Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2534
อนาคตบนหลังคาสังกะสีร้อน ๆ ของผาแดงฯ             
 

 
Charts & Figures

กลุ่มบริษัทต่างๆที่ผาแดงเข้าลงทุน
งบกำไรขาดทุนของบริษัทผาแดง อินดัสทรี


   
search resources

ผาแดงอินดัสทรี, บมจ.
ประวิทย์ คล่องวัฒนกิจ
Metal and Steel




ช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2535-2537 นับว่าเป็นเวลาแห่งการลงทุนขยายโครงการต่าง ๆ ของบริษัทผาแดงอินดัสทรี ผู้ผลิตสังกะสีรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย เพื่อลดความเสี่ยงจากธุรกิจสังกะสซึ่งมีราคาไม่แน่นอน

ผลกระทบจากราคาสังกะสีตลาดโลกปรับตัวลดลง 3% ก็ทำให้ 9 เดือนของปีนี้ยอดขายสังกะสีของผาแดงฯ ต่ำกว่าประมาณการจากราคาที่ตั้งไว้ 1,300 เหรียญ/ตัน ขายได้เพียงราคาสังกะสีที่ 1,000 เหรียญ/ตันเท่านั้น ทำให้กำไรลดลงและคาดว่ากว่าราคาสังกะสีโลกจะปรับฟื้นตัวจะต้องใช้เวลาอีกสองปีตามวัฎจักร

ดังนั้น ผู้บริหารผาแดงฯ จึงต้องขยายการลงทุนใหม่ ๆ โครงการใหญ่โครงการหนึ่งที่ผาแดงฯ เป็นแกนนำการลงทุน คือ โครงการผลิตปุ๋ยแห่งชาติ ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มเกิดโครงการปุ๋ยแห่งชาติขึ้นมา 9 ปีแล้วยังไม่มีความคืบหน้าเลย

แต่ครั้งนี้กลุ่มบริษัทผาแดงฯ ตัวหลักจะถือหุ้น 25% โดยร่วมทุนกับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมฯ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ธนาคารกรุงไทย การปิโตรเลียมฯ และบริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ

ทั้ง 6 สถาบันนี้จะถือหุ้นในสัดส่วน 75% ซึ่งทำให้มีอำนาจในการบริหาร โดยเข้าไปลงทุนในส่วนของหุ้นเพิ่มเติมจากเดิม 184 ล้านบาท เป็น 650 ล้านบาท และมีโครงการจะเพิ่มทุนไปถึง 2,250 ล้านบาทซึ่งหุ้นส่วนที่เพิ่ม 5.66 ล้านหุ้นนี้ตรามูลค่าไว้หุ้นละ 100 บาท

"ถ้าโครงการนี้ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการปุ๋ยเคมีแห่งชาติ ก็จะเริ่ดมำเนินการทันทีและคาดว่าจะแล้วเสร็จในระยะเวลา 3 ปี อย่างไรก็ตาม หากทางกลุ่มไม่ได้รับอนุมัติ เราก็พร้อมที่จะให้รัฐบาลดำเนินการต่อไป" ประวิทย์ คล่องวัฒนกิจ กรรมการผู้จัดการบริษัทผาแดง อินดัสทรีเล่าให้ฟัง

ผลจากการที่ให้กลุ่มผาแดงฯ เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนเป็น 650 ล้านบาทนี้ จะทำให้บริษัทศรีกรุงวัฒนา ผู้ถือหุ้นเดิมมีสัดส่วนการถือหุ้นลดลงเหลือเพียง 5% เนื่องจากศรีกรุงไม่รับหุ้นเพิ่มทุนครั้งนี้

"ผมเชื่อว่า โครงการปุ๋ยนี้จะลดวงเงินลงทุนได้มาก เมื่อกลุ่มผาแดงฯ เข้าร่วมถือหุ้นเพราะสามารถใช้วัตถุดิบจากกรดกำมะถันจากโรงงานถลุงทองแดงของผาแดงฯ หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงแยกก๊าซของ ปตท. แทนที่จะใช้ก๊าซธรรมชาติที่มีต้นทุนสูง ซึ่งจะมีผลให้เงินลงทุนที่คาดไว้เดิม 14,000 ล้านบาทลดลงเหลือต่ำกว่าหมื่นล้าน" ประเสริฐ ตั้งตรงศักดิ์ กรรมการบริหารบริษัทศรีกรุงวัฒนาให้ความเห็น

