยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -1.3 ต่อปีในไตรมาสที่ 2 จากร้อยละ -0.7 ต่อปีในไตรมาสที่ 1 โดยสาเหตุที่ภาครัฐมีการลงทุนก่อสร้างที่ขยายตัวในอัตราเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 9.4 ต่อปีในไตรมาสที่ 2 เนื่องจากการขยายตัวด้านการก่อสร้างของรัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ขยายตัวร้อยละ 21.3 ต่อปี ประกอบกับนโยบายการเร่งเบิกจ่ายหลังจากรัฐบาลอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 ในส่วนของรายจ่ายลงทุนมากขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงบทบาทการลงทุนของภาครัฐที่เร่งดำเนินการมากขึ้นในสภาวะที่การลงทุนภาคเอกชนมีการชะลอตัว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us