Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน15 พฤศจิกายน 2550
CPผุดร้านยา'เอ็กซ์ตร้า' หมอตี๋หวั่นเซเว่นฯกลืน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น

   
search resources

Retail
ซี.พี. ออลล์, บมจ.




เปิดแผนเซเว่นอีเลฟเว่นรุกธุรกิจร้านขายยา ผุดร้าน "เอ็กซ์ตร้า" นำร่องเปิดสาขาแรกที่ ถนนจรัญสนิทวงศ์ วันนี้ ชูคอนเซ็ปต์สะดวกซื้อยา หลังซุ่มเงียบเรียกซับพลายเออร์ยาประชุมหลายรอบ แจงแผนงานและค่าธรรมเนียมวางสินค้าในร้าน วงการร้านขายยา หวั่นงานนี้ร้านขายยาดั้งเดิมมีสิทธิ์เจ็บตัวไม่แพ้ร้านขายของชำในอดีต เหตุสู้เงินถุงเงินถังซีพีไม่ไหว

แหล่งข่าวจากเชนร้านขายยา เปิดเผยกับ "ผู้จัดการรายวัน" ว่า จากกรณีที่บริษัท ซี.พี. ออล จำกัด (มหาชน) หรือผู้ดำเนินการธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น ที่มีแผนจะรุกธุรกิจร้านขายยาอย่างเต็มตัว โดยที่ผ่านมาได้มีการเตรียมตัวและศึกษามาระยะหนึ่ง รวมทั้งการเรียกบรรดาซับพลายเออร์ยาเข้าไปเจรจาร่วมกันหลายรายและหลายครั้ง เพื่อเตรียมความพร้อมและแนวทางการดำเนินธุรกิจ

ขณะนี้มีความคืบหน้าแล้ว โดยล่าสุดเซเว่นอีเลฟเว่น ได้เตรียมเปิดร้านขายยาภายใต้แบรนด์ "เอ็กซ์ ตร้า" ซึ่งจะเป็นคอนเซ็ปต์ร้านขายยาสะดวกซื้อ นำร่องเปิดบริการสาขาแรกที่ ถนนจรัญสนิทวงศ์ โดยมีขนาดพื้นที่ 2 คูหา ซึ่งจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันนี้หรือวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ โดยจะเน้นจำหน่ายยาในลักษณะบรรจุสำเร็จเป็นหลัก

ด้านแหล่งข่าวจากซับพลายเออร์ยา เปิดเผยกับ "ผู้จัดการรายวัน" ว่า ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัทซี.พี.ฯ ได้เคลื่อนไหวด้วยการเชิญซับพลายเออร์ยาจากหลากหลายบริษัทให้ไปพบ เพื่อชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการนำสินค้าเข้าไปจำหน่ายว่า ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมอย่างไรบ้าง นอกจากนี้ ยังเผยถึงคอนเซ็ปต์ร้านขายยาว่า มีแนวโน้ม ร้านเอ็กซ์ตร้า จะเปิดให้บริการถึง 18 ชั่วโมง เมื่อเทียบกับร้านขายยาแบบดั้งเดิมเวลาจำหน่ายไม่เป็นเวลา หรือในช่วงเวลา 09.00 -22.00 น. หรือคิดเป็น 13 ชั่วโมงเท่านั้น

สำหรับการเปิดดำเนินธุรกิจร้านขายยาสะดวกซื้อแบรนด์เอ็กซ์ตร้าครั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า นับเป็นการสร้างเครือข่ายธุรกิจใหม่อีกก้าวหนึ่ง ของการดำเนินธุรกิจค้าปลีกในเครือข่ายของบริษัทซี.พี.ฯ จากปัจจุบันมีธุรกิจที่ดำเนินการภายใต้คอนเซ็ปต์สะดวกซื้อแล้ว 2 รูปแบบ ได้แก่ ร้านค้าปลีกสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น มีจำนวนทั้งสิ้นกว่า 4,000 สาขา ซึ่งเป็นผู้นำตลาดคอนวีเนียนสโตร์ในไทย และร้านหนังสือสะดวกซื้อบุ๊คสไมล์ ซึ่งสิ้นปีนี้จะเปิดให้ครบ 1,000 สาขา

อีกทั้ง ยังเป็นการตอกย้ำกลยุทธ์ห้องที่ 3 ของเซเว่นอีเลฟเว่นอีกด้วย ที่พยายามจะต่อยอดธุรกิจโดยอาศัยร้านเวเว่นอีเลฟเว่นเป็นแม่ข่ายใหญ่ในการรุกตลาด เช่น ร้านคัดสรรเน้นจำหน่ายสินค้าอาหารเป็นหลักที่เปิดเป็นห้องที่ 3 ติดต่อจาก เซเว่นอีเลฟเว่น และบุ๊คสไมล์ เช่นสาขา ปากซอยสุขุมวิท 107 หรือ สี่แยกบางนา เป็นต้น

