Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2534
อีก 3 ปี ลีเวอร์จะไปให้ถึง 10,000 ล้านบาท             
 


   
search resources

ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง, บจก.
วิโรจน์ ภู่ตระกูล
Food and Beverage




การเปิดตัว "มาสเตอร์ไลน์" ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ให่ของลีเวอร์ไทยในช่วงที่ผ่านมาได้กลายเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงแนวโน้มในการบุกตลาดอย่างจริงจังของลีเวอร์ไทยในรอบทศวรรษว่า นับจากนี้ต่อไปลีเวอร์ไทยที่สร้างฐานอันมั่นคงมาจากสินค้าผงซักฟอกและเครื่องใช้ส่วนตัวได้หันมาเดินตามนโยบายยูนิลีเวอร์แล้ว คือ อุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งรายได้ต่อปีของยูนิลีเวอร์กว่า 50% มาจากส่วนนี้

วิโรจน์ ภู่ตระกูล ผู้นำคนสำคัญของลีเวอร์ไทย กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า เมื่อ 40 ปีก่อน ลีเวอร์เริ่มต้นด้วยการบุกตลาดผงซักฟอก ซึ่งเป็นสินค้าที่มีมาร์จินสูงมาก แต่เมื่อทำไปได้ระยะหนึ่งมาร์จินของสินค้ากลับตำลงเรื่อย จนในที่สุดไม่มีกำไรจากการขายสินค้าชนิดนี้เลย

และเมื่อ 15 ปีที่ผ่านมา ลีเวอร์ไทยก็ได้เข้าสู่ตลาดเครื่องใช้ส่วนตัวประเภทสบู่ แชมพูสระผม มาร์จินของสินค้าเหล่านี้ก็มีกำไรอย่างงดงามเข้ามาทดแทนผงซักฟอกได้ แต่ในปัจจุบันมาร์จินได้เปลี่ยนแปลงเป็นในทางกลับกัน คือ ต่ำลง ขณะเดียวกันตลาดมีการแข่งขันกันสูง ค่าการตลาดจะหมดไปกับการทำโปรโมชั่นอย่างมากมายจนกลายเป็นตัวฉุดรั้งให้ผลกำไรที่ได้รับน้อยลงด้วย

ดังนั้น ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ลีเวอร์ไทยจึงได้หันเข้าสุ่อุตสาหกรรมอาหารบ้าง ซึ่งธุรกิจแนวนี้ยูนิลีเวอร์ประสบความสำเร็จอย่างงดงามมาแล้ว โดยการนำไอศครีม "วอลล์" เข้าสู่ตลาดไอศครีม 1,300 ล้านบาท สามารถสร้างแรงกระตุ้นตลาดให้ตื่นตัวอย่างเห็นได้ชัด

ทั้งนี้ อาจจะเป็นเพราะว่าการทุ่มงบโปรโมชั่นอย่างมากมายเพื่อเป้าหมายในการแย่งชิงส่วนแบ่งตลดาจากผู้นำตลาดเก่า หรืออาจจะเป็นเพราะตลาดยังมีช่องว่างอีกมากมายพอที่จะแทรกเข้าต่อกรก็ตาม

"จากปี '32 เป็นปีแรกที่เข้าสู่ตลาดไอศครีม วอลล์มีกำลังการผลิต 5 ล้านลิตร แต่เมื่อขึ้นปีที่ 2 ต้องขยายกำลังการผลิตเพิ่มเป็น 11 ล้านลิตร เพราะการขยายตัวของตลาดอันเนื่องมาจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้การยอมรับในสินค้าไอศครีมเปลี่ยนไป ผลจากการเติบโตของตลาดจึงทำให้วอลล์ต้องขยายกำลังการผลิตเพิ่มเป็น 25 ล้านลิตรเพื่อสนองตอบความต้องการของผู้บริโภค" วิโรจน์อธิบายถึงการขยายตัวอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมอาหารที่ลีเวอร์ไทยตัดสินใจเข้าสุ่ตลาดนี้ โดยการนำตัวแรกเข้าทดสอบตลาดและเป็นมาตรฐานวัดการตัดสินใจที่จะเดินหน้าต่อไปในสายอาหารหรือไม่

วิโรจน์ยอมรับว่า มาร์จินในสายอาหารมีสูงมาก จึงกลายเป็นจุดที่น่าสนใจและถือเป็นตัวกำหนดที่สามารถนำมาซึ่งการตัดสินใจได้อย่างมั่นคง

