Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 พฤศจิกายน 2550
สายการบินกับการร่วมกลุ่มเป็นพันธมิตร             
 


   
search resources

Aviation




ปัจจุบันแนวโน้มสำคัญที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวระหว่างประเทศ คือ การรวมกลุ่มเป็นพันธมิตร โดยมีวัตถุประสงค์ทั้งเพื่อเสริมสร้างแบรนด์ ขยายเครือข่าย ลดต้นทุนการดำเนินการ และเพิ่มคุณภาพบริการ

ความจริงแล้วการเป็นพันธมิตรในธุรกิจการบินไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ในอดีต โดยเฉพาะการดำเนินการในลักษณะการทำการบินร่วม (Code Sharing) กล่าวคือ สายการบินแห่งหนึ่ง (Marketing Carrier หรือ Non-Operating Carrier) ซึ่งไม่มีเครื่องบินของตนเองเพื่อให้บริการในเส้นทางใดเส้นทางหนึ่ง แต่สามารถจะจำหน่ายตั๋วโดยสารในเส้นทางนั้นๆ ได้ โดยใช้รหัสของตนเอง ผ่านบริการของเครื่องบินของอีกสายการบินหนึ่ง (Operating Carrier) ที่เป็นพันธมิตร

ข้อดีของ Code Sharing คือ ทำให้สายการบินที่เป็น Marketing Carrier สามารถขยายเครือข่ายทางการตลาดไปได้อย่างกว้างขวางโดยมีต้นทุนต่ำ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องเพิ่มจำนวนเครื่องบินและเพิ่มเที่ยวบินแต่อย่างใด ส่วนสายการบินที่เป็น Operating Carrier ก็ได้รับประโยชน์เช่นเดียวกัน เนื่องจากสามารถขายที่นั่งในเครื่องบินได้มากขึ้นกว่ากรณีขายที่นั่งด้วยตนเองทั้งหมด แทนที่จะขายไม่หมด ก่อให้เกิดการสูญเปล่าขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น แม้สายการบินที่ร่วมมือกันในด้าน Code Sharing ต่างให้บริการในเส้นทางบินเดียวกัน ไม่ได้รับประโยชน์จากการขยายเครือข่ายแต่อย่างใด แต่ก็สามารถได้รับประโยชน์ในรูปสามารถเพิ่มความถี่ในการให้บริการในเส้นทางนั้นๆ

ขณะเดียวกัน Code Sharing นอกจากจะเอื้อประโยชน์ต่อสายการบินแล้ว ก็เป็นการอำนวยความประโยชน์ต่อผู้โดยสาร โดยสามารถเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางต่างๆ โดยซื้อตั๋วโดยสารจากสายการบินเพียงแห่งเดียว ไม่ต้องยุ่งยากถือตั๋วโดยสารของหลายสายการบิน และการเดินทางในเครือข่ายพันธมิตรยังสามารถใช้โปรแกรมสะสมไมล์ร่วมกันได้อีกด้วย

ตัวอย่างของความร่วมมือข้างต้น คือ สายการบินอเมริกันแอร์ไลนส์และบริติสแอร์เวยส์ได้เป็นพันธมิตรในลักษณะ Code Sharing มาตั้งแต่ปี 2530 ส่วนสายการบินนอร์ทเวสต์และสายการบิน KLM ได้ร่วมมือกันในลักษณะ Code Sharing มาตั้งแต่ปี 2536

เดิมการร่วมเป็นพันธมิตรระหว่างสายการบินจะเป็นระดับภูมิภาคเท่านั้น แต่ปัจจุบันได้มีการก่อตั้งพันธมิตรระดับโลกขึ้น โดยกลุ่มพันธมิตรระดับโลกแห่งแรก คือ กลุ่มสตาร์อัลไลแอนซ์ ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2540 โดย 5 สายการบิน คือ แอร์แคนาดา ลุฟท์ฮันซ่า เอสเอเอส การบินไทย และยูไนเต็ตแอร์ไลน์

จากนั้นอีก 2 ปีต่อมา ได้มีการก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรอันดับ 2 คือ กลุ่มวัน เวิลด์อัลไลแอนซ์ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 โดยผู้ก่อตั้งประกอบด้วยสายการบินอเมริกันแอร์ไลนส์ บริติสแอร์เวยส์ คานาเดียนแอร์ไลนส์ คาเธย์แปซิฟิค และแควนตัส