ขณะที่ยังมีอีกธุรกิจหนึ่งแบรนด์"ร้านยูริ" เป็นร้านที่เน้นขายเบเกอรี เครื่องดื่ม ซึ่งยังอยู่ในช่วงของการทดลอง ก็เตรียมที่จะนำมาเปิดเป็นร้านห้องที่ 3 เหมือนกัน จากปัจจุบันมีเปิดทดลองบ้างแล้ว เช่น ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นต้น

แหล่งข่าวจากวงการยากล่าวเพิ่มเติมว่า คอนเซ็ปต์ร้านขายยาสะดวกซื้อเอ็กซ์ตร้าของแซเว่นอีเลฟเว่นนี้ มีโอกาสที่จะสร้างผลกระทบให้แก่ร้านขายยาแบบดั้งเดิม ที่อาจจะต้องปิดกิจการลงอย่างมาก เช่นเดียวกับร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมหรือโชห่วยที่ล้มหายจากตายไป เนื่องจากมีความเสียเปรียบด้านเงินทุน และขาดด้านการบริหารการจัดงานที่ดี ที่ไม่อาจจะต่อสู้กับร้านเซเว่นอีเลฟเว่นที่ขยายตัวไปทุกหัวระแหงได้

อย่างไรก็ตาม เทรนด์ดังกล่าวเกิดขึ้นมาแล้วในประเทศอเมริกา ซึ่งเหลือเชนร้านขายยาเพียง 3-4 แบรนด์ที่สามารถดำเนินธุรกิจได้ สำหรับประเทศไทยเทรนด์ดังกล่าวก็เกิดขึ้นแล้วในหลายธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น ห้างสรรพสินค้าเหลือ 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มเซ็นทรัลกับเดอะมอลล์ หรือกระทั่งร้านหนังสือ เหลือนายอินทร์กับซีเอ็ด บุ๊ค เซ็นเตอร์ เป็นต้น นอกนั้นก็ต้องพ่ายแฟ้ให้แก่กลุ่มโมเดิร์นเทรดรายใหญ่ทั้งสิ้น

ทั้งนี้ ธุรกิจร้านขายยาในปัจจุบันมีอยู่ 13,000 -14,000 แห่งทั่วประเทศ โดยในจำนวนนี้เป็นร้านขายยาแบบดั้งเดิมมากกว่า 70% และที่เหลือไม่ถึง 30% เป็นเชนร้านขายยาที่พอจะมีศักยภาพทั้งเครือข่าย เงินทุน แบรนด์ได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ ฟาสซิโน, สยามดรักส์, วัตสัน หรือ บู้ทส์ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันในตลาดร้านขายยาจะมีแบรนด์ฟาสซิโนที่เป็นของคนไทย เป็นผู้นำตลาดที่เป็นเชนขนาดใหญ่ แต่ก็ยังมีร้านขายยาขององค์การเภสัชกรรม ที่เป็นรายใหญ่ในแง่ของการเป็นผู้ผลิตเหมือนกับฟาสซิโน แต่องค์การเภสัชกรรมมีสาขาขายปลีกเพียง 6 แห่งเท่านั้น ส่วนร้านขายยาของผู้ประกอบการต่างประเทศ มีวัตสันเป็นผู้นำตลาด

แหล่งข่าวจากเชนร้านขายยาวิเคราะห์เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจร้านขายยาว่า เป็นธุรกิจเฉพาะ ดังนั้นจึงต้องมีเภสัชกรตามสาขา แต่ปัจจุบันเภสัชกรมีจำนวนจำกัด การขยายสาขาจำนวนมากอาจประสบปัญหา นอกจากนี้ ผลจากการเปิดร้านขายยารูปแบบสะดวกซื้อ ไม่ได้มีผลกระทบต่อร้านขายยาแบบดั้งเดิมเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวเนื่องถึงบริษัทยา , โรงพยาบาล และคลีนิก อย่างไรก็ตาม ธุรกิจนี้เซเว่นอีเลฟเว่นไม่ได้มีความเชี่ยวชาญ จึงต้องใช้เวลาในการดำเนินการ แต่เนื่องจากมีความได้เปรียบด้านเงินทุน จึงอาจจะขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ การแตกธุรกิจร้านขายยาจะส่งผลให้ตลาดมีการแข่งขันรุนแรงมากขึ้น ซึ่งปกติในธุรกิจนี้จะแข่งขันด้านการให้บริการและประการสำคัญคือในเรื่องของราคาเป็นหลัก ส่วนพฤติกรรมการซื้อยาของผู้บริโภคในขณะนี้แตกต่างกัน โดยสำหรับกลุ่มเอ-บี จะซื้อสินค้าตามเชนร้านขายยา ส่วนผู้ที่ต้องซื้อยากินตลอดชีวิตจะซื้อยาตามโรงพยาบาล แต่คนไทยส่วนใหญ่ยังคงซื้อยาตามร้านขายยาแบบดั้งเดิมเป็นหลัก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us