นอกจากโครงการปุ๋ยแห่งชาติแล้ว ปีนี้ผาแดงฯ ยังมีโครงการลงทุนเพื่ออนาคตอีก โดยขยายธุรกิจไปยังการทำเหมืองแร่ทองคำอีกด้วย ทั้งนี้ เมื่อ 5 พ.ย.ที่ผ่านมา ทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้อนุมัติสัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ 4 แห่งในเขตอีสานภาคเหนือ จังหวัดเลย หนองคาย และอุดรธานี แก่กลุ่มบริษัทของผาแดงฯ ได้แก่ บริษัทผาคำ อ็กซ์พลอเรชั่นแอนด์ไมนิ่ง (เป็นโครงการร่วมทุนกับบริษัท CRAE แห่งออสเตรเลีย) บริษัทผาทองเอ็กซ์พลอเรชั่นแอนด์ไมนิ่ง และบริาททุ่งคาฮาเบอร์ ทั้งสามบริษัทจะจ่ายเงินตอบแทนรัฐประมาณ 16 ล้านบาท

แต่การทำเหมืองแร่ทองคำนี้ต้องใช้เวลาสำรวจถึงสองปีในแปลงพื้นที่ที่ได้รับสัมปทาน โดยใช้เงินลงทุนในการจ้างบริษัทเอกชนสำรวจถึง 50 ล้านบาทและหากผลสำรวจมีความเป็นไปได้ ทางบริษัทผาทองฯ ก็จะยื่นขอประทานบัตรเพื่อเข้าทำเหมืองทองคำ โดยจะต้องแบ่งผลประโยชน์ในรูปของผลผลิตและให้สิทธิรัฐเข้าถือหุ้นของบริษัทในราคาพาร์ได้

"การแบ่งผลประโยชน์เมื่อบริษัทดำเนินการแล้ว ให้คิดอัตราค่าภาคหลวงในเวลานั้น เช่น ถ้ารัฐเก็บอัตราค่าภาคหลวง 1% หรือถ้าค่าภาคหลวง 5% จะแบ่งผลผลิตให้รัฐ 0.5% และให้รัฐเข้าซื้อหุ้นได้ 3.5% หรือถ้าค่าภาคหลวงลดลงเหลือ 1% แบบเดียวกับอินโดนีเซียและมาเลเซีย ทางบริษัทจะแบ่งผลผลิตให้ 2% และให้รัฐถือหุ้น 10% ซึ่งการเข้าซื้อหุ้นนี้รัฐสามารถนำผลผลิตที่จะได้มาคิดและหักจ่ายแทนเงินที่จะนำเงินมาชำระหุ้นได้" ประวิทย์ กรรมการผู้จัดการผาแดงฯ กล่าวถึงการแบ่งผลประโยชน์

อีกโครงการหนึ่งที่ผาแดงเตรียมการไว้สำหรับการผลิตปีหน้าก็คือ โรงงานผลิตเหรียญตัวเปล่าป้อนกรมธนารักษ์ กระทรวงการกคลังในนามของบริษัทผาแดงพุงซานเมททัลล์ ซึ่งผาแดงได้ร่วมลงทุนกับบริษัทพุงซาน คอร์ปอเรชั่นแห่งเกาหลีใต้ ได้เซ็นสัญญากู้เงินจำนวน 400 ล้านบาทจากบรรษัทเงินทุน (ไอเอฟซีที) ซึ่งเป็นแกนนำร่วมกับแบงก์กรุงเทพ กรุงไทย และนครหลวงไทย ก่อนหน้านี้บริษัทได้กู้เงินต่างประเทศอีก 50 ล้านเหรียญ เพื่อใช้ดำเนินการซึ่งคาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในปี 2535

โครงการร่วมลงทุนสำคัญอื่น ๆ ที่บ่งบอกอนาคตของกลุ่มผาแดงส่วนใหญ่ยังมีแตกแขนงออกไปอีกมากมาย เช่น

หนึ่ง - โครงการขยายการผลิตแร่สังกะสี โรงที่สอง ซึ่งจะเริ่มผลิตได้ในปี 2537 ใช้เงินลงทุน 200-300 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างผาแดงฯ กับเอ็มจี ในสัดส่วน 51 : 49 โครงการนี้คาดว่าจะคืนทุนได้ต้องใช้เวลา 4 ปี

สอง - โครงการก่อสร้างโรงถลุงกากแคดเมียม ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากโรงถลุงแร่สังกะสี ที่จะเพิ่มรายได้ให้ผาแดงฯ ประมาณ 100-200 ล้านบาท

นอกจากนี้ ผลพลอยได้จากการถลุงสังกะสีด้วยแร่ซัลไฟด์ จะได้กรดซัลเฟอร์ออกมาประมาณ 600,000 ตัน/ปี ทำให้ผาแดงฯ ลงทุนในโรงแยกแร่ซัลไฟด์ด้วย กรดซัลเฟอร์นี้จะเป็นตัวประกอบในอุตสาหกรรทอผ้าและผลิตปุ๋ย ซึ่งระยะแรกจะขายให้บริษัทเอเชียไฟเบอร์ กว่าจะดำเนินการเสร็จผลิตได้ในปี 2538