ปัจจุบัน วิโรจน์อายุ 57 ปี เขาเคยเกษียณอายุมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่ออายุ 55 ปี และได้รับการไว้วางใจจากยูนิลีเวอร์ให้เป็นผู้นำลีเวอร์ไทยต่อไปด้วยการต่อเกษียณอายุให้เป็นเทอม มีเวลาเทอมละ 2 ปี จึงมีการทบทวนพิจารณากันอีกครั้ง วิโรจน์จึงใช้เวลาที่เหลืออยู่ในลีเวอร์ไทยสร้างผลกำไรให้เติบโตงอกงามตามที่ได้รับความไว้วางใจ

ปีที่ผ่านมา ลีเวอร์ไทยมียอดขายประมาณกว่า 5,000 ล้านบาท ปีนี้เขาตั้งเป้าไว้ถึง 7,000 ล้านบาท และในอีก 3 ปีข้างหน้า ลีเวอร์ไทยจะมียอดถึง 10,000 ล้านบาทเลยทีเดียว

จากรายได้ต่อปีที่ลีเวอร์ไทยได้แสดงความสามารถให้เป้นที่ประจักษ์แก่ยูนิลีเวอร์จนได้ชื่อว่าทำรายได้สูงสุดในโซนเอเชียด้วยกัน เครื่องราชอิสริยาภรณ์จากอังกฤษจึงกลายเป็นรางวัลเกียรติยศที่วิโรจน์ภูมิใจในทุกวันนี้

"แนวการเติบโตของยอดขายของลีเวอร์ฯ จะกำหนดเป็นระยะใช้ช่วงเวลา 5 ปีเป็นเกณฑ์ ดังนั้น ถ้าจะดูว่าลีเวอร์ในอนาคตจะโตเป็นเท่าไรให้ดูได้จากในปีปัจจุบันคูณเข้าไปอีก 2 เท่าเมื่อครบกำหนด 5 ปี"

การที่ลีเวอร์ฯ จะไปให้ถึงดวงดาวตามเป้าหมายที่วางไว้ได้นั้น ลีเวอร์ฯ จะต้องนำสินค้าที่สามารถทำยอดขายและมีกำไรสูงสุดเข้าสู่ตลาด !!!!

นอกจากนี้ สินค้านั้น ๆ จะต้องเป็นสินค้าที่อยู่นอกเหนือปัญหาความผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย

เมื่อสายอาหารกลายเป็นตัวที่โดดเด่นในการนำมาซึ่งรายได้มหาศาล วิโรจน์จึงเลือกที่จะเดินเข้าสู่เส้นทางนี้อย่างเต็มตัว เขามองว่าตลาดเบเกอรี่เป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง และเป็นสินค้าที่มี HIGH MARGIN ผิดกับสินค้าที่ผ่านมาของลีเวอร์ฯ เช่น ผงซักฟอกที่ ณ วันนี้มีกำลังการผลิตเต็มที่ แถมมาร์จินต่ำพอ ๆ กับสินค้าเครื่องใช้ส่วนตัวที่นับวันตลาดมีการแข่งขันรุนแรงและมาร์จินเริ่มลดลงตลอดเวลา

มาสเตอร์ไลน์เป็นสินค้าเดิมที่ลีเวอร์ไทยผลิตอยู่ในลักษณะของวัตถุดิบ เพื่อใช้ในการทำเบเกอรี่สำเร็จรูป เช่น มาร์การีน ชอตเทนนิ่ง และน้ำมันพืช เป็นต้น ซึ่งเป้าหมายในปัจจุบัน คือ การทำธุรกิจที่ครบวงจร คือ การสร้างร้านค้าภายใต้ชื่อ "มาสเตอร์ไลน์"

ความหวังของวิโรจน์ คือ ต้องการจะเห็นการกระจายจุดขายของมาสเตอร์ไลน์ออกสู่ตลาดทั่วประเทศให้ได้ 1,000 แห่ง โดยใช้เวลา 2-3 ปีซึ่งพอดีกับเวลาที่เหลืออยู่ของวิโรจน์

นักการตลาดท่านหนึ่งวิเคราะห์ว่า การขายวัตถุดิบของลีเวอร์ (มาสเตอร์ไลน์) ที่มีมานานนี้ถือเป็น HIDDEN ASSET ที่มีค่าของลีเวอร์ไทยเลยทีเดียว

