|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
นักเศรษฐศาสตร์ "เจพี มอร์แกน" ชี้ซับไพรม์ยังกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐอย่างน้อยอีก 7 ไตรมาส ระบุส่วนต่างระหว่างสินทรัพย์กับสินเชื่อครัวเรือนยังมีช่องว่างค่อนข้างมาก เผยตัวเลขคาดการณ์จีดีพี สหรัฐฯ ปีหน้า 2-3.5% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยคงตัวในสถานการณ์ปกติ ส่วนกรณีที่ไม่ปกติ GDP ล่อติดลบดอกเบี้ยอาจรูดแตะ 2.75% ผู้จัดการกองทุนเชื่อการเติบโตของจีน-อินเดีย-ญี่ปุ่น พยุงเศรษฐกิจโลก
Mr.Michael Feroli นักเศรษฐศาสตร์สหรัฐอเมริกา บริษัท เจพี มอร์แกน จำกัด กล่าวถึง ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2551 ว่า ปัจจัยหลักที่ยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเติบโตเศรษฐกิจสหรัฐฯ ประกอบด้วย ปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ที่คาดว่าจะส่งยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอีกอย่างน้อย 7 ไตรมาส ในขณะที่ราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูงจะยังส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะทำให้การปล่อยสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ทำได้ยากขึ้น เพราะสถาบันการเงินไม่ต้องการให้เกิดความเสี่ยงต่อบริษัทเพิ่มมากขึ้น
ทังนี้ ในแง่ของความกังวลต่อผลกระทบที่เกิดจากปัญหาอสังหาริมทรัพย์ ยังเชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างที่หลายฝ่ายกังวลเนื่องจากจากข้อมูลพบว่า ยอดสินทรัพย์รวมซึ่งรวมถึงการลงทุนในส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในหลักทรัพย์ ในพันธบัตร กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินฝากธนาคาร ฯลฯ ของครัวเรือนในสหรัฐมีมูลค่ารวมกว่า 70 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่สินเชื่อภาคครัวเรือนอยู่ที่ประมาณ 10 กว่าล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น โดยยังถือว่ามีส่วนต่างระหว่างหนี้สินกับสินทรัพย์รวมค่อนข้างมาก ส่วนสินเชื่อเพื่ออสังหาริมทรัพย์อยู่ในระดับต่ำกว่า 10 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ
ส่วนปัญหาเงินเฟ้อนั้น เชื่อว่าไม่ได้เกิดปัญหาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่เป็นผลจากอัตราค่าจ้างบุคคลที่มีอาชีพประจำปรับตัวเพิ่มมากขึ้นทุกปีโดยในปีนี้อยู่ในระดับเกือบ 4% ในขณะที่อัตราค่าจ้างงานบุคคลที่ไม่มีอาชีพประจำเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับเกือบ 3.5% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างส่วนจึงส่งผลต่ออัตราการบริโภคในประเทศจนเป็นเหตุกดดันธนาคารกลางสหรัฐทำให้ไม่สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้
สำหรับบการคาดการณ์ภาพรวมเศรษฐกิจในปีหน้าในสถานการณ์ปกติ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 60% อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ (GDP) ในไตรมาส4/50 ถึงไตรมาส 3/51 อยู่ที่ 1.0% 2.0% 2.5% และ 3.5% ตามลำดับ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐ (Fed funds rate) เชื่อว่าจะคงที่อยู่ในระดับ 4.5%
ทั้งนี้ บนสมมติฐานที่เกิดกรณีหรือปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างรุนแรงจากเดิมที่คาดว่าอยู่ที่ 10% มาเป็น 25% จะส่งผลกระทบทำให้ GDP ในไตรมาส 4/50 ไม่เติบโต ในขณะที่ GDP ในไตรมาส1-2/51 จะติดลบ 1% ก่อนจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1% ในไตรมาส3/51 ส่วนอัตราดอกเบี้ยของเฟดจะปรับตัวลดลงค่อนข้างรุนแรงเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยคาดว่าจะปรับตัวลดลงจาก 4.5% มาอยู่ที่ 3.5% และ 2.75% ตามลำดับ
นอกจากนี้ บนสมมติฐานที่ปัจจัยต่างๆที่เข้ามากระทบไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างที่มีการคาดการณ์ หรืออยู่ในสถานการณ์ที่ดีกว่าที่ควรจะเป็นจะส่งผลทำให้ GDP ในไตรมาส4/50 เติบโตในระดับ 2.5% และในปีหน้าอยู่ที่ 3.2% 3.5% 3.0% ตามลำดับ โดยการเติบโตของเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจะส่งผลทำให้มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจาก 4.5% มาอยู่ที่ 5% ในไตรมาส 2/51
นายวิชชุ จันทาทับ ผู้อำนวยการ ฝ่ายการลงทุนตราสารทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า นักเศรษฐสาสตร์หลายแห่งค่อนข้างเห็นในทิศทางเดียวกันต่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่อาจจะยังเติบโตในระดับที่ค่อนข้างต่ำ แต่หากจะพิจารณาผลกระทบจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ที่เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเชื่อว่าแม้ว่าจะเกิดวิกฤตปัญหาซับไพรม์ขึ้นในสหรัฐฯ แต่ในภูมิภาคเอเชียคงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจีน อินเดีย รวมถึงญี่ปุ่นจะเป็นแรงหนุนให้ปัญหาดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจโลก
ทั้งนี้ ในภาพของตลาดทุน การไหลของเงินทุนจากสหรัฐอเมริกายังเชื่อว่าจะยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากเป็นการไหลออกอย่างช้าๆคงไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดทุนทั่วโลก แต่หากเกิดการไหลออกอย่างรุนแรงก็น่าจะเกิดผลกระทบที่ตามมาได้ โดยการไหลออกของเงินทุนจากสหรัฐอเมริกาจะทำให้เกิดการย้ายกลับเข้ามาลงทุนในตลาดทุนทั่วเอเชีย
อย่างไรก็ตาม ผลที่เกิดขึ้นในช่วงสั้นอาจจะมีการขายทำกำไรในตลาดหุ้นเอเชียเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้นหลังตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกาปรับตัวลดลง แต่การขายทำกำไรเชื่อว่าจะเป็นเพียงการถือเงินสดเพื่อรอการกลับเข้ามาลงทุนอีกครั้ง
"เราเห็นไม่ค่อยต่างจากเจพีมอร์แกนเท่าไหร่ แต่ผลที่จะเกิดขึ้นกับตลาดทุนจะเป็นอย่างไรต้องรอดูการไหลออกของเงินทุนจากสหรัฐ ในขณะที่ตลาดหุ้นไทยเรายังมองว่าสิ้นปีดัชนีน่าจะอยู่ที่ประมาณ 920 จุดได้ และจะสามารถปรับตัวไปที่ระดับ 1,000 จุดได้ในช่วงปลายปีหน้า" นายวิชชุ กล่าว
|
|
|
|
|