อีก 1 ปีต่อมา กลุ่มพันธมิตรอันดับ 3 คือ กลุ่มสกายทีม ก็ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมิถุนายน 2543โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งประกอบด้วยสายการบิน 4 แห่ง คือ สายการบินแอร์ฟรานซ์/เคแอลเอ็ม เดลต้าแอร์ไลนส์ โคเรียนแอร์ไลน์ และเอโรเม็กซิโก

กลุ่มพันธมิตร สตาร์อัลไลแอนซ์ วันเวิลด์อัลไลแอนซ์ สกายทีม
จำนวนสายการบินสมาชิกที่เป็นสมาชิก 23 11 13
จำนวนเที่ยวบิน/วัน 16,000 9,190 14,615
จำนวนจุดหมายปลายทางที่ให้บริการ 855 692 728
จำนวนประเทศที่ให้บริการ 155 142 149
จำนวนผู้โดยสารที่ให้บริการ (ล้านคน/ปี) 413 320 373

จากสถิติล่าสุดในปี 2550 พบว่ากลุ่มสตาร์อัลไลแอนซ์นับว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดทั้งในแง่จำนวนผู้โดยสารมากถึง 413 ล้านคน/ปี จำนวนสายการบินที่เป็นสมาชิก 23 สายการบิน จำนวนเที่ยวบิน 16,000 เที่ยวบิน/วัน จำนวนจุดหมายปลายทางมากถึง 855 จุด และจำนวนประเทศที่ให้บริการ 155 ประเทศ โดยรองลงมา คือ กลุ่มสกายทีมและกลุ่มวันเวิลด์ ตามลำดับ

หากวัดส่วนแบ่งตลาดตามที่คำนวณโดยสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศพบว่ากลุ่มพันธมิตรทั้ง 3 กลุ่ม ครองส่วนแบ่งตลาดธุรกิจการบินของโลกเป็นสัดส่วนรวมกันเป็นสัดส่วนสูงถึง 60.8% โดยกลุ่มสตาร์อัลไลแอนซ์ครองตลาดมากที่สุด คือ 25.1% รองลงมา คือ กลุ่มสกายทีม 20.8% และกลุ่มวันเวิลด์อัลไลแอนซ์ 14.9%

แม้กลุ่มวันเวิลด์อัลไลแอนซ์จะมีขนาดเล็กที่สุด แต่กลับมีความแข็งแกร่งในด้านการเงินมากที่สุด เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นสายการบินที่มีขนาดใหญ่และมีฐานะการเงินมั่นคง โดยเฉพาะสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ บริติสแอร์เวยส์ และแจแปนแอร์ไลนส์ นับเป็นสายการบินใหญ่เป็นอันดับ 1 อันดับ 7 และอันดับ 10 ของโลก ตามลำดับ

สายการบินที่ขนส่งผู้โดยสารมากที่สุด 10 อันดับแรกของโลกในปี 2549

อันดับ สายการบิน ประเทศ การขนส่งผู้โดยสาร
(ล้าน คน-กม.)
กลุ่มพันธมิตร
1 อเมริกันแอร์ไลนส์ สหรัฐฯ 224,330 วันเวิลด์
2 ยูไนเต็ตแอร์ไลนส์ สหรัฐฯ 188,684 สตาร์อัลไลแอนซ์
3 เดลต้าแอร์ไลนส์ สหรัฐฯ 158,952 สกายทีม
4 แอร์ฟรานซ์ ฝรั่งเศส 123,458 สกายทีม
5 คอนติเนนตัลแอร์ไลนส์ สหรัฐฯ 122,712 สกายทีม
6 นอร์ทเวสต์แอร์ไลนส์ สหรัฐฯ 116,845 สกายทีม
7 บริติสแอร์เวยส์ สหราชอาณาจักร 114,896 วันเวิลด์
8 ลุฟต์ฮันซ่า เยอรมนี 114,672 สตาร์อัลไลแอนซ์
9 เซาท์เวสต์แอร์ไลนส์ สหรัฐฯ 108,935 -
10 แจแปนแอร์ไลนส์ ญี่ปุ่น 89,314 วันเวิลด์

หากวิเคราะห์ฐานะการเงินของสายการบินที่สังกัดแต่ละกลุ่มพันธมิตรแล้ว กลุ่มวันเวิลด์มีฐานะการเงินดีที่สุด โดยในปี 2549 สายการบินในสังกัดของกลุ่มวันเวิลด์มีผลประกอบการรวมกันมีกำไรสุทธิ 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะเดียวกันกลุ่มพันธมิตรอีก 2 กลุ่ม มีหลายสายการบินที่มีฐานะการเงินไม่ค่อยดีนัก หลายสายการบินอยู่ในภาวะล้มละลาย ทำให้มีผลประกอบการขาดทุน โดยกลุ่มสกายทีมและสตาร์อัลไลแอนซ์มีผลประกอบการรวมกันขาดทุน 7,000 และ 2,200 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2549 ตามลำดับ