ในส่วนของการผลิตแร่คาโปแลคตัม ผาแดงฯ ได้เตรียมจะลงทุน 20% ของทุนจดทะเลียน 1,000 ล้านบาท โดยตั้งเป้าว่า จะมีกำลังผลิต 100,000 ตัน/ปี คาโปแลคตัมจะเป็นตัวประกอบในอุตสาหกรรมทอผ้าและผลิตปุ๋ยด้วย

สาม - โครงการโรงถลุงแร่ทองแดง ซึ่งทุนจดทะเบียน 300-400 ล้านเหรียญสหรัฐ ประมาณการของกำลังผลิตในปี 2538 มีปริมาณถึง 100,000-150,000 ตัน/ปี

ทั้งสามโครงการไม่ว่าจะเป็นโรงถลุงทองแดง โรงถลุงสังกะสี และโรงแยกแร่ซัลไฟด์นี้ จะตั้งขึ้นในนิคมอุตสาหกรรมของผาแดงฯ เองที่มาบตาพุด เนื้อที่ 500 ไร่

"การที่บริษัทสร้างนิคมขึ้นมาก็เพื่อใช้กิจการผาแดงฯ ไม่ได้ผิด พ.ร.บ.การนิคมฯ เราจะสร้างท่าเรือที่ต้องใช้เงินลงทุนกว่าพันล้านบาท เมื่อสร้างท่าเรือเสร็จก็ต้องตกเป็นสมบัติของ กนอ. และผาแดงฯ ก็เสีย่าเช่าตามระเบียบ ไม่ได้มีอภิสิทธิ์ตามที่มีผู้กล่าวหา" ประวิทย์ กรรมการผู้จัดการผาแดงฯ เล่าให้ฟัง

สี่ - โครงการพัฒนาที่ดินบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา บนเนื้อที่ 3 ไร่ครึ่ง ซึ่งซื้อมาด้วยราคา 112.6 ล้านบาท แต่โครงการนี้ยังหาผู้ร่วมลงทุนอยู่

ห้า - โครงการเหมืองแร่โปแตชของกลุ่มอาเซียนและกรมทรัพยากรธรณี ซึ่งบริษัทจะร่วมทุนไม่เกิน 10% ของทุนจดทะเบียน

หก - การสำรวจแหล่งแร่สังกะสีและแร่อื่น ๆ ในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งขณะนี้แนวสำรวจเขตชายแดนไทย-พม่า มีความเป็นไปได้ถึงแหล่งแร่สังกะสีขนาดใหญ่และมีศักยภาพสูงใช้ได้อีกนาน รวมทั้งในประเทศลาวซึ่งได้เปิดประตูให้ผาแดงฯ เข้าไปสำรวจแหล่งแร่ได้

โครงการลงทุนเพื่ออนาคตทั้งหมดนี้ประมาณกันว่าต้องใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านบาท ซึ่งจะมาจากการกู้ยืมเงินและการเพิ่มทุนอีกในอนาคตตามนโยบายการจัดหาทุนในอัตราส่วนหนี้สิน : ส่วนผู้ถือหุ้น 2 : 1 หรือ 3 : 1 ขณะนี้ทุนจดทะเบียนของผาแดฯ 1,200 ล้านบาท บริษัทผาแดงอินดัสทรีมียอดขายสังกะสีรวมปีที่แล้ว 3,103 ล้านบาท แต่ปีนี้คาดว่าจะได้เพียง 2,432 ล้านบาท กำไรต่อหุ้นปีที่แล้ว 19.50 บาท แต่ปีนี้อาจได้ต่ำเพียงหุ้นละ 8.21 บาท เนื่องจากผันผวนตามราคาตลาดสังกะสีโลกและถ้าราคาสังกะสีโลกอยู่ในช่วงตันละ 1,200-1,350 เหรียญสหรัฐ เป็นที่คาดว่า P/E RATIO ของผาแดงฯ ในปีหน้าจะมีค่าประมาณ 14.70

แต่กว่าที่โครงการลงทุนมูลค่าไม่ต่ำกว่าสี่หมื่นล้านจะดำเนินการได้จริงจังก็ล่วงเข้าไป 2535-2537 อะไร ๆ ก็มีสิทธิ์เกิดหรือไม่เกิดได้ทั้งนั้น ดังนั้น สิ่งที่เป็นจริง คือ เวลา ณ ปัจจุบันที่ผาแดงฯ ยังมีธุรกิจเพียงตัวเดียว คือ สังกะสีที่ยังเอาแน่นอนเรื่องราคาได้ยาก อนาคตผาแดงฯ จะแรงฤทธิ์หรือสิ้นฤทธิ์น่าจับตา !!!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us