ร้านเบเกอรี่ทั่วประเทศมีสัดส่วนใน กทม. และต่างจังหวัด พอ ๆ กันจากปริมาณ 1,000 แห่งนี้ ช่องว่างของการขยายตัวเข้าตลาดจึงยังมีอีกมาก ประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคให้การยอมรับในสินค้าประเภทนี้มากขึ้น จึงเป็นหนทางที่ลีเวอร์ไทยจะใช้ประโยชน์จากการขายวัตถุดิบมานานแปลงสภาพเป็นสินค้าสำเร็จรูปแข่งขันในตลาด

ปัจจุบัน ศูนย์ฝึกอบรมและร้านเบเกอรี่ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับที่ลีเวอร์กำลังทำอยู่นี้ มีอยู่หลายบริษัทด้วยกัน คือ ยูเอฟเอ็มของค่ายเมโทรกรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้นำตลาดดั้งเดิมและครบวงจรตั้งแต่วัตถุดิบประเภทแป้ง อุปกรณ์เครื่องใช้ไปจนถึงโรงเรียนและร้านค้า โดยมีเป้าหมายการขายเฟรนไชส์ยูเอฟเอ็มฟู้ดเป็นธุรกิจล่าสุด

ในขณะที่แหลมทองสหการก็ขายแป้งสาลีที่ใช้ทำขนมและมีโรงเรียนสอนทำขนมเป็นหลักเช่นกัน แต่ไม่ครบวงจรเหมือนยูเอฟเอ็ม

แม้ว่าลีเวอร์จะส่งมาสเตอร์ไลน์เข้าสู่ตลาดหลังจากความพร้อมเต็มที่ช้ากว่าเจ้าอื่น ๆ ในตลาดก็ตาม แต่เพราะความเป็นลีเวอร์ฯ ที่วิโรจน์เชื่อว่า เขามีจุดเด่นในการสร้างชื่อจนกลายเป็นจุดแข็งของมาสเตอร์ไลน์ไปเลยก็ว่าได้ นอกเหนือจากศูนย์ฝีกอบรม เพราะรายอื่น ๆ ยังไม่สามารถวิวัฒนาการเทคโนโลยได้ถึงขั้นนี้ คือ เบเกอรี่แช่แข็ง

การผลิตเบเกอรี่แช่แข็งขึ้นมาจนกลายเป็นจุดขายของมาสเตอร์ไลน์นี้ ลีเวอร์ไทยได้คำนึงถึงปัญหาของร้านค้าเป็นหลักว่า ส่วนใหญ่จะขาดช่างทำขนมผู้ชำนาญงานและแรงงานหายาก การจะทำผลิตภัณฑ์เบเกอรี่หลาย ๆ ชนิดจำหน่ายจึงเป็นเรื่องยุ่งยากและไม่สามารถควบคุมคุณภาพและความอร่อยได้สม่ำเสมอ

เบเกอรี่แช่แข็งจึงกลายเป็นทางออกที่สำคัญของร้านค้าที่เพียงแค่นำเบเกอรี่แช่แข็งไปอบเท่านั้นก็จะได้เบเกอรี่สำเร็จรูปออกวางจำหน่ายได้ วิโรจน์กล่าวว่าวิธีนี้จะสามารถลดภาระและอำนวยความสะดวกให้กับร้านค้าได้ดีทีเดียว

ปัจจุบันลีเวอร์ไทยมีสินค้าที่อยู่ในตลาด 9 กลุ่มสินค้า คือ ผงซักฟอก สบู่ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับฟัน แชมพูสระผม โลชั่น ไอศครีม เครื่องดื่ม ล่าสุดคือ เบเกอรี่

คนในลีเวอร์ไทยต่างคาดหวังกันว่า ยูนิลีเวอร์จะต่ออายุเกษียณของผู้นำลีเวอร์ไทยอีกครั้งเมื่อครบกำหนดเพราะวิโรจน์ ภู่ตระกูล ไม่แต่เฉพาะจะเป็นผู้นำองค์กรคนสำคัญของลีเวอร์ไทยเท่านั้น ชื่อเสียงและหน้าตาของวิโรจน์ยังได้กลายเป็น "โลโก" ประจำบริษัทไปอีกด้วย เพราะความเป็นลูกหม้อเก่าแก่มากว่า 40 ปี

"ผมตั้งใจจะนำลีเวอร์ไทยให้ก้าวไกลและเติบโตตามเป้าหมายให้ได้ก่อนที่จะเดินออกไป" วิโรจน์กล่าวถึงเป้าหมาย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us