แม้การรวมตัวเป็นพันธมิตรจะมีข้อดีหลายประการ แต่ก็มีข้อเสียหลายประการเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเป็นการสร้างความสับสนให้กับผู้โดยสาร เนื่องจากซื้อตั๋วโดยสารของสายการบินหนึ่ง แต่เมื่อใช้บริการกลับพบว่าเป็นเที่ยวบินที่ให้บริการโดยอีกสายการบินหนึ่ง อุปมาอุปไมยเหมือนกับจองห้องของโรงแรมที่มีชื่อเสียงระดับ 5 ดาว แต่เมื่อเดินทางไปถึง กลับพบว่าเป็นเพียงโรงแรมระดับ 2 – 3 ดาวเท่านั้น

เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น กระทรวงการขนส่งของสหรัฐฯ กำหนดว่ากรณีเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศแล้ว สายการบินผู้จำหน่ายตั๋วที่ไม่ได้ใช้เครื่องบินของตนเอง จะต้องแจ้งให้ผู้ซื้อตั๋วได้ทราบ ทั้งนี้ ได้เคยสั่งปรับสายการบิน TWA เมื่อปี 2538 เป็นเงิน 350,000 เหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากรับจองตั๋วเครื่องบินโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้โดยสารทราบแต่อย่างใด

อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่ากลุ่มพันธมิตรนอกจากจะเป็นผลทางด้านบวกในด้านช่วยเสริมความสามารถในการแข่งขันแล้ว ยังมีผลกระทบทางลบในกรณีเป็นสายการบินที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันและมีเส้นทางการบินซ้ำซ้อนกันแล้ว จะก่อให้เกิดการแข่งขันกันเองด้วยหากอยู่ในกลุ่มพันธมิตรเดียวกัน

จากเหตุผลข้างต้น จึงไม่เป็นเรื่องน่าแปลกใจที่สายการบินต่างๆ ซึ่งมีเส้นทางบินคาบเกี่ยวกัน จะพยายามกระจายไปยังกลุ่มพันธมิตรต่างๆ มากกว่าจะกระจุกตัวในกลุ่มพันธมิตรเดียวกัน เป็นต้นว่า สายการบินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ 3 สายการบิน คือ อเมริกันแอร์ไลนส์ เดลต้าแอร์ไลนส์ และยูไนเต็ดแอร์ไลนส์ ได้กระจายไปอยู่ที่กลุ่มพันธมิตรทั้ง 3 กลุ่ม ส่วนสายการบินยักษ์ใหญ่ของยุโรป คือ บริติสแอร์เวยส์ แอร์ฟรานซ์ และลุฟต์ฮันซ่า ก็กระจายไปอยู่กลุ่มพันธมิตรแต่ละกลุ่มเช่นเดียวกัน

การร่วมกลุ่มเป็นพันธมิตรยังเป็นความร่วมมือในเบื้องต้นเท่านั้น ปัจจุบันมีหลายสายการบินได้รวมตัวกันแนบแน่นมากกว่านี้อีก เป็นต้นว่า สายการบินเอเชียน่าแอร์ไลน์ของเกาหลีใต้และแอลนิปปอนแอร์เวย์ของญี่ปุ่นซึ่งปัจจุบันต่างสังกัดกลุ่มสตาร์อัลไลแอนซ์อยู่แล้ว ได้ตกลงเป็นพันธมิตรระหว่างกันเป็นการเฉพาะเพิ่มเติมในด้านอื่นๆ เช่น การซื้อน้ำมันอากาศยานร่วมกัน การพัฒนาบุคลากรร่วมกัน และล่าสุดได้ประกาศแลกเปลี่ยนพนักงานต้อนรับในเครื่องบินในเที่ยวบินระหว่างท่าอากาศยานกิมโปและท่าอากาศยานฮาเนดะ นับตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2550 เป็นต้นไป

ยิ่งไปกว่านั้น ในอนาคตอาจจะมีการควบรวมกิจการระหว่างสายการบินประเทศต่างๆ ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีแนวโน้มแล้ว เป็นต้นว่า สายการบินแอร์ฟรานซ์ของฝรั่งเศสและเคแอลเอ็มของเนเธอร์แลนด์ได้ควบกิจการเข้าด้วยกันเมื่อปี 2547   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us